สินค้าศิลปหัตถกรรมไทยจากภูมิปัญญาที่สืบทอดจากรุ่นสู่รุ่น ปัจจุบันมีการต่อยอดและปรับเปลี่ยนไปตามยุคสมัยสอดคล้องกับไลฟ์สไตล์ผู้คนในปัจจุบัน เพื่อสืบสานและส่งเสริมงานหัตถศิลป์ไทยทั้งแบบดั้งเดิมและร่วมสมัย สถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (องค์การมหาชน) (สศท.) หรือ SACIT เตรียมจัดงานยิ่งใหญ่แห่งปี 2 งานไว้ในที่เดียว ได้แก่ งานอัตลักษณ์แห่งสยามครั้งที่ 12 และงาน Crafts Bangkok 2021 ภายใต้แนวคิด “ความงามอันทรงคุณค่าและการพัฒนาที่ไม่สิ้นสุด “
ภายในงานจัดแสดงสุดยอดสินค้าหัตถกรรม อาทิ งานเครื่องถม จากครูแดง-อุทัย เจียรศิริ ครูศิลป์ของแผ่นดิน ปี 2562, ภาพวาดสีน้ำมันจากปลายพู่กันของอาจารย์สมาน คลังจัตุรัส, แหวนลายผ้าซิ่นครามสกลจากแบรนด์ PORANA , กำไล เข็มกลัด ดีไซน์เก๋ด้วยเทคนิคโมกุเม่ กาเน่ สำหรับทำดาบซามูไรของชาวญี่ปุ่นผสานกับงานช่างฝีมือไทย จาก PONK SMITHI, กระเป๋าหนังที่ตกแต่งด้วยผ้าไหมจาก แบรนด์ PATTRASARNN ฯลฯ นอกจากนี้ ขนทัพสินค้าศิลปหัตถกรรมไทยและงานคราฟต์มาจำหน่ายบนพื้นที่จัดงาน 6,000 ตารางเมตร ณ ฮอลล์ 98-100 ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา ระหว่างวันที่ 9-12 ธ.ค. 2564
พรพล เอกอรรถพร รักษาการผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (องค์การมหาชน) กล่าวว่าการจัดงานหัตถศิลป์ 2 งานพร้อมกันผู้เข้าร่วมงานจะได้สัมผัสงานศิลปะไทยถึง 2 มิติ มิติแรก งานอัตลักษณ์แห่งสยามที่คงภูมิปัญญางานหัตถกรรมดั้งเดิม มิติที่สอง มีความทันสมัยผ่านงาน Crafts Bangkok 2021 เหมาะกับทุกเพศทุกวัย ภายในงานยังมีสินค้าอีกมากมายที่มาจากทั้งครูช่างศิลป์ ทายาทช่างศิลป์ หรือสินค้างานคราฟท์ที่ทันสมัยจากฝีมือนักศึกษา เพื่อยกระดับให้เป็นงานศิลปหัตถกรรมที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประเทศ ส่งเสริมรายได้และอนุรักษ์งานหัตถกรรมไทย ทั้งนี้ การจัดงานอยู่ภายใต้มาตรการกระทรวงสาธารณสุข แม้จะอยู่ในช่วงวิกฤติโควิด-19 แต่งานศิลปหัตถกรรมไทยได้รับการยอมรับและเป็นที่นิยมอย่างต่อเนื่อง หวังว่า ประชาชนจะมาจับจ่ายเพื่อช่วยกันกระตุ้นเศรษฐกิจฐากราก อีกทั้งสนับสนุนงานแฮนด์เมดของชุมชน สืบสานและต่อยอดงานศิลปหัตถกรรมชั้นสูง คาดว่าจะสามารถสร้างเม็ดเงินกว่า 150 ล้านบาท
ครูอุทัย เจียรศิริ นายกสมาคมครูช่างศิลปหัตถกรรมไทยและครูศิลป์ของแผ่นดินปี 2562 กล่าวว่า กิจกรรมที่จะเกิดขึ้นถือว่าได้เปิดประสบการณ์สัมผัสงานศิลปหัตถกรรมผลงานครูช่างในหลากหลายแขนงถึง 2 งาน เพื่อจุดประกายให้คนรุ่นใหม่นำไปต่อยอด อย่างเครื่องถมเป็นงานหัตถศิลป์โบราณ ตนปรับเปลี่ยนการออกแบบและการใช้งานให้เหมาะกับยุคสมัย จากที่เคยใช้เฉพาะบุคคลชั้นสูงนำมาดีไซน์ให้ใช้ในชีวิตประจำวัน โดยยังคงเอกลักษณ์การเขียนสดด้วยมือไว้ เช่น กระเป๋าเครื่องถมทรง 8 เหลี่ยมลายประจำยาม เป็นลายพราหมณ์จากอินเดีย หรือขันเครื่องถมลายเล่าเรื่องชาดก ตอนนี้กลุ่มลูกค้าส่วนใหญ่ คือ คนที่มีกำลังซื้อ เพราะเครื่องถมราคาสูง ปัจจุบันยังพัฒนางานตัวเองเพื่อให้เข้าถึงฐานลูกค้าใหม่และรักษาลูกค้าเก่าไว้
หัสยา ปรีชารัตน์ ทายาทช่างศิลปหัตถกรรม เจ้าของแบรนด์ไทยเบญจรงค์ กล่าวว่า เกิดในครอบครัวที่ทำงานเบญจรงค์ ได้เห็นคุณพ่อทำงานเบญจรงค์ด้วยความรักมาตลอด เริ่มฝึกฝนมาตั้งแต่เด็ก ทำงานนี้เพื่อสืบสานและต่อยอดพัฒนาผลิตภัณฑ์ในรูปแบบต่างๆ เสน่ห์ของการทำเครื่องเบญจรงค์จะเปลี่ยนสีเมื่อเข้าเตาอบ จากสีที่วาดไว้จะกลายเป็นสีทองเงางาม รวมถึงลวดลายงดงาม นอกจากนี้ ได้ออกแบบเตาอโรม่าและทำเครื่องประดับเบญจรงค์ที่มีความแข็งแรงตกไม่แตกเข้าถึงกลุ่มคนรุ่นใหม่ ช่วงโควิดพฤติกรรมลูกค้าเปลี่ยนแปลงไป เราเน้นจำหน่ายช่องทางออนไลน์ คนสนใจมากขึ้น รวมถึงเจาะตลาดต่างประเทศด้วย
สำหรับงานอัตลักษณ์แห่งสยามครั้งที่ 12 ทั้ง 7 โซน ประกอบด้วย 1.โซนศิลปาชีพรวมไทย จำหน่ายผลิตภัณฑ์จากมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพในพระบรมราชชนนีพันปีหลวงฯ มูลนิธิแม่ฟ้าหลวง และร้านภัทรพัฒน์ 2.โซนครูศิลป์ของแผ่นดิน 2564 นิทรรศการและจัดแสดงผลิตภัณฑ์ครูศิลป์ของแผ่นดิน ครูช่างศิลปหัตถกรรม และทายาทช่างศิลปหัตถกรรม ประจำปี 2564 3.โซนสืบสานภูมิปัญญา สาธิตกระบวนการสร้างผลงานศิลปหัตถกรรมไทยอันมีรูปแบบเฉพาะตัวของเหล่าครูศิลป์แผ่นดิน
4.โซนมรดกล้ำค่าของแผ่นดิน นิทรรศการผลงานครูศิลป์ของแผ่นดิน ครูช่างศิลปหัตถกรรม และทายาทช่างศิลปหัตถกรรม 5.โซนเสน่ห์เส้นสายลายศิลป์ จัดแสดงนิทรรศการภาพวาดสีน้ำมันจากปลายพู่กันของอ.สมาน คลังจัตุรัส พร้อมศิลปินวาดภาพสีน้ำและสีน้ำมันมีชื่อระดับประเทศและสากล พร้อมเปิดตัวภาพวาด “พระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติ ครบ 60 ปี ในปี พ.ศ.2549 ” ครั้งแรก 6.โซนร่วมรังสรรค์งานศิลป์ จัดเวิร์คช็อปถ่ายทอดองค์ความรู้จากครูศิลป์แผ่นดิน และ 7.โซนหัตถศิลป์ทั่วถิ่นไทยพบการออกร้านผลิตภัณฑ์จากฝีมือครูชั้นนำกว่า 200 ร้านค้าจากทั่วทุกภาค อาทิ งานหัวโขน, หนังใหญ่, งานหัตถกรรมผ้าไทย, เครื่องเงิน-เครื่องทอง เป็นต้น
ส่วนงาน Crafts Bangkok 2021 จัดใหญ่กว่าทุกปี รวมงานแสดงและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมไทยร่วมสมัยหลากหลายดีไซน์ 350 บูธ จัดแสดงผลิตภัณฑ์จากแบรนด์คราฟต์ การเจรจาธุรกิจ การสาธิตและทดลองทำงานคราฟต์, นิทรรศการแสดงผลงานการประกวดผ้าไทยใส่ได้ทุก Gen และโครงการ SACIT WAR CRAFT สงครามทำมือ รวมถึงมินิคอนเสิร์ตจากนักร้องชื่อดังอีกด้วย
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
สศท. จัดใหญ่ “อัตลักษณ์แห่งสยาม ครั้งที่ 15” มุ่งสืบสานต่อยอดภูมิปัญญางานหัตถศิลป์ไทยชั้นบรมครูในเวทีระดับสากล
รมช.พาณิชย์ เปิดงาน “อัตลักษณ์แห่งสยาม ครั้งที่ 15” ประกาศเดินหน้าสืบสานภูมิปัญญา รักษา และต่อยอดหัตถศิลป์ไทย ดันเป็นจุดแข็งบนเวทีระดับสากล โชว์ไฮไลท์ “หัตถศิลป์ที่คิดถึง” จัดแสดง 50 ผลงาน ล้ำค่าของครูศิลป์ฯ ครูช่างฯ
สศท. จับมือพันธมิตร SIAMPIWAT และ The Mall Group พัฒนางานคราฟต์ไทยสู่ตลาดสากล
สถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (องค์การมหาชน) หรือ สศท. ร่วมกับพันธมิตร บริษัท SIAMPIWAT จำกัด และ บริษัท The Mall Group จำกัด
สศท.8 เผย ปีนี้ไม้ผลภาคใต้ 4 ชนิด คาดผลผลิตรวม 6.9 แสนตันออกสู่ตลาดแล้วร้อยละ77
นายนิกร แสงเกตุ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 8 สุราษฎร์ธานี (สศท.8) สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยถึงผลสรุปข้อมูลเอกภาพไม้ผลภาคใต้ ปี 2567
สศท. จัดงาน SACIT Craft Power 2025 : Symposium วิเคราะห์แนวโน้มหัตถกรรมปี 68 ผลักดันหัตถกรรมไทยสู่ตลาดโลก
สถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (องค์การมหาชน) หรือ สศท. จัดกิจกรรม SACIT Craft Power 2025 : Symposium โดยเชิญผู้เชี่ยวชาญทั้งชาวไทย และชาวต่างชาติ
สศท.ชวนชื่นชมเสน่ห์งานหัตถศิลป์จากช่างฝีมือในชุมชนหัตถกรรม
สถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (องค์การมหาชน) หรือ สศท. อวดโฉมชุมชนเรียนรู้หัตถกรรมเชื่อมโยงการท่องเที่ยว (Craft Communities) ยกงานหัตถกรรมจากกลุ่มเครื่อง สังคโลกและเครื่องปั้นดินเผา จ.สุโขทัย และวิสาหกิจชุมชนผ้าทอนาหมื่นศรี ที่โดดเด่นเรื่องการทอผ้าเอกลักษณ์ของตำบลนาหมื่นศรี จ.ตรัง รวบรวมไว้ในงาน Crafts Bangkok 2024 ระหว่างวันที่ 24 - 28 สิงหาคมนี้ ตั้งแต่เวลา 10.00 - 20.00 น. ณ ฮอลล์ 98 - 99 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค
วิรัช ทะไกรเนตร ครูศิลป์ของแผ่นดิน ปี 2567 ผู้สร้างสรรค์ “จิตรกรรมเบญจรงค์ร่วมสมัย” หัตถศิลป์ที่ผสานองค์ความรู้อันทรงคุณค่า
จุดเริ่มต้นเกิดจากความรักในงานศิลปหัตถกรรมเครื่องปั้นดินเผา และความสุขของการได้ทำงานจิตรกรรม จึงได้รวบรวมองค์ความรู้ของงานทั้ง 2 ประเภท