นวนิยายเรื่อง”เดฟั่น” โดยศิริวร แก้วกาญจน์ คว้ารางวัลซีไรต์ ปี 2564 คณะกรรมการชี้เป็นเสมือนประวัติศาสตร์ท้องถิ่นที่เขียนตอบโต้ประวัติศาสตร์กระแสหลัก เดินเรื่องสอดคล้องกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงในสังคม เล่าเรื่องอย่างมีวรรณศิลป์
10 ม.ค. 2565 – งานประกาศผลการตัดสินรางวัลซีไรต์ ประเภท”นวนิยาย” ประจำปี 2564 คณะกรรมการดำเนินงานรางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน (ซีไรต์) ปรับเป็นรูปแบบออนไลน์ทางเพจสมาคมภาษาและหนังสือแห่งประเทศไทยฯ @penthailand เพจสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย @thaiwriterassociation ตามรัฐบาลได้ประกาศยกระดับการเตือนภัยโรคโควิด-19 เป็นระดับ 4
คณะกรรมการตัดสินรางวัลซีไรต์พิจารณาจากนวนิยาย 10 เรื่องที่เข้ารอบสุดท้าย ดังนี้ 1.24-7/1 โดยภูกระดาษ สำนักพิมพ์มติชน 2.เกิดในฤดูหนาวที่แดดส่องถึง โดยนทธี ศศิวิมล แพรวสำนักพิมพ์ 3.ดำดิ่งสู่เบื้องบน โดยวัฒน์ ยวงแก้ว ผจญภัยสำนักพิมพ์ 4.เดฟั่น โดยศิริวร แก้วกาญจน์ ผจญภัยสำนักพิมพ์ 5.ภูเขาน้ำตา โดยอนุสรณ์ มาราสา สำนักพิมพ์บลูเบิร์ด
6.รอยสนธยา โดยทรงศีล ทิวสมบุญ Songsin Things 7.วรรณกรรมที่แท้จริงน่ะ ต้องใช้คอมพิวเตอร์เขียนเท่านั้นไม่รู้เหรอ โดย ร เรือในมหาสมุท บริษัท พะโล้ พับลิชชิ่ง จำกัด 8.วายัง อมฤต โดยอนุสรณ์ ติปยานนท์ สำนักพิมพ์ Din-Dan Book 9.สุสานสยาม โดยปราปต์ แพรวสำนักพิมพ์ และ 10. อาณาเขต โดยนิธิ นิธิวีรกุล สำนักพิมพ์สมมติ
คณะกรรมการมีมติเป็นเอกฉันท์ให้นวนิยายเรื่องเดฟั่น ของศิริวร แก้วกาญจน์ ได้รับรางวัลซีไรต์ปี 2564 นวนิยายเล่าเรื่องราวการก่อตั้งชุมชนท้องถิ่นในอดีต เชื่อมโยงกับการตั้งถิ่นฐานของคนภาคใต้ในบริเวณเทือกเขาบรรทัดและลุ่มทะเลสาบ แสดงให้เห็นความหลากหลายทางวัฒนธรรมของผู้คน ส่งสาระสำคัญว่าด้วยความทรงจำบาดแผลที่ถูกลบเลือน เป็นเสมือนประวัติศาสตร์ท้องถิ่นที่เขียนตอบโตประวัติศาสตร์กระแสหลัก
เดฟั่นใช้ตำนานวีรบุรุษที่เล่ากันในท้องถิ่นภาคใต้เป็นตัวเดินเรื่องให้สอดคล้องกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงในสังคม เล่าเรื่องในลีลาวรรณกรรมแนวสัจนิยมมหัศจรรย์อย่างมีวรรณศิลป์ ผ่านตัวละครเอก คือ “เดฟั่น” ซึ่งสูญเสียคงฃวามทรงจำและหลงอยู่ในมิติของห้วงคำนึงที่แหว่งวิ่น นวนิยายเรื่องนี้เดินเรื่องโดยใช้วิธีตัดต่ออย่างกระชับฉับไว เอื้อให้ผู้อ่านต่อเติมจินตนาการและทาบเทียบประสบการณ์ของตนเข้ากับการล่มสลายของชุมชนท้องถิ่นที่เกิดจากโครงสร้างอำนาจที่ไม่เป็นธรรม ก่อให้เกิดอารมณ์สะเทือนใจต่อชะตากรรมของมนุษยชาติ
เดฟั่นแสดงให้เห็นพลังของวรรณกรรมในการถ่ายทอดประวัติศาสตร์ที่เล่าไม่ได้และไม่ได้เล่า
สมาคมภาษาและหนังสือแห่งประเทศไทยจัดกิจกรรมวันพบนักเขียนซีไรต์ วันที่ 15 มกราคม 2565 เวลา 15.00 น. เป็นรูปแบบออนไลน์ทางเพจสมาคมภาษาและหนังสือแห่งประเทศไทย
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
จิม ทอมป์สัน ฟาร์ม ชมศิลปะกลางทุ่งถิ่นอีสาน
เปิดประตูต้อนรับคนรักงานศิลป์และดื่มด่ำธรรมชาติท่ามกลางสายลมหนาวและทุ่งนากว้างใหญ่บนพื้นที่กว่า 600 ไร่ ปีนี้จิม ทอมป์สัน ฟาร์ม ถ่ายทอดจิตวิญญาณแห่งความเป็นอีสานผ่านหลากหลายผลงานจากศิลปินชื่อดังที่มาร่วมจัดแสดงและรังสรรค์กิจกรรมธีม “อีสานเอิ้นหา” (Isan Calling)
กรมสมเด็จพระเทพฯ ทรงเปิดงานกาชาดปี 2567
11 ธ.ค. 2567 เวลา 17.00 น. สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร มหาวชิราลงกรณวรราชภักดี สิริกิจการิณีพีรยพัฒน รัฐสีมาคุณากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี อุปนายิกาผู้อำนวยการสภากาชาดไทย เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิดงานกาชาดประจำปี 2567 ภายใต้
'ประสพ เรียงเงิน' นั่งปลัดวธ.คนใหม่
11 ธ.ค.2567 - ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติแต่งตั้งตามที่กระทรวงวัฒนธรรมเสนอ โดยแต่งตั้งนายประสพ เรียงเงิน อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม ให้ดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงวัฒนธรรม เพื่อทดแทนตำแหน่งที่ว่างลง ทั้งนี้ นายประสพ ถือว่าเป็นลูกหม้อกระทรวงวัฒนธรรม เคย
เปิดพิกัดเที่ยวพิพิธภัณฑ์ยามค่ำคืนในจุฬาฯ
ปีนี้งาน Night Museum at Chula เที่ยวชมพิพิธภัณฑ์ยามค่ำคืน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดภายใต้แนวคิด “เสน่ห์ Science” ชูเสน่ห์ของวิทยาศาสตร์ที่อยู่ในธรรมชาติรอบตัวเรา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีบทบาทสำคัญในชีวิตประจำวันและเป็นแรงขับเคลื่อนทุกย่างก้าวของคนในปัจจุบัน
สิ้น'สันติ ลุนเผ่' ศิลปินแห่งชาติ นักร้องเสียงทรงพลัง
นายประสพ เรียงเงิน อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กล่าวว่า กรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) โดยกองกองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรม ได้รับการประสานงานจากผู้ดูแลของเรือตรี สันติ ลุนเผ่ ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีสากล) พุทธศักราช 2558 ว่า เรือตรี สันติ ลุนเผ่ ถึงแก่กรรมอย่างสงบ เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2567
ฉลอง'ต้มยำกุ้ง' กระหึ่มโลก ชวนลองเมนูมรดกวัฒนธรรม
โด่งดังก้องโลกกับเมนูต้มยำกุ้งของดีเมืองไทย กระทรวงวัฒนธรรม โดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรม จัดงานฉลองต้มยำกุ้งและเคบายา มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของมนุษยชาติ ในโอกาสที่ ยูเนสโก ได้ประกาศขึ้นทะเบียน “ต้มยำกุ้ง” (Tomyum Kung) และ “เคบายา” เป็นรายการตัวแทนมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ (Representative List