19 กันยายน วันพิพิธภัณฑ์ไทย

วันที่ 19 กันยายนของทุกปี เป็นวันพิพิธภัณฑ์ไทย กรมศิลปากรจัดกิจกรรมเนื่องในวันพิพิธภัณฑ์ไทย พุทธศักราช 2565 Museum Talk “พลังพิพิธภัณฑ์ สร้างสรรค์ไทย: The Power of Thai Museums” พร้อมเปิดให้เข้าชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร โดยไม่เก็บค่าธรรมเนียมเข้าชม ในวันจันทร์ที่ 19 กันยายน 2565 ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร

กิจกรรม“พลังพิพิธภัณฑ์ สร้างสรรค์ไทย: The Power of Thai Museums” กับมุมมองหลากหลายและประสบการณ์จากเครือข่ายพิพิธภัณฑ์กรมศิลปากร ที่จะมาเป็นแรงพลังให้พิพิธภัณฑ์ไทยอีกมากมาย ก้าวเดินต่อไปพร้อมกับสังคมโลกอย่างมั่นคง ในวันจันทร์ที่ 19 ก.ย.ณ พระที่นั่งอิศราวินิจฉัย พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ตั้งแต่เวลา 09.30 น. เป็นต้นไป และถ่ายทอดสดผ่านทาง YouTube และ Facebook : Office of National Museums, Thailand ประกอบด้วย การปาฐกถาพิเศษ เรื่อง พิพิธภัณฑ์กับการอนุรักษ์มรดกไทย โดยอธิบดีกรมศิลปากร การบรรยายพิเศษ “A New Museum Definition: ICOM Prague 2022” โดยนางสมลักษณ์ เจริญพจน์ ผู้อำนวยการศูนย์ภูมิภาคว่าด้วยโบราณคดีและวิจิตรศิลป์ (SPAFA) และการบรรยายใน 3 หัวข้อ ได้แก่

“The Power of Achieving Sustainability” เรื่อง การเพิ่มคุณค่าสู่การสร้างมูลค่าภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยพระปลัดประพจน์ สุปภาโต เจ้าอาวาสวัดสำโรง พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวัดสำโรง จังหวัดนครปฐม เรื่อง พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน การอนุรักษ์และการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยนายเอิบเปรม วัชรางกูร ที่ปรึกษาด้านโบราณคดี มูลนิธิพระราชนิเวศน์มฤคทายวัน ในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี เรื่อง พิพิธภัณฑ์ที่มุ่งเน้นความหลากหลายและความยั่งยืนทางวัฒนธรรม โดย ผศ.ดร.พรู คูศรีพิทักษ์ วิวิธชาติพันธุ์ พิพิธภัณฑ์มานุษยวิทยาวัฒนธรรม สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล

“The Power of Innovating on Digitalisation and Accessibility” เรื่อง การปรับตัวเข้าสู่โลกออนไลน์: นิทรรศการหมุนเวียนเล่าเรื่องอาคารกับวันวานรอบพิพิธภัณฑ์และการเริ่มต้นเว็บไซต์ศูนย์ข้อมูลพระปกเกล้าศึกษา โดยนางกาญจนา ศรีปัดถา ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เรื่อง E-BOOK ใน QR CODE โดย นาวาเอก ไพรัช สมุทรสินธุ์ หัวหน้าพิพิธภัณฑ์ทหารเรือ กองประวัติศาสตร์ กรมยุทธศึกษาทหารเรือ กองทัพเรือ เรื่อง การบริหารพิพิธภัณฑ์ในยุคดิจิทัล โดยนางสาวสำเภาว์ งามเชย รองผู้อำนวยการสำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (องค์การมหาชน) เรื่อง พิพิธภัณฑ์กับการสื่อสารร่วมสมัย โดยนายชนะภพ วัณณโอฬาร ภัณฑารักษ์ สำนักศิลปและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

“The Power of Community Building Through Education” เรื่อง พิพิธภัณฑ์ในสังกัดกองส่งเสริมและพัฒนาทรัพย์สินมีค่าของรัฐ และการมีส่วนร่วมกับชุมชน โดยนายชลทิตย์ ไชยจันทร์ ผู้อำนวยการกองส่งเสริมและพัฒนาทรัพย์สินมีค่าของรัฐ กรมธนารักษ์ เรื่อง งานวิจัยพื้นที่สามวัยโดยบริบทของนิทรรศการ และกิจกรรมในพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์เป็นฐาน โดยนางสาววิลาสินี ไตรยราช ผู้อำนวยการกองวิจัยและบริการวิชาการ

ศูนย์พัฒนาความตระหนักด้านวิทยาศาสตร์แห่งชาติ เรื่อง ความรู้เรื่องที่ดินกับชุมชนผ่านวัตถุจัดแสดง โดยนายชัยวัฒน์ ไชยประเสริฐ ภัณฑารักษ์ พิพิธภัณฑ์กรมที่ดิน เรื่อง พิพิธภัณฑ์รัฐสภา: MUSEUM FOR ALL โดยนายเชษฐา ทองยิ่ง ผู้บังคับบัญชากลุ่มงานพิพิธภัณฑ์และจดหมายเหตุ สำนักวิชาการ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร เรื่อง มิวเซียมสยามและชุมชนท่าเตียน โดยนายทวีศักดิ์ วรฤทธิ์เรืองอุไร ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายนิทรรศการและกิจกรรม มิวเซียมสยาม สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ

นอกจากนี้ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร เปิดให้บริการเป็นกรณีพิเศษ งดเก็บค่าธรรมเนียม เข้าชม เนื่องในวันพิพิธภัณฑ์ไทย โดยสามารถเข้าชมการจัดแสดงนิทรรศการได้ทุกห้องจัดแสดง  อาทิ นิทรรศการพิเศษ เรื่อง “เซรามิกแห่งแหลมทองและแดนอาทิตย์อุทัย: สานตำนานสายใยไม่เสื่อมคลายในพาณิชยวัฒนธรรมโลก” ณ พระที่นั่งศิวโมกขพิมาน การจัดแสดงนิทรรศการถาวร ประณีตศิลป์สยาม ณ หมู่พระวิมาน พระราชวังบวรสถานมงคล การจัดแสดงนิทรรศการถาวร ประวัติศาสตร์และโบราณคดี อาคารมหาสุรสิงหนาท และอาคารประพาสพิพิธภัณฑ์ ตั้งแต่เวลา 09.00-16.00 น. ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

บูรณะวัดไชยวัฒนารามนำชีวิตชีวาสู่มรดกโลก

วัดไชยวัฒนาราม จ.พระนครศรีอยุธยา งดงามทรงคุณค่า เป็นหนึ่งในหลักฐานที่แสดงถึงความยิ่งใหญ่และรุ่มรวยทางวัฒนธรรมของกรุงศรีอยุธยาอดีตเมืองหลวงอันยิ่งใหญ่ วัดเก่าแก่แห่งนี้เป็นโบราณสถานสำคัญของอยุธยา และเป็นส่วนหนึ่งของอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาที่โดย

'4วัด1วัง'เที่ยวมรดกโลกอยุธยายามราตรี

กระแสตอบรับดีสำหรับโครงการท่องเที่ยวโบราณสถานยามค่ำคืนในพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ปีนี้กระทรวงวัฒนธรรม โดยกรมศิลปากร ยกระดับท่องเที่ยวโบราณสถานยามราตรีเปิดโบราณสถานให้นักท่องเที่ยวได้เข้าชมเพิ่มขึ้นเป็น 5 แห่ง ประกอบด้วย 

ย้อนเวลา 4 วัด 1 วัง เมื่อครั้งต้นกรุงฯ

ชวนแต่งชุดไทยเดินทางย้อนเวลากลับไปสู่ช่วงต้นกรุงศรีอยุธยา  ดื่มด่ำกับบรรยากาศโบราณสถานยามค่ำคืนที่งดงามในงาน “ 4 วัด 1 วัง เมื่อครั้งต้นกรุงฯ” ภายใต้แนวคิด “ย้อนเวลา ส่องวิถี ปลุกแสงสี พระนครศรีอยุธยา” โดยจะจัดกิจกรรมตามวัดและโบราณสถานที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์

โบราณสถานเวียงกุมกามเสียหายหนักจากน้ำท่วม

7 ต.ค.2567 - นายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร กล่าวว่า จากการลงพื้นที่ จ.เชียงใหม่ เพื่อติดตามผลกระทบของสถานการณ์อุทกภัยที่มีต่อโบราณสถานสำคัญของจังหวัด โดยพบว่า พื้นที่เวียงกุมกามที่เป็นเมืองโบราณสมัยพญามังรายปฐมกษัตริย์ล้านนา ที่ตั้งอยู่ในอำเภอสา

คนรักศิลปฯแย้งผู้ว่าฯทุบปูนปั้นครูทองร่วง ยันผู้เสียหายคือสาธารณะ เตือนผิดม.157

นายวรา จันทร์มณี เลขาธิการชมรมคนรักศิลปวัฒนธรรม อดีตเลขาฯศิลปินแห่งชาติ อังคาร กัลยาณพงศ์ โพสต์เฟซบุ๊ก กรณีทุบปูนปั้นครูทองร่วง เอมโอษฐ ที่วัดมหาธาตุวรวิหาร จังหวัดเพชรบุรี (ตอนที่ 2) ระบุว่า

วธ.สั่งวางมาตรการลดเสี่ยงโบราณสถานตลอดฤดูฝน

13 ก.ย.2567 - นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เปิดเผยว่า จากสถานการณ์น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ซึ่งเป็นผลมาจากปริมาณน้ำฝนที่มีจำนวนมากที่เกิดขึ้นในพื้นที่จังหวัดทางภาคเหนือ โดยเฉพาะที่จังหวัดเชียงราย รู้สึกห่วงใยชาวจังหวัดเชียงรายและพื้นที่ใกล้เคียงอย่างมากที่ประสบภัยน้ำท่วม ซึ่งได้มอบหมายให้หน่วยงานในสังกัด