งานสัปดาห์อนุรักษ์มรดกไทย พ.ศ.2565 ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร บรรยากาศคักคึกกำหนดจัดงานระหว่างวันที่ 2 – 8 เม.ย. 2565 ปีนี้หนึ่งในไฮไลต์ที่กรมศิลปากรชูเป็นการจัดแสดงเครื่องปั้นดินเผาจากแหล่งเตาบุรีรัมย์ที่ดีที่สุดในประเทศไทย ณ ห้องลพบุรี อาคารมหาสุรสิงหนาท พิพิธภัณฑ์ฯ พระนคร ที่ทำให้คนเข้ามาร่วมงานมากยิ่งขึ้น
อธิบดีกรมศิลปากรเยี่ยมชมนิทรรศการเครื่องปั้นดินเผาสมัยลพบุรี
เครื่องปั้นดินเผาโบราณและมีมูลค่าสูงคอลเล็กชั่นนี้ ถือว่ามีความสมบูรณ์และสวยงามมากที่สุดในไทย เป็นของสะสมของนายโยธิน ธาราหิรัญโชติ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้ก่อตั้งบริษัท บีเอสวาย กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ผู้ศึกษารวบรวมเครื่องปั้นดินเผาสมัยลพบุรีที่ผลิตจากแหล่งเตาใน จ.บุรีรัมย์ ใช้เวลาศึกษามากว่า 20 ปี ผ่านกระบวนการศึกษาวิจัยโดยผู้เชี่ยวชาญด้านเครื่องปั้นดินเผาทั้งชาวไทยและต่างประเทศ ที่สำคัญจัดพิมพ์เป็นหนังสือ Khmer Ceramics, Beauty and Meaning เมื่อปี 2553 ส่งผลให้เป็นชุดเครื่องปั้นดินเผาที่รู้จักและยอมรับจากนักวิชาการด้านโบราณคดี และประวัติศาสตร์ทั่วโลก ทั้งเอเชีย ยุโรป และอเมริกา ซึ่งปี 64 ที่ผ่านมา นักสะสมผู้นี้ได้มอบโบราณวัตถุเครื่องปั้นดินเผาสมัยลพบุรีจำนวนถึง 164 รายการ ให้กับกรมศิลปากร เพื่อเก็บรักษาไว้เป็นสมบัติของชาติและจัดแสดงเพื่อขยายองค์ความรู้เครื่องปั้นดินเผาสมัยลพบุรี
ในวันที่ 2 เมษายนที่ผ่านมา ซึ่งเป็นวันอนุรักษ์มรดกไทย สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติจัดเสวนาทางวิชาการ เรื่อง “เครื่องปั้นดินเผาจากแหล่งเตาบุรีรัมย์ที่ดีที่สุดในประเทศไทย”คู่ขนานไปด้วย ซึ่งนายโยธิน ธาราหิรัญโชติ มาร่วมเสวนากับนายปริวรรต ธรรมปรีชากร ผู้เชี่ยวชาญเครื่องปั้นดินเผาจีนและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ วงเสวนาปลุกให้คนรานใหม่ภาคภูมิใจในความสามารถคนไทยในอดีต ที่เป็นศูนย์กลางการผลิตเครื่องปั้นดินเผาคุณภาพดีมาแต่โบราณ ประมาณ 700-1,400 ปีมาแล้ว ยืนยันด้วยหลักฐานแหล่งผลิตเตาบ้านกรวด บุรีรัมย์ เป็นสินค้าส่งออกไปราชสำนักเมืองพระนคร และเมืองอื่นในอาณาจักรเขมรโบราณ ซึ่งทุกวันนี้คนไทยยังคงเป็นผู้ผลิตสินค้าชั้นแนวหน้าส่งจำหน่ายทั่วโลก
ไหรูปนกจากเตาพนมดงเร็ก อายุประมาณ 800-900 ปี
คอลเลคชั่นชุดอลังการขนาดนี้ต้องมาชมในนิทรรศการเครื่องปั้นดินเผาที่ห้องลพบุรี ทุกชิ้นสะกดสายตา ถือเป็นแม่เหล็กดึงดูดผู้ที่หลงใหลงานฝีมือและมนต์เสน่ห์ของเครื่องปั้นดินเผาโบราณ ภายในนิทรรศการเสนอเครื่องปั้นดินเผาสมัยลพบุรี หรือเครื่องปั้นดินเผาในวัฒนธรรมเขมร ที่ผูกพันกับวิถีชีวิตของผู้คนในอดีตเป็นเวลานับพันปี มีทั้งหม้อ คนโท เต้าปูน เครื่องใช้ในพิธีกรรม และเครื่องประดับสถาปัตยกรรม
นิทรรศการจัดแสดงภาชนะรูปสัตว์นานาชนิด ทั้งนก กวาง กระต่าย หมูป่า สิงห์ ตัวนิ่ม แมว ปลา กบ ผลิตจากแหล่งเตาในบุรีรัมย์ สะท้อนความอุดมสมบูรณ์ในพื้นที่บริเวณเทอกเขาพนมดงรัก ต่อมาเป็นไหรูปนก จากเตาพนมดงเร็ก อายุประมาณ 800-900 ปีมาแล้ว ลักษณะงดงามเป็นไหมีเชิง ลำตัวกลม ปั้นติดรายละเอียดส่วนหน้าตา ปีก จะงอยปาก มีกรงเล็บหนาเกาะไว้ที่ฐาน เคลือบขี้เถ้าพืชที่มีส่วนผสมของแร่ออกไซด์ ทำให้เกิดเคลือบสีน้ำตาล
คนโทรูปพระคเณศ
จากเตาพนมดงเร็กยังมีคนโทรูปพระคเณศนั่งขัดสมาธิราบ สวมเครื่องประดับศรีษะ พระหัตถ์ขวาถืองาช้างที่หัก สันนิษฐานเป็นภาชนะในสำหรับพิธีกรรมในศาสนาฮินดู ,คนโทรูปลิง เก่าแก่กว่า 1,000 ปี
อีกรายการน่าชม ไหเคลือบสีน้ำตาล ผลิตจากแหล่งเตาในกัมพูชา ประมาณ 700-800 ปีมาแล้ว ปั้นติดรูปช้างสองตัวบนไหล่ รูปทรงมีความสัมพันธ์กับเครื่องปั้นแหล่งเตาบางปูน จ.สุพรรณ ไหใบนี้อาจเป็นต้นแบบให้แก่แหล่งเตาในภาคกลางของไทย
โยธิน ธาราหิรัญโชติ ผู้สะสมเครื่องปั้นดินเผาสมัยลพบุรีเล่าถึงคอลเลคชั่น
ทั้งนี้ กระทรวงวัฒนธรรม โดย กรมศิลปากร ในฐานะคณะกรรมการติดตามโบราณวัตถุของไทยในต่างประเทศกลับคืนสู่ประเทศไทย จะได้เรียนเชิญพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี มาเป็นประธานในพิธีรับมอบเครื่องปั้นดินเผาจากแหล่งเตาบุรีรัมย์ทั้ง 164 ชิ้นจากนายโยธิน ธาราหิรัญโชติ อย่างเป็นทางการต่อไป
สนใจมาร่วมงานสัปดาห์อนุรักษ์มรดกไทยได้ถึงวันที่ 8 เม.ย. กิจกรรมเสวนาวิชาการจัดเวลา 15.00 น. ณ ห้องประชุมอาคารดำรงราชานุภาพ และการแสดงนาฏศิลป์และดนตรี เวลา 17.30 น. ณ เวทีกลางแจ้งบริเวณสนามหญ้า พิพิธภัณฑ์ฯ พระนคร อีกทั้งเปิดให้ยลพิพิธภัณฑ์ยามค่ำอีกด้วย
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
บูรณะวัดไชยวัฒนารามนำชีวิตชีวาสู่มรดกโลก
วัดไชยวัฒนาราม จ.พระนครศรีอยุธยา งดงามทรงคุณค่า เป็นหนึ่งในหลักฐานที่แสดงถึงความยิ่งใหญ่และรุ่มรวยทางวัฒนธรรมของกรุงศรีอยุธยาอดีตเมืองหลวงอันยิ่งใหญ่ วัดเก่าแก่แห่งนี้เป็นโบราณสถานสำคัญของอยุธยา และเป็นส่วนหนึ่งของอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาที่โดย
'4วัด1วัง'เที่ยวมรดกโลกอยุธยายามราตรี
กระแสตอบรับดีสำหรับโครงการท่องเที่ยวโบราณสถานยามค่ำคืนในพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ปีนี้กระทรวงวัฒนธรรม โดยกรมศิลปากร ยกระดับท่องเที่ยวโบราณสถานยามราตรีเปิดโบราณสถานให้นักท่องเที่ยวได้เข้าชมเพิ่มขึ้นเป็น 5 แห่ง ประกอบด้วย
ย้อนเวลา 4 วัด 1 วัง เมื่อครั้งต้นกรุงฯ
ชวนแต่งชุดไทยเดินทางย้อนเวลากลับไปสู่ช่วงต้นกรุงศรีอยุธยา ดื่มด่ำกับบรรยากาศโบราณสถานยามค่ำคืนที่งดงามในงาน “ 4 วัด 1 วัง เมื่อครั้งต้นกรุงฯ” ภายใต้แนวคิด “ย้อนเวลา ส่องวิถี ปลุกแสงสี พระนครศรีอยุธยา” โดยจะจัดกิจกรรมตามวัดและโบราณสถานที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์
โบราณสถานเวียงกุมกามเสียหายหนักจากน้ำท่วม
7 ต.ค.2567 - นายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร กล่าวว่า จากการลงพื้นที่ จ.เชียงใหม่ เพื่อติดตามผลกระทบของสถานการณ์อุทกภัยที่มีต่อโบราณสถานสำคัญของจังหวัด โดยพบว่า พื้นที่เวียงกุมกามที่เป็นเมืองโบราณสมัยพญามังรายปฐมกษัตริย์ล้านนา ที่ตั้งอยู่ในอำเภอสา
คนรักศิลปฯแย้งผู้ว่าฯทุบปูนปั้นครูทองร่วง ยันผู้เสียหายคือสาธารณะ เตือนผิดม.157
นายวรา จันทร์มณี เลขาธิการชมรมคนรักศิลปวัฒนธรรม อดีตเลขาฯศิลปินแห่งชาติ อังคาร กัลยาณพงศ์ โพสต์เฟซบุ๊ก กรณีทุบปูนปั้นครูทองร่วง เอมโอษฐ ที่วัดมหาธาตุวรวิหาร จังหวัดเพชรบุรี (ตอนที่ 2) ระบุว่า
วธ.สั่งวางมาตรการลดเสี่ยงโบราณสถานตลอดฤดูฝน
13 ก.ย.2567 - นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เปิดเผยว่า จากสถานการณ์น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ซึ่งเป็นผลมาจากปริมาณน้ำฝนที่มีจำนวนมากที่เกิดขึ้นในพื้นที่จังหวัดทางภาคเหนือ โดยเฉพาะที่จังหวัดเชียงราย รู้สึกห่วงใยชาวจังหวัดเชียงรายและพื้นที่ใกล้เคียงอย่างมากที่ประสบภัยน้ำท่วม ซึ่งได้มอบหมายให้หน่วยงานในสังกัด