เปิดผลงานระดับโลก ใน BAB 2022 “โกลาหล : สงบสุข”

ประกาศความพร้อมจัดงานสำหรับเทศกาลศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ “บางกอก อาร์ต เบียนนาเล่ 2022หรือ BAB 2022 จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 3 ภายใต้แนวคิด CHAOS : CALM  โกลาหล : สงบสุข ตั้งแต่วันที่ 22 ตุลาคม 2565 ถึง    23 กุมภาพันธ์ 2566  ล่าสุด มูลนิธิ บางกอก อาร์ต เบียนนาเล่ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) ผู้จัดงานได้เผยจะมีผลงานศิลปะร่วสมัยมากกว่า 200 ผลงานจาก 73 ศิลปิน 35 สัญชาติ ชั้นนำทั่วโลกมาสร้างความยิ่งใหญ่ให้กับวงการศิลปะไทย บนสถานที่สำคัญของกรุงเทพมหานครทั้งหมด 12 แห่ง ซึ่งนอกจากวัดโพธิ์ วัดอรุณราชวราราม วัดประยูร หอศิลปวัฒนธรรมกรุงเทพมหานคร และสถานที่สำคัญที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวกรุงเทพฯ แล้ว บางกอก อาร์ต เบียนนาเล่ 2022 ได้เพิ่มพื้นที่จัดแสดงงานแห่งใหม่ขึ้นที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ซึ่งเปิดบริการหมาดๆ หลังปิดปรับปรุงใหญ่

ฐาปน สิริวัฒนภักดี ประธานกรรมการ และผู้ก่อตั้งมูลนิธิ Bangkok Art Biennale กล่าวว่า BAB 2022 ถือเป็นโครงการสำคัญที่มีจุดมุ่งหวังเพื่อให้กรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางแห่งการท่องเที่ยวที่สำคัญทางด้านศิลปะร่วมสมัยในอันดับต้นๆ ของโลก และเป็นจุดหมายของนักเดินทางผู้รักงานศิลปะจากทั่วโลก เป็นการผลักดันคุณค่าทางศิลปะ มรดกวัฒนธรรมสู่คุณค่าทางศิลปกรรม เพื่อยกระดับให้เกิดคุณค่าทางเศรษฐกิจสร้างสรรค์แก่เมืองและชุมชน ทั้งชุมชนศิลปะ และชุมชนที่เกี่ยวข้องในด้านการผลิต การบริการ เช่น ร้านอาหาร โรงแรมที่พัก ให้เป็นการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์  นอกจากนี้สัมผัสงานศิลปะสถานที่จริง  ยังเพิ่มพื้นที่เสมือนจริง BAB Virtual Venue ที่จะใช้จัดแสดงผลงาน Digital Art บนโลกออนไลน์เต็มรูปแบบด้วย

“ ปีนี้จัดในคอนเซ็ปต์ CHAOS : CALM  โกลาหล : สงบสุขสะท้อนท่ามกลางความโกลาหล วุ่นวาย ก็ยังมีความสงบนิ่งอยู่ เป็นมิติที่แตกต่างกันอย่างสุดขั้ว แต่อยู่ด้วยกันได้  มีมิติเศรษฐกิจ การเมือง ความอยู่รอดของผู้คนถ่ายทอดผ่านผลงาน” ฐาปน กล่าว

สำหรับความโดดเด่นของศิลปินจากต่างประเทศและไทยที่ร่วม BAB 2022 ศ.ดร.อภินันท์ โปษยานนท์ ประธานอำนวยการและผู้อำนวยการศิลป์ บางกอก อาร์ต เบียนนาเล่  กล่าวว่า งานเดินทางมา 6ปี พิสูจน์อะไรหลายอย่าง กรุงเทพฯมีเสน่ห์ดึงดูดหลายมิติ แต่งาน BAB2022 ไม่ใช่แค่เชิญศิลปินต่างประเทศมาไทย แต่งานได้สร้างศิลปินรุ่นใหม่ให้แจ้งเกิด และดึงดูดคนรักงานศิลป์มากรุงเทพฯ  ความยั่งยืนของงานไม่ใช่จัดครั้งเดียวจบ แต่มีความต่อเนื่อง ซึ่งผู้จัดงานยืนยันจะจัดอีก 3 ครั้ง คือ BAB 2024 ,BAB 2026 และ BAB 2028 สำหรับปีนี้ความพิเศษ คือทีมภัณฑารักษ์และที่ปรึกษามากประสบการณ์จากทั้งไทยและต่างประเทศ มีภัณฑารักษ์รุ่นใหม่ ไฟแรง จิรัสย์ รัฐวงศ์จิรกุล ผอ. Gallery VER และ  ดร.ชมวรรณ วีรวรวิทย์ ที่ปรึกษาด้านแบรนด์และศิลปะ คัดเลือกผลงาน

ส่วนลิสต์ศิลปินมีชื่อเสียง ศ.ดร.อภินันท์ ยกตัวอย่าง  มาริน่า อบราโมวิช ศิลปินสาขาศิลปะการแสดงผู้ยิ่งใหญ่ จัดฉายผลงาน 10 จอ แยกเรื่องความโกลาหลกับสงบสุข ศิลปินผู้นี้จะมาบรรยายพิเศษในเดือน ม.ค.ปี 66 ด้วย ,โรเบิร์ต แมปเปิลทอร์ป แม้ศิลปินเสียชีวิตแล้ว แต่เป็นแบบอย่างศิลปินศิลปะภาพถ่ายที่เน้นเพศสภาพ ,LGBTQ , ความเหลื่อมล้ำ  มูลนิธิฯ ยืมผลงาน 10 ชิ้น มาจัดแสดง โชว์ที่ BAB BOX ศูนย์สิริกิติ์ ส่วนแอนโทนี กอร์มลีย์ ศิลปิน UK  สร้างงานใหม่ติดตั้งกลางแจ้งที่วัดโพธิ์  , เจค และดิโนส แชปแมน สองศิลปินจะบินมาเปิดงานที่ไทย และเสนองานศิลปะเน้นความโกลาหล 

“ นอกจากนี้ มี ทอม แซ้คส์ ศิลปินนักออกแบบสหรัฐที่โด่งดังมาก ศิลปินจะแปลงเรือหางยาง เป็นชิ้นงานศิลปะล่องแม่น้ำเจ้าพระยา ก่อนจะยกมาจัดแสดงให้ชมที่มิวเซียมสยาม ขณะที่คิมซูจา ศิลปินเกาหลีใต้สร้างงานสื่อความสุขสงบ ผู้ชมงานมีส่วนร่วมกับผลงาน ทัตสึโอะ มิยาจิมะ ศิลปินญี่ปุ่นทำเรื่องตัวเลขที่เคลื่อนไหว สะท้อนการเคาน์ดาวน์จนถึงวันโลกาวินาศ  ส่วนศิลปินลูกครึ่งไทย อินโดนีเซียและสหรัฐ อแมนด้า พึ่งโพธิปักขิยะ เคยขึ้นปกนิตยสาร TIME สร้างงานใหม่จัดแสดงหน้า BACC และเซ็นทัลเวิร์ล  สื่อความเป็นเอเชียในสหรัฐที่มีความเหลื่อมล้ำ แล้วยังมีศิลปินหญิง พินรี สัณฑ์พิทักษ์ ที่แสดงงานในเวนิช เบียนนาเล่ จะสร้างผลงานขนาดใหญ่เกี่ยวกับทรวงอกหรือนม เป็นศิลปะจัดวางพร้อมซาวด์ ดึงดูดคนเข้าไปมีส่วนร่วมกับงานศิลป์ ส่วน จาน คาท ชาวเยอรมนีที่ผ่านการคัดเลือกคนสุดท้ายจะเสนอผลงานศิลปะเทคนิคการถักทอเสนอเรื่องราวคนพลัดถิ่น  “ ศ.ดร.อภินันท์ บอกที่หยิบมามาแค่เสี้ยวเดียวเท่านั้น

อีกสิ่งที่จะเกิดขึ้นใน BAB 2022 ยังมีกิจกรรมบรรยาย เวิร์คช็อปและอบรม โดยทีมงานภัณฑารักษ์และกูรูด้านศิลปวัฒนธรรมในระดับโลก นอกจากนี้ มีกิจกรรม “DEK BAB” ที่เปิดโอกาสให้กลุ่มคนอาสาตั้งแต่ระดับนิสิตนักศึกษาไปจนถึงบุคคลทั่วไปเข้ามามีส่วนร่วมจัดงานทำหน้าที่คล้ายกับทูตเชื่อมโยงระหว่างศิลปินกับผู้ชมซึ่งมีทั้งคนไทยและต่างประเทศเชื่อมงานศิลปะระดับโลกกับบริบทของกรุงเทพฯ

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

โครงการ ไทยเบฟ…รวมใจต้านภัยหนาว สานต่อปณิธานแห่งการ “ให้” ปีที่ 25 “มากกว่าความอบอุ่น คือสังคมแห่งการให้ที่ยั่งยืน”

จากความผันผวนของสภาพภูมิอากาศ อีกทั้งภัยพิบัติรุนแรงหลายรูปแบบที่ต้องเผชิญในยุคของ Global Boiling (สภาวะโลกเดือด) กระทบต่อหลายพื้นที่ตอนบนของประเทศไทยในแถบภาคเหนือ

ไทยเบฟขับเคลื่อนการเติบโตที่ยั่งยืนสู่ PASSION 2030

บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) (“ไทยเบฟ” หรือ “กลุ่ม”) เผยแผนงาน PASSION 2030 ซึ่งต่อยอดการดำเนินงานของกลุ่มในการเสริมความแข็งแกร่งสถานะผู้นำที่

กรมสมเด็จพระเทพฯ ทรงเปิดเทศกาลศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ 'บางกอก อาร์ต เบียนนาเล่'

1 ต.ค.2567 - เวลา 9.04 น. สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี      เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดงาน เทศกาลศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ  บางกอก อาร์ต เบียนนาเล่ Bangkok Art Biennale 2024 (BAB 2024) ภายใต้แนวคิด "รักษา กายา

งานศิลป์จาก'ขยะ' เพิ่มมูลค่า ดีต่อโลก

การเปลี่ยนวัสดุเหลือใช้ให้กลายเป็นงานศิลปะหรือของใช้สร้างสรรค์เป็นแนวทางการทำงานที่พบเห็นได้ของศิลปินร่วมสมัยชื่อดังไทยและต่างประเทศ  รวมถึงเป็นเทรนด์ที่มาแรงในสังคมไทย เพื่อกระตุ้นให้เกิดไอเดียศิลปะจากสิ่งของเหลือใช้ที่หลายคนมองไม่เห็นคุณค่า

โครงการ ไทยเบฟ…รวมใจต้านภัยหนาว ก้าวสู่ปีที่ 25 พร้อมสานต่อปณิธานแห่งการ “ให้” “มากกว่าความอบอุ่น คือสังคมแห่งการให้ที่ยั่งยืน”

จากความผันผวนของสภาพภูมิอากาศ อีกทั้งภัยพิบัติรุนแรงหลายรูปแบบที่ต้องเผชิญในยุคของ Global Boiling (สภาวะโลกเดือด) กระทบต่อหลายพื้นที่ตอนบนของประเทศไทยในแถบภาคเหนือ