เหตุการณ์สำคัญของประเทศไทยที่เกิดขึ้น ทั้งพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พ.ศ.2562 เหตุการณ์สวรรคตในหลวง รัชกาลที่ 9 พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ หรือปฏิบัติการช่วยชีวิต 13 หมูป่าในถ้ำหลวงขุนน้ำนางนอน มีการบันทึกเหตุการณ์และจัดทำจดหมายเหตุ เพื่อเติมเต็มข้อมูลทางประวัติศาสตร์ในแต่ละยุคสมัย ซึ่งเป็นเพียงหน้างานเดียวที่ทำให้คนส่วนใหญ่รู้จักงานจดหมายเหตุแห่งชาติ แต่ยังมีภารกิจอนุรักษ์เอกสารจดหมายต้นฉบับ และประเมินคุณค่าเอกสาร จัดเก็บให้บริการเอกสารทรงคุณค่า เพื่อการศึกษาค้นคว้า
ในโอกาสครบรอบ 70 ปี แห่งการสถาปนาหอจดหมายเหตุแห่งชาติ เมื่อวันที่ 18 สิงหาคมที่ผ่านมา กรมศิลปากรจัดกิจกรรมเฉลิมฉลองและนิทรรศการเรื่อง” 70 ปี จดหมายเหตุแห่งชาติ” เสนอเรื่องราวความเป็นมาของหอจดหมายเหตุแห่งชาติ จัดแสดงเอกสารชิ้นสำคัญของหอจดหมายเหตุแห่งชาติแต่ละแห่ง เช่น เอกสารจดหมายเหตุพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงปฏิรูปการบริหารการปกครองประเทศสยาม พ.ศ.2411 ถึง 2453 เอกสารชุดนี้ถือว่าสมบูรณ์ครบถ้วนมีความสำคัญระดับโลก ,เอกสารเรื่องการเพาะเลี้ยงปลานิลพระราชทานของสถานีประมง (กว๊านพะเยา) ,ฟิล์มกระจกและภาพต้นฉบับชุดหอพระสมุดวชิรญาณ ที่ยูเนสโกขึ้นทะเบียนมรดกความทรงจำโลก และเอกสารสำคัญอีกมากมาน เพื่อสร้างความตื่นตัวเอกสารประวัติศาสตร์เป็นสมบัติของชาติ สามารถมาชมได้ ณ สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ ย่านเทเวศร์
กิตติพันธ์ พานสุวรรณ อธิบดีกรมศิลปากร กล่าวว่า กิจการด้านจดหมายเหตุของประเทศไทยมีพัฒนาการมาอย่างต่อเนื่อง ทั้งด้านกระบวนการดำเนินงานและการให้บริการสู่ประชาชน เป็นที่ยอมรับในด้านวิชาการและการให้บริการมาโดยตลอด งานด้านจดหมายเหตุแห่งชาติ มีบทบาทสำคัญจัดเก็บรวบรวม รักษาไว้ซึ่งเอกสารสำคัญเอกสารประวัติศาสตร์ของชาติ นำไปสู่การให้บริการเผยแพร่ความรู้ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
70 ปี หอจดหมายเหตุแห่งชาติ อธิบดี ศก. กล่าวว่า เพื่อพัฒนางานจดหมายเหตุของประเทศไทยให้เป็นรูปธรรมจึงเปิด 3 โครงการใหม่ ได้แก่ โครงการ” เพิ่มข้อมูล พูนค่าภาพ” ซึ่งเปิดโอกาสให้ประชาชน และนักวิชาการในสาขาต่างๆ มีส่วนร่วมในการอ่านภาพเก่าในหอจดหมายเหตุ เพื่อใช้เป็นข้อมูลเอกสารจดหมายเหตุ ,โครงการขึ้นทะเบียนเอกสารมรดกความทรงจำของประเทศไทย ซึ่งเป็นระบบที่ให้ประชาชน หน่วยงาน องค์กร ขอขึ้นทะเบียนเอกสารมรดกความทรงจำที่สำคัญของตนเอง และนำไปสู่การคัดเลือกเอกสารสำคัญ เพื่อขึ้นทะเบียนเอกสารมรดกความทรงจำแห่งโลก และโครงการระบบการขออนุมัติทำลายเอกสาร ซึ่งเป็นระบบที่หน่วยงานรัฐจะต้องจัดส่งข้อมูลเอกสารจดหมายเหตุเพื่อขอทำลายและเพื่อให้สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ สงวนเอกสารจดหมายเหตุ ระบบนี้อำนวยความสะดวกให้แก่หน่วยงานภาครัฐในการจัดส่งเอกสารจดหมายเหตุในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ เช่น ไฟล์ เอกเซล และสามารถเชื่อมต่อข้อมูลกับระบบเอกสารจดหมายเหตุในรูปแบบ API กับระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ได้ด้วย เพิ่มความสะดวก รวดเร็วยิ่งขึ้น
ด้าน ณิชชา จริยเศรษฐการ ผอ.สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ กล่าวว่า การดำเนินงานของหอจดหมายเหตุแห่งชาติ บุคลากรได้ศึกษา พัฒนาองค์ความรู้วิชาการจดหมายเหตุจากต่างประเทศ จัดหาเทคนิคและเทคโนโลยีที่เหมาะสมที่สุดในแต่ละยุคสมัยมาประยุกต์ใช้บริหารจัดการงานจดหมายเหตุ พัฒนาตั้งแต่การรับมอบเอกสารจากหน่วยงานรัฐ บุคคลสำคัญของประเทศ นำมาประเมินคุณค่าเอกสาร จัดหมวดหมู่ จัดทำเครื่องมือช่วยค้น จัดเก็บ อนุรักษ์เอกสารจดหมายเหตุ และให้บริการแก่ผู้ค้นคว้า รวมถึงบันทึกเหตุการณ์สำคัญของประเทศ ขยายงานจดหมายเหตุสู่ภูมิภาค สามารถรวบรวมเอกสารประวัติศาสตร์ได้ครอบคลุมทุกพื้นที่ของไทย และรักษาเอกสารมรดกวัฒนธรรมให้คนรุ่นหลังใข้เป็นหลักฐานอ้างอิงประวัติศาสตร์สมบูรณ์ที่สุด
“ การพัฒนางานจดหมายเหตุแห่งชาติ อยากผลักดันให้มีหอจดหมายเหตุระดับจังหวัด แม้มันยังไม่เกิดขึ้นในไทย ปัจจุบับเราเน้นย้ำเอกสารราชการ เอกสารการบริหารงาน เห็นความเปลี่ยนแปลงและแนวคิดแต่ละยุคสมัย อยากให้รวบรวมเก็บรักษา หากไม่มีศักยภาพจัดเก็บ ให้สงวน และส่งมอบสำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ ก่อนทำลายประวัติศาสตร์ประเทศไทย “ ณิชชา กล่าว
ส่วนโครงการขึ้นทะเบียนเอกสารมรดกความทรงจำ ณิชชา กล่าวเสริมว่า คนส่วนใหญ่คุ้นมรดกโลกทางวัฒนธรรมและธรรมชาติที่เป็นสถานที่ แต่ไม่รู้ว่าการเขียนลงหนังสัตว์ ใบลาน แผ่นศิลา เป็นมรดกความทรงจำ เราค้นหาเอกสารลักษณะนี้เพื่อขึ้นทะเบียน เป็นการแสดงถึงรากเหง้าของประเทศ ครบ 70 ปี เป็นครั้งแรกจัดทำระบบให้ประชาชนขอขึ้นทะเบียน ทั้งนี้ ไทยได้ขึ้นทะเบียนมรดกความทรงจำแห่งโลกแล้ว 5 รายการ ได้แก่ ศิลาจารึก หลักที่ 1 , เอกสารจดหมายเหตุพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงปฏิรูปการบริหารการปกครองประเทศสยาม ,จารึกวัดโพธิ์ ,บันทึกการประชุมคณะกรรมการสยามสมาคมในพระบรมราชูปถัมภ์ ในรอบ 100 ปี และฟิล์มกระจกชุดหอพระสมุดวชิรญาณขึ้นทะเบียน ขณะนี้ ศก.ขอขึ้นทะเบียนตำนานอุรังคธาตุและเอกสารโบราณนัทโปนันทสูตรคำหลวงเป็นมรดกความทรงจำของโลก รอประกาศผลจากยูเนสโก
ทั้งนี้ นิทรรศการ 70 ปี จดหมายเหตุแห่งชาติ เปิดให้เข้าชมจนถึงวันที่ 16 ก.ย.นี้ ทุกวัน ยกเว้นเสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
บูรณะวัดไชยวัฒนารามนำชีวิตชีวาสู่มรดกโลก
วัดไชยวัฒนาราม จ.พระนครศรีอยุธยา งดงามทรงคุณค่า เป็นหนึ่งในหลักฐานที่แสดงถึงความยิ่งใหญ่และรุ่มรวยทางวัฒนธรรมของกรุงศรีอยุธยาอดีตเมืองหลวงอันยิ่งใหญ่ วัดเก่าแก่แห่งนี้เป็นโบราณสถานสำคัญของอยุธยา และเป็นส่วนหนึ่งของอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาที่โดย
'4วัด1วัง'เที่ยวมรดกโลกอยุธยายามราตรี
กระแสตอบรับดีสำหรับโครงการท่องเที่ยวโบราณสถานยามค่ำคืนในพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ปีนี้กระทรวงวัฒนธรรม โดยกรมศิลปากร ยกระดับท่องเที่ยวโบราณสถานยามราตรีเปิดโบราณสถานให้นักท่องเที่ยวได้เข้าชมเพิ่มขึ้นเป็น 5 แห่ง ประกอบด้วย
ย้อนเวลา 4 วัด 1 วัง เมื่อครั้งต้นกรุงฯ
ชวนแต่งชุดไทยเดินทางย้อนเวลากลับไปสู่ช่วงต้นกรุงศรีอยุธยา ดื่มด่ำกับบรรยากาศโบราณสถานยามค่ำคืนที่งดงามในงาน “ 4 วัด 1 วัง เมื่อครั้งต้นกรุงฯ” ภายใต้แนวคิด “ย้อนเวลา ส่องวิถี ปลุกแสงสี พระนครศรีอยุธยา” โดยจะจัดกิจกรรมตามวัดและโบราณสถานที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์
โบราณสถานเวียงกุมกามเสียหายหนักจากน้ำท่วม
7 ต.ค.2567 - นายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร กล่าวว่า จากการลงพื้นที่ จ.เชียงใหม่ เพื่อติดตามผลกระทบของสถานการณ์อุทกภัยที่มีต่อโบราณสถานสำคัญของจังหวัด โดยพบว่า พื้นที่เวียงกุมกามที่เป็นเมืองโบราณสมัยพญามังรายปฐมกษัตริย์ล้านนา ที่ตั้งอยู่ในอำเภอสา
คนรักศิลปฯแย้งผู้ว่าฯทุบปูนปั้นครูทองร่วง ยันผู้เสียหายคือสาธารณะ เตือนผิดม.157
นายวรา จันทร์มณี เลขาธิการชมรมคนรักศิลปวัฒนธรรม อดีตเลขาฯศิลปินแห่งชาติ อังคาร กัลยาณพงศ์ โพสต์เฟซบุ๊ก กรณีทุบปูนปั้นครูทองร่วง เอมโอษฐ ที่วัดมหาธาตุวรวิหาร จังหวัดเพชรบุรี (ตอนที่ 2) ระบุว่า
วธ.สั่งวางมาตรการลดเสี่ยงโบราณสถานตลอดฤดูฝน
13 ก.ย.2567 - นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เปิดเผยว่า จากสถานการณ์น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ซึ่งเป็นผลมาจากปริมาณน้ำฝนที่มีจำนวนมากที่เกิดขึ้นในพื้นที่จังหวัดทางภาคเหนือ โดยเฉพาะที่จังหวัดเชียงราย รู้สึกห่วงใยชาวจังหวัดเชียงรายและพื้นที่ใกล้เคียงอย่างมากที่ประสบภัยน้ำท่วม ซึ่งได้มอบหมายให้หน่วยงานในสังกัด