2,000เพลง'ไวพจน์ เพชรสุพรรณ'ศิลปินแห่งชาติฝากไว้กับแผ่นดิน

เพจ:ไวพจน์ เพชรสุพรรณ

สวธ.แจ้งสวดพระอภิธรรมศพ ‘ไวพจน์ เพชรสุพรรณ’ศิลปินแห่งชาติ-ราชาเพลงแหล่ วันที่14-22 ม.ค. ณ วัดวังน้ำเย็น จ.สุพรรณบุรี มอบเงินช่วยจัดทำหนังสือเผยแพร่ผลงาน เปิดประวัติมีงานบันทึกแผ่นเสียงกว่า2,000เพลง

13 ม.ค.2565 -นายชาย นครชัย อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) กล่าวว่า วงการเพลงลูกทุ่งสุดเศร้า เมื่อได้รับรายงานว่า นายไวพจน์ สกุลนี ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (นักร้องเพลงลูกทุ่ง) พุทธศักราช 2540  ถึงแก่กรรมเมื่อวันพุธที่ 12  มกราคม 2565  เวลา 15.24  น. ณ โรงพยาบาลตากสิน ถนนสมเด็จเจ้าพระยา แขวงคลองสาน เขตคลองสาน กรุงเทพมหานคร เนื่องจากติดเชื้อในกระแสเลือด สิริรวมอายุ  79  ปี โดยได้ขอพระราชทานน้ำหลวงอาบศพ ในวันศุกร์ที่ 14 มกราคม  2565  เวลา  17.00  น. และกำหนดสวดพระอภิธรรมศพ ระหว่างวันที่ 14-22  มกราคม 2565   เวลา 19.00  น. ณ วัดวังน้ำเย็น ตำบลวังน้ำเย็น อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี ซึ่งทายาทจะเก็บศพไว้บำเพ็ญกุศล 50  วัน และ สวธ.จะดำเนินการขอพระราชทานเพลิงศพต่อไป

อธิบดี สวธ. กล่าวต่อว่า นอกจากกรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) ในฐานะหน่วยงานที่ดำเนินการยกย่องเชิดชูเกียรติศิลปินแห่งชาติเผยแพร่และถ่ายทอดผลงานให้เป็นที่ประจักษ์ต่อสาธารณชน แล้ว ในยามที่ศิลปินฯ เสียชีวิต ยังให้การช่วยเหลือด้านต่าง ๆ นอกจากดำเนินการขอพระราชทานเพลิงศพ แล้ว ยังมอบเงินช่วยเหลือเมื่อเสียชีวิตเพื่อร่วมการบำเพ็ญกุศลศพจำนวน  20,000 บาท และเงินช่วยเหลือค่าจัดทำหนังสือเพื่อเผยแพร่ผลงานเมื่อเสียชีวิตเท่าที่จ่ายจริงไม่เกิน 150,000 บาท และขอพระราชทานเพลิงศพให้ ตามระเบียบสวัสดิการของศิลปินแห่งชาติ

ประวัติและผลงาน นายไวพจน์ สกุลนี เกิดเมื่อวันที่ 7  มีนาคม พ.ศ. 2485  ที่จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นนักร้องเพลงลูกทุ่งที่มีชื่อเสียงในนาม ไวพจน์ เพชรสุพรรณ โดยเริ่มหัดร้องเพลงอีแซวกับมารดามาตั้งแต่อายุ 12 ปี จากนั้นฝึกหัดร้องลิเกกับคณะลิเกประทีปสามารถร้องเพลงแหล่ได้เป็นอย่างดีเมื่ออายุ 14 ปี ด้วยพรสวรรค์ของน้ำเสียงและการแหล่ที่มีเอกลักษณ์ เฉพาะตัวทำให้ก้าวเข้าสู่วงการเพลงลูกทุ่งด้วยการใช้พื้นฐานเดิมจากเพลงอีแซว เพลงแหล่ และลิเก มาปรับประยุกต์ใช้ในการขับร้องเพลงจนเป็นที่จับใจผู้ฟังเพลงทั่วประเทศต่อเนื่องมาจนปัจจุบัน มีผลงานบันทึกแผ่นเสียงกว่า 2,000 เพลง

นายไวพจน์ เป็นนักร้องลูกทุ่งที่มีพลังเสียงก้องกังวาน มีผลงานโดดเด่นเป็นพิเศษในการร้องเพลงแหล่ จนได้รับฉายาว่าเป็น “ราชาเพลงแหล่จากเมืองสุพรรณที่มีผลงานบันทึกแผ่นเสียงเพลงแหล่มากที่สุดในประเทศไทย” มีผลงานที่สร้างชื่อเสียง ได้แก่ หนุ่มนารอนาง, สาละวันรำวง, แตงเถาตาย, ให้พี่บวชเสียก่อน นอกจากจะมีความสามารถสูงในการร้องเพลงแล้ว ครูไวพจน์ยังมีความสามารถเฉพาะตัวแต่งเพลงให้ตนเองและลูกศิษย์ขับร้องจนมีชื่อเสียงจำนวนมาก อาทิ เพลงแก้วรอพี่ นักร้องบ้านนอก เป็นต้น ครูไวพจน์ได้รับรางวัลนักร้องดีเด่นจากงานกึ่งศตวรรษลูกทุ่งครั้งที่ 1 จากเพลงสาละวันลำวง และงานกึ่งศตวรรษลูกทุ่งครั้งที่ 2  จากเพลงแตงเถาตาย ของสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ รางวัลพระพิฆเนศทองคำ เป็นต้น

นายไวพจน์ นับเป็นบุคคลแบบอย่างแก่ศิษยานุศิษย์ในการอุทิศตนให้กับงานด้านศิลปะการแสดงจวบจนวาระสุดท้ายของชีวิต ทั้งการขับร้องเพลงลูกทุ่ง เพลงพื้นบ้าน อีแซว เพลงเรือ เพลงแหล่ ที่ถ่ายทอดให้ผู้ฟังเกิดความสนุกเพลิดเพลิน พร้อมทั้งแฝงแง่คิดและหลักธรรมคำสอนในพระพุทธศาสนา โดยเฉพาะการบรรพชาและการอุปสมบทแทนคุณบิดา มารดา อันแสดงถึงความเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนาของเหลาพุทธศาสนิกชนที่ปฏิบัติสืบเนื่องกันมาช้านานจนถึงปัจจุบัน นายไวพจน์ สกุลนี จึงได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (นักร้องเพลงลูกทุ่ง) พุทธศักราช 2540

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'ครูสลา - โอม ค็อกเทล - แม็ก เดอะ ดาร์คเคสท์ โรแมนซ์' คว้ารางวัลอันทรงเกียรติ

ครูสลา คุณวุฒิ ศิลปินแห่งชาติ พ.ศ. 2564 สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีไทยสากล - ประพันธ์เพลงไทยลูกทุ่ง) พร้อมด้วย โอม-ปัณฑพล ประสารราชกิจ นักร้องนำวงค็อกเทล (Cocktail) และ แม็ก-ธิติวัฒน์ รองทอง นักร้องนำและมือเบสวง เดอะ ดาร์คเคสท์ โรแมนซ์ (The Darkest Romance) ได้รับรางวัล "เพชรในเพลง" ประจำปี 2567

12 ศิลปินแห่งชาติมือฉมัง ปั้นนักเขียนคลื่นลูกใหม่ก้าวสู่มืออาชีพ

เป็นอีกครั้งที่ศิลปินแห่งชาติสาขาวรรณศิลป์ชื่อดังมาถ่ายทอดความรู้ และแบ่งปันประสบการณ์บนถนนนักเขียนเพื่อจุดประกายให้นักเขียนรุ่นใหม่มีความรู้และแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์วรรณกรรมให้แก่ผู้ที่มีความสนใจในการเขียนทั้งนวนิยาย  เรื่องสั้น  สารคดี และกวีนิพนธ์ กว่า 80 คน

สิ้นศิลปินแห่งชาติ ฤกษ์ฤทธิ์ แก้ววิเชียร

6 มิ.ย. 2567 - นายโกวิท ผกามาศ อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) เปิดเผยว่า ตนได้รับรายงานว่า นายฤกษ์ฤทธิ์ แก้ววิเชียร ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (สถาปัตยกรรมภายใน และมัณฑนศิลป์) พ.ศ. 2565 ได้ถึงแก่กรรมอย่างสงบ เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 6 มิถุนายน 2567

ศิลปินนักร้องชื่อดังหลากรุ่น ร่วมเชิดชู 'สมาน กาญจนะผลิน'

จบลงอย่างสวยงาม กับคอนเสิร์ต เชิดชูครูเพลง 103 ปี ชาตกาล "เพลงคู่...ครูสมาน กาญจนะผลิน" เมื่อวันนี้ บ่ายวันอาทิตย์ที่ผ่านมา ณ โรงมหรสพหลวงศาลาเฉลิมกรุง เปิดงานช่วงแรกด้วย 2 พิธีกร โกมุท คงเทศ และ ขวัญรวี กาญจนะผลิน ที่ชวน จิรวุฒิ กาญจนะผลิน ทายาทครูสมาน มาเล่าเรื่องราว การประพันธ์เพลงของครูสมาน กาญจนะผลิน ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง(เพลงไทยสากล) ปี 2531ให้ฟังกัน

ศิลปินแห่งชาติ แพร่บทความเรื่องการใช้เงินให้เป็น กรณีสกายวอล์กแยกปทุมวัน

นายวินทร์ เลียววาริณ ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ โพสต์เฟซบุ๊กว่า สองวันนี้มีหลายคนถามผมว่าคิดอย่างไรกับงานออกแบบอัตลักษณ์เมือง (พวกเขาใช้คำฝรั่งว่า City Branding) ของกทม. ผมจะไม่แสดงความคิดเห็นในเรื่องการออกแบบ เพราะมันเป็นเรื่อง subjective บางคนชอบ บางคนไม่ชอบ เป็นเรื่องธรรมดา