ดันพื้นที่คุ้มครองวิถีกลุ่มชาติพันธุ์ 'ชาวเล-กะเหรี่ยง'

ศมส.ผนึกภาคี20จังหวัดที่มี’ชาวเล-กะเหรี่ยง’อาศัย ขับเคลื่อนพื้นที่คุ้มครองวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ สร้างต้นแบบพัฒนาแผนแม่บท

11 พ.ย. 2564 – นพ.โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์ ผอ.ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) หรือ ศมส. กล่าวว่า ศมส. ได้หารือแนวทางการขับเคลื่อนแนวนโยบายฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวเลและชาวกะเหรี่ยง ร่วมกับ เครือข่ายสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด 20 จังหวัด ที่มีกลุ่มชาติพันธุ์ชาวเลและชาวกะเหรี่ยงอยู่อาศัย โดย กำหนดแนวทางการดำเนินงานในปีงบประมาณ 2565 มุ่งต่อยอดและขยายผลการดำเนินงานจากปีที่ผ่านมา โดยให้ความสำคัญกับการส่งเสริมและสนับสนุนมรดกภูมิปัญญาวัฒนธรรมกลุ่มชาติพันธุ์ ให้เกิดประโยชน์ต่อการแก้ไขและพัฒนาคุณภาพชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ แสดงให้เห็นการปรับใช้ทุนทางวัฒนธรรมมาใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาชุมชนและกลุ่มชาติพันธุ์ให้มีความเข้มแข็งทั้งในด้านการส่งเสริมอาชีพและการมีรายได้ การพัฒนาแนวทางการเรียนรู้ที่จะนำไปสู่การยอมรับและเข้าใจในความหลากหลายทางวัฒนธรรม

ผอ.ศมส. กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ยังให้ความสำคัญกับการขับเคลื่อนแนวคิดพื้นที่คุ้มครองวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ ซึ่งแนวคิดดังกล่าววางอยู่บนหลักการเคารพสิทธิทางวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ และให้ความสำคัญต่อกระบวนการมีส่วนร่วมในการพัฒนาและจัดการทรัพยากร โดยมีเป้าหมายที่จะนำไปสู่การคุ้มครองวิถีชีวิต วัฒนธรรมกลุ่มชาติพันธุ์ การสร้างและพัฒนาแนวทางการมีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติร่วมกันระหว่างภาครัฐกับชุมชนชาติพันธุ์ ตลอดจนการพัฒนาคุณภาพชีวิตบนเศรษฐกิจวัฒนธรรมกลุ่มชาติพันธุ์ ทั้งนี้ ศมส. จะร่วมมือกับสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดพิจารณาชุมชนชาติพันธุ์ชาวเลและชาวกะเหรี่ยงที่มีความโดดเด่นทางวัฒนธรรมและศักยภาพในการดำเนินงาน มาพัฒนาเป็นพื้นที่ต้นแบบในการพัฒนาแผนแม่บทบริหารจัดการพื้นที่คุ้มครองวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ ซึ่งจะก่อให้เกิดรูปธรรมการดำเนินงานทั้งในด้านการพัฒนาศักยภาพความเข้มแข็งภายในชุมชนชาติพันธุ์ และกระบวนการมีส่วนร่วมจากหน่วยงาน องค์กรภาคีที่เกี่ยวข้องในระดับพื้นที่ เพื่อขับเคลื่อนไปสู่เป้าหมายของการเป็นพื้นที่คุ้มครองวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์และรองรับการประกาศใช้กฎหมายคุ้มครองและส่งเสริมวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ที่จะเกิดขึ้นต่อไปในอนาคต

“การขับเคลื่อนแนวนโยบายฟื้นฟูวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ ถือเป็นประเด็นที่มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับหน่วยงาน องค์กร และชุมชนที่หลากหลาย จำเป็นต้องมีการพัฒนาและส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมจากภาคส่วน ในการสนับสนุนการดำเนินกิจกรรม โครงการของเครือข่ายชุมชนชาติพันธุ์ และองค์กรพัฒนาเอกชนอื่นๆ เพื่อร่วมเป็นพลังในการสร้างองค์ความรู้ พัฒนาศักยภาพเครือข่ายและชุมชนชาติพันธุ์ให้มีความเข้มแข็ง ตลอดจนการสื่อสารความรู้ สร้างความเข้าใจต่อมิติความหลากหลายทางวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ในสังคมไทยไปพร้อมกัน” นพ.โกมาตร กล่าว

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เปิด 6 สาระสำคัญ ร่างกฎหมายคุ้มครองและส่งเสริมวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์

คณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) คุ้มครองและส่งเสริมวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ พ.ศ. ... สภาผู้แทนราษฎร นำโดย น.ส.ปิยะรัฐชย์ ติยะไพรัช สส.เชียงราย พรรคเพื่อไทย ในฐานะประธาน กมธ.วิสามัญฯ แถลงผลการประชุมว่า ร่าง พ.ร.บ.นี้ เป็นร่างกฎหมายที่ยกร่างขึ้นมาใหม่ทั้งฉบับเป็นครั้งแรก

ชำแหละ 'เพื่อไทย' ครบรอบ 1 ปี เลือกตั้ง 66 ทำประเทศเสียหายมากมาย

ครบรอบหนึ่งปี เลือกตั้ง 66 'จตุพร' ซัดเพื่อไทยทำ ปท.เสียหายมากมาย ตั้งแต่ตระบัดสัตย์ ปล่อย'ทักษิณ' จุ้นจ้านสงครามพม่า แต่นายกฯ กลับเงียบ ไม่มีใครทำอะไรได้ จึงลำพองอำนาจ ลั่น 29 พ.ค.วันชี้ชะตาบ้านเมืองครั้งสำคัญ

บี้รับผิดชอบ! นายกฯ-รมต. รู้เห็นเป็นใจ 'นักโทษ' จุ้นจ้านเมียนมา

นายเทพไท เสนพงศ์ อดีต สส.นครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า รัฐบาลเมียนมาตำหนิทักษิณทำสิ่งไม่เหมาะสม ระวังกระทบความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

'บ้านแม่ปอคี' จ.ตาก เตรียมจัดงานสถาปนาพื้นที่คุ้มครองชุมชนกะเหรี่ยง

นายประหยัด เสือชูชีพ กลุ่มเยาวชนบ้านแม่ปอคี อ.ท่าสองยาง จ.ตาก เปิดเผยว่าในวันที่ 26 เมษายน 2567 ชุมชนบ้านแม่ปอคีจะจัดงานสถาปนาพื้นที่คุ้มครองวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์บ้านแม่ปอคี (ขุนแม่เหว่ย) เพื่อรักษาวิถีชีวิตดั้งเดิมของชุมชนไว้ โดยก่อนหน้านี้ได้มีการเก็บข้อมูลศึกษาวิจัย