จากวัฒนธรรมที่มีคุณค่า สู่เครื่องมือที่ใช้รักษาดิน น้ำ ป่า มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง (มฟล.) ขับเคลื่อนแนวคิด Culture Alert Nature Alive หรือวัฒนธรรมนฤมิต คืนชีวิตให้ธรรมชาติผ่านนิทรรศการ‘เชื่อม รัด มัด ร้อย‘ ส่งเสริมการเรียนรู้นำวัฒนธรรมมาปกป้องธรรมชาติตามแบบฉบับของชาวเมืองน่าน ณ บริเวณลานหน้าศาลากลางจังหวัดน่าน (หลังเก่า) ต.ในเวียง อ.เมืองน่าน จ.น่าน เมื่อวันก่อน โดยมีนายนิวัฒน์ งามธุระ รองผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน เป็นประธานพิธี พร้อมด้วยภาคีเครือข่ายเมืองน่านทั้งภาครัฐ เอกชน องค์กรภาคประชาสังคมร่วมงานอย่างอบอุ่น
ผศ.ดร.พลวัฒ ประพัฒน์ทอง หัวหน้าโครงพัฒนาระบบนิเวศเพื่อการปกป้องแหล่งท่องเที่ยว และมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมเพื่อความยั่งยืนในพื้นที่เมืองเก่าน่าน (EPISG) มฟล. กล่าวว่า นิทรรศการครั้งนี้จัดขึ้นเพื่อการเรียนรู้วิธีการปกป้องแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติด้วยวัฒนธรรม แสดงการเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างภูมิปัญญาที่ชาวน่านนำมาใช้ในการปกป้องธรรมชาติอย่างได้ผลดีมาเป็นเวลานาน ซึ่งการรักษาสิ่งแวดล้อมของลุ่มน้ำน่าน อันเป็นแหล่งต้นน้ำสำคัญของแม่น้ำเจ้าพระยา ไม่ใช่เป็นการทำเพื่อคนน่านเท่านั้น แต่ทำเพื่อทุกคนในโลกนี้ โดย‘พี่แมงหมาเต้า’ สัญลักษณ์การจัดงานเล่าเรื่องเมืองน่าน ภายใต้แนวคิดที่ว่า มรดกภูมิปัญญาของเขตวัฒนธรรมเมืองเก่าน่านทำหน้าที่เชื่อมโยงผู้คนเข้าไว้ด้วยกันและยังเชื่อมโยงคนกับธรรมชาติ เขตวัฒนธรรมเมืองเก่าน่านกว้างไกลไปกว่าเขตที่เราเข้าใจในปัจจุบัน เพราะเชื่อมโยงสามพื้นที่คือ พื้นที่ทางจิตใจ พื้นที่ทางสังคม และพื้นที่ทางกายภาพ
ไฮไลต์อยู่ที่นิทรรศการจัดแสดงองค์ความรู้และข้อมูลมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม จำนวน 28 รายการ เช่น ภูมิปัญญาการสร้างเรือแข่งในเมืองน่าน ภูมิปัญญาเรื่องเกลือเมืองน่าน ภูมิปัญญาด้านดนตรีและการแสดง ภูมิปัญญาในจิตรกรรมเมืองน่านวัดภูมินทร์ และตำนานแมงหมาเต้า เป็นต้น
ภายในงานยังเปิดพื้นที่การเรียนรู้และสาธิตมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของเมืองน่าน ได้แก่ กิจกรรม “ตัด แต่ง แป๋ง ลาย” ตัดกระดาษรูปต่างๆ โดย มฟล. กิจกรรม“ปั้น แต่ง แต้ม วาด” แมงหมาเต้าโดย โดย หออัตลักษณ์นครน่าน วิทยาลัยชุมชนน่าน กิจกรรม “จัด แจ๋ง แป๋ง โคม” การทำโคมแบบเมืองน่าน โดย บ้านโคมคำ ต.ม่วงตึ๊ด อ.ภูเพียง จ.น่าน สำหรับเรื่องราวการปกป้องธรรมชาติด้วยวัฒนธรรมสามารถพบได้ทางเพจเฟซบุ๊ค เชื่อม รัด มัด ร้อย
ทั้งนี้ โครงการพัฒนาระบบนิเวศเพื่อการปกป้องแหล่งท่องเที่ยว และมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมเพื่อความยั่งยืนในพื้นที่เมืองเก่าน่าน มีเป้าหมายสืบค้นรวบรวมมรดกทางวัฒนธรรม 2 เมืองเก่า ได้แก่ เชียงแสน จ.เชียงราย และ เมืองเก่าน่าน นำมาพัฒนาให้เป็นสินค้าและบริการที่มีมูลค่าสูง เพื่อนำไปยื่นจดทรัพย์สินทางปัญญาให้กับชุมชน โดยมีพื้นฐานจากการทำงานของนักวิจัยของม.แม่ฟ้าหลวง ที่ทำเรื่องนี้อย่างต่อเนื่อง
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
อดีตคณบดีคณะโบราณคดีเบรกดัน 'น่าน' เป็นมรดกโลก
ศ.ดร.สายันต์ ไพรชาญจิตร์ อดีตคณบดีคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร
กรมสมเด็จพระเทพฯ ทรงแนะบัณฑิต มฟล. นอกจากมีความรู้ ต้องมีคุณธรรม
28 ก.พ.2567 - พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ในการพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษา ประจำปีการศึกษา 2565 เมื่อวานนี้
รวม 60 ศิลปินชั้นนำ อย่าพลาด’เบียนนาเล่เชียงราย’
ช่วงปลายปีจะมีมหกรรมศิลปะใหญ่ระดับนานาชาติที่ชุมนุมศิลปินชั้นนำจากทั่วโลก กับ “มหกรรมศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ ไทยแลนด์เบียนนาเล่ เชียงราย 2023” ภายใต้แนวคิด “เปิดโลก “หรือ The Open World ระหว่างวันที่ 9 ธ.ค. 2566 ถึง 30 เม.ย. 2567
นิทรรศการต้นแบบ‘วัฒนธรรมนฤมิต ชุบชีวิตธรรมชาติ’
นิทรรศการผลงานจากมรดกภูมิปัญญาวัฒนธรรม "Culture Alert Nature Alive วัฒนธรรมนฤมิต ชุบชีวิตธรรมชาติ" เดินทางจากเมืองเก่าเชียงแสน จ.เชียงราย และเมืองเก่าน่าน จ.น่าน ถึงกรุงเทพฯ แล้ว เป็นการยกผลิตภัณฑ์ไลฟ์สไตล์ต้นแบบเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนมาให้ชมกันแบบใกล้ชิด