ทั้งผ้าจก ผ้าแพรวา ผ้ามัดหมี่ ผ้าไหมเกาะหรือล้วง ผ้ายก ผ้าซิ่นตีนจก ผ้าบาติก ซึ่งชนิดของผ้าที่ใช้ก็มีทั้งผ้าไหม ผ้าฝ้าย และอีกมากมาย ถูกรวมเรียกว่า”ผ้าไทย”ซึ่งเป็นศิลปะและภูมิปัญญาในแต่ละท้องถิ่น ที่สอดแทรกเทคนิคการทอ และลวดลายอันเป็นเอกลักษณ์ของแต่ละภาคไว้ ตั้งแต่อดีตและได้รับการสืยทอดสืบต่อกันมาถึงปัจจุบัน
แต่สิ่งที่ผ้าไทยต่อสู้กับกระแสโลกสมัยใหม่ มาอย่างยาวนานนั้นก็คือ การทำให้ผ้าไทยได้รับการยอมรับในวงกว้าง หรือมีผู้นิยมสวมใส่ผ้าไทยในโอกาสต่างๆมากมาย ในกลุ่มผู้คนหลากหลายกลุ่ม ไม่ได้จำกัดเฉพาะผู้สูงอายุ หรือกลุ่มข้าราชการเท่านั้น
การปรับตัวเพื่อให้ผ้าไทยยืนหนึ่งในอาภรณ์ที่ควรค่าแก่การสวมใส่ และลบภาพมายาคติ ว่าเป็นผ้าของผู้สูงอายุ คนเก่าคนแก่ออกไป ทำให้ปัจจุบันการออกแบบผ้าไทย ได้ถูกพัฒนาขึ้นอย่างไม่หยุดยั้ง ร่วมถึงการสร้างสรรค์ไอเดียเพื่อประยุกต์ให้ผ้าไทยสามารถใส่ได้ในทุกช่วงวัย ไม่ว่าจะใส่ทำงาน หรือใส่เที่ยว เกิดการผสมผสานกันระหว่างวิถีดั้งเดิมและวิถีแบบร่วมสมัย นับเป็นการขับเคลื่อนวัฒนธรรมไทย และรายได้ให้ชุมชน เปิดทางให้ผ้าไมยโบยบินไปสู่ระดับสากลได้อีกด้วย
ล่าสุด กระทรวงวัฒนธรรม โดยสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย ได้เปิดตัวโครงการประกวดออกแบบเครื่องแต่งกายร่วมสมัย (Contemporary Fashion Competition 2022) ภายใต้แนวคิด “ไทยใส่สบาย” พร้อมกับลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับ 6 สถาบันการศึกษา ได้แก่ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร เพื่อพัฒนาความร่วมมือด้านศิลปะร่วมสมัย สาขาการออกแบบเครื่องแต่งกาย สร้างการรับรู้และตระหนักถึงคุณค่าของผ้าไทยที่ใส่ได้ในทุกโอกาส
โกวิท ผกามาศ ผู้อำนวยการสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กล่าวว่า จุดประสงค์ในการจัดการประกวดการออกเครื่องแต่งกายร่วมสมัย ในแนวคิด ไทยใส่สบาย เพื่อเป็นการสนับสนุนทุนทางวัฒนธรรมของแต่ละชุมชนในประเทศไทย ที่มีเอกลักษณ์ผ้าไทยที่งดงาม อีกทั้งผ้าไทยและการออกแบบแฟชั่นถือเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมวัฒนธรรมสร้างสรรค์ที่สำคัญ เพราะบ่งบอกได้ถึงความเป็นไทย และยังเป็นการถ่ายทอดสืบสานภูมิปัญญาการทอผ้าให้แก่คนรุ่นหลัง ดังนั้นผู้เข้าประกวดทุกคนจะต้องนำผ้าไทย มาเป็นวัตถุดิบในการออกแบบ ใส่ได้ทุกกลุ่มวัย
“ในโอกาสนี้ยังเป็นการให้ผู้ประกอบการเกี่ยวผ้าไทย ได้นำเสนอถึงความพิเศษ เส้นใย กรรมวิธีในการผลิต สีสัน และลวดลาย ในอนาคตมีแนวคิดในการขยายกลุ่มเป้าหมายไปยังกลุ่มคนทำงานวัย 30-40 ปี หรือกลุ่มผู้บริหาร เพื่อให้ผ้าไทยเข้าถึงทุกกลุ่มวัยมากขึ้น สำหรับในปีนี้นอกจากกลุ่มนิสิต นักศึกษาแล้ว กลุ่มนักออกแบบเครื่องแต่งกาย และประชาทั่วไปก็สามารถเข้าร่วมการประกวดได้ด้วย เพื่อให้เห็นความคิดสร้างสรรค์ที่ไม่จำกัด เพื่อคัดเลือกให้เหลือเพียง 12 คนที่จะเข้าไปสู่ในรอบตัดสิน” โกวิท กล่าว
บัญชา ชูดวง ดีไซเนอร์และที่ปรึกษาโครงการประกวดออกแบบเครื่องแต่งกายร่วมสมัยด้านคณะกรรมการ กล่าวว่า ในปีนี้อยากจะเห้นผู้เข้าประกวดทุกคนในการนำเสนอแนวคิดให้มีความแตกต่างจากปีที่ผ่านมา รวมไปถึงการเลือกใช้ผ้า การดีไซน์ และการเข้าถึงชุมชนใหม่ๆ ที่ยังไม่เคยมีการหยิบนำผ้าของชุมชนนั้นมาออกแบบ เพราะปีนี้ไม่จำกัดพื้นที่การใช้ผ้า สามารถเลือกผ้าไทยได้จากทุกจังหวัดทั่วประเทศไทย
ศิริชัย ทหรานนท์ เจ้าของแบรนด์เธียเตอร์(THEATRE) กล่าวว่า เนื่องจากคอนเซ็ปการประกวดในปีนี้คือ ไทยใส่สบาย ดังนั้นการออกแบบผ้าไทยก็จะเน้นส่วมใส่ได้จริง มีความคล่องตัว และสบาย เหมาะในการทำกิจกรรมในชีวิตประจำวัน สิ่งสำคัญเวทีนี้เป็นอีกหนึ่งการแสดงศักยภาพของดีไซเนอร์รุ่นใหม่ ที่จะเติบโตในวงการดีไซเนอร์
ธีระ ฉันทสวัสดิ์ เจ้าของแบรนด์ T-RA กล่าวเสริมว่า การออกแบบผ้าไทยในบางครั้งอาจจะดูมีขั้นตอน หรือมีการดีไซเนอร์ซับซ้อนเยอะไปหมด แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับการส่วมใส่แต่ละวาระโอกาส ผู้เข้าประกวดจึงต้องตีโจทย์ในปีนี้ให้แตกและสร้างสรรค์ผลงานออกมาให้ใส่ได้จริง และยังคงมีความสวยงามของผ้าไทยแฝงด้วยเอกลักษณ์ของดีไซเนอร์
เอก ทองประเสริฐ เจ้าของแบรนด์ EkThongprasert ได้แสดงความเห็นว่า ผ้าไทยนั้นมีความสวยงามอย่างมาก และในแต่ละพื้นที่ก็จะมีความแตกต่างกัน ดังนั้นสิ่งที่ต้องใส่ใจคือเรื่องโครงสร้างของชุด เพราะบางครั้งดีไซเนอร์อาจจะมีการออกแบบโครงสร้างชุดแบบตะวันตก ซึ่งผู้เข้าประกวดอาจจะต้องตีความหมายและคำจำกัดความของผ้าไทยร่วมสมัย ไม่ว่าจะเป็นการลงพื้นที่ไปศึกษาผ้าไทยที่สนใจ ศึกษาจุดเชื่อมโยงของชุมชนและความเป็นมาของผ้าชนิดนั้น เพื่อจะได้เข้าใจและหลุดออกจากกรอบเดิมๆของการดีไซน์ และได้ชุดที่น่าสนใจมากยิ่งขึ้น
อย่างไรก็ตามนิสิต นักศึกษา นักออกแบบ และประชาชนทั่วไปที่สนใจสามารถส่งผลงานแบบร่างได้ทาง www.ocac.go.th ตั้งแต่วันนี้ – 6 พฤษภาคม 2565 สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมโทร. 02 209 3753
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ไทยโชว์งานศิลปะร่วมสมัย'ช็องจู คราฟต์ เบียนนาเล่'
12 ก.ย.2567 - นายโกวิท ผกามาศ ผู้อำนวยการสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย เข้าร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ว่าด้วยการจัดนิทรรศการประเทศรับเชิญในงาน 2025 Cheongju Craft Biennale ร่วมกับ Mr. Lee Beom-seok ผู้ว่าการเมืองช็องจู ประธานคณะกรรมการจัดงาน Cheongju Craft Biennale ณ สาธารณรัฐเกาหลีใต้ เมื่อวันก่อน
'นิรันดร์กัลป์'ธีมศิลปะ ภูเก็ตเบียนนาเล่
มหกรรมศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ Thailand Biennale , Phuket 2025 เปิดตัวผู้อำนวยการฝ่ายศิลป์ นายอริญชย์ รุ่งแจ้ง และ Mr. David The พร้อมภัณฑารักษ์ นางสาวมาริสา พันธรักษ์ราชเดช และ Ms. Hera Chan ณ HOUSE OF TIN BARON อำเภอเมืองภูเก็ต จ.ภูเก็ต ตอกย้ำความพร้อมจัด Thailand Biennale ครั้งที่ 4
5 ศิลปินรุ่นใหม่อัปสกิลศิลปะ หาประสบการณ์ใหม่ๆ ที่สหรัฐ
คณะศิลปินรุ่นใหม่ 5 คน 5 สไตล์ที่มีผลงานโดดเด่นคว้ารางวัลจากการประกวดโครงการพัฒนาศักยภาพศิลปินรุ่นใหม่ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 : Young Artist Talent 2024 “ เดินทางข้ามทวีปไปศึกษาดูงานพิพิธภัณฑ์ศิลปะที่ดีที่สุดและเป็นที่นิยมในนครลอสแองเจลิส เมืองศิลปะระดับท็อปของสหรัฐอเมริกา
3 ผลงานศิลปะขับเคลื่อน'THACCA SPLASH'
งาน THACCA SPLASH-Soft Power Forum 2024 เป็นงานประชุมนานาชาติด้านซอฟต์พาวเวอร์ 11 สาขาอุตสาหกรรม เพื่อเปิดภูมิทัศน์ซอฟต์พาวเวอร์ไทยและโลก ศิลปะเป็นหนึ่งในสาขาที่จะสร้างมูลค่าเพิ่มในทางเศรษฐกิจนอกจากอุตสาหกรรมดนตรี, ภาพยนตร์, หนังสือ, เกม, ท่องเที่ยว
วธ.โชว์'โขน-วัฒนธรรม4ภาค' ต้อนรับงานฟีฟ่า คองเกรส
15 พ.ค.2567 - นายโกวิท ผกามาศ อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) กล่าวว่า ทางคณะกรรมการการฯ ได้มอบหมายให้ สวธ. จัดการแสดงทางวัฒนธรรม ในวันที่ 15 พฤษภาคม และวันที่ 16 พฤษภาคม โดยวันที่ 15 พฤษภาคม จะมีการจัดงานเลี้ยงอาหารค่ำ ที่ตึกสันติไมตรีหลังนอก ทำเนียบรัฐบาล