งานรำลึก ‘ถวัลย์ ดัชนี’ ที่พิพิธภัณฑ์บ้านดำ

อาจารย์ถวัลย์ ดัชนี ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ ถือเป็นปูชนียบุคคลที่มีความสำคัญต่อวงการจิตรกรรมของไทย สร้างสรรค์ผลงานอันมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว จนเป็นที่รู้จักและยอมรับทั่วโลก ศิลปินล้านนาผู้ยิ่งใหญ่ท่านนี้ได้หว่านเมล็ดพันธุ์ศิลปะไว้มากมาย ด้วยการอุทิศตน มุ่งมั่น เสียสละ ถ่ายทอดประสบการณ์ความรู้ รวมถึงชี้แนะแนวทางให้แก่เด็ก เยาวชน ครู อาจารย์ ศิลปินรุ่นใหม่ และผู้ที่สนใจในงานศิลปะตลอดช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่  

วันที่ 27 กันยายน 2566 วันคล้ายวันเกิดอาจารย์ถวัลย์ ดัชนี กระทรวงวัฒนธรรม โดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรม ร่วมกับ สภาวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเชียงรายและพิพิธภัณฑ์บ้านดำ จัดงานสืบสานศิลปวัฒนธรรม ศิลปินรำลึก เนื่องในวันถวัลย์ ดัชนี ประจำปี 2566 โดยมี นางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธาน ณ พิพิธภัณฑ์บ้านดำ ต.นางแล อ.เมืองเชียงราย จ.เชียงราย โอกาสนี้ นายโกวิท ผกามาศ อธิบดี สวธ.,  นายประสพ เรียงเงิน ผอ.สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย, ดร.ดอยธิเบศร์ ดัชนี ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์บ้านดำ ร่วมงาน  พร้อมด้วยเหล่าศิลปินเชียงราย

โอกาสครบ 84 ปี ชาตกาล ดร.ถวัลย์ ดัชนี มีพิธีทำบุญตักบาตรพระสงฆ์ 27 รูป และพิธีบำเพ็ญกุศลทักษิณานุปทานพระสงฆ์   จากนั้นนางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ถวายและมอบรางวัล Thawan Duchanee Arts and Culture Prize ประจำปี 2566 แด่ผู้มีคุณูปการต่อวงการศิลปะ ได้แก่  พระไพศาลประชาทร วิ. เจ้าอาวาสวัดห้วยปลากั้ง จ. เชียงราย , พระครูโสภณศิลปาคม เจ้าอาวาสวัดมิ่งเมือง เจ้าคณะตำบลเวียง เขต 1 จ.เชียงราย ,นายโกวิท ผกามาศ อธิบดี สวธ. , นายบุญชัย คิวสุวรรณ ผู้ก่อตั้งร้านไม้มุงเงิน ผู้ส่งเสริมภูมิปัญญาสล่าแกะไม้แห่งล้านนา และสล่าคำจันทร์ ยาโน สล่าเก๊าผู้สลักเสลาชีวิตลงบนน้ำบวย ผู้สืบสานตำนาน พ่ออุ๊ยแสง ลือสุวรรณ แห่งบ้านถ้ำผาตอง

นายโกวิท ผกามาศ กล่าวว่า ดร.ถวัลย์ มีคุณูปการต่อวงการศิลปะไทย และศิลปะร่วมสมัย เป็นอาจารย์ ผู้ถ่ายทอดความรู้ เป็นผู้สร้างแรงบันดาลใจ ให้แก่บุคลากร วงการศิลปะทั้ง ศิลปินไทย นักเรียน นักศึกษา  สวธ. พร้อมที่จะส่งเสริม และเผยแพร่ผลงานศิลปวัฒนธรรมของ ดร.ถวัลย์ ให้เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง พร้อมสนับสนุนการสร้างมูลค่าเพิ่ม และคุณค่าให้กับผลงานของ ดร. ถวัลย์ ที่ได้สร้างสรรค์ไว้ให้อนุชนรุ่นหลัง

ทั้งนี้ ที่ประชุมคณะกรรมการกองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรมมีความเห็นตรงกันที่จะให้การสนับสนุนโครงการทายาทศิลปินแห่งชาติ ซึ่งจัดทำขึ้นครั้งแรกในปีงบฯ 2567 มุ่งสืบสานภารกิจผลงานของศิลปินแห่งชาติทุกสาขา ให้มีการเผยแพร่ นำผลงานทั้งด้านทัศนศิลป์ สถาปัตยกรรม วรรณศิลป์ มาสร้างมูลค่าและสร้างคุณค่าสู่พื้นที่ โดยร่วมกับทายาทศิลปินนำผลงานมาประยุกต์สู่การสร้างสรรค์เป็นผลงานอื่นๆ เป็นการผลักดันซอฟพาวเวอร์ไทย ผลผลิตจากศิลปินแห่งชาติ ไปสร้างมูลค่าเพิ่ม สร้างชื่อเสียงให้ประเทศไทยต่อไป


ดร.ดอยธิเบศร์ ดัชนี ผอ.พิพิธภัณฑ์บ้านดำ กล่าวว่า รางวัล Thawan Duchanee Arts and Culture Prizeสร้างขึ้นเพื่อสนับสนุน ส่งเสริม และให้กำลังใจแก่ศิลปิน ตลอดจนบุคลากรด้านศิลปวัฒนธรรม ผู้มีส่วนขับเคลื่อนและสร้างคุณูปการต่อแผ่นดิน เป็นรางวัลที่นำเอาลวดลายผลงานอาจารย์ถวัลย์ ดัชนี “กนกเปลวนาคราช” มาใช้ออกแบบ และรังสรรค์ขึ้นจากยอดสล่าแห่งบ้านดำ ผู้ได้รับการคัดเลือกจากอาจารย์ถวัลย์ฝึกฝนเคี่ยวกรำนานกว่า 30 ปี เป็นผู้จำหลักลายบนบานประตูมหาวิหาร แกะสลักรางวัลอย่างวิจิตรลงบนไม้สักทองเพียงท่อนเดียวใช้เวลาสร้างนับปี เพื่อให้เหมาะสมควรค่าแก่ผู้รับรางวัลอันทรงเกียรติ

ปีนี้ครบรอบปีที่ 9 ทางพิพิธภัณฑ์บ้านดำ และคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิได้พิจารณาร่วมกัน และมีมติเป็นเอกฉันท์ว่า ทุกท่านที่ได้รับรางวัลนี้มิใช่เป็นเพียงทรัพยากรบุคคลอันทรงคุณค่าที่สร้างคุณูปการต่อส่วนรวมจนเป็นที่ยอมรับเท่านั้น แต่คือผู้เสียสละ ทุ่มเททำงานอย่างหนัก เพื่อวงการศิลปวัฒนธรรมจนประสบผลสำเร็จ ทั้งเป็นแบบอย่างที่ดีงาม เป็นผู้ชี้แนะแนวทาง พร้อมช่วยเหลือสนับสนุนวงการศิลปวัฒนธรรมให้เดินหน้าต่อไปอย่างเข้มแข็งและยั่งยืน  

กิจกรรมภายในงานยังมีการมอบทุนการศึกษากองทุน ถวัลย์ ดัชนี แก่นักเรียน นักศึกษา และศิลปินผู้มีความสามารถโดดเด่นทางด้านศิลปะ และการจัดงาน Art Market “กาดหมั้วคัวศิลป์” ปี 2566 เปิดโอกาสให้คนในชุมชนออกร้านจำหน่ายผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรมในท้องถิ่นให้แก่นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างประเทศ ซึ่งได้รับความสนใจอย่างมาก

นอกจากรำลึกศิลปินแห่งชาติ งานนี้ยังตอบสนองโครงการนำร่องของรัฐบาลที่ประกาศให้เชียงรายเป็นเมืองแห่งศิลปะอีกด้วย

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

บอร์ด ICH ขึ้นบัญชี 10 มรดกภูมิปัญญาวัฒนธรรม ‘งานนมัสการพระธาตุพนม-เสื่อกกจันทบูร-ผ้าหม้อห้อม-ตำนานสุบินกุมาร‘

นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการส่งเสริมและรักษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมครั้งที่ 3/2567 พิจารณาเห็นชอบให้กรมส่งเสริมวัฒนธรรม

อาลัย ‘สันติ ลุนเผ่’ ศิลปินแห่งชาติ นักร้องเสียงทรงพลังอมตะ ผู้ขับร้องเพลงปลุกใจรักชาติ

10 ธ.ค.2567 - นายประสพ เรียงเงิน อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) กล่าวว่า ได้รับการประสานงานจากผู้ดูแลของเรือตรี สันติ ลุนเผ่ ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีสากล) พ.ศ.2558 ว่า เรือตรี สันติ ลุนเผ่ ถึงแก่กรรมอย่างสงบ เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม

สิ้น'สันติ ลุนเผ่' ศิลปินแห่งชาติ นักร้องเสียงทรงพลัง

นายประสพ เรียงเงิน อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กล่าวว่า กรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) โดยกองกองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรม ได้รับการประสานงานจากผู้ดูแลของเรือตรี สันติ ลุนเผ่ ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีสากล) พุทธศักราช 2558  ว่า เรือตรี สันติ ลุนเผ่ ถึงแก่กรรมอย่างสงบ เมื่อวันที่ 10  ธันวาคม 2567

ฉลอง'ต้มยำกุ้ง' กระหึ่มโลก ชวนลองเมนูมรดกวัฒนธรรม

โด่งดังก้องโลกกับเมนูต้มยำกุ้งของดีเมืองไทย กระทรวงวัฒนธรรม โดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรม จัดงานฉลองต้มยำกุ้งและเคบายา มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของมนุษยชาติ ในโอกาสที่ ยูเนสโก ได้ประกาศขึ้นทะเบียน “ต้มยำกุ้ง” (Tomyum Kung) และ “เคบายา” เป็นรายการตัวแทนมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ (Representative List

ลุ้น'ต้มยำกุ้ง'ขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญาวัฒนธรรม

3 ธ.ค.2567 - นายประสพ เรียงเงิน อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมองค์การเพื่อการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือ ยูเนสโก จะประชุมพิจารณาประกาศขึ้นทะเบียนอาหาร “ต้มยำกุ้ง” ของประเทศไทย และชุด “เคบายา” เสนอโดยสิงคโปร์ ร่วมกับไทย มาเลเซีย อินโ