ฝ่าขวากหนามสู่ผ้าร่วมสมัยชายแดนใต้

กว่า 6 ปีที่สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย (สศร.) ร่วมพัฒนาสิ่งทอในจังหวัดชายแดนใต้ เป็นบทพิสูจน์ความร่วมมือกับชุมชนในการก้าวผ่านอุปสรรคต่างๆ  ตั้งแต่เทคนิค ลวดลาย เทรนด์การออกแบบเครื่องแต่งกายผ้าไทย ตลาดสินค้าบนแพลตฟอร์มดิจิทัล  ซึ่งเป็นการปรับตัวของแวดวงสิ่งทอ มีชุมชนจำนวนมากที่ต้องเลิกอาชีพทอผ้า เนื่องจากไม่สามารถปรับตัวได้ทันตามพฤติกรรมที่เปลี่ยนไป  ภารกิจส่งเสริมมรดกทางภูมิปัญญาประเภทสิ่งทอของ สศร. ภายใต้โครงการผ้าไทยร่วมสมัยชายแดนใต้นี้ ยึดหลัก”การผสานภูมิปัญญาสิ่งทอพื้นเมืองกับศิลปะร่วมร่วมสมัยอย่างมีคุณค่าเผยแพร่สู่สากล “  ขณะนี้เปิดโอกาสให้ทุกคนได้ชมผลงานสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์จากลายผ้าไทยร่วมสมัยชายแดนใต้ผ่านโซเชียลมีเดีย

เกษร  กำเหนิดเพ็ชร รองผู้อำนวยการฯ รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กล่าวว่า มรดกทางภูมิปัญญาประเภทสิ่งทอเป็นหนึ่งในคุณค่าความหลากหลายทางวัฒนธรรมที่มีเอกลักษณ์ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (ปัตตานี ยะลา นราธิวาส) และ 4 อำเภอของสงขลา (จะนะ เทพา นาทวี สะบ้าย้อย) สศร. จัดทำโครงการ อบรมและพัฒนา ศิลปะลายผ้าร่วมสมัยให้แก่กลุ่มผู้ผลิตผ้าพื้นเมืองในชุมชนต่างๆ มาตั้งแต่ปี 2558 จนถึงปัจจุบัน

ออกแบบต่อยอดผ้าบาติกให้สู่สากล 

จุดแข็งเชิญเหล่านักออกแบบแฟชั่นเครื่องแต่งกายมืออาชีพ ผู้มีความสามารถโดดเด่นทั้งในระดับประเทศและมีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางในระดับสากล ได้แก่ ธีระ ฉันทสวัสดิ์  วิชระวิชญ์ อัครสันติสุข ธันย์ชนก ยาวิลาศ  หิรัญกฤษฏิ์ ภัทรบริบูรณ์กุล  เอก ทองประเสริฐ ปัญจพล กุลปภังกร ศรัณย์ เย็นปัญญา ศรันรัตน์ พรรจิรเจริญ ดาเนียล ซู ปฏิพัทธ์ ชัยวิเทศ และเอ็ดวิน อาว เป็นต้น มาเป็นวิทยากรถ่ายทอดความรู้ เทคนิคและประสบการณ์ให้แก่กลุ่มผลิตภัณฑ์ผ้าทอจากชุมชนต่างๆ ที่เข้าร่วมโครงการฯ เพื่อพลิกโฉมผ้าแดนใต้ 

“นอกจากความรู้ความเข้าใจในศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยแล้ว ผู้เข้าอบรมยังสามารถนำความรู้และความคิดสร้างสรรค์ไปต่อยอดในการพัฒนาลายผ้ารูปแบบใหม่ๆ ให้เป็นผลิตภัณฑ์จากลายผ้าไทยร่วมสมัยชายแดนใต้เพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดแฟชั่นเครื่องแต่งกายทั้งภายในและภายนอกประเทศ    เสริมสร้างรายได้และความภาคภูมิใจจากการผสมผสานภูมิปัญญาสิ่งทอพื้นเมืองเข้ากับแนวทางศิลปะร่วมสมัยได้อย่างเป็นรูปธรรม “ เกสรย้ำถึงผลจากการพัฒนา 

 

สวยเก๋! กระเป๋า-หมวกลายผ้าไทยร่วมสมัย

จากที่พัฒนาเกิดผลิตภัณฑ์เก๋ๆ ปั้นช่างทอที่มีหัวใจสร้างสรรค์เข้ากับเทรนด์คนยุคนี้  เพื่อเป็นแรงผลักดันและเสริมสร้างแรงบันดาลใจให้แก่ผู้ประกอบการสิ่งทอร่วมสมัยและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องของวงการ  สศร. นำข้อมูลและภาพผลงานการออกแบบผ้าไทยในโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าไทยร่วมสมัยชายแดนใต้ ปี 2558 ,โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์และออกแบบลายผ้าไทยร่วมสมัยชายแดนใต้’(Contemporary Southern Batik by OCAC) ปี พ.ศ. 2562 และโครงการพัฒนาการออกแบบลายผ้าร่วมสมัยไทยชายแดนใต้สู่สากล ปี พ.ศ. 2563 โดยกลุ่มผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่เข้าร่วมโครงการอบรมฯ ได้แก่ รายาบาติก บาติกเดอนารา ตันหยงปาตานี ศรียะลาบาติก อาดือนันบาติก เก๋บาติก อิบรอเฮงบาติก ซาโลมา ปาเต๊ะ บาติกบ้านบาโง อ่าวมะนาวบาติก อัลฮามีนบาติก มีดีที่นาทับ เป็นต้น นำมาเผยแพร่ผ่านช่องทางออนไลน์ เพื่อให้ผู้ที่สนใจสามารถติดตามชมได้ทางเพจสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย

 เป็นอีกหนึ่งความเคลื่อนไหวที่น่าจับตามอง

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ประติมากรรมเพื่อชุมชน แหล่งรวมคนเมืองแห่งใหม่

ใจกลางกรุงเทพฯ นอกจากสวนสาธารณะพื้นที่สีเขียว สถานที่พักผ่อนหย่อนใจและเป็นปอดให้กับคนเมืองแล้ว การมีสวนประติมากรรมให้เที่ยวชมย่านใจกลางเมือง เป็นแหล่งนัดพบชาวเมืองแห่งใหม่ เต็มเต็มความสุขของการใช้ชีวิตในเมืองด้วยผลงานศิลปะที่ชวนให้เราหยุดพัก

7 ศิลปินรางวัล'ศิลปาธร' ต้นแบบคนรุ่นใหม่

ศิลปินศิลปาธรล้วนเป็นศิลปินร่วมสมัยรุ่นกลางที่ทุ่มเทพลังความคิด สติปัญญา และจิตใจมุ่งมั่น สร้างผลงานศิลปะร่วมสมัยที่มีอัตลักษณ์โดดเด่น ปีนี้ กระทรวงวัฒนธรรม สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย (สศร.)ยกย่องเชิดชูเกียรติให้แก่ศิลปินร่วมสมัยดีเด่นรางวัล’ศิลปาธร’ จำนวน  7 สาขา

ปักหมุดพิพิธภัณฑ์ใน LA ต้องไปชมสักครั้ง

การเดินทางท่องเที่ยวในต่างประเทศให้สนุกสนาน  นอกจากสถานที่ท่องเที่ยวธรรมชาติที่งดงามตระการตาและแหล่งมรดกวัฒนธรรมล้ำค่า พิพิธภัณฑ์ เป็นอีกหนึ่งในเดสติเนชั่นที่เราอยากแนะนำให้ไปเยี่ยมชม เก็บเกี่ยวช่วงเวลาพิเศษควรค่าแก่การจดจำ

ไทยโชว์งานศิลปะร่วมสมัย'ช็องจู คราฟต์ เบียนนาเล่'

12 ก.ย.2567 - นายโกวิท ผกามาศ ผู้อำนวยการสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย เข้าร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ว่าด้วยการจัดนิทรรศการประเทศรับเชิญในงาน 2025 Cheongju Craft Biennale ร่วมกับ Mr. Lee Beom-seok ผู้ว่าการเมืองช็องจู ประธานคณะกรรมการจัดงาน Cheongju Craft Biennale ณ สาธารณรัฐเกาหลีใต้ เมื่อวันก่อน

'นิรันดร์กัลป์'ธีมศิลปะ ภูเก็ตเบียนนาเล่

มหกรรมศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ Thailand Biennale , Phuket 2025  เปิดตัวผู้อำนวยการฝ่ายศิลป์ นายอริญชย์ รุ่งแจ้ง  และ Mr. David The  พร้อมภัณฑารักษ์ นางสาวมาริสา พันธรักษ์ราชเดช และ Ms. Hera Chan ณ HOUSE OF TIN BARON อำเภอเมืองภูเก็ต จ.ภูเก็ต ตอกย้ำความพร้อมจัด Thailand Biennale ครั้งที่ 4

5 ศิลปินรุ่นใหม่อัปสกิลศิลปะ หาประสบการณ์ใหม่ๆ ที่สหรัฐ

คณะศิลปินรุ่นใหม่ 5 คน 5 สไตล์ที่มีผลงานโดดเด่นคว้ารางวัลจากการประกวดโครงการพัฒนาศักยภาพศิลปินรุ่นใหม่ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 :  Young Artist Talent 2024 “  เดินทางข้ามทวีปไปศึกษาดูงานพิพิธภัณฑ์ศิลปะที่ดีที่สุดและเป็นที่นิยมในนครลอสแองเจลิส เมืองศิลปะระดับท็อปของสหรัฐอเมริกา