เรื่องราวของการสักยันต์ สักลาย ลายสักมีอยู่ในประเพณีวัฒนธรรมไทยและกัมพูชา ที่สะท้อนถึงความเชื่อ ความศรัทธา ความศักดิ์สิทธิ์ และความสุนทรีย์ของศิลปะบนเรือนร่าง จากภาพถ่ายฝีมือของนักวิชาการของสำนักฝรั่งเศสแห่งปลายบุรพาทิศ จัดแสดงในนิทรรศการพิเศษ“Trance/Figuration : Tattoos From Birth to Death” (สะกดร่าง/สักลาย: ลายสักจากกำเนิดสู่ความตาย ) ณ ห้องนิทรรศการหมุนเวียน 6 พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป ถนนเจ้าฟ้า ด้วยความร่วมมือระหว่างกรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม ,สถานเอกอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำประเทศไทย, สำนักฝรั่งเศสแห่งปลายบุรพทิศ ศูนย์เชียงใหม่ และนายเซดริก อาร์โนลด์ ศิลปินชาวฝรั่งเศส
นิทรรศการน่าชม เพราะทุกวันนี้การสักกลายเป็นแฟชั่นยอดนิยมในคนรุ่นใหม่ มีการคิดค้น ผสมผสานลวดลายหลากหลาย เป็นโอกาสที่จะชวนมารำลึกรากฐานของการสักของภูมิภาคนี้ผ่านเนื้อหาในนิทรรศการ 3 ส่วนที่บอกเล่าถึงประเพณีการสักลายอันหลายหลากน่าสนใจ เริ่มตั้งแต่ชุดภาพสักยันต์เนื่องในพิธีกรรมทางพุทธศาสนาของพระ – เกจิอาจารย์จากประเทศกัมพูชาและประเทศไทยที่บันทึกไว้โดย โอลิวิเย่ร์ เดอ แบร์นง และฟรองซัวส์ ลาจิราร์ด นักวิชาการของสำนักฝรั่งเศสแห่งปลายบุรพาทิศ
ตามด้วยผลงานภาพถ่ายร่วมสมัยของ เซดริก อาร์โนลด์ จัดแสดงในแบบศิลปะจัดวาง ทั้งภาพและเสียง เพื่อจำลองสภาวการณ์ของการเปลี่ยนผ่านภวังคจิต (Trance) ที่เกิดในช่วงพิธีกรรมการสักยันต์ของไทย และชุดภาพถ่ายของกลุ่ม “คนป่าบ้าขาลาย” กลุ่มคนที่ศึกษา สืบค้น อนุรักษ์ สืบทอด และเผยแพร่วัฒนธรรมการสักขาลายโบราณล้านนา ผู้ถ่ายบันทึกประเพณี “การสักขาลาย” หรือการสักลายในบริเวณต้นขาและลำตัวช่วงล่างเพื่อการปกป้องคุ้มครองภัย โดยประเพณีดังกล่าวยังเป็นที่ปฏิบัติกันอยู่ โดยอาจารย์สักตามหมู่บ้านชนบทชายแดนทางเหนือของประเทศไทยบางแห่ง ลายสักกลุ่มนี้มีแม่ลายที่ไม่ได้มีที่มาจากแบบแผนหรือแนวคิดทางพระพุทธศาสนารวมอยู่ด้วย
มาชมภาพการสักกางเกง จะสักตั้งแต่หัวเข่าขึ้นไปถึงเอว ที่หมู่บ้านในอ.ท่าสองยาง จ.ตาก ซึ่งเป็นจังหวัดที่มีผู้ชายสักขากันจำนวนมาก หรือมาทำความรู้จักลายสักปะลู ช่างสักจะสักไว้ที่บริเงณขาด้านหลังเหนือข้อพับขึ้นมาเล็กน้อย ด้วยเหตุผลว่า จะทำให้ผู้สักมีพละกำลังมหาศาล และปะลู ทำหน้าที่ส่งวิญญาณผู้ที่รอยสักนี้บนเรือนร่างข้ามแม่น้ำแห่งความตายไปสู่โลกหน้า โดยไม่ต้องจ่ายค่าเรือข้ามแม่น้ำ ทุกภาพมีเรื่องราวซ่อนอยู่
ส่วนคนที่สนใจโบราณวัตถุหรือศิลปะวัตถุที่แสดงถึงความหลากหลายของวัฒนธรรมและความเชื่อที่เกี่ยวเนื่องกับชีวิตและความตาย ภายในนิทรรศการก็ยังมีการจัดแสดงยันต์บนโบราณวัตถุจากกรมศิลปากร เช่น ผ้า และเครื่องแต่งกายโบราณ เตรียมไว้ให้ชม
ชวนไปชมนิทรรศการพิเศษ “TRANCE/FIGURATION, Tattoos from birth to death” ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป ถนนเจ้าฟ้า เวลา 09.00-16.00 น. วันพุธ – วันอาทิตย์ หยุดวันจันทร์ – วันอังคาร และวันหยุดนักขัตฤกษ์ตั้งแต่บัดนี้ถึงวันที่ 21 ส.ค.นี้
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'พระเจ้าตอง' กลับพะเยา หลังโดนขโมย 36 ปีก่อน ค้นพบที่สวิต กรมศิลป์พิสูจน์แล้วของจริง
นายวิสุทธิ์ ไชยณรุณ สส. บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ในฐานะผู้ประสานงานและติดตามนำ “พระเจ้าตอง” กลับจังหวัดพะเยา รับส่งมอบพระเจ้าตอง จากนางสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม
ชมพิพิธภัณฑ์ยามค่ำ Night at The Museum
กลับมาอีกครั้งสำหรับบิ๊กอีเว้นท์ของคนรักพิพิธภัณฑ์ เมื่อกรมศิลปากร โดยพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กำหนดจัดกิจกรรม "ชมพิพิธภัณฑ์ยามค่ำ" Night at the Museum ในเทศกาลท่องเที่ยวพิพิธภัณฑ์ยามค่ำคืน
บูรณะวัดไชยวัฒนารามนำชีวิตชีวาสู่มรดกโลก
วัดไชยวัฒนาราม จ.พระนครศรีอยุธยา งดงามทรงคุณค่า เป็นหนึ่งในหลักฐานที่แสดงถึงความยิ่งใหญ่และรุ่มรวยทางวัฒนธรรมของกรุงศรีอยุธยาอดีตเมืองหลวงอันยิ่งใหญ่ วัดเก่าแก่แห่งนี้เป็นโบราณสถานสำคัญของอยุธยา และเป็นส่วนหนึ่งของอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาที่โดย
'4วัด1วัง'เที่ยวมรดกโลกอยุธยายามราตรี
กระแสตอบรับดีสำหรับโครงการท่องเที่ยวโบราณสถานยามค่ำคืนในพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ปีนี้กระทรวงวัฒนธรรม โดยกรมศิลปากร ยกระดับท่องเที่ยวโบราณสถานยามราตรีเปิดโบราณสถานให้นักท่องเที่ยวได้เข้าชมเพิ่มขึ้นเป็น 5 แห่ง ประกอบด้วย
ย้อนเวลา 4 วัด 1 วัง เมื่อครั้งต้นกรุงฯ
ชวนแต่งชุดไทยเดินทางย้อนเวลากลับไปสู่ช่วงต้นกรุงศรีอยุธยา ดื่มด่ำกับบรรยากาศโบราณสถานยามค่ำคืนที่งดงามในงาน “ 4 วัด 1 วัง เมื่อครั้งต้นกรุงฯ” ภายใต้แนวคิด “ย้อนเวลา ส่องวิถี ปลุกแสงสี พระนครศรีอยุธยา” โดยจะจัดกิจกรรมตามวัดและโบราณสถานที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์
โบราณสถานเวียงกุมกามเสียหายหนักจากน้ำท่วม
7 ต.ค.2567 - นายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร กล่าวว่า จากการลงพื้นที่ จ.เชียงใหม่ เพื่อติดตามผลกระทบของสถานการณ์อุทกภัยที่มีต่อโบราณสถานสำคัญของจังหวัด โดยพบว่า พื้นที่เวียงกุมกามที่เป็นเมืองโบราณสมัยพญามังรายปฐมกษัตริย์ล้านนา ที่ตั้งอยู่ในอำเภอสา