สสส. ร่วมมือภาคีเครือข่าย ส่งเสริมการเล่นกีฬา และออกกำลังกาย

สสส. ร่วมลงนามแสดงปฏิญญา กับภาคีเครือข่าย ส่งเสริมกิจกรรมทางกาย การเล่นกีฬา และการออกกำลังกาย ภายใต้คอนเซ็ปท์ “Move more-Get more-Together” พร้อมยืนยันเจตจารมณ์ และยึดมั่นในอุดมการณ์ ช่วยให้คนไทยมีกิจกรรมทางกายอย่างเพียงพอต่อการป้องกันโรคภัย และมีสุขภาวะที่ดี
กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดพิธีร่วมลงนามแสดงปฏิญญากับภาคีเครือข่าย กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ศูนย์พัฒนาองค์ความรู้ด้านกิจกรรมทางกายประเทศไทย (ทีแพค) สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล และภาคีเครือข่าย ทั้งภาครัฐ เอกชน ประชาสังคม วิชาการ ชุมชนท้องถิ่น ในการส่งกิจกรรมทางกาย การเล่นกีฬา และการออกกำลังกาย ภายใต้คอนเซ็ปต์ “Move more Get more Together” ที่ห้อง MR 208 ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 31 มกราคม 2566
ดร.นพ.ไพโรจน์ เสาน่วม ผู้ช่วยผู้จัดการกองทุน สสส. และรักษาการผู้อำนวยการสำนักสร้างเสริมวิถีชีวิตสุขภาวะ สสส. พร้อมด้วยภาคีด้านการส่งเสริมกิจกรรมทางกายทั้งในประเทศไทย ได้แก่ กองกิจกรรมทางกายเพื่อสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข กองนโยบายการท่องเที่ยวและกีฬาแห่งชาติ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา และศูนย์พัฒนาองค์ความรู้ด้านกิจกรรมทางกายประเทศไทย (ทีแพค) สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมลงนามแสดงปฏิญญา เพื่อเป็นการยืนยันเจตจารมณ์ยึดมั่นในอุดมการณ์ และเป้าหมายร่วมกันในการสานพลังบูรณาการองค์ความรู้ เพื่อฟื้นฟูให้คนไทยทุกกลุ่มทุกคนมีโอกาส และความตระหนักในการเข้าถึงความรู้ พื้นที่สุขภาวะ และกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ เพื่อให้มีกิจกรรมทางกายอย่างเพียงพอต่อการป้องกันโรคภัยและมีสุขภาวะที่ดี ทั้งด้านกาย จิตปัญญา และสังคม ภายใต้คอนเซ็ปต์ “Move more Get more Together” เพื่อส่งเสริมให้คนไทยร่วมกันออกกำลังก้าวไปให้ข้างให้มากกว่า เพื่อให้ได้สุขภาพที่ดีกว่าไปด้วยกัน
 
โดย ดร.นพ.ไพโรจน์ เสาน่วม ได้กล่าวว่า จากข้อมูลงานวิจัยของศูนย์พัฒนาองค์ความรู้ด้านกิจกรรมทางกายประเทศไทย (ทีแพค) สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดลพบว่า สถานการณ์โควิด-19 ส่งผลต่อการมีกิจกรรมทางกายลดลง ดังนั้น สสส. จึงสานพลังภาคีส่งเสริมกิจกรรมทางกายบนวิถีใหม่ เพื่อนำไปสู่การฟื้นฟูกิจกรรมทางกายให้กลับเข้าสู่ภาวะปกติ และสอดคล้องกับวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไป
 
นอกจากนี้ รองศาสตราจารย์ ดร.ปิยวัฒน์ เกตุวงศา ผู้อํานวยการศูนย์พัฒนาองค์ความรู้ด้านกิจกรรมทางกายประเทศไทย (ทีแพค) สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ได้สรุปและสังเคราะห์องค์ความรู้จากการประชุมวิชาการในครั้งนี้เพื่อนำไปสู่แนวทางการฟื้นฟูกิจกรรมทางกายของคนไทย โดยมีประเด็นที่น่าสนใจภายใต้สองหัวข้อหลัก คือ Active People และ Active System/ Policy ดังนี้
หัวข้อ Active People ประกอบด้วยเรื่อง การพัฒนาหลักสูตรอบรมผู้นําสุขภาพในสถานท่ีทํางานเพื่อป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ในประชาชนวัยทํางาน โดย รศ.นพ.เพชร รอดอารีย์ (เครือข่ายคนไทยไร้พุง ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย), การเดินมากกว่า 5,000 ก้าวต่อวัน ช่วยลดความเส่ียงการหกล้มในผู้สูงอายุที่มีความเสี่ยงตํ่าและอาศัยอยู่ในชุมชนเมือง โดย รศ.ดร.กภ.ชุติมา ชลายนเดชะ  (คณะกายภาพบําบัด มหาวิทยาลัยมหิดล), การพัฒนาพื้นที่สุขภาวะในบริบทประเทศไทยโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรณีศึกษาโครงการลานกีฬาวัฒนธรรมชุมชน โดย คุณอิสริยา ปุณโณปถัมภ์ (สถาบันอาศรมศิลป์), ผลของการขัดการนั่งต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานที่มีต่อความดันโลหิตขณะพักของผู้ใหญ่ช่วงต้นเพศชายที่มีภาวะอ้วน โดย อาจารย์ ดร.วริศ วงศ์พิพิธ (คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย), การพัฒนาสร้างเสริมองค์ความรู้และการเผยแพร่กิจกรรมทางกายสู่สังคมอย่างยั่งยืน โดย ผศ.ดร.สุชาติ ทวีพรปฐมกุล (ศูนย์กีฬาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย), การสื่อสารรณรงค์องค์ความรู้เพ่ือการส่งเสริมการมีกิจกรรมทางกายท่ีเพียงพอของคนไทยในช่วงสถานการณ์โควิด-19 อาจารย์ โดย ดร.ชลชัย อานามนารถ (วิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา มหาวิทยาลัยมหิดล), การวิเคราะห์กิจกรรมทางกาย พฤติกรรมเนือยนิ่งและการนอนหลับ ในประชากรไทย: โดยวิธี Compositional Data Analysis จากผลการสํารวจการใช้เวลาระดับประเทศ โดย อาจารย์ ดร.นุชราภรณ์ เลี้ยงรื่นรมย์ (สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล) และการส่งเสริมสุขภาวะทางกายของเด็กในชุมชนชาติพันธุ์จังหวัดเชียงราย โดยคุณจุฑามาศ ราชประสิทธิ์ (มูลนิธิพัฒนาชุมชนและเขตภูเขา (พชภ.))
 
ทั้งนี้ยังมีประเด็นที่น่าสนใจในเรื่องระบบข้อมูลสารสนเทศ และนวัตกรรมการส่งเสริมสุขภาพ ได้แก่ สถานการณ์ความเหลื่อมล้ำของการมีกิจกรรมทางกายในประเทศไทย โดย คุณณรากร วงษ์สิงห์ (ศูนย์พัฒนาองค์ความรู้ด้านกิจกรรมทางกาย ประเทศไทย (ทีแพค)), การบูรณาการ และการใช้ประโยชน์จากข้อมูลภาครัฐทางด้านสาธารณสุข เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจวางแผนการดำเนินงานด้านการส่งเสริมกิจกรรมทางกายของประเทศไทย โดยการใช้แพลตฟอร์มข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data platform) โดย รศ.ดร.ทศนัย ชุ่มวัฒนะ (วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยรังสิต) และการประยุกต์ใช้ฐานข้อมูลการวิจัยด้านกิจกรรมทางกาย สำหรับการพัฒนาระบบวิเคราะห์ข้อมูล และสถิติ เพื่อการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย (Data Analytic System for Physical Activity Promotion: DASPAP) โดย คุณดนุสรณ์ โพธารินทร์ (ศูนย์พัฒนาองค์ความรู้ด้านกิจกรรมทางกายประเทศไทย (ทีแพค)), บทเรียนจากการพัฒนา

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ชวนนักดื่ม “ตรวจตับ-เลิกจับขวด” ฟื้นฟูสุขภาพคืนความสุขครอบครัว

"งดเหล้าเข้าพรรษา" ในระยะเวลา 3 เดือน ถือเป็นกิจกรรมหนึ่งในเทศกาลสำคัญ ที่มุ่งเน้นให้ชาวพุทธงดดื่มแอลกอฮอล์ ไม่เพียงเป็นการรักษาประเพณีและศีลธรรมเท่านั้น

“สุรศักดิ์” รมช.ศธ. เดินหน้าขับเคลื่อนรถรับส่งนักเรียนปลอดภัย ชูโมเดล “ศูนย์เรียนรู้รถรับส่งนักเรียนปลอดภัย จ.อยุธยา” ของสสส.

วันที่ 18 พ.ย. 2567 ที่ โรงเรียนอยุธยาวิทยาลัย อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา นายสุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานเปิดศูนย์การเรียนรู้การจัดการรถรับส่งนักเรียนที่ปลอดภัย โรงเรียนอยุธยาวิทยาลัย ภายในงานเวทีสร้างความร่วมมือและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการพัฒนาศูนย์เรียนรู้รถรับส่งนั

สสส.สานพลังภาคี ขจัดความเหลื่อล้ำกิจกรรมทางกาย ดึงคนไทยสู่เวอร์ชั่นใหม่

กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับ ศูนย์พัฒนาองค์ความรู้ด้านกิจกรรมทางกายประเทศไทย (ทีแพค) สถาบันวิจัยประชากรและสังคม

สสส.-สคล. ผนึกภาครัฐ เอกชน จัดแข่งฟุตซอลเยาวชนไม่เกิน 15 ปี ชิงถ้วยกรมสมเด็จพระเทพฯ

สสส. โดยสมาคมเครือข่ายงดเหล้าและปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพ (สคล.) ร่วมกับ ภาคีเครือข่ายและภาคเอกชน รวม 7 องค์กร ลงนามความร่วมมือ พร้อมจัดแถลงข่าวเปิดตัวโครงการ

"สิทธิในอาหารเพื่อชีวิตที่ดี" ความตระหนักรู้เสริมสุขภาวะ

เด็กทั่วโลกเผชิญปัญหาความเหลื่อมล้ำด้านอาหาร เพราะการบริโภคไม่สมดุล ส่งผลต่อสุขภาวะอ้วนผอม ชาวโลกเผชิญความอดอยากเกือบ 300 ล้านคน

สสส.ชวนคนรักสุขภาพ ร่วม'เมื่อคุณเริ่มวิ่ง หัวใจเต้นแรง' กระตุ้น'นักวิ่งหน้าใหม่'ลงสนาม8ธ.ค.นี้

เมื่อช่วงบ่ายวันที่ 11 พ.ย. 2567 ที่อาคารศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ กรุงเทพฯ นพ.พงศ์เทพ วงศ์วัชรไพบูลย์ ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า สสส. ร่วมกับ สมาพันธ์ชมรมเดิน-วิ่งเพื่อสุขภาพไทย จัดงานแถลงข่าว Thai Health Day Run 2024 วิ่งสู่วิถีชีวิตใหม่ ครั้งที่ 12 ภายใต้แนวคิด “เมื่อคุณเริ่มวิ่ง หัวใจเต้นแรง” ในวันที่ 8 ธ.ค. นี้ ที่สะพานพระราม 8 โดย สสส. มุ่งจุดกระแสกิจกรรมทางกายเพื่อสร้างเสริมสุขภาพ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ทำให้มีสุขภาพดี ลดความเสี่ยงเกิดโรคไม่ติดต่อ (NCDs) ในอนาคต ซึ่งจากผลสำรวจอายุคาดเฉลี่ยทั่วโลกในปี 2567 ของ www.worldometers.info ระบุว่า ไทยมีอายุคาดเฉลี่ยอยู่ที่ 76.56 ปี อายุยืนเป็นอันดับที่ 78 ของโลก ขณะที่ข้อมูลจากฐานข้อมูลการตาย กองยุทธศาสตร์และแผนงาน กระทรวงสาธารณสุข ปี 2561-2565 พบคนไทยเสียชีวิตก่อนวัยอันควร 164,720 ราย สาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 คือ ป่วยด้วยกลุ่มโรค NCDs ซึ่งเป็นโรคที่เกี่ยวกับพฤติกรรมและวิถีชีวิต