กรมสมเด็จพระเทพฯ ทรงเป็นองค์ที่ปรึกษาจัดทำพระไตรปิฎก ภาษาอังกฤษ

‘อิทธิพล’ เผยกรมสมเด็จพระเทพฯ ทรงเป็นองค์ที่ปรึกษาโครงการจัดทำพระไตรปิฎก ฉบับภาษาอังกฤษ ระบุงานแปลคืบหน้า คาดเสร็จปี 67

20 ก.ย.2565 – นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการอุปถัมภ์โครงการจัดทำพระไตรปิฎก ฉบับภาษาอังกฤษ ครั้งที่ 1/2565 เปิดเผยภายหลังการประชุมว่า โครงการจัดทำพระไตรปิฎก ฉบับภาษาอังกฤษ (Tipitaka English Version) เนื่องในโอกาสมหามงคลที่พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ เป็นพระมหากษัตริย์ของประเทศไทย และประกาศพระองค์เป็นพุทธศาสนูปถัมภก ได้ดำเนินงานมาอย่างต่อเนื่อง ขณะนี้ผลดำเนินการแปลเสร็จไปแล้วกว่าร้อยละ 20 ซึ่งมีความคืบหน้าไปมาก อีกทั้งมหาเถรสมาคมได้มีมติเห็นชอบการขอพระราชทานโครงการจัดทำพระไตรปิฎก ฉบับภาษาอังกฤษ (Tipitaka English Version) ในพระบรมราชูปถัมภ์และขอพระราชทานกราบบังคมทูล เชิญสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเป็นองค์ที่ปรึกษาโครงการ เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2565 ที่ผ่านมา ได้รับแจ้งจากกองงานในพระองค์สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ว่าพระองค์ทรงรับเชิญทรงเป็นที่ปรึกษา ยังความปลื้มปีติและสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้

นายอิทธิพล คุณปลื้ม กล่าวอีกว่า ที่ประชุมมีมติเห็นชอบกรอบแผนการดำเนินงานโครงการจัดทำพระไตรปิฎก ฉบับภาษาอังกฤษ  (Tipitaka English Version) ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 เพื่อใช้ในการดำเนินงานได้การแปล การบรรณาธิการ  และการจัดหาโปรแกรมสำหรับเป็นเครื่องช่วยแปล ซึ่งจะทำให้การแปลมีความรวดเร็วและมีความถูกต้องสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น รวมถึงการประชาสัมพันธ์โครงการจัดทำพระไตรปิฎกให้เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยมอบหมายให้กรมการศาสนาไปจัดทำรายละเอียดงบประมาณมาเสนอคณะกรรมการในการประชุมครั้งต่อไป

” แผนงานการแปลพระไตรปิฎกจะทำให้การดำเนินงานคืบหน้าขึ้นกว่าร้อยละ 60 และจะทำการแปลเสร็จสมบูรณ์ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ ในปี 2567 ” รมว.วธ. กล่าว

นอกจากนี้ ที่ประชุมยังแต่งตั้งอนุกรรมการเพิ่มเติม อีก 2 คน ได้แก่ ศาสตราจารย์ ดร.รวินทร ปานฑ์ (Prof. Dr. Ravindra Panth) อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยนาลันทา ประเทศอินเดีย ในคณะอนุกรรมการแปล และศาสตราจารย์ ดร.การาม เดช สิงห์ ซาเรา (Prof. Dr.Karam Tej Singh Sarao) อดีตหัวหน้าภาควิชาพระพุทธศาสนา มหาวิทยาลัยเดลี ประเทศอินเดีย ในคณะอนุกรรมการบรรณาธิการ เพื่อให้การจัดทำพระไตรปิฎก ฉบับภาษาอังกฤษ (Tipitaka English Version) เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและมีความถูกต้องสมบูรณ์

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ศน.จัดพิธีเจริญพระพุทธมนต์ 3 ภาษา ถวายพระราชกุศล

26 ก.ค.2567 - เวลา 10.00 น. ที่มหาวชิราลงกรณบาลีเถรวาทราชวิทยาลัย จ.นครปฐม พระธรรมวชิราจารย์ เจ้าอาวาสวัดสุวรรณาราม เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม มอบหมายให้นางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร

'วันอาสาฬหบูชา' เปิดพื้นที่อนุรักษ์วิถีแห่งศรัทธา

วันอาสาฬหบูชา ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 ปีนี้ ตรงกับวันที่ 20 กรกฎาคม 2567  ถือเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสน อาสาฬหบูชา ย่อมาจากคำว่า "อาสาฬหปูรณมีบูชา" แปลว่า "การบูชาในวันเพ็ญเดือนอาสาฬหะ" อันเป็นเดือนที่ 4 ตามปฏิทินของประเทศอินเดีย ตรงกับวันเพ็ญ เดือน 8 ตามปฏิทินจันทรคติของไทย มักตรงกับเดือน ก.ค. หรือ

กรมสมเด็จพระเทพฯ ทรงเจิมเทียนพรรษา

7 ก.ค.2567 - เวลา ๑๓.๐๐ น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จออกแทนพระองค์ ณ วังสระปทุม ทรงเจิมเทียนพรรษา สำหรับทรงพระราชอุทิศพระราชทานไปจุดบูชา

ศรัทธาพุทธศาสนาในเจ้าฟ้านักวิทยาศาสตร์

เนื่องในโอกาสคล้ายวันประสูติสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒนวรขัตติยราชนารี ทรงเจริญพระชนมายุ 67 พรรษา วันที่ 4 กรกฎาคม 2567 นับเป็นโอกาสอันดียิ่งที่พสกนิกรชาวไทยจะได้แสดงออกถึงความจงรักภักดีด้วยการบำเพ็ญคุณงามความดีถวายพระกุศล

เจริญพระพุทธมนต์เฉลิมพระเกียรติกรมพระศรีสวางควัฒนฯ ที่วัดป่าบ้านตาด

28 มิ.ย.2567 ที่ศาลาใหญ่ วัดเกสรศีลคุณ (วัดป่าบ้านตาด) ต.บ้านตาด อ.เมือง จ.อุดรธานี พระราชวชิรธรรมาจารย์ วิ. (สุธรรม สุธมฺโม) เจ้าอาวาสวัดเกสรศีลคุณ เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ นางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) เป็นประธานฝ่ายฆราวาส ในพิธีเจริญพระพุทธมนต์เฉลิมพระเกียรติสมเด็

'ตักบาตรหาบจังหัน' วิถีงดงามบ้านหาดสองแคว

ประเพณีตักบาตรหาบจังหัน เป็นวัฒนธรรมประเพณีชาวบ้านหาดสองแคว จ.อุตรดิตถ์ หรือชาวไทยเชื้อสายลาวเวียงที่อาศัยอยู่ในหาดสองแคว ที่พบเห็นได้ยามเช้าของทุกวันที่ชาวบ้านออกมารอใส่บาตรพระ ด้วยชุมชนแห่งนี้ผูกพันกับวัด คนในชุมชนยึดถือปฏิบัติและสืบทอดกันมายาวนานจากรุ่นสู่รุ่น