ยกย่อง 90 ต้นแบบ 'สยามพัสตรา ภูษาสง่าศิลป์'

ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ที่ทรงพระวิริยะอุตสาหะปฏิบัติพระราชกรณียกิจยาวนานกว่า 6  ทศวรรษ ในการส่งเสริมและพัฒนาผ้าไทยสิ่งทอของจากภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เกือบสูญหายให้กลับมาเป็นอาภรณ์อันทรงคุณค่า เป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่คนไทยและคนทั่วโลกยอมรับ

เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เฉลิมพระชนมพรรษา 90 พรรษา 12 สิงหาคม 2565 สหพันธ์สมาคมสตรีนักธุรกิจและวิชาชีพแห่งประเทศไทยในพระบรมราชินูปถัมภ์ (สสธวท)  นำโดย คุณหญิงณัฐิกา วัธนเวคิน อังอุบลกุล ประธานสหพันธ์สมาคมสตรีนักธุรกิจ และวิชาชีพแห่งประเทศไทยฯ พร้อมด้วยคณะกรรมการ สมาชิกจากสมาคมสมาชิกทั่วประเทศ พร้อมใจกันดำเนินโครงการ   “ สยามพัสตรา ภูษาสง่าศิลป์ เฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 90 พรรษา 12  สิงหาคม 2565 ”  ในวันที่  30  พฤษภาคม 2565  ณ ห้องแกรนด์ บอลรูม  โรงแรมแกรนด์ ไฮแอท เอราวัณ กรุงเทพ  ถนนราชดำริ        

คุณหญิงณัฐิกา วัธนเวคิน อังอุบลกุล และคณะกรรมการ สสธวท

คุณหญิงณัฐิกา วัธนเวคิน อังอุบลกุล  กล่าวว่า โครงการจะจัดขึ้นอย่างยิ่งใหญ่และสมพระเกียรติเพื่อเทิดพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวงที่ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจเรื่องผ้าไทยเป็นที่ประจักษ์ และเพื่อสืบสานพระราชปณิธานของพระองค์ท่านด้วยการอนุรักษ์ ส่งเสริม และเผยแพร่ผ้าไทยงานหัตถศิลป์ล้ำค่าของชาติ    สสธวท ได้น้อมนำพระราชกรณียกิจด้านการส่งเสริมการทอผ้า ออกแบบลายผ้าและทรงใช้ผ้าไทยเป็นต้นแบบมาเป็นแนวทางในการจัดงานเฉลิมพระเกียรติฯ ดังกล่าว

“ สมาชิกสตรีนักธุรกิจรักษาผ้าไทยเอกลักษณ์ของชาติผ่านการใช้ควบคู่กับการที่ สสธวท ส่งเสริมการใช้ผ้าไทยและเผยแพร่ผ้าไทย สร้างกระแสความนิยมให้เกิดขึ้นทั้งในประเทศและต่างประเทศ  เพราะเป็นการปิดห่วงโซ่คุณค่าผ้าไทยอย่างยั่งยืน หลังผ่านกระบวนการผลิต การทอผ้า ออกแบบลายผ้า และดีไซน์สู่การสวมใส่ ทำให้มีรายได้ มีอาชีพที่มั่นคง     นอกจากนี้ มุ่งส่งเสริมบุคคลผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องให้เกิดการสืบสาน ต่อยอด งานผ้าไทยด้านต่างๆ ตลอดจนผู้ประยุกต์ใช้ผ้าไทยให้เข้ากับยุคสมัยนิยมในปัจจุบัน “ คุณหญิงณัฐิกา กล่าว

ไฮไลท์โครงการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระพันปีหลวง  สสธวท ได้ประกาศผลคัดเลือกบุคคล 90 ท่าน เพื่อยกย่องเชิดชูเกียรติในฐานะผู้สืบสานภารกิจด้านผ้าไทย คงอัตลักษณ์อันงดงามทรงคุณค่า เป็น “ 90 ต้นแบบสยามพัสตรา ภูษาสง่าศิลป์”   ครอบคลุม 9 ประเภท ประกอบด้วย 1.นฤมิตภูษาสง่าศิลป์…ต้นแบบแห่งการถักทอผ้าไทย 2. จินตภูษาสง่าศิลป์…ต้นแบบแห่งการออกแบบลวดลายผ้าไทย 3. เชิดชูภูษาสง่าศิลป์…ต้นแบบแห่งการเชิดชู สนับสนุนและต่อยอดผ้าไทย  4.วิวัฒน์ภูษาสง่าศิลป์…ต้นแบบแห่งการพัฒนาผ้าไทยด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยี

5. บูรณาภูษาสง่าศิลป์…ต้นแบบแห่งการดีไซน์ผ้าไทย (ดีไซเนอร์) 6. เอกวลัญชน์ภูษาสง่าศิลป์…ต้นแบบผู้นำในการสืบสานและอนุรักษ์ผ้าไทย  7. สสธวท สานธำรงภูษาสง่าศิลป์…ต้นแบบสมาชิก สสธวท ผู้สืบสานการสวมใส่ผ้าไทย   8.สตรีรักษ์ภูษาสง่าศิลป์…ต้นแบบสตรีแห่งความภาคภูมิในผ้าไทย  (ผู้หญิงซึ่งสวมใส่ผ้าไทยไม่ต่ำกว่า 10 ปี) และ 9. บุรุษรักษ์ภูษาสง่าศิลป์…ต้นแบบบุรุษแห่งความภาคภูมิใจในผ้าไทย (ผู้ชายซึ่งสวมใส่ผ้าไทยไม่ต่ำกว่า 10 ปี)

ส่วนหลักเกณฑ์การคัดเลือกบุคคลต้นแบบ  คุณหญิงณัฐิกา กล่าวว่า ใช้กระบวนการสรรหาและการนำเสนอรายชื่อ มั่นใจว่า 90 ท่าน มีคุณสมบัติเหมาะสม ที่สำคัญเป็นผู้สวมใส่ผ้าไทยอย่างสม่ำเสมอ ในทุกโอกาส  และมีใจรักผ้าไทย  ตลอดจนเป็นบุคคลผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องให้เกิดการสืบสานต่อยอดงานผ้าไทยในด้านต่างๆ  คนต้นแบบประกอบด้วยบุคคลหลากหลายวัย หลากหลายประเภทธุรกิจ ครอบคลุมทั่วประเทศ  และมีความยินดีที่ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติ บุคคลต้นแบบบางท่านอายุยังน้อย แต่ก็ต้องสวมใส่ผ้าไทยมาเกิน 10 ปี เพราะอยากให้คนรุ่นใหม่ได้เป็นส่วนสำคัญผลักดันให้ผ้าไทยพัฒนาสืบเนื่องต่อไป

“ ต้นแบบการดีไซน์ผ้าไทย มีดีไซเนอร์รุ่นใหญ่และรุ่นใหม่ ไม่ได้เทียบกัน เราอยากยกย่องเชิดชูและให้กำลังใจดีไซเนอร์รุ่นใหญ่ สมเด็จพระพันปีหลวงทรงส่งเสริมสนับสนุนให้มีบทบาทในแวดวงผ้าไทยมาจนทุกวันนี้ ท่านถือเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับสังคม ส่วนดีไซเนอร์รุ่นใหม่ล้วนสร้างสรรค์ผลงานผ้าไทยต่อเนื่อง 90 บุคคลต้นแบบเหล่านี้เป็นผู้สืบสานความสง่างามของผ้าไทยไม่ให้สูญหายไป” คุณหญิงณัฐิกา กล่าว

คุณหญิงชฎา วัฒนศิริธรรม

สำหรับ 90 ต้นแบบสยามพัสตรา ภูษาสง่าศิลป์ ล้วนเป็นบุคคลที่เห็นคุณค่าของผ้าไทยและมีผลงานยอดเยี่ยม อาทิ คุณหญิงชฎา วัฒนศิริธรรม,คุณหญิงณัฐิกา วัธนเวคิน อังอุบลกุล ,นางเตือนใจ ดีเทศน์ ,นางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม, ม.ล.อรดิศ สนิทวงศ์ ,นายเผ่าทอง ทองเจือ, ผศ.ดร.พรทิพย์ พุกผาสุข,นายพลพัฒน์ อัศวะประภา  ดีไซเนอร์ ซีอีโอแบรนด์ ‘ASAVA’ ,นางพิจิตรา บุณยรัตน์ ดีไซเนอร์แบรนด์ PICHITA ,นายศิริชัย ทหรานนท์ ดีไซเนอร์แบรนด์ THEATRE,นายเอก ทองประเสริฐ  ผู้ก่อตั้งแบรนด์ EkThongprasert,นายหิรัญกฤษฎิ์ ภัทรพิบูลย์กุล ดีไซเนอร์  และผู้ออกแบบชุดประจำชาติ “ตุ๊กตุ๊กไทยแลนด์”   

นายมีชัย แต้สุจริยา

นอกจากนี้ ยังมีนายมีชัย แต้สุจริยา ศิลปินแห่งชาติ ปี 2565 ทายาทบ้านคำปุน โรงงานทอผ้าแห่งแรกและแห่งเดียวของอุบลราชธานี  ,ผศ.ดร.อนุชา ทีรคานนท์ คณบดีคณะศิลปกรรมศาสตร์ มธ.,  นายวิชระวิชญ์ อัครสันติสุข นักออกแบบแบรนด์ WISHARAWISH,นายวีรธรรม ตระกูลเงินไทย   ครูศิลป์ของแผ่นดิน ผู้ก่อตั้งกลุ่มทอผ้าจันทร์โสมา รังสรรค์ผ้ายกทองโด่งดังไปทั่วโลก ,รอฟ วอน บุเรน ผู้ก่อตั้ง  Lotus Arts de Vivre อนุรักษ์งานผ้าไทยและเผยแพร่ผลิตภัณฑ์ผ้าไทยสู่ตลาดโลก,นางจรรย์สมร วัธนเวคิน ,นางประคอง บุญขจร ปราชญ์ชาวบ้านผู้ฟื้นฟูภูมิปัญญาทอผ้า ,นายโกมล พานิชพันธุ์ ผู้ก่อตั้งพิพิธภัณฑ์โกมลผ้าโบราณ ,นางพะยอม วลัยพัชรา ฯลฯ

นางเตือนใจ ดีเทศน์

คุณหญิงชฎา วัฒนศิริธรรม หนึ่งในบุคคลต้นแบบ กล่าวว่า ตั้งแต่จำความได้ เห็นคุณยายสวมผ้าโจงกระเบนผ้าลายหางกระรอก คุณแม่สวมผ้าซิ่นไหมไทยทั้งไปทำงาน สอนหนังสือและอยู่บ้าน เมื่อตนเริ่มทำงานระดับบริหารแล้วได้เห็นคุณค่าของการนำผ้าไทยมาใช้ในชีวิตประจำวัน และในทุกวันที่ไปทำงาน จนถึงทุกวันนี้ใส่ผ้าไทยเป็นประจำ

“ ผ้าไทยเป็นเอกลักษณ์ของชาติไทย สะท้อนประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม เศรษฐกิจ สังคมไทยทุกยุคสมัย สมควรที่ชาวไทยจะได้สนองพระราชปณิธานของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวงรักษาเอกลักษณ์ชาติ ส่งเสริมการผลิต การใช้ และพัฒนา ธำรงรักษาคุษค่าของผ้าไทยไว้ตลอดปี “คุณหญิงชฎา กล่าว

นายพลพัฒน์ อัศวะประภา

ด้าน นายพลพัฒน์ อัศวะประภา ดีไซเนอร์ผู้ทรงอิทธิพล กล่าวว่า การรู้จักรากเหง้าของตัวเองคือจุดเริ่มต้นของการเจริญเติบโตอย่างยั่งยืนต่อไปในอนาคต ผ้าไทยคือรากเหง้าความเป็นไทยที่สำคัญ  ตั้งแต่อาซาว่าเริ่มก่อตั้งแบรนด์ ผ้าไทยเป็นองค์ประกอบในการสร้างสรรค์ผลงานมาตลอด ปัจจุบันเราร่วมพัฒนาผ้าไทยตั้งแต่จุดเริ่มต้น คนทอทอผ้า การย้อมสี ไปจนถึงกระบวนการสร้างสรรค์

ในการนี้ สสธวท.ได้เชิญบุคคลต้นแบบ 90 ท่าน เข้าร่วมงานสยามพัสตรา ภูษาสง่าศิลป์ฯ วันที่ 30 พ.ค.นี้ เพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้กับคนไทยมุ่งมั่นสืบสานพระราชปณิธานสมเด็จพระพันปีหลวง และตลอดปีมหามงคลนี้ทุกองค์กรของ สสธวท ใน 22 จังหวัดทั่วประเทศจะดำเนินการต่อยอดจัดกิจกรรมส่งเสริมผ้าไทยเทิดพระเกียรติในท้องถิ่น พร้อมสร้างต้นแบบให้เกิดขึ้นทุกพื้นที่

ผศ.ดร.พรทิพย์ พุกผาสุข

นอกจากนี้ ภายในงานจะมีการถวายราชสดุดีเทิดพระเกียรติ โดยคณะกรรมการสหพันธ์สมาคมสตรีนักธุรกิจและวิชาชีพแห่งประเทศไทยฯ และมีการแสดงผลงานแบบเสื้อชุดผ้าไทย ชุด“สยามพัสตรา ภูษาสง่าศิลป์ ผ้าไทยร่วมสมัย ไทยนิยม”  ให้เป็นเวทีแห่งโอกาสในการนำเสนอแนวคิด “ไทยนิยม” คำนึงถึงความร่วมสมัย สามารถสวมใส่ได้ในทุกเพศ วัย โอกาส  และคงไว้ซึ่งเสน่ห์ความเป็นไทยได้อย่างสง่างาม สร้างความนิยมและความภาคภูมิใจในการสวมใส่ผ้าไทยได้จริงในชีวิตประจำวัน  และเพื่อต่อยอดให้เป็นที่นิยมแพร่หลายทั้งในท้องถิ่น ภายในประเทศ และเผยแพร่ออกสู่สากล โดยผ่านเครือข่ายองค์กรสมาชิกนานาประเทศ  การแสดงแบบเสื้อในครั้งนี้ได้รับเกียรติจากผู้เป็นต้นแบบผ้าไทยกิตติมศักดิ์จากแวดวงต่างๆ เป็นผู้แสดงแบบเสื้อกว่า 70 คน เป็นกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติในปีมหามงคลที่จะจัดขึ้นอย่างสมพระเกียรติ แสดงถึงพลังของพสกนิกรไทยทุกหมู่เหล่าที่พร้อมใจกันสืบสานผ้าไทยมรดกของชาติ

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ซุ้มประตู'มังกร' แลนด์มาร์กใหม่ไชน่าทาวน์

ซุ้มประตูจีน ถือเป็นแลนด์มาร์กแสดงอาณาเขตของไชน่าทาวน์หรือพื้นที่ของชุมชนชาวจีนทั่วโลก แน่นอนว่า ในประเทศไทยมีชุมชนชาวจีนอยู่แทบจะทุกพื้นที่ เกิดไชน่าทาวน์ขึ้นในหลายจังหวัด

นายกฯอิ๊งค์ สวมเสื้อ 'คุณหญิงพจมาน' ผ้าจากโครงการแม่ฟ้าหลวง ร่วมประชุมอาเซียน

ภารกิจการเดินทางเยือนสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) ของ น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ในการเข้าร่วมการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 44 และ 45 และการประชุมสุดยอดที่เกี่ยวข้อง

สสธวท เชิดชูนักธุรกิจสตรีอนุรักษ์โลกตัวอย่าง 2567

เพื่อยกย่องเชิดชูสตรีนักธุรกิจสตรีตัวอย่าง นักวิชาชีพสตรีตัวอย่าง และสตรีผู้นำธุรกิจอนุรักษ์โลกตัวอย่าง สร้างแรงบันดาลใจการทำธุรกิจแก่สตรีนักธุรกิจรุ่นใหม่ พัฒนาสังคมควบคู่กับรักษาสิ่งแวดล้อมเพื่อสร้างสมดลให้โลกใบนี้ สหพันธ์สมาคมสตรีนักธุรกิจและวิชาชีพแห่งประเทศไทยในพระบรมราชินูปถัมภ์

ในหลวงพระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้ ปธ.สสธวท เฝ้าฯ

21 ก.ย.2567- เวลา 17.20 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เสด็จออก ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้คุณหญิงณัฐิกา วัธนเวคิน อังอุบลกุล ประธานสหพันธ์สมาคมสตรีนักธุรกิจและวิชาชีพแห่งประเทศไทยในพระบรมราชินูปถัมภ์

กรมป่าไม้ อนุรักษ์ “พลองใหญ่” ต้นไม้ทรงปลูกในสมเด็จพระพันปีหลวง เพื่อสืบสาน รักษา ต่อยอดพรรณไม้ให้เพิ่มมากขึ้น

การอนุรักษ์พรรณไม้มีค่าให้คงอยู่ และสามารถขยายพันธุ์ได้มากขึ้น ถือเป็นหนึ่งในการดำเนินงานสำคัญที่จะทำให้พรรณไม้มีค่าได้เจริญเติบโตและงอกงามสมบูรณ์ ดังนั้นในปี 2567 กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยกรมป่าไม้ จึงได้ร่วมกับ

แสดงอุปรากรจีนเฉลิมพระเกียรติ'เบญจกตัญญุตา'

เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567  คุณหญิงณัฐิกา วัธนเวคิน อังอุบลกุล ประธานสหพันธ์สมาคมสตรีนักธุรกิจและวิชาชีพแห่งประเทศไทยในพระบรมราชินูปถัมภ์ มีความมุ่งมั่นจจัดแสดงอุปรากรจีนชุด 24  ยอดกตัญญู