สืบสาน อนุรักษ์'ปะลางิง' ผ้าพื้นถิ่นชายแดนใต้

ถ้าเดินทางไปทางเขตชายแดนใต้ของประเทศไทย นับตั้งแต่จังหวัดปัตตานี ยะลา จนถึงจังหวัดนราธิวาส จะพบเห็นวัฒนธรรมการทอผ้าที่ได้อิทธิพลจากศาสนามุสลิม ทำให้ผ้าทอประเภทต่างๆ ในดินแดนภาคใต้มีอัตลักษณ์ที่โดดเด่น มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จัก

สำหรับผ้าทอมือพื้นเมืองลายโบราณที่สำคัญ คือ “ผ้าปะลางิง” โดดเด่นที่มีประวัติยาวนานกว่า 100 ปี จากฝีมือและภูมิปัญญาชาวมุสลิมในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้   มีอัตลักษณ์ที่การใช้เทคนิคการพิมพ์ลายบนผืนผ้าด้วย “บล็อกไม้” แต่ละบล็อกแกะสลักเป็นลวดลายต่างๆ ที่สะท้อนเอกลักษณ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น มีความเชื่อมโยงเกี่ยวพันกับวิถีชีวิต วัฒนธรรม และศาสนา เกิดเป็นมรดกทางภูมิปัญญาสืบทอดต่อกันมารุ่นสู่รุ่น

ด้วยความตระหนักในคุณค่าของภูมิปัญญาการทำผ้าโบราณ อาจารย์ปิยะ สุวรรณพฤกษ์  ครูภูมิปัญญาผ้าพื้นเมืองปะลางิง ชาว จ.ยะลา ร่วมกับกลุ่มศรียะลาบาติก ร่วมกันฟื้นฟูและอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น ตลอดจนมีการพัฒนาสร้างสรรค์กระบวนการผลิตจนมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักในระดับสากล

อาจารย์ปิยะ บอกว่า  กลุ่มศรียะลาบาติก เริ่มต้นขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2548 ด้วยแรงบันดาลใจของพวกเราที่อยากจะร่วมกันอนุรักษ์ภูมิปัญญาและกรรมวิธีการผลิตผ้าพื้นเมืองลายโบราณที่สูญหายไปร่วม 80 ปี และหนึ่งในความตั้งใจที่สำคัญ คือ การได้ต่อยอดภูมิปัญญาดั้งเดิมและพัฒนารูปแบบให้ทันสมัยเข้ากับตลาดปัจจุบัน

“ เอกลักษณ์ของลายทอผ้าปะลางิง คือ การนำลวดลายโบราณมาประยุกต์ อาทิ ลวดลายมัสยิดโบราณ  กระเบื้องโบราณ  แม่พิมพ์ขนมโบราณ การละเล่นโบราณ นกเขา  นกกรงหัวจุก ขณะที่การแกะแม่พิมพ์ไม้ ก็ใช้ไม้ขาวดำที่ใช้ทำกรงนก เพราะมีคุณสมบัติที่แข็งและเหนียว ทำให้แกะเป็นลายเส้นเล็กๆได้   “

กว่าจะได้ผ้าปะลางิงหนึ่งผืน ครูภูมิปัญญาอธิบายว่า ต้องรวมทุกเทคนิคของการทำผ้าบาติกไว้ในผ้าผืนเดียว ประกอบด้วยการทอ มัดย้อม การพิมพ์ลายด้วยแม่พิมพ์ไม้ การเขียนเทียน (จันติ้ง) กัดสี ปิดสี และเพ้นท์สี ส่วนเนื้อผ้ามีลักษณะเป็นผ้าทอไหมผสมฝ้าย เส้นยืนคือฝ้าย ส่วนเส้นพุ่งใช้เส้นไหม ทอเป็นลายลูกแก้วซ้อนกัน

กระบวนการจะเริ่มจากกระบวนการทอ ต่อด้วยการมัดย้อมดอกลายบางๆ นำมาขึงแล้วเขียนทับสีที่มัดย้อม นำมาล้างสีออก ให้เหลือลายที่เขียนทับด้วยเทียน ตามด้วยการลงสีพื้นทับทั้งหมด เตรียมแม่พิมพ์ไม้สำหรับการพิมพ์ ซึ่งแม่พิมพ์แกะเอง  ลงสีตามช่องตัวลายที่พิมพ์ลงไป

ในส่วนหัวผ้าจะมีการปิดเทียนและลงสีเพิ่มเพื่อเพิ่มมิติให้กับตัวลาย หัวผ้าจะมีการเขียนและโชว์ลายมากกว่าตรงส่วนอื่น เมื่อลงสีทั้งหมดแล้ว จะรอให้ผ้าแห้งแล้วเคลือบทับด้วยโซเดียมซิลิเกต  ซึ่งเป็นกระบวนการเดียวกับการทำผ้าบาติก  ปล่อยให้แห้ง นำไปล้าง ต้มเอาเทียนออก แล้วซักล้างให้สะอาด สำเร็จเป็นผ้าพื้นถิ่นปักษ์ใต้ชวนมองและมีไว้ครอบครอง

การอนุรักษ์ สืบสาน และพัฒนาผ้าปะลางิง ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง และเมื่อปี 2558  สมาชิกกลุ่มศรียะลาบาติกได้รับการถ่ายทอดความรู้ในการพัฒนาเพิ่มมูลค่าให้กับผ้าพื้นถิ่นจากสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย (สศร.)  กระทรวงวัฒนธรรม ที่ส่งผู้เชี่ยวชาญด้านผ้าไทย  ร่วมกับดีไซเนอร์ผู้มีชื่อเสียง อาทิ  ธีระ ฉันทสวัสดิ์ และหิรัญพฤกษ์ ภัทรบริบูลย์กุล มาช่วยพัฒนาความรู้  จนสามารถประยุกต์ออกแบบลวดลายผ้า และกำหนดเทรนด์สีจากสีธรรมชาติให้เข้ากับยุคสมัย สวมใส่ได้ในชีวิตประจำวัน    ดัดแปลงเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ มากมาย เป็นที่นิยมในไทยและต่างประเทศ  ขณะนี้มีลวดลายกว่า 200 แบบ ทุกลายมีเรื่องเล่า นอกจากนี้ กลุ่มได้ถ่ายทอดความรู้สู่ชุมชนต่างๆ ด้วย

ความงดงามของผ้าลวดลาย สีสันของผ้าปะลางิงที่กล่าวมา คนไทยสามารถติดตามผลงานและสนับสนุนผลิตภัณฑ์ของ กลุ่มศรียะลาบาติก ได้ผ่านทาง เพจSriYala-Batik เป็นส่วนหนึ่งในการสร้างโอกาส สร้างอาชีพ และสร้างรายได้ให้ชุมชน

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ผลงาน'ตรี อภิรุม' ราชานิยายลึกลับสยองขวัญ

21 พ.ย.2567 - นายประสพ เรียงเงิน อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) กล่าวว่า นายเทพ ชุมสาย ณ อยุธยา ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ (นวนิยาย) พุทธศักราช 2562  นามปากกา “ตรี อภิรุม” หรือ “นายเทพ ชุมสาย ณ อยุธยา” เจ้าของผลงาน “นาคี” 

แสดงงาน3ศิลปินเหรียญทองจิตรกรรมบัวหลวง

ถือเป็นงานของศิลปินดาวรุ่งมากความสามารถด้านจิตรกรรมที่ต้องห้ามพลาดเมื่อ จัดงานนิทรรศการ “3 อัตลักษณ์”  โดย 3 ศิลปินเจ้าของเหรียญทองจากการประกวดจิตรกรรมบัวหลวง โดยรวบรวมผลงานกว่า 100 ชิ้น มาจัดแสดงให้ชมอย่างใกล้ชิด

บูรณะวัดไชยวัฒนารามนำชีวิตชีวาสู่มรดกโลก

วัดไชยวัฒนาราม จ.พระนครศรีอยุธยา งดงามทรงคุณค่า เป็นหนึ่งในหลักฐานที่แสดงถึงความยิ่งใหญ่และรุ่มรวยทางวัฒนธรรมของกรุงศรีอยุธยาอดีตเมืองหลวงอันยิ่งใหญ่ วัดเก่าแก่แห่งนี้เป็นโบราณสถานสำคัญของอยุธยา และเป็นส่วนหนึ่งของอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาที่โดย

ชัยพัฒนาแฟร์ สัญจร นครนายก น้อมรำลึก ร.9

สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี นายกกิตติมศักดิ์และประธานกรรมการมูลนิธิชัยพัฒนา พระราชทานพระราชานุญาตให้มูลนิธิชัยพัฒนาจัดงาน “ชัยพัฒนาแฟร์” ขึ้น เพื่อแสดงแนวคิดด้านการพัฒนา

'4วัด1วัง'เที่ยวมรดกโลกอยุธยายามราตรี

กระแสตอบรับดีสำหรับโครงการท่องเที่ยวโบราณสถานยามค่ำคืนในพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ปีนี้กระทรวงวัฒนธรรม โดยกรมศิลปากร ยกระดับท่องเที่ยวโบราณสถานยามราตรีเปิดโบราณสถานให้นักท่องเที่ยวได้เข้าชมเพิ่มขึ้นเป็น 5 แห่ง ประกอบด้วย