วธ.ชง'10สร้าง'แผนพัฒนาฯ13 ดึงทุนวัฒนธรรมพัฒนาชาติ

วธ.ชง”10สร้าง”แผนพัฒนาฯ 13 เสนออุตสาหกรรมวัฒนธรรมเป็นหมุดหมายพัฒนาประเทศไทย สร้างวัฒนธรรมท่องเที่ยว-ทุนมนุษย์-แพทย์แผนไทย-ศิลปะเกษตร ดึงทุกส่วนร่วมมือ

4 ม.ค.2565 – นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เปิดเผยว่า ตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สศช.) อยู่ระหว่างจัดทำร่างแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ.2566 – 2570)ที่มุ่งพลิกโฉมประเทศไทยสู่“สังคมก้าวหน้า เศรษฐกิจสร้างมูลค่าอย่างยั่งยืน”โดยเปิดรับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วน ซึ่งในส่วนของกระทรวงวัฒนธรรม(วธ.) ได้ปรับวิสัยทัศน์ พันธกิจ และยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติราชการวธ. ระยะ 5 ปี (พ.ศ.2566-2570) เพื่อขับเคลื่อนวธ.เป็นหน่วยงานสังคมกึ่งเศรษฐกิจที่ได้รับการยอมรับทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งวิสัยทัศน์ใหม่ที่จะเริ่มใช้ในปี พ.ศ. 2565 คือ “วัฒนธรรมและความคิดสร้างสรรค์ มีบทบาทนำในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมไทย” ดังนั้น จึงเสนอ สศช. ใส่ไว้ในร่างแผนพัฒนาฯฉบับที่ 13 โดยเพิ่มบทบาทของวัฒนธรรมภายใต้หลักการ “10 สร้าง” บนฐานศิลปะและทุนวัฒนธรรม และเสนออุตสาหกรรมวัฒนธรรมเป็นหมุดหมายหลักในการตอบโจทย์พัฒนาประเทศไทยที่มีความสอดคล้องและเชื่อมโยงกับร่างแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13 ในหมุดหมายที่ 2 ไทยเป็นจุดหมายของการท่องเที่ยวที่เน้นคุณภาพและความยั่งยืน หมุดหมายที่ 7 ไทยมีวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่เข้มแข็งมีศักยภาพสูงและสามารถแข่งขันได้ หมุดหมายที่ 8 ไทยมีพื้นที่และเมืองอัจฉริยะที่น่าอยู่ ปลอดภัย เติบโตได้อย่างยั่งยืน และหมุดหมายที่ 12 ไทยมีกำลังคนสมรรถนะสูงมุ่งเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ตอบโจทย์การพัฒนาแห่งอนาคต 
นายอิทธิพล กล่าวอีกว่า สำหรับหลักการ ” 10 สร้าง”บนฐานศิลปะและทุนวัฒนธรรม ได้แก่ 1.สร้าง “วัฒนธรรมท่องเที่ยว” เน้นท่องเที่ยวอย่างรับผิดชอบได้ความรู้ ได้ประสบการณ์ที่ดี อนุรักษ์วัฒนธรรมท้องถิ่น กระจายรายได้ และเพิ่มรายได้จากการท่องเที่ยวไทย 2.สร้าง “อุตสาหกรรมวัฒนธรรม” และกฎหมายอุตสาหกรรมวัฒนธรรม เพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันในตลาดโลก รองรับสินค้าและบริการทางวัฒนธรรม ยกสถานะอาชีพศิลปิน ให้คนไทยเป็นทรัพย์สินทางปัญญา 3.สร้าง “ทุนมนุษย์”ที่มีคุณธรรม ความคิดสร้างสรรค์ และมีทักษะวิชาชีพและการตลาดด้วยการศึกษาที่เหมาะสมกับแต่ละคน 4.สร้าง “อุตสาหกรรมแพทย์ทางเลือก” เสริมความสุขกาย สบายใจด้วยแพทย์แผนไทย แพทย์ทางเลือก สมุนไพรไทยและภูมิปัญญาท้องถิ่นเชิงสุขภาพ 5.สร้าง “ศิลปะเกษตร” เชื่อมโยงสินค้าเกษตร นวัตกรรม ศิลปะและการตลาด เพิ่มมูลค่าแบบก้าวกระโดด ส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก 6.สร้าง “อุตสาหกรรมคอนเทนต์และข้อมูล” เสริมความแข็งแกร่ง soft power ของไทยเน้นมุมมองเชิงวัฒนธรรมเปรียบเทียบ รู้กลุ่มเป้าหมาย ตอบโจทย์ความต้องการ และใช้จุดเด่นความเป็นไทยด้วยกลยุทธ์ “เร็วกว่า สร้างสรรค์กว่า มีข้อมูลมากกว่า” 7.สร้าง “พหุปัญญา”บูรณาการวิทยาศาสตร์ ปัญญาประดิษฐ์ ศิลปะและวัฒนธรรมเข้าด้วยกัน รองรับการสร้างมูลค่าเพิ่มในอนาคต 8.สร้าง “ความร่วมมือ”ทุกภาคส่วน ภาครัฐทำงานร่วมกับเอกชน สร้างผู้ประกอบการอัจฉริยะ ให้เวทีคนรุ่นใหม่แสดงความสามารถ 9.สร้าง “ภูมิคุ้มกันทางสังคม” เน้นรู้เท่าทันดิจิทัล เข้าถึงนวัตกรรม วิเคราะห์ข้อมูลข่าวสาร มีเหตุผลและรู้จักตัวเอง และ10. สร้าง “พื้นที่สร้างสรรค์และระบบนิเวศทางวัฒนธรรม”ส่งเสริมพื้นที่สร้างงาน แหล่งเรียนรู้ เมืองน่าอยู่ ปลอดภัยและดีต่อใจ เพิ่มผลิตภาพและผลิตผลทางเศรษฐกิจ และลดความเปราะบางทางสังคม 
นายอิทธิพล กล่าวด้วยว่า หลักการ” 10 สร้าง” บนฐานศิลปะและทุนวัฒนธรรมที่วธ.เสนอสภาพัฒน์ฯใส่ไว้ในร่างแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13 เป็นการขับเคลื่อนงานศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรมด้วยแนวคิด“เศรษฐกิจวัฒนธรรมใหม่ สร้างรายได้ เสริมคุณค่า พัฒนาสังคม” มุ่งเน้นส่งเสริมให้เด็ก เยาวชนและประชาชนเข้าถึงศิลปวัฒนธรรม ใช้ศักยภาพเพื่อการสร้างสรรค์ นำทุนวัฒนธรรมมาพัฒนาคุณภาพชีวิต ส่งเสริมเศรษฐกิจและสังคมไทยเพื่อนำพาประเทศไปสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน 

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

รมว. ปุ๋ง ชวนเที่ยวงาน‘อาหารไทยถิ่น กินด้วยภูมิปัญญา’ ครั้งแรกเปิดตัวโลโก้-เพลง Thailand Best Local Food

2 ก.ค.2567 - นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวว่า กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.)

สืบสานงานศิลป์ 2 แผ่นดิน ศิลปกรรมสยาม

เนื่องในวโรกาสมหามงคล 72 พรรษา พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ชมรมพุทธศิลป์ศิมาลัยทรงธรรม วัดศิมาลัยทรงธรรม กลุ่มศิลปาศรี ร่วมกับกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.)  จัดแสดงนิทรรศการศิลปกรรมเฉลิมพระเกียรติ

บรรพชาอุปสมบท-บวชชีพรหมโพธิ ปฏิบัติธรรมสังเวชนียสถาน ถวายเป็นพระราชกุศล

วธ.ร่วมกับวัดสุวรรณภูมิพุทธชยันตี จัดบรรพชาอุปสมบทและบวชชีพรหมโพธิ เดินทางไปปฏิบัติธรรม - ศึกษาพุทธประวัติ ณ พุทธสังเวชนียสถานอินเดีย - เนปาล

ยอดชมมหรสพสมโภช เฉลิมพระเกียรติฯ 5 วัน 5 แสนคน

16 ก.ค.2567 - นางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวว่า รัฐบาล โดยกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) บูรณาการความร่วมมือกับกระทรวงต่างๆ หน่วยงานรัฐ เอกชนและเครือข่ายวัฒนธรรมจัดงานมหรสพสมโภช เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

'วันอาสาฬหบูชา' เปิดพื้นที่อนุรักษ์วิถีแห่งศรัทธา

วันอาสาฬหบูชา ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 ปีนี้ ตรงกับวันที่ 20 กรกฎาคม 2567  ถือเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสน อาสาฬหบูชา ย่อมาจากคำว่า "อาสาฬหปูรณมีบูชา" แปลว่า "การบูชาในวันเพ็ญเดือนอาสาฬหะ" อันเป็นเดือนที่ 4 ตามปฏิทินของประเทศอินเดีย ตรงกับวันเพ็ญ เดือน 8 ตามปฏิทินจันทรคติของไทย มักตรงกับเดือน ก.ค. หรือ