ต้องใช้เวลายาวนานถึง 70ปี กว่าที่ผ้าไทยจะอวดโฉมเป็นที่ยอมรับทั้งคนไทยและต่างประเทศ ทั้งหมดล้วนเกิดขึ้นจากพระราชปณิธานของ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ที่ทรงงมองเห็นความงดงามของผ้าไทย อันเกิดขึ้นจากภูมิปัญญาของชาวบ้าน และทรงมองว่าภูมิปัญญานี้ไม่ควรสูญหาย ควรได้รับการอนุรักษ์สืบทอด และควรได้รับการส่งเสริมเพื่อเป็นอาชีพสร้างรายได้เลี้ยงครอบครัว
ภาพทรงฉลองพระองค์ด้วยชุดผ้าไทยหลากหลายสไตล์ ตลอดระยะเวลายาวนาน ที่ทรงเสด็จพระราชดำเนินในพระราชกรณียกิจต่างๆ สะท้อนให้เห็นถึงพระวิริยะอุตสาหะ ของสมเด็จพระบรมราชชนนี พระพันปีหลวง ในการส่งเสริมอนุรักษ์ผ้าไทย ทำให้ผ้าไทยในวันนี้ เติบโตขึ้นอย่างมากในวงการแฟชั่น มีการแปรรูปผ้าไทยเป็นสินค้าหลากหลายรูปแบบ อาทิ กระเป๋า หมวก เสื้อ ผ้าพันคอ เครื่องประดับต่างๆ และในพื้นที่ 76 จังหวัด ก็มีผ้าไทยที่มีลวดลายอันเป็นเอกลักษณ์ ทรงคุณค่าสวยงามในแบบเฉพาะของตนเอง อีกทั้งดีไซเนอร์ยังให้ความสนใจในการนำลายผ้าไทยมาดีไซน์เป็นเสื้อผ้าให้มีความร่วมสมัย ส่วมใส่ได้ในทุกวัน
สิ่งเหล่านี้ได้ถูกนำบอกเล่าให้เห็นภาพชัดเจนยิ่งขึ้นภายในงาน นิทรรศการ “ภูษาศิลป์ จากท้องถิ่นสู่สากล” อันเป็นนิทรรศการเพื่อเฉลิมพระเกียรติแด่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถพระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 90 พรรษา 12 สิงหาคม พ.ศ. 2565 จัดขึ้นโดยกระทรวงวัฒนธรรม ร่วมกับบริษัท สยามพิวรรธน์ จำกัด บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) ที่จัดแสดง ณ รอยัล พารากอน ฮอลล์ ชั้น 5 ศูนย์การค้าสยามพารากอน ระหว่างวันที่ 11-14 ส.ค. 65
ภายในงานภูษาศิลป์ จากท้องถิ่นสู่สากล ประกอบด้วย 6 นิทรรศการ ได้แก่ 1. นิทรรศการเฉลิมพระเกียรติฯ ลายศิลป์แห่งเส้นไหม : มรดกไทยสู่สากล The Art of Thai Silk: Thai Heritage to the World” จัดแสดงพระราชประวัติและพระราชกรณียกิจในด้านต่างๆ ของพระบรมราชชนนีพันปีหลวงฯ มีโซนตามรอยพระยุคลบาทเสด็จพระราชดำเนินต่างแดน และราชศิลป์พัสตราภรณ์ เพื่อให้นานาชาติรู้จักศิลปวัฒนธรรมอันดีงามของไทยผ่านฉลองพระองค์ โซนหุ่นชุดไทยพระราชนิยม เช่น ชุดไทยเรือนต้น ชุดไทยจิตรลดา ชุดไทยอมรินทร์ ชุดไทยบรมพิมาน ชุดไทยดุสิต ชุดไทยจักรี ชุดไทยศิวาลัย ชุดไทยจักรพรรดิ
2. นิทรรศการวันผ้าแห่งชาติ จัดแสดงนิทรรศการเกี่ยวกับวันผ้าแห่งชาติของประเทศต่างๆ 3. นิทรรศการศิลปินแห่งชาติ ซึ่งได้นายมีชัย แต้สุจริยา ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (การทอผ้า) พ.ศ. 2564 จัดแสดงผลงานผ้าทอที่หาชมได้ยาก พร้อมจำลองบรรยายบ้านคำปุน จ.อุบลราชธานี แหล่งผลิตผ้าไหมทอมือที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่นายมีชัยได้ก่อตั้งขึ้น 4. นิทรรศการและการแสดงแบบผ้าไทยร่วมสมัย ออกแบบโดยดีไซเนอร์ ธีระ ฉันทสวัสดิ์ (แบรนด์ T-RA) เอก ทองประเสริฐ (แบรนด์ เอก ทองประเสริฐ์) สอบถามรายละเอียดได้ที่ สายด่วนวัฒนธรรม 1765
5. นิทรรศการและการแสดงแบบผ้าไทยลายอัตลักษณ์ 4 ภาค จาก 4 ดีไซเนอร์ชั้นนำ ได้แก่ พิจิตรา บุณยรัตพันธุ์ เจ้าของแบรนด์ PICHITA ที่ได้ออกแบบ ผ้าภาคเหนือ บอกว่า หนึ่งในคอลเลกชั่นผ้าไทยของภาคเหนือที่ตนได้นำผ้าของจ.กำแพงเพชร ซึ่งเป็นลายศิลาล้อมเพชร เป็นผ้าฝ้ายทอมือ ย้อมด้วยสีธรรมชาติ นำออกแบบให้มีความทันสมัย ไม่จำเจ สามารถสวมใส่ออกงานได้
ส่วนศิริชัย ทหรานนท์ เจ้าของแบรนด์ THEATRE เล่าถึงการนำผ้าภาคกลาง ของจ.ฉะเชิงเทรา ลายโบสถ์หลวงพ่อโสธรสะท้อนสะท้อนสายน้ำบางปะกงยามอรุณรุ่ง ซึ่งเป็นลายผ้าที่ชุมชนได้รับแรงบันดาลใจตามชื่อของผ้าเลย มีเอกลักษณ์ของสีที่เป็นสีเหลือง หมายถึง หลวงพ่อโสธร สีฟ้าเทา(สีด่อน) คือ หลังคาโบสถ์ สีขาว คือ แม่น้ำบางปะกง สีเลือดนก คือ ธรงประจำจังหวัด สีน้ำตาล คือ ความเป็นเมืองโบราณ ใช้วิธีการทอเป็นขิดและจก ทำมากจากฝ้าย ตนก็นำมาออกแบบโดยใช้การตัดเย็บแบบZero Waste เพื่อไม่ให้ผ้าเหลือทิ้ง และดีไซน์ให้เหมาะกับคนรุ่น ที่นำใส่คู่กับยีนส์ แต่งได้หลากหลายสไตล์
อธิษฐ์ ฐิรกิตติวัฒน์ เจ้าของแบรนด์ SURFACE ที่ได้ออกแบบผ้าภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ลายขิดสลับหมี่ จ.หนองบัวลำพูน ที่มีวิธีการทอที่ละเอียดสลับซับซ้อน จึงได้ดีไซน์ชุดให้ดูมีความร่วมสมัยแต่ยังคงลวดลายให้งดงาม และหิรัญกฤษฏิ์ ภัทรบริบูรณ์กุล เจ้าของแบรนด์ SANTI SUK SPACE ที่ได้ออกแบบผ้าของภาคใต้ และ 6. นิทรรศการผ้าไทยลายอัตลักษณ์ 76 จังหวัด มีทั้งที่เป็นลายโบราณ และลายที่สร้างสรรค์ขึ้นใหม่ อาทิ ลายสังคโลก(ปลาคู่) จ.สุโขทัย ลายทับทรวง จ.ขอนแก่น ลายนกกินน้ำร่วมต้น จ.แพร่ ลายหมี่คั่นขอนารี จ.ชัยภูมิ ลายดอกประดู่ศรีอุตรดิตถ์ จ.อุตรดิตถ์ ผ้ายกดอกลายดอกพิกุล จ.ลำพูน ลายนพเกล้าเฉลิมพระเกียรติ เป็นต้น นับเป็นครั้งแรกที่ของประเทศไทยที่จะมีผ้าไทยลายอัตลักษณ์ประจำจังหวัดครบทั้ง 76 จังหวัด ซึ่งทาง วธ.ได้จัดทำเป็นหนังสือเพื่อเผยแพร่ความรู้ทั้งในแบบรูปเล่ม และรูปแบบ e-book
นอกจากนี้ยังมีการออกร้านของชุมชนในแต่ละจังหวัด การเสวนาผ้าไทยในวันที่ 12 สิงหาคม หัวข้อ ภูษาพัสตรา เฉลิมหล้าเฉลิมพระชนม์ โดยกรมศิลปากร ประกอบด้วย มีชัย แต้สุจริยา ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์(ผ้าไทย) , พวงพร ศรีสมบูรณ์ ผู้อำนวยการกลุ่มวิทยาศาสตร์เพื่อการอนุรักษ์ สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร,นายธีรพันธุ์ จันทร์เจริญ ผู้อำนวยการสำนักศิลปะและวัฒนธรรม ม.ราชภัฏสุราษฎร์ธานี ในวันที่ 13 สิงหาคม มีการเสวนาหัวข้อ อัตลักษณ์ผ้าไทย 4 ภาค โดยกรมศิลปากร และผู้เชี่ยวชาญทั้ง 4 ภาค และในวันที่ 14 สิงหาคม มีการเสวนาหัวข้อ แนวทางการส่งเสริมผ้าไทยร่วมสมัย ให้เป็นสินค้าทางวัฒนธรรมในตลาดโลก โดยศิริชัย ทหรานนท์ ธีระ ฉันทสวัสดิ์ และเอก ทองประเสริฐ
รับชมการแสดงจินตลีลาพัสตราภรณ์ : มโนราห์บัลเลต์ และการแสดงโขน จากสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ สำรองที่นั่งได้ที่เว็บไซด์กระทรวงวัฒนธรรม www.m-culture.go.th และการจำหน่ายออกร้านผ้าและผลิตภัณฑ์ประเภทผ้าจากชุมชน ผู้ประกอบการ 76 จังหวัดทั่วประเทศ พร้อมร้านบริการออกแบบ ตัดเย็บ เสื้อผ้าไทย
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
สุดม่วน! วธ.จัด ‘หมอลำเฟสติวัลร้อยแก่นสารสินธุ์’ หนุนยูเนสโกขึ้นทะเบียนมรดกวัฒนธรรมจับต้องไม่ได้
กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) ร่วมกับจังหวัดขอนแก่น การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และภาคเอกชนระดับประเทศ อาทิ หอการค้าไทยสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย บริษัท ขอนแก่น อินโนเวชั่น เซ็นเตอร์ จำกัด Sustainable Brands (SB) Thailand และ บริษัท
บอร์ด ICH ขึ้นบัญชี 10 มรดกภูมิปัญญาวัฒนธรรม ‘งานนมัสการพระธาตุพนม-เสื่อกกจันทบูร-ผ้าหม้อห้อม-ตำนานสุบินกุมาร‘
นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการส่งเสริมและรักษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมครั้งที่ 3/2567 พิจารณาเห็นชอบให้กรมส่งเสริมวัฒนธรรม
ยูเนสโกขึ้นทะเบียน ‘ต้มยำกุ้ง’ มรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้วธ.จัดฉลองยิ่งใหญ่ 6-8 ธ.ค.ที่เอ็มควอเทียร์
4 ธ.ค.2567 - นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศลรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (รมว.วธ.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลเพื่อการสงวนรักษามรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ ครั้งที่ 19 (The nineteenth session of the Intergovernmental Committee for the
ราชกิจจาฯ แพร่คำสั่งกระทรวงวัฒนธรรม ตั้ง 'อ๋อม สกาวใจ' เป็นที่ปรึกษารมว.วัฒนธรรม
ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่คำสั่งกระทรวงวัฒนธรรมที่ 191/2567 เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการการเมือง
วธ.จัดกิจกรรมถวายพระราชกุศล ร.9
28 พ.ย.2567 - นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (รมว.วธ.) กล่าวว่า กระทรวงวัฒนธรรม โดยกรมการศาสนา ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ องค์การทางศาสนาพุทธ ศาสนาคริสต์ ศาสนาอิสลาม ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ศาสนาซิกข์และกลุ่มภาคีเครือข่ายจัด “กิจ