หลังเปิดโครงการประกวดศิลปะปูนปั้นแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 20 ณ วิทยาลัยเพาะช่าง มีกิจกรรมมากมายทั้งการสัมมนาวิชาการและการทัศนศึกษาศิลปะ การแข่งขันประกวดศิลปะปูนปั้น การจัดแสดงนิทรรศการ การประชุมเชิงปฏิบัติการ workshop กับประติมากรปูนปั้นยอดเยี่ยม และการจัดหนังสือแบบอย่างลวดลายในพุทธศิลป์แห่งสยามประเทศ ตอน อยุธยาตอนหลัง จัดโดยวิทยาลัยเพาะช่าง มทร.รัตนโกสินทร์ ร่วมกับกรมศิลปากร และบริษัท ทีพีไอ โพลีน จำกัด (มหาชน) โดยมีนายประทีป เลี่ยวไพรัตน์ ประธานกรรมการผู้จัดการใหญ่ ทีพีไอ โพลีน เป็นประธาน
ไฮไลท์เป็นการแข่งขันศิลปะปูนปั้นแห่งประเทศไทยตลอด 5 วัน ระหว่างวันที่ 25-29 พ.ค. เฟ้นหาช่างปั้นที่มีแนวคิดในการสร้างงาน มีความสามารถในการสร้างงานปูนปั้น กิจกรรมนี้จัดต่อเนื่องเพื่ออนุรักษ์ สืบสานและพัฒนางานศิลปะปูนปั้นที่สืบทอดมายาวนาน ปีนี้ระดับประชาชนจัดการประกวด 3 ประเภท คือ ประเภทผลงานสำเร็จรูป หัวข้อประกวด “คู่พระ – นางในวรรณคดี” มีผลงานเข้าประกวด 20 ผลงาน ,ประเภทการปั้นปูนสด หัวข้อเรื่อง “รามาวตาร” มีผู้เข้าประกวด 27 คน และประเภทปั้นปูนสำเร็จรูปปูนทีพีไอ หัวข้อการประกวดเรื่อง “สืบสาน รักษา ต่อยอด วิถีไทย” มีผู้เข้าประกวด 21 คน
ช่างศิลป์สร้างสรรค์งานศิลปะปูนปั้น
ส่วนระดับเยาวชนประชันประเภทปั้นปูนสำเร็จรูป ทีพีไอ หัวข้อ “ตามรอยครูช่างสมัยอยุธยา” มีผู้เข้าประกวด 25 คน ล่าสุด คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาตัดสินผลงานรางวัลทุกประเภทเป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดย รศ.ดร.ภิญโญ สุวรรณคีรี เป็นประธานกรรมการ พร้อมคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญ
ผลตัดสินประเภทผลงานสำเร็จรูป หัวข้อ “คู่พระ-นางในวรรณคดีไทย” รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ ธีระพงษ์ โพธิสาร ชื่อผลงาน ถอดรูปชมนาง (พระสังข์, รจนา) รองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ พฤกษ์ โตหมื่นไวย ชื่อผลงาน หนุมานจับนางเบญกาย และ สมเจต อินเฉิม ชื่อผลงาน พระสุธน มโนราห์ รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 พรหมมินทร์ วิชา ชื่อผลงาน รักจองจำ ภาณุพัฒน์ วิบูลรุ่งเรือง ชื่อผลงาน ฉุด และสาธิต ไชยหงษ์ ชื่อผลงาน โศกนาฎกรรมการลักพาตัว (กากี) รางวัลชมเชย ได้แก่ คุณธนภัทร งามจิต ชื่อผลงาน ครรภ์เงือก เอกราช ชมจูมจัง ชื่อผลงาน เลือกรัก และ คุณยุวดี พรมวาส ชื่อผลงาน แก้วหน้าม้าพระปิ่นทอง
ธีระพงษ์ โพธิสาร กับผลงาน’ ถอดรูปชมนาง’
ประเภทปั้นปูนสำเร็จรูปปูนทีพีไอ “สืบสาน รักษา ต่อยอด วิถีไทย” ชนะเลิศ ได้แก่ ยุวดี พรมวาส “กระติ๊บข้าวพาเพลิน” รองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ ธีระพงษ์ โพธิสาร ผลงานชื่อ “ชุมชนวิถีไทยพัฒนา” ภาณุพัฒน์ วิบูลรุ่งเรือง ผลงานชื่อ “จากลานข้าวสู่ลานวัว” รองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ พฤกษ์ โตหมื่นไวย ผลงานชื่อ “รับขวัญพลายแก้ว” สุเมธ น้อยมา ผลงานชื่อ “รักษา วิถีศิลป์ ถิ่นสุโขทัย” และกำป๋อง ใจแปง กับผลงาน “ลอยกระทง” รางวัลชมเชย ได้แก่ วิทยา โยอาศรี ผลงานชื่อ “สานสายใยผ้าไทยยุคออนไลน์” สุระชาติ พละศักดิ์ “สืบสานตำนานควาย สู่วิถีไทยที่ยั่งยืน” และ สาธิต ไชยหงษ์ ผลงานชื่อ “อยากเล่นสงกรานต์”
ชนะเลิศปั้นปูนสดเรื่อง“รามาวตาร” ได้แก่ สมเจต อินฉิม ผลงานชื่อ “เกียรติของพระราม” รองชนะเลิศอันดับ 1 รักเกียรติ รามแก้ว ผลงานชื่อ “สำนึกอสุรา” และอรชุน สระแก้ว ผลงานชื่อ “ปฐมเหตุ ธรรม -อธรรม” รองชนะเลิศอันดับ 2 อนุชิต พุ่มนุ้ย ผลงานชื่อ “ธรรมย่อมชนะอธรรม” ชัชวาลย์ สหัสสพาศน์ ผลงานชื่อ “รามาอวตาร : เผด็จศึก ( Rama Avatan : Endgame )” และอำนาจ เปรียรัมย์ กับผลงาน “ฤทธา รามาวตาร” รางวัลชมเชย ได้แก่ ภาณุมาศ ขวัญเนตร “พระรามต้องมนต์ไมยราพ” พรหมมินทร์ วิชา “รามาวตาร” และภาณุพงศ์ สว่าง “รามาวตาร ตอน หนุมานรบนิลพัท”
มินธาดา ปักษาพันธ์ กับผลงาน”ภาพพระบฏอยุธยา”
งานรางวัลระดับเยาวชนก็ไม่ธรรมดา รางวัลชนะเลิศ ตกเป็นของมินธาดา ปักษาพันธ์ ผลงานชื่อ “ภาพพระบฏอยุธยา” รองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ นายภูวนาถ สายน้ำ กับผลงานชื่อ “ เสด็จลงจากดาวดึงส์ ” และ นายถิรวิทย์ ขวัญนิมิตร ผลงานชื่อ “ สืบสาน ” รองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ นายทศพร ศรีโนรินทร์ ผลงานชื่อ “ เสด็จจากดาวดึงส์ ” นายปุณณวิช ทองแย้ม ผลงานชื่อ “เนมิราชชาดก” นายศุภกิจ บุญประเสริฐ “ ผลงานชื่อ ผู้คุ้มครองธรรม (ท้าวสักกะเทวราช) ” และรางวัลชมเชย ได้แก่ นางสาววชิราภรณ์ สุขศรีทอง ผลงานชื่อ “ตู้พระธรรมวัดเชิงหวาย” นายสิทธิโชค ผาแก้ว ผลงานชื่อ “ผู้ปกป้อง” และนายธีรพงษ์ ควรมี กับผลงานชื่อ “เสวยวิมุติสุข”
มินธาดา ปักษาพันธ์ จากนักศึกษา มรฏ. อุบลราชธานี ผู้สร้างผลงานชื่อ “ภาพพระบฏอยุธยา” เผยแนวความคิดผลงานว่า องค์นี้ได้มาจากภาพพระบฏอยุธยา ซึ่งเป็นการจัดองค์ประกอบแบบอสมมาตร ซงานเดิมเป็นภาพเขียน นำมาปรับประยุกต์ทำให้เป็นภาพ 3 มิติ รู้สึกภาคภูมิใจที่ได้รางวัลและได้ความรู้งานศิลปะไทยจากการร่วมโครงการปีนี้
ผลงานรางวัลรวมทั้งผลงานที่ผ่านการพิจารณาจะนำมาแสดงจัดนิทรรศการให้ประชาชนที่สนใจเข้าชมในช่วงปลายปีนี้
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
จิตรกรเพาะช่างวาดภาพ'อาหาร'ชวนหิว
ภาพอาหารน่ากินและเมนูสุดอร่อยที่ทุกคนคุ้นเคย ไม่ว่าจะส้มตำปลาร้ากุ้งสดนัวๆ ข้าวขาหมูหนังฉ่ำ เนื้อนุ่ม บะหมี่หมูแดงเส้นเหนียวนุ่ม เกี๊ยวคำโต หรือกุ้งเผาน้ำจิ้มแซบซี๊ด เมนูสุดฟิน ที่เหล่านักศึกษาจิตรกรรมเพาะช่างบรรจงวาดภาพอาหารในรูปแบบเหมือนจริง เชื่อว่าผู้ชมได้เห็นแล้วต้องเกิดอาการหิวอย่างแน่นอน
'พินิจ' ปลื้มศิลปะสุดล้ำ อุปรากรจีนเปลี่ยนหน้ากาก มรดกวัฒนธรรมเสฉวนโชว์วันตรุษจีน
ที่วิทยาลัยเพาะช่าง เขตพระนคร กรุงเทพฯ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ บพิตรพิมุข จักรวรรดิ ร่วมกับ สภาวัฒนธ
นิทรรศการนานาชาติห้ามพลาดที่’เพาะช่าง’
เปิดพื้นที่ให้ศิลปินนานาชาติ 153 คนจาก 18 ประเทศ ร่วมปฏิบัติการทางทัศนศิลป์ทั้งแบบออนไลน์และออนไซต์อย่างเข้มข้นตลอด 3 วันที่วิทยาลัยเพาะช่าง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ นำมาสู่งานสร้างสรรค์ร่วมสมัยที่มีคุณค่า ซึ่งเหล่าศิลปินสะท้อนมุมมองที่น่าสนใจ
'เส้น สี ที่ว่างในสัญญา'ศิลปะสื่อผสมระลึกถึง'สุรศักดิ์ เจริญวงศ์'
จากความสะเทือนใจในการสูญเสีย ศ.สุรศักดิ์ เจริญวงศ์ อดีตคณบดีคณะจิตรกรรม ประติมากรรม และภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ศิลปินอาจารย์ผู้มีผลงานเป็นที่ยอมรับ เป็นแรงบันดาลใจให้ ผศ.สุดวดี สุวรรณ สร้างสรรค์ผลงานศิลปะและจัดแสดงให้ทุกคนได้ชมในนิทรรศการ LINES COLORS SPACES IN MEMORY