'เจ้าพระยาสู่อิรวดี' เรื่องเล่าจากงานวิจัยสู่ละครโทรทัศน์

ฉากบุษาเสี่ยงเทียน ในละครจากเจ้าพระยาสู่อิรวดี

เชื่อว่าหลายคนคงผ่านตากับละครเรื่อง “จากเจ้าพระยาสู่อิรวดี “ละครโทรทัศน์อิงประวัติศาสตร์ ซึ่งมีเนื้อเรื่องเกี่ยวกับพระเจ้าปดุง ราชวงศ์โก้นบองกับราชอาณาจักรอยุธยา เมื่อราว พ.ศ. 2325 ซึ่งเป็นช่วงเหตุการณ์ที่กลุ่มชาวอโยธยารวมทั้งเชื้อพระวงศ์ของไทย ถูกกวาดต้อนไปยังกรุงอังวะ ของพม่า หลังการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง ราว จ.ศ. 1129 (พ.ศ. 2310) ซึ่งละครทั้งเรื่องมีทั้งหมด 12 ตอน โดยตอนสุดท้ายได้ออกอากาศไปเมื่อวันที่ 6 ก.พ.65 ทางสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส

ละคร จากเจ้าพระยาสู่อิรวดี กำกับโดยชาติชาย เกษนัส  นำแสดงโดย จิรายุ ตันตระกูล นัฐรุจี วิศวนารถ และนักแสดงจากประเทศเมียนมาร์(พม่า) เดาง์ และนีน ตเว ยูออง มารับบทตัวละครฝ่ายไทยและพม่า  สื่อสารกับคนดู  ในมุมมองทีาจะเปิดรับมายาคติใหม่ เกี่ยวกับประเทศเพื่อนบ้าน พร้อมกับนำเสนอวัฒนธรรม ศิลปการแสดง สถานที่สำคัญทั้งไทยและพม่าได้อย่างสวยงาม

เบื้องหลังที่มาของการทำละครเรื่องนี้  ไม่ว่าจะเป็นสถานที่โบราณ เครื่องแต่งกาย การร่ายรำ ดนตรี และอื่นๆ ล้วนผ่านการศึกษาค้นคว้าวิจัยมาอย่างหนัก จากนักวิชาการ ที่เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ  ศ.ดร.เกรียงไกร เกิดศิริ รองคณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ผู้ทำการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับโบราณสถานและประวัติศาสตร์พม่า ส่วนดนตรีที่ใช้ประกอบในเรื่อง  ผ่านการวิเคราะห์ตีความจาก อ.อานันท์ นาคคง  จากคณะดุริยางคศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร  ในด้านความวิจิตรงดงามของการแสดงนาฏศิลป์ ที่มีความซับซ้อนของสองวัฒนธรรม ก็ได้ถูกศึกษาและรังสรรค์โดย  อ.ยุทธนา อัครเดชานัฏ  ประธานสาขานาฏยศาสตร์และการแสดง คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา และหัวหน้ากลุ่มศิลปินคิดบวกสิปป์


บรรยากาศบนเวทีเสวนาของผู้มีส่วนในการสร้างละคร จากเจ้าพระยาสู่อิรวดี

เพื่อสะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญของการวิจัย  ว่าสามารถนำไปต่อยอดสู่รูปแบบอื่นๆ  ได้ อย่างหลากหลาย ตามการส่งเสริมของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(อว.) จึงได้มีการจัดเสวนา “เรื่องเล่าจากงานวิจัยสู่ละครโทรทัศน์”   ส่วนหนึ่งของกิจกรรมในงานมหกรรม TRIUP FAIR 2022  เพื่อแชร์ประสบการณ์ของนักวิจัย รวมทั้งผู้เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมภาพยนตร์และละคร ที่ร่วมกันริเริ่มสร้างสรรค์และถ่ายทอดมรดกวัฒนธรรมข้ามพรมแดน ที่มองไปไกลกว่าสงครามในอดีต เพื่อส่งต่อภูมิปัญญา ส่งเสริม สนับสนุน และอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม ทรงคุณค่าของไทยและประเทศเพื่อนบ้าน นับว่าเป็นการสร้าง Soft power ของภูมิภาคอาเซียน   และใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยและนวัตกรรมอีกด้วย

สมยศ เกียรติอร่ามกุล ผู้อำนวยการสำนักสร้างสรรค์เนื้อหา สถานีโทรทัศน์ Thai PBS กล่าวว่า ตามนโยบายทางสถานีมีความตั้งใจที่จะผลิตละครที่สะท้อนคุณค่า และประเด็นบางอย่างในสังคม เช่น ความเหลื่อมล้ำ สังคมสูงวัย ความเป็นไทย การเข้าถึงอย่างเท่าเทียมทั้งคนพิการและภาษาต่าง ๆ เช่น ภาษาเพื่อนบ้าน สำหรับปรากฏการณ์ของละครเรื่องจากเจ้าพระยาสู่อิรวดี ได้รับเสียงตอบรับจากสังคมค่อนข้างดี แม้ว่าละครจะจบลงไปแล้ว  แต่เหล่าผู้อยู่เบื้องหลังก็มีเดินสายไปในงานเสวนาให้ความรู้ วิชาการต่างๆแลกเปลี่ยนความรู้ในชุดข้อมูลประวัติศาสตร์ที่บางครั้งเราอาจหลงลืมและสงสัย ดังนั้น ละครเรื่องนี้เมื่อสร้างขึ้นบนฐานการสืบค้น วิจัย และค้นหาข้อเท็จจริง ทำให้มีข้อมูลในการให้ความรู้และสร้างความเข้าใจในประเด็นต่างๆทางวัฒนธรรม และสังคมของทั้งสองประเทศ

ชาติชาย เกษนัส

ด้านชาติชาย เกษนัส ผู้กำกับละครจากเจ้าพระยาสู่อิรวดี เล่าประสบการณ์การทำงานชิ่นนี้ว่า  การทำละคร จากเจ้าพระยาสู่อิรวดี สิ่งที่สำคัญคือ เนื้อหาของเรื่องที่ได้จากงานวิจัยประวัติศาสตร์ระหว่างไทยและพม่าที่เป็นจริง  เพื่อให้เห็นถึงเค้าโครงของอดีต เห็นความเป็นพี่น้องและสัมผัสถึงความเป็นมนุษย์ และศิลปวัฒนธรรมของแต่ละประเทศ ซึ่งจะมีความแตกต่างจากภาพยนต์ประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวกับประเทศเพื่อนบ้านที่ผ่านมา มีกถูกนำมาทำเป็นภาพยนต์แนวตลก ซึ่งบางครั้งมันก็ไม่ได้ตลกสำหรับคนที่ถูกกล่าวถึง เราจึงต้องใส่ในข้อมูลบนพื้นฐานความจริง

“ในละครเรื่องนี้ไม่ว่าจะเป็นการร่ายรำ เครื่องแต่งกาย ดนตรี และอื่นๆ ล้วนถูกสังเคราะห์มาจากผลงานวิจัยและการศึกษาข้อมูลของผู้เชี่ยวชาญ จึงเป็นอีกฉากที่มีความหมายอย่างมาก หรือการถ่ายทำเกี่ยวกีบ  “มหาเต็งดอจี” ก็ต้องอาศัยข้อมูลรูปแบบ 3 มิติ เพราะไม่สามารถเดินทางไปถ่ายทำที่พม่าได้ ร่วมกับมีการเซ็ตฉากในโรงถ่ายครึ่งหนึ่ง ทำให้ทำฉากนี้ออกมาได้เหมือนนักแสดงไปยังสถานที่จริง ดังนั้นการศึกษา ค้นคว้างานวิจัยในการทำละครที่เป็นประวัติศาสตร์หรือในละครทุกแบบ เป็นอีกหนึ่งความสำคัญ ที่จะทำให้คนดูได้เข้าใจข้อมูลที่มีความจริงอยู่”  ชาติชาย กล่าว

รศ. ดร.เกรียงไกร เกิดศิริ นักวิจัยเกี่ยวกับสถาปัตยกรรมของพม่าบอกว่า  พม่าเป็นสนามของการวิจัยที่น่าสนใจมาก เพราะมีมิติทางวัฒนธรรมที่ซับซ้อน ซึ่งตนก็ได้ทำงานวิจัยเกี่ยวกับสถาปัตยกรรมพม่าจนสามารถเก็บข้อมูลได้ทั้งเนื้อหาและภาพมาพอสมควร เพียงพอที่ผู้กำกับนำไปใช้ต่อยอดในการทำงานได้  การวิจัยครั้งนี้ก่อนทำมาเป็นละคร เป็นความตั้งใจที่ต้องการพัฒนาองค์ความรู้ ทำความเข้าใจและบันทึกข้อมูลมรดกทางวัฒนธรรมของมนุษยชาติ ให้ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ และผู้กำกับก็ได้หยิบเอาข้อมูลการวิจัยมาใช้ประโยชน์ในละคร  คือ ในแง่สถานที่ มหาเต็งดอจี ที่ได้มีการเก็บรายละเอียดตัวอย่าง ไม่ว่าจะเป็นภาพผนังด้านใน ด้านนอก หรือข้อมูลด้านสถาปัตยกรรมทำให้การสร้างฉากดำเนินไปอย่างตรงกับสถานที่จริงมากที่สุด

รศ. ดร.เกรียงไกร เกิดศิริ

อ.อานันท์ นาคคง ศิลปินศิลปาธร ที่รับผิดชอบการทำดนตรีประกอบเรื่อง กล่าวว่า ดนตรีเป็นสื่อที่เปลี่ยนไปตามเวลา คนและสิ่งแวดล้อม ไม่สามารถควบคุมได้ด้วยเงื่อนไขทางเศรษฐกิจและเทคโนโลยี เป็นศิลปะบริสุทธิ์ที่ต้องแปลงร่างใหม่ ข้อมูลจากการวิจัยภาคสนามซึ่งเป็นกระบวนการวิจัยที่สำคัญมาก ทำให้มีอารมณ์ความรู้สึกนึกคิด ซึ่งเราได้ทำฮาร์โมนีในละครขึ้นมาใหม่ และสื่อสารกับทีมงานให้เป็นการแสดงศิลปะ  ที่ไม่มีเงื่อนไขของศาสนาและระบบครอบครัว ตามเจตนาที่มองว่าจินตนาการอยู่เหนือทุกสิ่ง

อ.ยุทธนา อัครเดชานัฏ นักวิชาการออกแบบท่ารำ ในเรื่อง กล่าวเสริมว่า สิ่งสำคัญของละครเรื่องนี้คือการนำการแสดงมาเล่าเรื่องผ่านท่ารำ โดยเฉพาะฉากบุษาเสี่ยงเทียน ซึ่งเป็นบทอัศจรรย์รักที่สื่อสารถึงความรัก ซึ่งได้หารือกับผู้กำกับละครเพื่อออกแบบท่ารำให้ยังคงความรู้สึกนั้นอย่างเต็มที่ จากการวิจัยพบว่านาฏศิลป์พม่ามีท่ารำแตกต่างจากที่เราเห็น จึงต้องออกแบบให้เข้ากับนาฏศิลป์ไทยอย่างลงตัว และเชื่อมโยงกับศาสตร์ของท่ารำสมัยกรุงศรีอยุธยา ดังนั้นการวิจัยจึงสำคัญ เพื่อทำศิลปะละครเชิงรุกและยกระดับสังคมได้มากยิ่งขึ้น

อ.ยุทธนา อัครเดชานัฏ


แม้ละคร”จากเจ้าพระยาสู่อิรวดี”จะจบไปแล้ว แต่เชื่อว่า หัวใจหลักของละครที่พยายามสื่อสารและสะท้อนภาพประวัติศาสาตร์ของสองราชอาณาจักร  เมื่อ 200 กว่าปีก่อนให้ตรงกับความเป็นจริงมากที่สุด จะตราตรึงใจคนดู และนับเป็นการยกระดับการทำละคร ตลอดจน เป็นการนำร่องนำข้อมูลจากงานวิจัยมาโลดแล่นมีชีวิต ไม่ได้เป็นแค่เอกสารในชั้นหนังสือเท่านั้น.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'ไทยพีบีเอส' บวงสรวงละคร 'กล้าทะเล'

ถือฤกษ์ดีจัดงานพิธีบวงสรวงละครเรื่องใหม่ กล้าทะเล โปรเจกต์ที่ได้แรงบันดาลใจจากบทประพันธ์เรื่อง คนกล้าทะเล ของ ฐานวดี สถิตยุทธการ นำมาพัฒนาต่อยอดด้วยการลงพื้นที่เก็บข้อมูลบุคคลจริงจากสถานที่จริงในปัจจุบันและมีการเพิ่มเติมเรื่องราวการผจญภัยของตัวละครให้เกิดความน่าสนใจมากยิ่งขึ้น จนกลายเป็นบทโทรทัศน์เรื่อง กล้าทะเล โดยผู้กำกับ วิรดา คูหาวันต์ ร่วมกับ ปรีดิ์ แพศย์ตระกูล และ เสฏฐวุฒิ อินบุญ ผลิตโดยบริษัท จูเวไนล์ จำกัด ออกอากาศทางไทยพีบีเอส ช่องหมายเลข 3

'ทับทิม อัญรินทร์' เล่นซีรีส์พีเรียดหญิงรักหญิง เรื่องแรกของไทย

สร้างความเซอร์ไพรส์ให้กับแฟนละครเป็นอย่างมาก เมื่อ ทับทิม-อัญรินทร์ ธีราธนันพัฒน์ นางเอกคุณภาพมากด้วยฝีมือได้ตกลงรับเล่นซีรีส์ยูริ (Girl Love) เป็นครั้งแรก

'ไทยพีบีเอส' ได้ฤกษ์บวงสรวง 'หม่อมเป็ดสวรรค์' ละครแห่งปี

ไทยพีบีเอส โดย รศ. ดร.วิลาสินี พิพิธกุล ผู้อำนวยการองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย นำทีมผู้บริหาร ส.ส.ท. พร้อมด้วย สถาพร นาควิไลโรจน์ ผู้จัดและผู้กำกับ แห่งบริษัท แม็กซ์ เมจิก เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด และกองทัพนักแสดง ถือฤกษ์ดีเวลา 09.59 น. จัดพิธีบวงสรวงละครเรื่องใหม่ หม่อมเป็ดสวรรค์ ณ ศาลพระพรหม ไทยพีบีเอส (Thai PBS)

สสส. พอช. และไทยพีบีเอส เปิดบ้าน ชวนคนรุ่นใหม่เสนอโครงการ คนรุ่นใหม่คืนถิ่นเฟส 2 “Movement คนรุ่นใหม่”

สสส. : วันศุกร์ที่ 3 พฤษภาคม 2567 เวลา 10.00 – 12.00 น. สสส. ร่วม พอช. และ Thai PBS เปิดบ้านรับข้อเสนอโครงการ “Movement คนรุ่นใหม่” ตั้งแต่วันนี้ – 25 พฤษภาคม 2567

'Letter from the sun' สุดเจ๋ง คว้ารางวัลเทศกาลหนังอินเดีย

ยังคงเดินหน้าสร้างความภูมิใจให้กับคนไทยอีกครั้ง สำหรับ Letter from the sun ครั้งนั้น ไม่เคยลืม ละครส่งเสริมคุณค่าทางวัฒนธรรม สอดแทรกสาระความรู้คู่ความบันเทิง เติมเต็มความสนุกครบทุกอรรถรส โดยไทยพีบีเอส ร่วมกับ ศูนย์พหุวัฒนธรรมศึกษาและนวัตกรรมทางสังคม สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

'ไทยพีบีเอส' เอาใจคุณหนูๆ บวงสรวงละคร '7 อัคนี พิทักษ์จักรวาล'

ไทยพีบีเอส และ ALTV องค์กรสื่อสาธารณะ มีความมุ่งมั่นที่จะสร้างสรรค์และส่งเสริมรายการสำหรับเด็กที่เป็นสื่อคุณภาพและปลอดภัยเหมาะสมกับพัฒนาการตามช่วงวัย มุ่งเน้นการเป็นพื้นที่เรียนรู้ของเด็ก เยาวชนและครอบครัว ร่วมกับค่าย จูเวไนล์ (JUVE9) ผู้ผลิตละครคุณภาพ