ในอดีตผู้คนรับข้อมูลข่าวสารและความบันเทิงผ่านการอ่านหนังสือพิมพ์ และการฟังวิทยุ จนเมื่อเทคโนโลยีด้านการสื่อสารถูกพัฒนา โทรทัศน์จึงถือกำเนิดขึ้น และกลายเป็นสื่อที่ผู้คนต่างให้ความนิยมจนทุกวันนี้ เพราะสามารถรับชมได้ทั้งภาพและเสียงพร้อมกัน
ทำไมต้องมี “โทรทัศน์”หลายคนสงสัย หลังผ่านช่วงเวลาแห่งความทุกข์จากสงครามโลก ครั้งที่ 2 ผู้คนแสวงหาความบันเทิง นักธุรกิจและนักประดิษฐ์เกิดแนวคิดที่จะนำโทรทัศน์กลับมาพัฒนาให้เป็นเทคโนโลยีใหม่ในการสื่อสารที่สามารถรับชมได้ทั้งภาพและเสียง จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในช่วงเวลานั้น เล็งเห็นความสำคัญของการมีโทรทัศน์ มีคำสั่งให้ จัดตั้ง บริษัท ไทยโทรทัศน์ จำกัด ขึ้น เมื่อวันที่ 10 พ.ย. พ.ศ. 2495 เพื่อสร้างความบันเทิงให้แก่ประชาชน ทั้งยังช่วยเผยแพร่ข่าวสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในช่วงแรกดำเนินกิจการสถานีวิทยุ ท.ท.ท. เพื่อเตรียมพร้อมก่อนเปิดสถานีโทรทัศน์
หลังจากนั้นไม่นาน สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีช่อง 4 เปิดทำการขึ้น เมื่อวันที่ 24 มิ.ย.พ.ศ. 2498 ตั้งอยู่ที่วังบางขุนพรหม บริเวณเดียวกับที่ตั้งของธนาคารแห่งประเทศไทยในปัจจุบัน จึงเรียกว่า “ช่อง 4 บางขุนพรหม” เป็นสถานีโทรทัศน์แห่งแรกในอาเซียน โดยมีคุณจำนง รังสิกุล หรือ “หัวหน้าจำนง” ที่ชาวช่อง 4 ให้ความเคารพเป็นกำลังสำคัญพัฒนารูปแบบรายการและก่อตั้งสถานีโทรทัศน์
ช่วงแรกเริ่มเผยแพร่ภาพขาว – ดำ ระบบ 525 เส้น 30 ภาพต่อวินาที และถ่ายทำด้วยการออกอากาศสด เพราะยังไม่มีเทคโนโลยีการบันทึกเทป ออกอากาศสัปดาห์ละ 4 วัน คือ อังคาร, พฤหัสบดี, เสาร์ และอาทิตย์ ตั้งแต่เวลา 18.00 – 23.00 น. ต่อมาจึงเพิ่มวันและเวลาออกอากาศจนครบทุกวัน
ตำนานโทรทัศน์ไทยมีคุณค่า นำมาสู่การเปิด MCOT MUSEUM แหล่งรวบรวมประวัติศาสตร์วงการโทรทัศน์ไทยและสื่อสารมวลชน ในโอกาสที่ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) ครบรอบ 70 ปี เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา เป็นมิวเซียมใหม่ใจกลางเมือง
การเยี่ยมชม MCOT MUSEUM เหมือนได้ย้อนวันวานไปยังจุดเริ่มต้นของ “ตำนานโทรทัศน์ไทย” นับตั้งแต่ยุคบริษัท ไทยโทรทัศน์ จำกัด หลักหมุดแรกของโทรทัศน์ไทยสู่องค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย หรือ อ.ส.ม.ท. จนเป็น บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) ที่อยู่คู่สังคมไทยมากว่า 70 ปี ซึ่งยังคงมุ่งมั่นนำเสนอสาระประโยชน์สร้างสรรค์สังคมทำหน้าที่ดั่งดวงตาที่สะท้อนปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคมตามแนวคิดของมิวเซียมแห่งนี้ “Journey through the eye”
MCOT MUSEUM ตั้งอยู่ที่อาคารปฏิบัติการวิทยุโทรทัศน์ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน ) ถนนพระราม 9 เมื่อเดินเข้าไปใน MCOT MUSEUM เริ่มต้นด้วยการเล่าเรื่อง“ชีวิตก่อนมีโทรทัศน์” ที่ผู้คนต่างติดตามข่าวสารจากสื่อหลักอย่างหนังสือพิมพ์และวิทยุ จนมีวิวัฒนาการช่องทางรับข่าวสารผ่านโทรทัศน์ อย่างในปัจจุบัน
ก่อนนำสู่การจัดแสดง 3 โซน ได้แก่ โซนที่ 1 “The Foresight มองไกลให้ก้าวไกล” บอกเล่าความเป็นมาวิวัฒนาการสื่อสารมวลชนใน 3 ยุค คือ บริษัท ไทยโทรทัศน์ จำกัด, องค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย, บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน)
โซนที่ 2 “The Visionary มองต่างให้เติบโต” จัดแสดงภาพถ่ายและแนวคิดของปูชนียบุคคล ที่สร้างการเปลี่ยนแปลงให้วงการโทรทัศน์ไทย
โซนที่ 3 “The Reflection มุมมองภาพสะท้อนบทบาท อสมท ที่อยู่คู่สังคมไทย สะท้อนให้เห็นถึงความน่าเชื่อถือในฐานะองค์กรสื่อที่มีบทบาทคู่สังคม
สนใจเยี่ยมชม MCOT MUSEUM เปิดให้เข้าชมเป็นหมู่คณะ และจำกัดการเข้าชม ครั้งละไม่เกิน 15 คนภายใต้มาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโควิด – 19 ในวันและเวลาทำการ ลงทะเบียนล่วงหน้า ติดต่อฝ่ายสื่อสารภาพลักษณ์องค์กร บมจ.อสมท โทรศัพท์ 02 201 6392 – 3
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
กรมสมเด็จพระเทพฯ ทรงเปิดงานกาชาดปี 2567
11 ธ.ค. 2567 เวลา 17.00 น. สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร มหาวชิราลงกรณวรราชภักดี สิริกิจการิณีพีรยพัฒน รัฐสีมาคุณากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี อุปนายิกาผู้อำนวยการสภากาชาดไทย เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิดงานกาชาดประจำปี 2567 ภายใต้
'ประสพ เรียงเงิน' นั่งปลัดวธ.คนใหม่
11 ธ.ค.2567 - ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติแต่งตั้งตามที่กระทรวงวัฒนธรรมเสนอ โดยแต่งตั้งนายประสพ เรียงเงิน อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม ให้ดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงวัฒนธรรม เพื่อทดแทนตำแหน่งที่ว่างลง ทั้งนี้ นายประสพ ถือว่าเป็นลูกหม้อกระทรวงวัฒนธรรม เคย
เปิดพิกัดเที่ยวพิพิธภัณฑ์ยามค่ำคืนในจุฬาฯ
ปีนี้งาน Night Museum at Chula เที่ยวชมพิพิธภัณฑ์ยามค่ำคืน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดภายใต้แนวคิด “เสน่ห์ Science” ชูเสน่ห์ของวิทยาศาสตร์ที่อยู่ในธรรมชาติรอบตัวเรา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีบทบาทสำคัญในชีวิตประจำวันและเป็นแรงขับเคลื่อนทุกย่างก้าวของคนในปัจจุบัน
สิ้น'สันติ ลุนเผ่' ศิลปินแห่งชาติ นักร้องเสียงทรงพลัง
นายประสพ เรียงเงิน อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กล่าวว่า กรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) โดยกองกองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรม ได้รับการประสานงานจากผู้ดูแลของเรือตรี สันติ ลุนเผ่ ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีสากล) พุทธศักราช 2558 ว่า เรือตรี สันติ ลุนเผ่ ถึงแก่กรรมอย่างสงบ เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2567
ฉลอง'ต้มยำกุ้ง' กระหึ่มโลก ชวนลองเมนูมรดกวัฒนธรรม
โด่งดังก้องโลกกับเมนูต้มยำกุ้งของดีเมืองไทย กระทรวงวัฒนธรรม โดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรม จัดงานฉลองต้มยำกุ้งและเคบายา มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของมนุษยชาติ ในโอกาสที่ ยูเนสโก ได้ประกาศขึ้นทะเบียน “ต้มยำกุ้ง” (Tomyum Kung) และ “เคบายา” เป็นรายการตัวแทนมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ (Representative List