ลุ้น'ตำนานพระธาตุพนม'ขึ้นมรดกความทรงจำโลกปีนี้

กรมศิลปากรลุ้น’ตำนานพระธาตุพนม-เอกสารโบราณนัทโปนันทสูตรคำหลวง’ ขึ้นทะเบียนมรดกความทรงจำโลก เผยยูเนสโกจะประกาศผลปีนี้

29 มี.ค.2565 – นายกิตติพันธ์ พานสุวรรณ อธิบดีกรมศิลปากร เปิดเผยว่า กรมศิลปากรได้จัดทำเอกสารการขอขึ้นทะเบียนตำนานอุรังคธาตุ (ตำนานพระธาตุพนม) และเอกสารโบราณนัทโปนันทสูตรคำหลวงเป็นมรดกความทรงจำของโลกให้ที่ประชุมคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) พิจารณาประกาศขึ้นทะเบียน คาดว่าจะประกาศผลภายในปี 2565 นี้ เอกสารโบราณทั้ง 2 เรื่องนับว่าเป็นมรดกความทรงจำของชาติที่มีความสำคัญ โดยตำนานอุรังคธาตุถือเป็นเรื่องราวที่ผู้คนสองฝั่งโขงเล่าสืบต่อกันมา และจดเป็นลายลักษณ์อักษรมีเนื้อหาเกี่ยวกับการเสด็จของพระพุทธเจ้าไปยังพื้นที่สองฝั่งโขง อันเป็นตั้งของอาณาจักรล้านช้าง พร้อมแสดงพุทธทำนายว่าด้วยกำเนิดและการเปลี่ยนแปลงเมือง และบุคคลสำคัญที่ร่วมสร้างและบูรณะองค์พระธาตุพนม และสอดแทรกเกี่ยวกับการกำเนิดแม่น้ำสำคัญ การปราบนาค กำเนิดพระธาตุเจดีย์และรอยพระพุทธบาทบริเวณสองฝั่งโขง (เขตอีสานเหนือและประเทศลาว)รวมถึงการบูรณะเจดีย์พระธาตุ ของพระโพธิสาร และพระไชยเชษฐา 

นายกิตติพันธ์ กล่าวว่า ส่วนเอกสารโบราณเรื่องนันโทปนันทสูตรคำหลวง ถือเป็นวรรณคดีทางพระพุทธศาสนาที่เจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร (เจ้าฟ้ากุ้ง) ทรงพระนิพนธ์ขึ้นเมื่อปี 2279 จากคัมภีร์นันโทปนันทปกรณ์ที่พระพุทธสิริแต่งเป็นภาษาบาลีไว้ ตัวต้นฉบับเป็นหนังสือสมุดไทยขาวได้มาจากขุนวิทูรดรุณากร ทูลเกล้าฯ ถวายให้หอสมุดวิชรญาณ ปัจจุบันคือหอสมุดแห่งชาติ เมื่อปี 2451 สำหรับเอกสารโบราณนันโทปนันทสูตรคำหลวงของเจ้าฟ้ากุ้งนั้น แปลเป็นภาษาไทยที่ไพเราะงดงาม ข้อความภาษาไทยเก็บจากข้อความบาลีไว้เกือบทุกคาถากล่าวถึงหลักธรรมคำสอน มีความเป็นต้นฉบับหลวงที่สืบทอดมาจากสมัยอยุธยา บันทึกเนื้อหาอย่างเป็นระเบียบสวยงามด้วยตัวอักษรไทยแบบ ประดิษฐ์ เรียกว่า อักษรไทยย่อ ซึ่งอักษรไทยย่อที่ปรากฎใน เอกสารฉบับนี้ได้รับการยกย่องว่าเป็นอักษรไทยย่อที่งดงามที่สุดฉบับหนึ่ง มีอายุถึง 287 ปีแล้ว   

ทั้งนี้ ประเทศไทยได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนมรดกความทรงจำแห่งโลกมาแล้ว 5 รายการ ได้แก่ 1.ศิลาจารึก หลักที่ 1 ขึ้นทะเบียนปี 2546  2. เอกสารจดหมายเหตุพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงปฏิรูปการบริหารการปกครองประเทศสยาม (พุทธศักราช 2411 – 2453) ขึ้นทะเบียนเมื่อปี  2552 3. จารึกวัดโพธิ์ ประกาศขึ้นทะเบียนในระดับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เมื่อพ.ศ. 2551 และขึ้นทะเบียนในระดับโลกเมื่อปี 2554  4.บันทึกการประชุมคณะกรรมการสยามสมาคมในพระบรมราชูปถัมภ์ ในรอบ 100 ปี ขึ้นทะเบียนเมื่อพ.ศ. 2556 และ 5. ฟิล์มกระจกชุดหอพระสมุดวชิรญาณขึ้นทะเบียนเมื่อปี 2559 

” หากเอกสารทั้ง 2 รายการสามารถได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนในปีนี้ ถือเป็นเรื่องที่น่ายินดีและภาคภูมิใจแก่ประเทศเป็นอย่างมาก เช่นเดียวกับการรอประกาศการพิจารณาเมืองโบราณศรีเทพ จ.เพชรบูรณ์เป็นมรดกโลก คาดว่า ปลายปีนี้ทางยูเนสโกจะได้ลงพื้นที่ตรวจแหล่งโบราณสถานดังกล่าวว่าเป็นไปตามหลักเกณฑ์หรือไม่” อธิบดี ศก.กล่าว

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

วธ.ตั้งศูนย์ประสานงานโบราณสถานน้ำท่วม

24 ส.ค. 2567 - นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ได้ติดตามผลกระทบจากสถานการณ์อุทกภัยของโบราณสถานในพื้นที่ภาคเหนืออย่างใกล้ชิด ในส่วนของสำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม ได้รา

น้ำท่วมโบราณสถานเมืองน่าน

23 ส.ค.2567 - นายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร กล่าวว่า ได้สั่งการให้สำนักศิลปากรที่ 7 เชียงใหม่ ติดตามผลกระทบจากสถานการณ์อุทกภัยของโบราณสถานในพื้นที่ภาคเหนือ โดยเฉพาะที่จังหวัดน่าน เนื่องจากเมื่อวันที่ 22 ส.ค.ที่ผ่านมา ได้มีน้ำไหลเข้าท่วมหลายพื้นที่ โดยเฉพาะในพื้นที่อำเภอเมือง ซึ่งมีวัดและโบราณสถานสำคัญหลายแห่ง เบื้องต้นพบว่า น้ำได้ไหลท่วมพื้นที่โบราณสถานวัดภูมินทร์

อัญเชิญองค์ 'ครูบาเจ้าศรีวิชัย' ประกาศเกียรติคุณ เผยแผ่พุทธศาสนา 'ศรีลังกา'

'มูลนิธิอาจารย์วารินทร์' ร่วมกับคณะธรรมทูต อัญเชิญองค์ 'ครูบาเจ้าศรีวิชัย' พร้อมประกาศเกียรติคุณเผยแผ่พุทธศาสนาประเทศศรีลังกา หนุนเสนอชื่อบุคคลสำคัญของโลก

CEA ร่วมเปิดงานเทศกาลเชียงรายเมืองออกแบบเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ครั้งที่ 3 ชูศักยภาพเชียงราย 'เมืองสร้างสรรค์ด้านการออกแบบ' ของยูเนสโก

สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ CEA ในฐานะหน่วยงานร่วมขับเคลื่อนเมืองสร้างสรรค์ เชียงราย ภายใต้เครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ขององค์การยูเนสโก (UNESCO Creative Cities Network: UCCN)

ทำแผนรับมือจุดเสี่ยงน้ำท่วมอุทยานประวัติศาสตร์อยุธยา

11 ส.ค.2567 - น.ส.สุดาวรรณ หวังศุกภิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) กล่าวว่า ตนพร้อมด้วยนางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัด วธ. นายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร พร้อมคณะลงพื้นที่ติดตามแผนบริหารจัดการสถานการณ์อุทกภัยยังพื้นที่โบราณสถานริมแม่น้ำ

ช่างไทยสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์ ร.7

พระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 องค์ใหม่  ซึ่งสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรขอความร่วมมือกระทรวงวัฒนธรรม กรมศิลปากร โดยสำนักช่างสิบหมู่ รับผิดชอบจัดสร้าง  โดยจะมีขนาด 4 เท่าของพระองค์จริง