ส.เจ็ตสกีชี้แจง ดราม่ารางวัล 'นายกฯสนิท'ห่วงความพร้อมนักกีฬาทีมชาติ

นายสนิท วรปัญญา นายกสมาคมกีฬาเจ็ตสกีแห่งประเทศไทย ออกแถลงการณ์ชี้แจงข้อเท็จจริง กรณี ดราม่าเงินรางวัลนักกีฬาเจ็ตสกีทีมชาติไทย กับเงินส่งแข่งขัน โดยชี้เป้าห่วงความพร้อมนักกีฬาทีมชาติ ที่ส่งแข่งพัฒนาความเป็นเลิศระดับโลก ได้แค่ปีละครั้งเดียว เพื่อมุ่งผลศึกซีเกมส์ 2025 ที่ไทยเป็นเจ้าภาพ ส่วนการเติบโตภาพใหญ่กว่า 20 ปี นักกีฬาเจ็ตสกีทีมชาติก็พัฒนาสร้างความสำเร็จมาโดยตลอด ด้านเงินรางวัลนักกีฬา เชื่อมั่นว่าทุกฝ่ายมีมุมมองที่งานต้นน้ำ เสนอความเห็นกติกากองทุนฯ อาจไม่ชัดเจนและสอดคล้องกับการพัฒนากีฬาชาติ ควรแก้ไข

นายสนิท วรปัญญา นายกสมาคมกีฬาเจ็ตสกีแห่งประเทศไทย ออกแถลงการณ์กรณีดราม่าเงินรางวัลนักกีฬาเจ็ตสกีทีมชาติไทย ชี้แจงว่า ตามข่าวที่นำเสนอนั้น สมาคมมีห่วงใยอย่างแท้จริง 2 เรื่อง หนึ่งคืองบประมาณส่งแข่งขันชิงแชมป์โลก World Final ที่สหรัฐฯ เพราะเป็นรายการใหญ่ที่สุดในโลกนอกประเทศไทย ซึ่งที่ผ่านมา สมาคมฯ และการกีฬาฯ ก็สามารถหางบส่งแข่งได้เพียงรายการเดียวต่อปี แต่ก็สร้างการพัฒนาที่ดี มีผลงานของทีมชาติไทย ในมหกรรมกีฬาใหญ่ทั้งคว้าเหรียญทอง เอเชี่ยนเกมส์ และคว้า 4 เหรียญทองซีเกมส์ อยากเสนอให้งานบริหารต้นน้ำมีการพัฒนาที่ยั่งยืนสำหรับผลงานชาติ ไม่อยากให้เก็บแค่ดอกผล ผลงาน แต่ขาดการสนับสนุนกีฬาให้มีความพร้อม

อีกประเด็นคือเรื่องเงินรางวัลนักกีฬา สมาคมฯ สามารถยืนยันได้ว่า ส่วนเงินรางวัลเทียบไม่ได้เลย กับเงินที่นักกีฬาลงทุนไปแข่งขัน แต่มันคือ กำลังใจ แสดงให้เห็นว่าภาครัฐเห็นความสำคัญของนักกีฬา เช่นที่คุณเปิ้ล นาคร ศิลาชัย ออกมาพูด ผมไม่เชื่อว่าเงิน 50,000 บาท ไปเทียบกับ 1 ใน 10 ของทุนไปแข่งขัน แต่เขาต้องการสื่อสารช่วยนักกีฬาทีมชาติไทยทุกคน จุดนี้สมาคมเองก็ไม่เห็นด้วยกับกติกาที่กองทุนพัฒนากีฬาแห่งชาติ นำมายึดถือใช้อยู่ขณะนี้

เช่น ตอนแรกส่งหนังสืออย่างเป็นทางการ แจ้งว่า ไม่สามารถให้เงินนักกีฬาได้เพราะ สมาคมเจ็ตสกีนานาชาติ IJSBA

ไม่ได้เป็นสมาชิกของ สหพันธ์สมาคมกีฬานานาชาติ (GAISF) ทั้งที่เป็นองค์กรเจ็ตสกีโดยตรง เพียงองค์กรเดียวของโลก และดำเนินงานมากว่า 41 ปี จดทะเบียนโดยการรับรองของกฎหมายประเทศสหรัฐอเมริกา และเมื่อสมาคมฯ แย้งไปว่า องค์กรสหพันธ์สมาคมกีฬานานาชาติ (GAISF) ยุติบทบาท โดยสมาชิกโหวดให้ยุบองค์กร และชำระการเงิน ไปตั้งแต่เดือนธันวาคม 2565 กองทุนฯ จึงมีหนังสือมาขอยกเลิกหนังสือดังกล่าว ทำให้นักกีฬาทุกคนเกิดข้อสงสัยกังขาเป็นอย่างยิ่ง ถึงการพิจารณาเหตุผลที่แท้จริง

ล่าสุดแจ้งว่า เหตุผลใหม่คือ มีประเทศแข่ง 8 หรือ 16 ชาติ ข้อเท็จจริงคือการแข่งขัน World Final 2022 มีชาติร่วมแข่งขัน 32 ชาติ ก็มาใช้เหตุผลอีกว่าแต่ละรุ่นก็ต้องมี 8 หรือ 16 ชาติ จึงจะเข้าเกณฑ์ ขอชี้แจงว่า ในกีฬายานยนต์ความเร็วนั้น อาจใช้ข้อกำหนดแบบนี้ได้ยาก เนื่องจากผู้แข่ง ต้องมีความพร้อมสูงในหลายด้าน สมาคมเจ็ตสกีนานาชาติ จึงมีกำหนดไว้ว่า รุ่นที่เปิดแข่งชิงแชมป์โลก ต้องมีเรือแข่งขั้นต่ำ 5 เรือแข่ง ซึ่งก็สอดคล้องกับมหกรรมกีฬาใหญ่ เช่น เอเชี่ยนส์เกมส์ หรือซีเกมส์ที่กำหนดว่า ต้องมี 4-5 ชาติลงแข่งขัน จึงจะเปิดแข่งขันชิงเหรียญ ข้อนี้สมาคมฯ เห็นเป็นกติกาที่เหมาะสม และสอดคล้องกับวัตถุประสงค์และชื่อของกองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ

โดยส่วนตัวผมกำลังสับสนว่า การกีฬาแห่งประเทศไทย ต้องอยู่ภายใต้นโยบายของกองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติหรือไม่? หรือกองทุน ต้องสนับสนุนนโยบายของการกีฬาแห่งประเทศไทย เรื่องนี้เป็นข้อสับสนอย่างมากใน 1-2 ปีมานี้ เพราสมาคมเจ็ตสกีฯ ต้องเสนองานต่อการกีฬาแห่งประเทศไทย แล้วก็ต้องชี้แจงกับกองทุนฯ ด้วย อยากเสนอให้รัฐบาลใหม่ และผู้ว่าการการกีฬาฯ พิจารณาเรื่องนี้ เพราะที่ผ่านมาหลายครั้ง 2 องค์กร ทำงานก็ไม่สอดคล้องกัน และงานซ้ำซ้อน สมาคมฯ ไม่รู้จะต้องรับฟังนโยบายจากใครแน่ เหมือนเป็นฟันเฟืองกีฬาที่ปีนกันอยู่”

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ชาติสมาชิกอาเซี่ยนเป็นห่วง 'เจ็ตสกี'จะไม่ได้บรรจุ แข่งซีเกมส์ปี2025ที่ไทย

การประชุมสมาคมเจ็ตสกีอาเซี่ยนในการแข่งขัน WGP#1 เจ็ตสกีชิงแชมป์แห่งเอเชีย 2024 ณ ประเทศญี่ปุ่น โดยสมาคมเจ็ตสกีแห่งประเทศไทย เป็นแกนหลักในการจัดประชุมครั้งที่ 2 ในการก่อตั้งสหพันธ์กีฬาศูนย์กลางแห่งทวีปเอเชียที่ประเทศไทย หรือ สหพันธ์เจ็ตสกีเอเชีย หนึ่งในประเด็นสำคัญที่ประเทศสมาชิกแสดงความห่วงใย คือ การเข้าร่วมการแข่งขันซีเกมส์ 2025 ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ ซึ่ง “บิ๊กบอย” ปิยะศิริ วัฒนวรางกูร แจ้งที่ประชุมถึงความคืบหน้าว่าตอนนี้ทุกฝ่ายกำลังพิจารณาสนับสนุนอย่างเต็มที่ ขณะที่ด้านทัพนักเจ็ตสกีไทยพร้อมรับใช้ชาติ

'สุวัจน์'นำเข้าเจ็ตสกีนอก'4พันคน' ชูทรัพย์สินทางปัญญา สู้ต่างชาติเวทีโลก

WGP#1 ทัวร์นาเม้นท์เจ็ตสกีสัญชาติไทย เดินหน้าเต็มตัวบนเวทีโลก โดยนายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ ตอบรับนั่งประธานโครงการฯ มั่นใจงานพัฒนาศักยภาพกีฬาไทยรูปแบบใหม่ ด้านทรัพย์สินทางปัญญา และซอฟต์พาวเวอร์ จะสร้างประโยชน์ชาติมหาศาล ปีนี้สั่งโรด์โชว์ล่าเป้าหมาย “เติบโตเป็นมหกรรมกีฬานานาชาติ แบรนด์ไทย ที่ยั่งยืน” เพื่อนำเข้าทีมนักกีฬานานาชาติ 4,000 คน เงินหมุนเวียนทางเศรษฐกิจกว่า 800 ล้านบาท และต่อยอดเพิ่มจากเวทีกีฬาโลก เป็น “ศูนย์กลางเวทีการค้าโลก” ชี้กีฬาไทยยุคใหม่ ทัวร์นาเม้นท์กีฬาไทยต้องส่งออกขายฝรั่งได้ กีฬาจึงจะแข็งแกร่ง

'เสริมศักดิ์'ร่วมเชียร์นักเจ็ตสกีไทย ศึก'สยามวอเตอร์คราฟ WGP 2024'ที่ญี่ปุ่น

เจ้ากระทรวงท่องเที่ยวและกีฬาคนใหม่ “รมว.เสริมศักดิ์ พงษ์พานิช” ให้โอวาทพร้อมอวยพรนักกีฬาเจ็ตสกีไทย ประสบชัยชนะ หอบถ้วยแชมป์นำชื่อเสียงกลับประเทศไทยให้ได้ ในศึกเจ็ตสกีชิงแชมป์เอเชีย รายการ “สยามวอเตอร์คราฟ - ดับเบิลยู จีพี วัน วอเตอร์เจ็ต เอเชี่ยน แชมเปี้ยนชิพส์ 2024” (Siam Watercraft - WGP#1 Waterjet Asian Championships 2024) สนามแรก ที่กำลังจะระเบิดขึ้น ในสัปดาห์หน้า ระหว่างวันที่ 6-9 มิ.ย. 2567 นี้ ที่นิชิกิโนะฮามะ พาร์ค เมืองโอซาก้า ประเทศญี่ปุ่น ยืนยันกระทรวงฯพร้อมให้การสนับสนุนเจ็ตสกีเต็มที่ พร้อมย้ำ

กีฬาเจ็ตสกีตัดพ้อ พยายามขอบรรจุเข้าซีเกมส์2025 แต่เรื่องเงียบกริบ

กีฬาเจ็ตสกีตัดพ้อ ทำไมหน่วยงานชาติลืมกันได้! พยายามขอบรรจุเข้าซีเกมส์ 2025 มา 2 ปีกว่าแล้ว แต่ไม่มีที่ไหนให้ข้อมูลการทำเอกสารได้ชัดเจน ทั้งที่พึ่งร่วมกับกีฬาชาติ อื่นๆ คว้า 4 ทอง 5 เงิน ในซีเกมส์ปีที่แล้ว โดยเฉพาะในมหกรรมกีฬาที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของเอเชีย ก็ร่วมคว้า 1 ใน 11 เหรียญทอง เอเชียนเกมส์ปี 2018 “บิ๊กบอย” ปิยะศิริ พ่อบ้านเผย หรือต่อไปนี้ คงต้องสำนึกความสำคัญของกีฬาเล็กๆ เพราะชาติไทยสนใจแต่กีฬาใหญ่ๆ กลุ่มกีฬาเล็กๆ จะได้ไม่ต้องพยายามให้มาก รู้สึกเห็นใจนักกีฬาเจ็ตสกีทุกคน ที่ทั้งทุ่มเท มุ่งมั่น แต่กลับไม่มีเวทีสร้างผลงานให้ชาติ

เจ็ตสกีเชิงรุก จัดโรดโชว์ทั่วโลก เจาะตลาด3เมืองใหญ่ เน้นยิงสดผ่านดาวเทียม

WGP#1 ทัวร์นาเม้นท์กีฬาเจ็ตสกีสัญชาติไทย ที่เติบโตเป็นเจ้าของลิขสิทธ์ “สนามเจ็ตสกีเก็บคะแนนชิงแชมป์โลก” แผลงฤทธิ์ เดินหน้าโรดโชว์ทัวร์นาเม้นท์กีฬาทางน้ำของไทย ใน 3 เมืองใหญ่ ได้แก่ ญี่ปุ่น โปแลนด์ สหรัฐฯ ก่อนเตรียมขยายตัวอีกปีหน้า โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการพลิกบทบาทกีฬาไทย ตอกย้ำภาพการเป็นองค์กรจัดกีฬาความเร็วทางน้ำ อันดับที่ 1 ของโลก ทั้งนี้ ล่าสุดมีประเทศสมาชิก 55 ชาติแล้ว ด้านผู้อำนวยการทัวร์นาเม้นท์ฯ เดรค-ปริเขต เผยเน้นเติบโตสร้างผู้ชม 250 ล้านคนต่อปี และนำชาวต่างชาติเข้ามาสนามชิงชนะเลิศเมืองไทย ชี้การทำงานกีฬา ด้านทรัพย์สินทางปัญญา จำเป็นอย่างยิ่ง แต่ก็ต้องพบอุปสรรค์ต่างๆมากมาย