เปิดใจนายช่างสิบหมู่ผู้ออกแบบ 'ตราสัญลักษณ์ ๙๐พรรษา'

เปิดใจนายช่างสิบหมู่ผู้ออกแบบ”ตราสัญลักษณ์ ๙๐ พรรษา” เผยมงคลชีวิตสูงสุด  ใช้รูปหัวใจแทนความหมายทรงเป็นศูนย์รวมดวงใจไทยทั้งชาติ มาลัยมะลิสื่อดอกไม้มงคลทรงเป็นแม่ของแผ่นดิน-พสกนิกรกลมเกลียวเฉลิมพระเกียรติ

14 มิ.ย. 2565 – นายเกียรติศักดิ์ สุวรรณพงศ์ จิตรกรชำนาญการพิเศษ ผู้อำนวยการกลุ่มจิตรกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร กล่าวว่า  นับเป็นมงคลแก่ชีวิตและวงศ์ตระกูลที่ได้มีโอกาสปฏิบัติงานรับใช้ใต้เบื้องพระยุคลบาท การออกแบบตราสัญลักษณ์พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา  90 พรรษา 12 สิงหาคม 2565 สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงประกอบพระราชกรณียกิจนานัปการเคียงคู่ในหลวง รัชกาลที่ 9 พระราชจริยวัตรงดงาม พระองค์ทรงเป็นที่รักและเทิดทูนยิ่งของปวงชนชาวไทย นำมาสู่แรงบันดาลใจในการออกแบบตราสัญลักษณ์ ซึ่งทุกรายละเอียดมีความหมาย อักษรพระนามาภิไธย ส.ก.อยู่ภายในกรอบรูปหัวใจพื้นสีฟ้า อักษร “ส” สีฟ้าเป็นสีประจำวันพระราชสมภพ อักษร “ก” สีขาว เป็นสีเดชของวันพระราชสมภพ พื้นกรอบสีชมพูลายดอกมะลิ สีชมพูเป็นสีแห่งศรีของวันพระราชสมภพ การให้สีดูละมุนละไม สื่อความเป็นผู้หญิงและพระเมตตา ดอกไม้มะลิเป็นดอกไม้มงคลสัญลักษณ์วันแม่แห่งชาติ ทรงเป็นแม่ของแผ่นดิน  ด้านบนเป็นพระมหามงกุฎภายในประดิษฐานพระแสงจักรและพระแสงตรี สื่อถึงทรงอยู่ในพระบรมราชจักรีวงศ์  ขนาบซ้าย ขวา พระมหามงกุฎด้วยพระสัปตปฎลเศวตฉัตร ฉัตรขาว 7 ชั้น  เป็นฉัตรประกอบพระราชอิสริยยศของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง

“ การนำดอกมะลิมาร้อยเรียงเป็นมาลัยลายเกลียวรูปหัวใจรอบอักษรพระนามาภิไธย ส.ก. สื่อถึงการร้อยเรียงดวงใจอย่างแน่นแฟ้นกลมเกลียวในโอกาสมหามงคล 90 พรรษา ถวายพระผู้ทรงเป็นศูนย์รวมดวงใจพสกนิกรไทยทั้งชาติ และผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐต่อลูก คือ ชาวไทยทุกหมู่เหล่าให้พ้นทุกข์ยาก รูปลายหงส์ประคองฉัตร ซ้าย ขวา หมายถึง พระสิริโฉมสง่างามสูงค่าดังหงส์ ลวดลายไทย หมายถึงพระปรีชาด้านศิลปวัฒนธรรม พระราชทานกำเนิดศิลปาชีพ และทรงส่งเสริมเอกลักษณ์ชาติไทยให้แพร่หลายในไทยและต่างประเทศ เลขไทย ๙๐ ภายใต้มาลัยหัวใจ สื่อถึงเลขมงคลที่ทรงเจริยพระชนมพรรษาครบ 90 พรรษา เป็นความภาคภูมิใจของจิตรกรไทยคนหนึ่งได้ถวายงานอย่างสุดความสามารถ ตราสัญลักษณ์ที่สร้างสรรค์ขึ้นได้นำไปใช้จัดงานเฉลิมพระเกียรติต่างๆ  ทั้งยังร่วมอนุรักษ์จิตรกรรมไทยโบราณผสมผสานศิลปะสมัยใหม่สู่ตราสัญลักษณ์ที่มีความร่วมสมัย ไม่ละทิ้งเอกลักษณ์ของชาติไทย “ นายเกียรติศักดิ์ กล่าว

สำหรับนายเกียรติศักดิ์ สุวรรณพงศ์ จิตรกรชำนาญการพิเศษ กรมศิลปากร เป็นจิตรกรที่สร้างสรรค์ผลงานอย่างโดดเด่นมาอย่างต่อเนื่อง ทั้งยังเป็นผู้ออกแบบฉากบังเพลิงในงานศิลปกรรมประกอบพระเมรุมาศ ในหลวง รัชกาลที่ 9เครื่องสังเค็ดงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ ร.9 ถือเป็นบุคคลที่มีความมุ่งมั่นตั้งใจเป็นแกนนำในการส่งเสริม สนับสนุน และร่วมขับเคลื่อนงานด้วยศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม ก่อเกิดประโยชน์ต่อประชาชนและประเทศชาติ อีกทั้งได้รับรางวัลยกย่องเชิดชูเกียีติผู้ทำคุณประโยชน์ทางด้านศิลปวัฒนธรรมมาแล้วมากมาย

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ช่างสิบหมู่ช่วยชุมชนพัฒนาของที่ระลึก'ศรีเทพ'มรดกโลก

7 พ.ย.2566 - นายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร เปิดเผยว่า หลังจากที่ยูเนสโกประกาศให้เมืองโบราณศรีเทพเป็นมรดกโลกแล้ว ทำให้มีนักท่องเที่ยวทั้งในประเทศและต่างประเทศเข้ามาเที่ยวชมอุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพเป็นจำนวนมาก จึงได้มอบหมาย