มหกรรมวัฒนธรรมแห่งชาติ เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว วิถีถิ่น วิถีไทย “ม่วนอ๊ก ม่วนใจ๋ เที่ยวไทยเมืองเหนือ งามเหลือชาติพันธุ์ นมัสการพระธาตุช่อแฮ” และงานสมโภชพระบรมธาตุช่อแฮ 16 ปี พระอารามหลวง เปิดงานแล้ว โดยมีนายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (รมว.วธ.) เป็นประธานพิธี พร้อมด้วยพระโกศัยเจติยารักษ์ เจ้าอาวาสวัดพระธาตุช่อแฮ พระอารามหลวง รองเจ้าคณะจังหวัดแพร่ นางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม นายสมหวัง พ่วงบางโพ ผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ นางศิริวรรณ ปราศจากศรัสตรู นายกฤติเดช สันติวชิระกุล สมาชิกสภาผู้แทนราษฏร ศิลปินแห่งชาติแม่ครูประนอม ทาแปง แม่ครูรัจนา พวงประยงค์ และผู้บริหารกระทรวงวัฒนธรรม วัฒนธรรมจังหวัด 17 จังหวัดภาคเหนือ ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สภาวัฒนธรรม เครือข่ายวัฒนธรรม และประชาชนในจังหวัดแพร่ เข้าร่วม ณ วัดพระธาตุช่อแฮ พระอารามหลวง อ.เมืองแพร่ จ.แพร่
นายอิทธิพล คุณปลื้ม กล่าวว่า กระทรวงวัฒนธรรม ขับเคลื่อนพัฒนาประเทศด้วยโมเดลเศรษฐกิจใหม่ BCG สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจโดยฐานความเข้มแข็งของประเทศ อีกทั้งสนับสนุนใช้ “Soft Power” ความเป็นไทยสู่ระดับสากล ยกระดับเทศกาล ประเพณี (Festival) ท้องถิ่นให้เป็นที่รู้จักระดับชาติและนานาชาติ วธ.จึงร่วมกับจังหวัดแพร่ เครือข่ายวัฒนธรรมภาคเหนือ รวม 17 จังหวัด จัดงาน มหกรรมวัฒนธรรมแห่งชาติ เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว วิถีถิ่น วิถีไทย “ม่วนอ๊ก ม่วนใจ๋ เที่ยวไทยเมืองเหนือ งามเหลือชาติพันธุ์ นมัสการพระธาตุช่อแฮ” และงานสมโภชพระบรมธาตุช่อแฮ 16 ปี พระอารามหลวง ระหว่างวันที่ 24 – 26 ก.ค. 2565 ณ วัดพระธาตุช่อแฮ พระอารามหลวง อ.เมืองแพร่ จ.แพร่ เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รวมถึงสร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้ให้กับศิลปิน เครือข่ายทางวัฒนธรรม ผู้ประกอบการสินค้าและบริการทางวัฒนธรรมที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 รวมทั้งเผยแพร่ศิลปะและวัฒนธรรม ยกระดับมหกรรมวัฒนธรรมท้องถิ่นให้เป็นระดับชาติ
รมว.วธ. กล่าวว่า ภายในงานนี้มีกิจกรรมทางศิลปวัฒนธรรม อาทิ การจัดนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพิธีไหว้ครูศิลปินพื้นบ้านภาคเหนือ พิธีสมโภชพระบรมธาตุช่อแฮ พระอารามหลวง ฟ้อนบูชาองค์พระธาตุ “คนเมืองแพร่ฮ่วมใจ๋ ฟ้อนปูจาพระธาตุช่อแฮ” โดยช่างฟ้อนกว่า 1,800 ชีวิต และขบวนแห่ “รวมพลคนปีขาล นมัสการพระธาตุช่อแฮ” ขบวนแห่เครื่องสักการะอัตลักษณ์ 8 อำเภอ และขบวนแห่ชาติพันธุ์ 17 จังหวัดภาคเหนือ และ 9 กลุ่มชาติพันธุ์ในจังหวัดแพร่
นอกจากนี้ ยังมี การเสวนาทางวิชาการ มหกรรมชาติพันธุ์ จัดแสดงวิถีชีวิตของกลุ่มชาติพันธุ์ภาคเหนือ การแสดงผลงานศิลปินและสล่าพื้นบ้านใน”ข่วงสล่าภาคเหนือ” การแสดงผลงานศิลปะร่วมสมัย โดยเครือข่าย ขัวศิลปะเชียงราย และศิลปินภาคเหนือ การสาธิตผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรม (CPOT) อาหารพื้นถิ่นภาคเหนือ นิทรรศการชุมชนยลวิถี การแสดงศิลปวัฒนธรรมจากศิลปินพื้นบ้าน และกาดหมั้ววัฒนธรรม ฯลฯ จึงขอเชิญชวนประชาชน รวมถึงนักท่องเที่ยว มาเที่ยวชมงานมหกรรมวัฒนธรรมแห่งชาติฯ เพื่อสืบสานอัตลักษณ์ท้องถิ่น เรียนรู้ความหลากหลายของชาติพันธุ์ อีกทั้งยังเป็นการนำทุนทางวัฒนธรรมมาสร้างมูลค่าทางสังคมและเศรษฐกิจ โดยคาดว่าการจัดงานในครั้งนี้จะมีรายได้หมุนเวียนกระตุ้นเศรษฐกิจชุมชนไม่ต่ำกว่า 35 ล้านบาท
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
วธ.จัดมหกรรม‘ปลาร้า หมอลำอีสาน’ ยกระดับวัฒนธรรมพื้นบ้านให้ดังก้องโลก
กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) ร่วมกับจังหวัดขอนแก่น การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และภาคเอกชนระดับประเทศ อาทิ หอการค้าไทยสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย บริษัท
สุดม่วน! วธ.จัด ‘หมอลำเฟสติวัลร้อยแก่นสารสินธุ์’ หนุนยูเนสโกขึ้นทะเบียนมรดกวัฒนธรรมจับต้องไม่ได้
กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) ร่วมกับจังหวัดขอนแก่น การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และภาคเอกชนระดับประเทศ อาทิ หอการค้าไทยสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย บริษัท ขอนแก่น อินโนเวชั่น เซ็นเตอร์ จำกัด Sustainable Brands (SB) Thailand และ บริษัท
พิกัด 11 วัด งานอารามอร่ามประดับไฟรับปีใหม่
เพื่อส่งมอบความสุขปลายปีและเสริมสิริมงคลแก่ชีวิต กระทรวงวัฒนธรรม(วธ.) จัดกิจกรรม “อารามอร่าม 11 วัด 1 โบสถ์พราหมณ์1 พิพิธภัณฑ์ ประดับไฟฉลองต้อนรับเทศกาลปีใหม่ 2568 “ ถือเป็นอีกหมุดหมายที่ห้ามพลาดและไม่ได้จัดเป็นประจำ เพราะ
ฉลอง'ต้มยำกุ้ง' กระหึ่มโลก ชวนลองเมนูมรดกวัฒนธรรม
โด่งดังก้องโลกกับเมนูต้มยำกุ้งของดีเมืองไทย กระทรวงวัฒนธรรม โดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรม จัดงานฉลองต้มยำกุ้งและเคบายา มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของมนุษยชาติ ในโอกาสที่ ยูเนสโก ได้ประกาศขึ้นทะเบียน “ต้มยำกุ้ง” (Tomyum Kung) และ “เคบายา” เป็นรายการตัวแทนมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ (Representative List
แสดง'โขน-โนรา'สานสัมพันธ์ที่เขมร
25 พ.ย.2567 - นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เปิดเผยว่า กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) มีนโยบายนำมิติทางศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรมมาส่งเสริมความร่วมมือและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศและสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้แก่ประเทศไทยในภูมิภาคอาเซียนและเวทีนานาชาติ