ไทยกวาดเรียบ6แชมป์โลก รุ่นเยาวชน-มือใหม่ 'เจ็ตสกีเวิลด์ คัพ 2021-2022'

ธนวิชญ์ โมลี คว้าแชมป์รุ่นมือใหม่เรือยืนห้ามแต่งเครื่องยนต์

ดาวรุ่งเจ็ตสกีไทย ฟอร์มร้อนแรงกวาดเรียบแชมป์โลกทั้ง 6 รุ่นของคลาส ซี ประเภทเยาวชน และมือใหม่ ในศึกเจ็ตสกีชิงแชมป์โลก ดับเบิลยู จีพี วัน เจ็ตสกี เวิลด์ คัพ และ เวิลด์ ซีรีส์ ประจำฤดูกาล 2021-2022 ที่หาดจอมเทียน พัทยา วันที่ 2 ของการแข่งขันเมื่อวันที่ 13 ม.ค.2565

ศึกเจ็ตสกีชิงแชมป์โลกรายการ ดับเบิลยู จีพี วัน เจ็ตสกี เวิลด์ คัพ และ เวิลด์ ซีรีส์ ประจำฤดูกาล 2021-2022 ที่หาดจอมเทียน พัทยา รายการเจ็ตสกีชิงแชมป์โลก แกรนด์ สแลม ที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีนักกีฬาชิงชัยมากที่สุดในโลกจากทุกทวีปทั่วโลก ชิงเงินรางวัลสูงที่สุดในโลก รวมทั้งหาแชมป์ เวิลด์ ซีรีส์ ฤดูกาลนี้ วันที่ 2 ของการแข่งขันเป็นการตัดสินแขมป์ทุกรุุ่นของคลาส ซี จากรุ่นเยาวชนและมือใหม่ หลังจากที่มีการทำการแข่งขันเก็บคะแนนในวันแรก (12 ม.ค.) ไปแล้วครึ่งทาง

รุ่นมือใหม่เรือยืนห้ามแต่งเครื่องยนต์ (Novice Ski Stock) ทำการแข่งขัน 4 โมโต มีดาวรุ่งไทย ธนวิชญ์ โมลี ทายาท โชคอุทิศ โมลี ยอดตำนานนักแข่งโลก มีคะแนนนำ 108 คะแนน จาก 2 โมโตในวันแรกแม้จะมีดาวรุ่งจาก ฝรั่งเศส และเอสโตเนียลงมาลุ้นแชมป์กันหลายลำ ซึ่งเข้าโมโต 3 แม้ว่า ธนวิชญ์ จะเข้าที่ 3 มี นราธิป ทองอยู่ เป็นที่ 1 และ วานซิเดน เคย์ จากกัมพูชาเป็นที่ 2 แต่ก็ยังมีคะแนนโด่งอยู่

โมโตสุดท้าย นราธิป ก็ยังแรงเข้าที่ 1 ได้อีกโมโต ขณะที่ ธนวิชญ์ ออกตัวไม่ดี แต่ก็ไล่แซงจากท้ายแถมมาเข้าที่ 2 ทำให้ ธนวิชญ์ มีคะแนนเพียงพอจะคว้าแชมป์โลกรุ่นนี้ 209 คะแนน รองแชมป์เป็นของ นราธิป 198 คะแนน อันดับ 3 พชร หน่อเนื้อ 184 คะแนน

รุ่นมือใหม่เรือนั่ง 1,100 ซีซี ห้ามแต่งเครื่องยนต์ (Novice R/A 1100 Stock) ทำการแข่งขัน 4 โมโต เป็นการลุ้นแชมป์กันของ 2 พี่น้อง กีรติกร ผิวงาม และ ศศินา ผิวงาม น้องสาวที่มีคะแนนสะสมนำ 103 คะแนนเท่ากันจาก 2 โมโตของวันแรก และเข้าสู่โมโต 3 เป็น ศศินา นักแข่งสาวทำผลงานได้ดีกว่าเข้าที่ 1 ส่วน กีรติกร เข้าที่ 2 ทำให้ทั้งคู่ไปชิงดำกันในโมโตสุดท้าย

ในการชิงดำ ศศินา ออกตัวดีกว่าขึ้นนำที่ 1 ขณะที่ กีรติกร ออกตัวไม่ดีเป็นที่ 5 และ ศสินา ทำท่าว่าจะได้แชมป์สบายๆเมื่อนำจนถึง 4 ทุ่นสุดท้าย แต่เกิดเรือดับทำให้เสียจังหวะเข้าเพียงอันดับ 5 ขณะที่ กีรติกร เข้าที่ 4 แต่ก็เพียงพอจะทำให้ ศศินา คว้าแชมป์โลกรุ่นนี้ไปหวุดหวิด 202 คะแนน รองแชมป์เป็น กีรติกร 199 คะแนน และอันดับ 3 จักริน ศิริรัตนภูมิ 193 คะแนน

รุ่นมือใหม่เรือนั่ง ห้ามแต่งเครื่องยนต์ (Novice Runabout Stock) ทำการแข่งขัน 4 โมโตที่นักแข่งไทยต้องลงสู้กับนักแข่งมือดีจากเยอรมนี, คูเวต และ ยูเออี ซึ่งหลังจากแข่งกันไป 3 โมโต ธนัฐชัย พิมพ์เจริญ นักแข่งไทยมีคะแนนนำห่างอยู่ที่ 149 คะแนน

ก่อนโมโตสุดท้ายแม้ว่า ธนัฐชัย ผลงานไม่ดีเข้าที่ 5 แต่ก็มีคะแนนพอคว้าแชมป์โลกรุ่นนี้ไปสุดสูสีด้วยคะแนน 185 คะแนน รองแชมป์เป็น ชยพล คุ้มทะยาย 182 คะแนน อันดับ 3 จุลจักร งามดี 173 คะแนน

รุ่นเยาวชนอายุ 13-15 ปี เรือยืนห้ามแต่งเครื่องยนต์ (Junior 13-15 Ski Stock) เป็นการลุ้นแชมป์กันเองของ 2 นักแข่งไทย กรัณย์ภัฏ สัมมา มี 120 คะแนนเต็ม โดยมี นิพิฐพนธ์ คีตวรนาฏ มี 106 คะแนน จาก 2 โมโตแรก แต่ในโมโต 3 นิพิฐพนธ์ พลิกสถานการณ์กลับมานำจากการเข้าที่ 1 ส่วน กรัณย์ภัฏ หลุดไปถึงที่ 6

โมโตตัดสิน นิพิฐพนธ์ จึงออกตัวด้วยการมีคะแนนนำ ก่อนเข้าเส้นชัยเป็นที่ 2 ขณะที่ กรัณย์ภัฏ เข้าที่ 1 แต่เมื่อรวมคะแนน 4 โมโต นิพิฐพนธ์ ได้แชมป์โลก 219 คะแนน กรัณย์ภัฏ รองแชมป์ 216 คะแนน อันดับ 3 ด.ช.ณัฐนันท์ กีนะพันธ์ 182 คะแนน

ขณะที่ รุ่นเยาวชนอายุ 8-13 ปี เรือยืนจับเวลาสลาลม (Junior 1Lap slalom 8-13 Ski Lites) แชมป์โลกเป๋นของ ด.ช.อินทัช หลงนิยม ดาวรุ่งของไทย รองแชมป์ อันเดอร์ ฮูเบิร์ต ลอรี่ จากเอสโตเนีย อันดับ 3 ด.ช.ณัฐนันท์ กีนะพันธ์

รุ่นเยาวชนเรือนั่งจับเวลาสลาลม (Jr. 1Lap slalom 8-13 Spark Standard) ด.ช.อินทัช หลังนิยม ได้แชมป์โลกอีก 1 รายการ รองแชมป์ ด.ช.พงศธรรศ นิลทองคำ อันดับ 3 "ออร์ก้า" ด.ช.นครา ศิลาชัย ลูกชายหัวแก้วหัวแหวนของ "เปิ้ล" นาคร ศิลาชัย


เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ชาติสมาชิกอาเซี่ยนเป็นห่วง 'เจ็ตสกี'จะไม่ได้บรรจุ แข่งซีเกมส์ปี2025ที่ไทย

การประชุมสมาคมเจ็ตสกีอาเซี่ยนในการแข่งขัน WGP#1 เจ็ตสกีชิงแชมป์แห่งเอเชีย 2024 ณ ประเทศญี่ปุ่น โดยสมาคมเจ็ตสกีแห่งประเทศไทย เป็นแกนหลักในการจัดประชุมครั้งที่ 2 ในการก่อตั้งสหพันธ์กีฬาศูนย์กลางแห่งทวีปเอเชียที่ประเทศไทย หรือ สหพันธ์เจ็ตสกีเอเชีย หนึ่งในประเด็นสำคัญที่ประเทศสมาชิกแสดงความห่วงใย คือ การเข้าร่วมการแข่งขันซีเกมส์ 2025 ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ ซึ่ง “บิ๊กบอย” ปิยะศิริ วัฒนวรางกูร แจ้งที่ประชุมถึงความคืบหน้าว่าตอนนี้ทุกฝ่ายกำลังพิจารณาสนับสนุนอย่างเต็มที่ ขณะที่ด้านทัพนักเจ็ตสกีไทยพร้อมรับใช้ชาติ

'สุวัจน์'นำเข้าเจ็ตสกีนอก'4พันคน' ชูทรัพย์สินทางปัญญา สู้ต่างชาติเวทีโลก

WGP#1 ทัวร์นาเม้นท์เจ็ตสกีสัญชาติไทย เดินหน้าเต็มตัวบนเวทีโลก โดยนายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ ตอบรับนั่งประธานโครงการฯ มั่นใจงานพัฒนาศักยภาพกีฬาไทยรูปแบบใหม่ ด้านทรัพย์สินทางปัญญา และซอฟต์พาวเวอร์ จะสร้างประโยชน์ชาติมหาศาล ปีนี้สั่งโรด์โชว์ล่าเป้าหมาย “เติบโตเป็นมหกรรมกีฬานานาชาติ แบรนด์ไทย ที่ยั่งยืน” เพื่อนำเข้าทีมนักกีฬานานาชาติ 4,000 คน เงินหมุนเวียนทางเศรษฐกิจกว่า 800 ล้านบาท และต่อยอดเพิ่มจากเวทีกีฬาโลก เป็น “ศูนย์กลางเวทีการค้าโลก” ชี้กีฬาไทยยุคใหม่ ทัวร์นาเม้นท์กีฬาไทยต้องส่งออกขายฝรั่งได้ กีฬาจึงจะแข็งแกร่ง

'เสริมศักดิ์'ร่วมเชียร์นักเจ็ตสกีไทย ศึก'สยามวอเตอร์คราฟ WGP 2024'ที่ญี่ปุ่น

เจ้ากระทรวงท่องเที่ยวและกีฬาคนใหม่ “รมว.เสริมศักดิ์ พงษ์พานิช” ให้โอวาทพร้อมอวยพรนักกีฬาเจ็ตสกีไทย ประสบชัยชนะ หอบถ้วยแชมป์นำชื่อเสียงกลับประเทศไทยให้ได้ ในศึกเจ็ตสกีชิงแชมป์เอเชีย รายการ “สยามวอเตอร์คราฟ - ดับเบิลยู จีพี วัน วอเตอร์เจ็ต เอเชี่ยน แชมเปี้ยนชิพส์ 2024” (Siam Watercraft - WGP#1 Waterjet Asian Championships 2024) สนามแรก ที่กำลังจะระเบิดขึ้น ในสัปดาห์หน้า ระหว่างวันที่ 6-9 มิ.ย. 2567 นี้ ที่นิชิกิโนะฮามะ พาร์ค เมืองโอซาก้า ประเทศญี่ปุ่น ยืนยันกระทรวงฯพร้อมให้การสนับสนุนเจ็ตสกีเต็มที่ พร้อมย้ำ

กีฬาเจ็ตสกีตัดพ้อ พยายามขอบรรจุเข้าซีเกมส์2025 แต่เรื่องเงียบกริบ

กีฬาเจ็ตสกีตัดพ้อ ทำไมหน่วยงานชาติลืมกันได้! พยายามขอบรรจุเข้าซีเกมส์ 2025 มา 2 ปีกว่าแล้ว แต่ไม่มีที่ไหนให้ข้อมูลการทำเอกสารได้ชัดเจน ทั้งที่พึ่งร่วมกับกีฬาชาติ อื่นๆ คว้า 4 ทอง 5 เงิน ในซีเกมส์ปีที่แล้ว โดยเฉพาะในมหกรรมกีฬาที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของเอเชีย ก็ร่วมคว้า 1 ใน 11 เหรียญทอง เอเชียนเกมส์ปี 2018 “บิ๊กบอย” ปิยะศิริ พ่อบ้านเผย หรือต่อไปนี้ คงต้องสำนึกความสำคัญของกีฬาเล็กๆ เพราะชาติไทยสนใจแต่กีฬาใหญ่ๆ กลุ่มกีฬาเล็กๆ จะได้ไม่ต้องพยายามให้มาก รู้สึกเห็นใจนักกีฬาเจ็ตสกีทุกคน ที่ทั้งทุ่มเท มุ่งมั่น แต่กลับไม่มีเวทีสร้างผลงานให้ชาติ

เจ็ตสกีเชิงรุก จัดโรดโชว์ทั่วโลก เจาะตลาด3เมืองใหญ่ เน้นยิงสดผ่านดาวเทียม

WGP#1 ทัวร์นาเม้นท์กีฬาเจ็ตสกีสัญชาติไทย ที่เติบโตเป็นเจ้าของลิขสิทธ์ “สนามเจ็ตสกีเก็บคะแนนชิงแชมป์โลก” แผลงฤทธิ์ เดินหน้าโรดโชว์ทัวร์นาเม้นท์กีฬาทางน้ำของไทย ใน 3 เมืองใหญ่ ได้แก่ ญี่ปุ่น โปแลนด์ สหรัฐฯ ก่อนเตรียมขยายตัวอีกปีหน้า โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการพลิกบทบาทกีฬาไทย ตอกย้ำภาพการเป็นองค์กรจัดกีฬาความเร็วทางน้ำ อันดับที่ 1 ของโลก ทั้งนี้ ล่าสุดมีประเทศสมาชิก 55 ชาติแล้ว ด้านผู้อำนวยการทัวร์นาเม้นท์ฯ เดรค-ปริเขต เผยเน้นเติบโตสร้างผู้ชม 250 ล้านคนต่อปี และนำชาวต่างชาติเข้ามาสนามชิงชนะเลิศเมืองไทย ชี้การทำงานกีฬา ด้านทรัพย์สินทางปัญญา จำเป็นอย่างยิ่ง แต่ก็ต้องพบอุปสรรค์ต่างๆมากมาย