“อีสตีตูโตมารังโกนี” (Istituto Marangoni) สถาบันการออกแบบชั้นนำที่มีชื่อเสียงระดับ World Class ก่อตั้งเมื่อปี ค.ศ. 1935 ที่เมืองมิลาน โดยปัจจุบันได้รับการจัดอันดับให้อยู่ใน TOP 5 ของโลก เปิดสอนด้านแฟชั่นทุกสาขา ไม่ว่าจะเป็น Design, Styling, Photography, Communication, Promotion, Marketing หรือ Business กลายมาเป็นความใฝ่ฝันของคนรุ่นใหม่ทั่วโลกที่ต้องการสมัครเข้าไปศึกษา
แต่นั่นก็ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะในแต่ละปีจะมีผู้สนใจด้านการออกแบบและแฟชั่นที่มีพรสวรรค์จากทั่วทุกมุมโลกเสนอตัวเข้ามาชิงทุนการศึกษา ซึ่งแน่นอนว่าเกณฑ์การคัดสรรบุคคลเข้ามาเรียนไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ละคนต้องประชันฝีมือ แสดงออกถึงไอเดีย ความคิดสร้างสรรค์ และความหลงใหลให้เหล่าคณะกรรมการเห็น
สถาบันจะพิจารณาทั้งจากการประกวด Portfolio และการทำงานตามโจทย์ที่กำหนด เพื่อพิสูจน์ฝีมือสำหรับผู้ที่คู่ควรเท่านั้น โดยจะมีการเปิดรับสมัครในหลากหลายสาขาที่แตกต่างกันออกไป
ทว่าล่าสุด น้องพริมโรส - น.ส.จุฬาลักษณ์ ไชยการ นักศึกษาสาขาวิชาศิลปะการออกแบบพัสตราภรณ์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) เป็นหนึ่งในไม่กี่คนที่ผ่านการคัดเลือกจากสถาบัน และได้รับทุนการศึกษา Istituto Marangoni Scholarship: February 2022 หลักสูตรปริญญาโท Master in Fashion Luxury Brand Management ของสถาบันอีสตีตูโตมารังโกนี วิทยาเขตลอนดอน โดยได้ลดค่าเทอมราว 2,500 ปอนด์ หรือประมาณ 115,000 บาท
พริมโรส เล่าให้ฟังว่า ปกติแล้วอีสตีตูโตมารังโกนีจะมีทุนร่วมกับแบรนด์ชั้นนำต่างๆ และก็ยังมีทุนของมหาวิทยาลัยเองด้วย โดยจะรับนักเรียนทุนไม่เกิน 3 คนต่อรุ่น รอบนี้เป็นทุนของมหาวิทยาลัย ซึ่งวิธีการสมัครนั้น ทางสถาบันจะกำหนดโจทย์มาให้ว่าในแต่ละสาขาต้องการอะไรบ้าง
สำหรับสาขาที่ “พริมโรส” สมัครเรียนเป็นสาขาแฟชั่นด้านการบริหาร ฉะนั้นจึงไม่ต้องทำโปรเจคออกแบบเสื้อผ้าเหมือนกับสาขาแฟชั่นดีไซน์ แต่เกณฑ์การพิจารณาจะมุ่งเน้นไปที่ประสบการณ์การทำงานอันโดดเด่น แสดงออกผ่านการเขียน STATEMENT OF PURPOSE (SOP) และ Curriculum Vitae (CV) ควบคู่ไปกับผลการเรียน
แม้ว่าตอนที่ศึกษาในระดับปริญญาตรี “น้องพริมโรส” จะเรียนวิชาเอกด้านแฟชั่น แต่ก็เลือกเรียนวิชาโทด้านการตลาด จึงมีผลงานและประสบการณ์การทำงานทั้งด้านแฟชั่นและการตลาด และยังมีผลงานการประกวดพร้อมรางวัลการันตีอีกหลายรางวัล
เริ่มตั้งแต่ตอนเรียนอยู่ปี 1 ชนะเลิศการแข่งขัน Sakura Collection 2018 Asia Student Award in Thailand ได้เป็นตัวแทนของประเทศไทย นำผลงานไปโชว์บนรันเวย์คอลเลคชั่น เจแปน แฟชั่นที่ประเทศญี่ปุ่น และได้ไปเรียนคอร์สแฟชั่นระยะสั้นที่สถาบันบุนกะแฟชั่น (Bunka Fashion School) ประเทศญี่ปุ่น ระหว่างนั้นได้มีโอกาสทำงานพาร์ทไทม์ในบริษัทญี่ปุ่นอยู่เกือบปีจึงตัดสินใจลาออก เพื่อมาลงเรียนพิเศษเพิ่มเติมในด้านแพทเทิร์น
ระหว่างที่เรียน เธอไม่เคยว่างเว้นจากการส่งงานประกวด และรับงานฟรีแลนซ์ ทั้งการออกแบบโลโก้ ทำงานกราฟฟิก ดีไซน์เสื้อผ้าให้กับแบรนด์ต่างๆ ในไอจีเพื่อลับฝีมือมาโดยตลอด จนกระทั่งถึงชั้นปี 3 ก็มีแบรนด์เสื้อผ้าเป็นของตัวเอง ในชื่อ Le moral โดยเป็นการร่วมหุ้นกับเพื่อน
น้องพริมโรส บอกว่า สำหรับสาขา Fashion Luxury Brand Management ส่วนใหญ่คนที่เรียนและได้ทุนจะเป็นผู้ที่จบการศึกษาในสาชาการตลาดหรือบริหารโดยเฉพาะ ทว่าแม้ตนเองจะเรียนเอกแฟชั่นมา แต่ก็อยากได้ความรู้เพื่อต่อยอดจึงตัดสินใจเลือกสาขานี้
“รู้สึกว่าได้เรียนด้านแฟชั่นทั้งในมหาวิทยาลัยและเรียนพิเศษมามากพอที่จะประกอบอาชีพ สร้างประสบการณ์ให้ตัวเองได้แล้ว จึงอยากจะเรียนในสิ่งที่ตัวเองยังไม่รู้มากกว่า อย่างเรื่องของการบริหาร Luxury Branding ยังไม่เคยเรียนเจาะลึกเข้าไป ส่วนใหญ่จะเรียนแค่ประวัติศาสตร์แบรนด์ การตลาดทั่วไป หรือไม่ก็การบริหารแบบพื้นฐาน
นอกจากการได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ “น้องพริมโรส” ยังคาดหวังว่าจะมีคอนเนคชั่นมากขึ้น จากการที่ได้ไปเจอคนหลากหลายขึ้น ได้เปิดโลก ได้เรียนรู้วัฒนธรรมการทำงานของ Luxury Branding ตลอดจนได้ฝึกงานกับแบรนด์ยักษ์ใหญ่เหล่านั้นด้วย
สำหรับคนที่สนใจอยากชิงทุนการศึกษาเช่นเดียวกับเธอ “พริมโรส” แนะนำว่า สิ่งที่สำคัญที่สุดคือภาษา เพราะการที่จะทำงานกับแบรนด์ใหญ่ๆ ระดับโลก หรือการไปสัมภาษณ์ต่างๆ ผู้รับสมัครหรือคณะกรรมการจะพิจารณาเรื่องทักษะทางภาษาก่อน
“ถ้าคุณสามารถสื่อสารกับทางแบรนด์ได้ดี เค้าถึงจะรับเราเข้าฝึกงานหรือทำงานต่อไป ในเรื่องประสบการณ์การทำงาน ถึงแม้ไม่จบบริหารก็อย่าเพิ่งถอดใจ ให้ลองสมัครก่อน การที่เค้าจะรับเรา เค้าจะดูที่ Passion ของเรา ดูว่าเราเขียน SOP ได้โอเคหรือไม่ อยากบอกว่า SOP หรือเรียงความสมัครเรียนต่อเป็นสิ่งที่สำคัญมาก ต้องทำให้เค้าเชื่อให้ได้ เค้าจึงอยากได้เราเป็นลูกศิษย์” เธอให้คำแนะนำ
ข้อมูลเพิ่มเติมสำหรับสื่อมวลชนติดต่อ
MEDIA HOTLINE : พรศรินทร์ ศรีสวัสดิ์ / 087-171-8944 / [email protected]
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'บ้านแสนอยู่ดี' ที่อยู่อาศัยที่เป็นมิตร นวัตกรรมธรรมศาสตร์เพื่อคนทั้งมวล
แม้ว่าที่อยู่อาศัยจะเป็นหนึ่งในปัจจัยสี่ที่จำเป็นต่อการดำรงอยู่ของมนุษย์ หากแต่มีที่อยู่อาศัยจำนวนไม่น้อยที่เหมาะสมกับการอยู่อาศัยเพียงช่วงเวลาหนึ่งเท่านั้น
โปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง 'ศุภสวัสดิ์ ชัชวาลย์' ดำรงตำแหน่ง อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีเรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ต้องไม่ยอมมัน! อดีตรองอธิการบดี มธ. ปลุกขวางแก้ รธน. ทำลายความถูกต้อง-เป็นธรรม
ความพยายามในการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเป็นรายมาตราครั้งนี้ หากทำได้สำเร็จ จะเป็นลดความสำคัญของความซื่อสัตย์สุจริต และมาตรฐานทางจริยธรรม
ธรรมศาสตร์ เปิดตัว 7 นวัตกรรมเพื่อสังคม ส่งมอบ 'SIT-TO-STAND' ดูแลผู้สูงวัย กทม.
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เปิดตัว “7 นวัตกรรมเพื่อสังคมสูงวัย” ตอบโจทย์ปัญหาประเทศ เตรียมพร้อมรับมือ Super Aged Society พร้อมมอบนวัตกรรม SIT-TO-STAND TRAINER อุปกรณ์เสริมสร้างกล้ามเนื้อ
สร้างภูมิคุ้มกัน 'พลัดตกหกล้ม' 10-11 ก.ย.นี้ เชิญชมนิทรรศการ 7 นวัตกรรมธรรมศาสตร์ เพื่อสังคมสูงวัย
เพราะทุกห้วงยามแห่งการร่วงหล่น มีหลายชีวิตพลัดหลงในกาลเวลา โดยเฉพาะในสถานการณ์ที่ประเทศไทยเข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์ (Complete
'เกษียร' แย้ง 'พุทธทาส' เมื่อไหร่เอาศาสนกิจมาเป็นเกณฑ์กำหนดการเมือง เมื่อนั้นจะได้เผด็จการโดยธรรม
ศ.ดร.เกษียร เตชะพีระ นักรัฐศาสตร์อาวุโส มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โพสต์เฟซบุ๊ก Kasian Tejapira ว่า ประชาธิปไตยไม่ได้มีไว้เพื่อ