ประเทศไทยมีพระพุทธรูปมงคลมากมาย ทุกปีกรมศิลปากรอัญเชิญพระพุทธรูปโบราณมาให้คนไทยได้กราบสักการะ นอกจากพุทธศิลป์อันงดงามล้ำค่าแล้ว ก็มีประวัติความเป็นมาที่สำคัญ เนื่องในโอกาสขึ้นปีใหม่ พ.ศ.2565 นี้ กรมศิลปากรชวนคนไทยมาร่วมกิจกรรมพิเศษสักการะพระพุทธรูปวังหน้า พระปฏิมาแห่งแผ่นดิน : นบพระนำพร บวรสถานพุทธปฏิมามงคล 2565 ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร โดยมีพระพุทธสิหิงค์ พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ประจำพระราชวังบวรสถานมงคล (วังหน้า) ประดิษฐานอยู่ ณ พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ เป็นประธาน พร้อมทั้งอัญเชิญพระพุทธรูปมงคลโบราณอีก 9 องค์ ซึ่งมีตำนานการสร้างและนามอันเป็นสิริมงคลมาประดิษฐานให้พุทธศาสนิกชนได้สักการบูชา เพื่ออำนวยความสุขและเป็นสิริมงคลกับตัวเองและครอบครัวในวาระแห่งการเริ่มต้นศักราชใหม่
นอกจากไหว้พระขอพรแล้ว ยังมีไฮไลต์สามารถชมนิทรรศการพิเศษขนาดเล็กให้ความรู้เกี่ยวกับความเป็นมาและรูปแบบทางศิลปกรรมของพระพุทธรูปทั้ง 10 องค์ ซึ่งมีรูปแบบทางศิลปกรรมแตกต่างกันไป ช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ศิลปะและวัฒนธรรมได้เป็นอย่างดี เริ่มที่ พระพุทธสิหิงค์ ศิลปะสุโขทัย – ล้านนา ปลายพุทธศตวรรษที่ 20-21 พระพุทธรูปปางประทานพร ศิลปะอินเดีย สมัยราชวงศ์ปาละ พุทธศตวรรษที่ 14 พระไภษัชยคุรุ ศิลปะลพบุรี พุทธศตวรรษที่ 18
ภายในพระที่นั่งพุทไธสวรรย์ยังมีพระอมิตายุสประดิษฐาน เป็นพระพุทธรูปศิลปะล้านนา พุทธศตวรรษที่ 21 พระพุทธรูปปางฉันสมอ ศิลปะรัตนโกสินทร์ พุทธศตวรรษที่ 24 พระหายโศก ศิลปะล้านนา พุทธศตวรรษที่ 21 กราบไหว้แล้วจะหมดทุกข์หมดโศก
มาต่อกันที่พระพุทธรูปปางห้ามญาติ (ปางประทานอภัย) อีกหนึ่งพระพุทธรูปมงคล ซึ่งงดงามด้วยศิลปะสุโขทัย พุทธศตวรรษที่ 20 พระพุทธรูปปางห้ามสมุทร ศิลปะอยุธยา พุทธศตวรรษที่ 22 พระชัยเมืองนครราชสีมา ศิลปะอยุธยา พุทธศตวรรษที่ 22-23 และพระชัย ศิลปะรัตนโกสินทร์ พุทธศตวรรษที่ 24 พระพุทธรูปทุกองค์เป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญ
วันหยุดยาวปีใหม่นี้ชวนกันมาสักการะพระพุทธรูปวังหน้า พระปฏิมาแห่งแผ่นดิน : นบพระนำพร บวรสถานพุทธปฏิมามงคล 2565 ณ พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ ตั้งแต่บัดนี้ถึงวันที่ 9 ม.ค.2565 เวลา 09.00-16.00 น. ทุกวัน ไม่เว้นวันหยุดราชการ
กิจกรรมส่งความสุขแบบวิถีไทยยังไม่หมด สำนักการสังคีต ชวนชมการแสดง “เหมันต์บันเทิง รื่นเริงสังคีต”โครงการดนตรีสำหรับประชาชน ปีที่ 65 พบกับการบรรเลงดนตรีและการแสดงอันหลากหลาย ทั้งแบบมาตรฐาน แบบพื้นเมือง และแบบสากล สลับสับ เปลี่ยนกันไป โดยศิลปินของสำนักการสังคีต กรมศิลปากร และภาคเอกชน ทุกวันเสาร์และวันอาทิตย์ เวลา 17.30 -19.30 น. ตั้งแต่บัดนี้ถึงวันที่ 27 ก.พ.2565 ณ สังคีตศาลา เวทีกลางแจ้ง บริเวณพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร บัตรเข้าชมการแสดงคนละ 20 บาท ชื่นชอบการแสดงศิลปวัฒนธรรม หลงรักเสียงดนตรี ห้ามพลาดของขวัญอีกชิ้นจากกรมศิลปากรผ่านโครงการดนตรีสำหรับประชาชนนำเสนอความบันเทิงและความรู้สู่คนไทยแบบเต็มอิ่ม สนใจติดตามโปรแกรมการแสดงได้ทาง เฟสบุ๊ก สำนักการสังคีต กรมศิลปากร
ทั้งนี้ ทุกกิจกรรมมีมาตรการเฝ้าระวังและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยตรวจวัดอุณหภูมิผู้เข้าร่วมกิจกรรมทุกคน เจ้าหน้าที่และผู้เข้าร่วมกิจกรรมต้องใส่หน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้าตลอดเวลา บริการเจลแอลกอฮอล์ตามจุดต่างๆ ที่มีการสัมผัสบ่อย พร้อมทั้งขอความร่วมมือผู้เข้าร่วมกิจกรรมปฏิบัติตามมาตรการ DMHTTA และ Covid Free Setting เราต้องอยู่กับโควิดยาว ฉะนั้น ไม่ประมาทการ์ดอย่าตก
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ชมพิพิธภัณฑ์ยามค่ำ Night at The Museum
กลับมาอีกครั้งสำหรับบิ๊กอีเว้นท์ของคนรักพิพิธภัณฑ์ เมื่อกรมศิลปากร โดยพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กำหนดจัดกิจกรรม "ชมพิพิธภัณฑ์ยามค่ำ" Night at the Museum ในเทศกาลท่องเที่ยวพิพิธภัณฑ์ยามค่ำคืน
บูรณะวัดไชยวัฒนารามนำชีวิตชีวาสู่มรดกโลก
วัดไชยวัฒนาราม จ.พระนครศรีอยุธยา งดงามทรงคุณค่า เป็นหนึ่งในหลักฐานที่แสดงถึงความยิ่งใหญ่และรุ่มรวยทางวัฒนธรรมของกรุงศรีอยุธยาอดีตเมืองหลวงอันยิ่งใหญ่ วัดเก่าแก่แห่งนี้เป็นโบราณสถานสำคัญของอยุธยา และเป็นส่วนหนึ่งของอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาที่โดย
'4วัด1วัง'เที่ยวมรดกโลกอยุธยายามราตรี
กระแสตอบรับดีสำหรับโครงการท่องเที่ยวโบราณสถานยามค่ำคืนในพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ปีนี้กระทรวงวัฒนธรรม โดยกรมศิลปากร ยกระดับท่องเที่ยวโบราณสถานยามราตรีเปิดโบราณสถานให้นักท่องเที่ยวได้เข้าชมเพิ่มขึ้นเป็น 5 แห่ง ประกอบด้วย
ย้อนเวลา 4 วัด 1 วัง เมื่อครั้งต้นกรุงฯ
ชวนแต่งชุดไทยเดินทางย้อนเวลากลับไปสู่ช่วงต้นกรุงศรีอยุธยา ดื่มด่ำกับบรรยากาศโบราณสถานยามค่ำคืนที่งดงามในงาน “ 4 วัด 1 วัง เมื่อครั้งต้นกรุงฯ” ภายใต้แนวคิด “ย้อนเวลา ส่องวิถี ปลุกแสงสี พระนครศรีอยุธยา” โดยจะจัดกิจกรรมตามวัดและโบราณสถานที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์
โบราณสถานเวียงกุมกามเสียหายหนักจากน้ำท่วม
7 ต.ค.2567 - นายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร กล่าวว่า จากการลงพื้นที่ จ.เชียงใหม่ เพื่อติดตามผลกระทบของสถานการณ์อุทกภัยที่มีต่อโบราณสถานสำคัญของจังหวัด โดยพบว่า พื้นที่เวียงกุมกามที่เป็นเมืองโบราณสมัยพญามังรายปฐมกษัตริย์ล้านนา ที่ตั้งอยู่ในอำเภอสา
คนรักศิลปฯแย้งผู้ว่าฯทุบปูนปั้นครูทองร่วง ยันผู้เสียหายคือสาธารณะ เตือนผิดม.157
นายวรา จันทร์มณี เลขาธิการชมรมคนรักศิลปวัฒนธรรม อดีตเลขาฯศิลปินแห่งชาติ อังคาร กัลยาณพงศ์ โพสต์เฟซบุ๊ก กรณีทุบปูนปั้นครูทองร่วง เอมโอษฐ ที่วัดมหาธาตุวรวิหาร จังหวัดเพชรบุรี (ตอนที่ 2) ระบุว่า