ทีมบอลอเมริกาตั้ง 'โปเช็ตติโน' คุมทัพ ไม่หวั่นแม้ไร้ประสบการณ์ระดับทีมชาติ

สหพันธ์กีฬาซอคเกอร์แห่งสหรัฐอเมริกา แถลงการณ์แต่งตั้ง เมาริซิโอ โปเช็ตติโน กุนซือชาวอาร์เจนไตน์ ขึ้นแท่นเฮดโค้ชคนใหม่อย่างเป็นทากงาร แทนที่รักษาการ ไมกีย์ วาราส โดยเซ็นสัญญาเบื้องต้นถึงปี 2026

ก่อนหน้านี้ “พญาอินทรี” ปลด เกร็กก์ เบอร์ฮัลเทอร์ ออกจากเก้าอี้กุนซือใหญ่เซ่นผลงานล้มเหลวตกรอบแบ่งกลุ่ม โกปา อเมริกา 2024 ทั้งที่ตัวเองเป็นเจ้าภาพ

สรุปหวยไปออกที่ โปเช็ตติโน ผู้ไม่เคยมีประสบการณ์คุมทีมชาติมาก่อนเลยในชีวิต โดยเจ้าตัวพร้อมรับความท้าทายปลุกปั้นซอคเกอร์ทัพมะกัน ให้กลับมาน่าเกรงขามก่อนถึงทัวร์นาเมนต์ “เวิลด์ คัพ 2026” ที่พวกเขาเป็นเจ้าภาพร่วมกับ เม็กซิโก และแคนาดา

“การตัดสินใจรับงานคุมทีมชาติสหรัฐฯ สำหรับผมไม่ใช่แค่แง่ฟุตบอล แต่มันคือคือการผจญภัยไปร่วมกับทีมนี้ ไปกับประเทศนี้” โปเช็ตติโน่ กล่าวผ่านแถลงการณ์

“พลังงาน อารมณ์ร่วม และความกระหายที่จะบรรลุเป้าหมายคือเรื่องจริงตามหน้าประวัติศาสตร์ของที่นี่ มันคือเรื่องที่สร้างแรงบันดาลใจแก่ผม”

“ผมได้เห็นกลุ่มผู้เล่นที่เปี่ยมความสามารถ, เปี่ยมศักยภาพ และมีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เราจะร่วมกันสร้างสิ่งที่พิเศษที่คนทั้งชาติสามารถยืดอกภูมิใจ”

สำหรับประวัติการทำงานของกุนซืออาร์เจนไตน์รายนี้ เคยคุม เอสปันญ่อล, เซาธ์แฮมป์ตัน, สเปอร์ส, เปแอสเช และ เชลซี ซึ่งเจ้าตัวเพิ่งแยกทางด้วยความสมัครใจกับยอดทีมแห่งกรุงลอนดอน ทั้งที่อยู่บนเก้าอี้เพียงแค่ 1 ปี เมื่อสิ้นฤดูกาล 2023/24

เมาริซิโอ โปเช็ตติโน่ จะประเดิมทำงานของเขาเป็นแมตช์แรกในเกมกระชับมิตรพบ ปานามา วันที่ 12 ตุลาคม จากนั้นจะต้องเจอกับความท้าทายเมื่อ สหรัฐอเมริกา จะพบ เม็กซิโก วันที่ 15 ตุลาคมนี้

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

จับตา ‘อุ๊งอิ๊ง’! โชว์วิสัยทัศน์ เวทีผู้นำเอเปก

จับตา "นายกฯ อิ๊งค์" โกอินเตอร์! บินลัดฟ้าสหรัฐ ไม่ได้พบตัวแทนทำเนียบขาว แต่ไปเจอทีมไทยแลนด์ มอบนโยบายขับเคลื่อนความร่วมมือในภูมิภาคอเมริกา

นายกฯอิ๊งค์ เตรียมบินไปสหรัฐ ร่วมประชุมเอเปก

นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี มีกำหนดการเดินทางเยือนนครลอสแอนเจลิส สหรัฐอเมริกา และร่วมการประชุมผู้นำประเทศ

'มาริษ' ขอบคุณนานาชาติเลือกไทยนั่งคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ

'รมว.กต.' ขอบคุณ หลังไทยได้รับเลือกนั่ง HRC วาระ 2568-2570 ยืนยันจะเป็นสะพานเชื่อมความแตกต่างของชาติสมาชิก แสดงความมุ่งมั่นส่งเสริมสถานะประชาธิปไตย สิทธิมนุษยชนไทยให้เป็นที่ยอมรับ