สมาคมลูกหนังไทยฯทำMOU ม.มหิดล ผลิตบัณฑิตหลักสูตรวิชาเอก'ฟุตบอล'

พล.ต.อ. ดร.สมยศ พุ่มพันธ์ม่วง นายกสมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ และ ศาสตราจารย์ นายแพทย์บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล
สมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ และ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา ร่วมลงนามความร่วมมือทางวิชาการเพื่อการพัฒนาหลักสูตร ปริญญาตรี วิชาเอก กีฬาฟุตบอล ตั้งเป้าผลิตบัณฑิตพร้อมด้วยทักษะในการเป็นผู้ฝึกสอนฟุตบอลที่รับการรับรองจากสมาคมฯ เพื่อต่อยอดการเป็นผู้ฝึกสอนอาชีพต่อไป ณ ห้องประชุมชั้น 1 สมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ หัวหมาก กทม. เมื่อเวลา 11.30 น. วันที่ 14 มีนาคม 2565 
 
ภายในพิธีประกอบด้วย พล.ต.อ. ดร.สมยศ พุ่มพันธ์ม่วง นายกสมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ พร้อมด้วย ศาสตราจารย์ นายแพทย์บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมลงนาม บันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการและการพัฒนาหลักสูตรศิลปศาสตร์บัณฑิต (การออกกำลังกายและกีฬา) วิชาเอกกีฬาฟุตบอล
 
โดยมี นายพาทิศ ศุภะพงษ์ เลขาธิการสมาคมฯ, รองศาสตราจารย์นายแพทย์บวรฤทธิ์ จักรไพวงศ์ คณบดีวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา มหาวิทยาลัยมหิดล, รองศาสตราจารย์ ดร.วีรวัฒน์ ลิ้มรุ่งเรืองรัตน์ รองคณบดีฝ่ายวิจัย วิชาการและวิเทศสัมพันธ์, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เมตตา ปิ่นทอง รองคณบดีฝ่ายการศึกษาก่อนปริญญา, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อารมย์ ตรีราช รองคณบดีฝ่ายการคลังและพัสดุ,ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สายฝน กองคำ ประธานหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (สาขา การออกกำลังกายและการกีฬา วิชาเอกกีฬาฟุตบอล) ร่วมเป็นสักขีพยานในการลงนามครั้งนี้
 
ภายหลังพิธีลงนาม พล.ต.อ. ดร.สมยศ พุ่มพันธ์ม่วง กล่าวว่า “ในโอกาสนี้ สมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ มีความยินดีอย่างยิ่งที่ได้ทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการกับมหาวิทยาลัยมหิดล โดยสมาคมฯ ได้มีส่วนร่วมในส่งเสริมให้หลักสูตรดังกล่าว เพื่อผลักดันให้เกิดบัณฑิตใหม่ ที่นอกจากจะมีพร้อมไปด้วยทักษะในการเป็นผู้ฝึกสอนกีฬาฟุตบอลแล้ว ยังมีพร้อมไปด้วยความรู้ความสามารถ ทางด้านวิทยาศาสตร์การกีฬาอีกด้วย หลังจากที่ส่วนใหญ่วิทยาศาสตร์การกีฬาต้องมาเรียนรู้กันในช่วงสั้นๆในคอร์สอบรมผู้ฝึกสอน ซึ่งครั้งนี้ถือว่าเป็นแนวคิดใหม่ที่จะทำให้ผู้ฝึกสอนมีทักษะ และคุณภาพมากยิ่งขึ้นต่อไป”
 
“นอกจากนี้ยังมีความร่วมมือต่างๆ ที่ทางมหาวิทยาลัยมหิดลจะช่วยเข้ามาประเมินและพัฒนาศักยภาพนักกีฬาฟุตบอล ผ่านการวิจัยทางวิชาการ และติดตามผล เพื่อให้เกิดข้อมูลเชิงลึกเพื่อนำไปใช้ตามวัตถุประสงค์ในด้านที่ต้องการต่อไปได้”
 
“ขณะเดียวกันสมาคมฯจะให้การสนับสนุนนักศึกษาของมหาวิทยาลัย ให้ได้มีโอกาสเข้าอบรมหลักสูตรฟุตบอลขั้นพื้นฐาน FA Thailand Introductory Course (G-Diploma) ซึ่งเป็นหลักสูตรเริ่มต้นเพื่อที่จะเตรียมต่อยอดสู่การอบรมผู้ฝึกสอนระดับอาชีพ AFC-C Diploma และ AFC-B Diploma ที่ได้รับการรับรองจากสหพันธ์ฟุตบอลต่อไป หากว่านักศึกษาสนใจและมีคุณสมบัติตามเกณฑ์”
 
ด้าน ศาสตราจารย์ นายแพทย์บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า“มหาวิทยาลัยมหิดล ต้องขอขอบคุณท่าน พล.ต.อ. ดร. สมยศ พุ่มพันธ์ม่วง นายกสมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ ที่ได้ให้ความร่วมมือในการพัฒนาหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิตครั้งนี้ โดยเฉพาะการที่สมาคมฯ มีความสนใจในเรื่องทักษะความรู้ด้านวิทยาศาสตร์การกีฬาและข้อมูลในเชิงวิชาการเป็นอย่างยิ่ง”
 
“ปัจจุบันนี้มีบัณฑิตในวิชาเอกดังกล่าว ได้สำเร็จการศึกษาไปแล้วไม่น้อยกว่า 300 คน และได้ประกอบอาชีพในสายงานที่เกี่ยวข้องกับกีฬาฟุตบอล เช่น ผู้ฝึกสอนกีฬาฟุตบอล ใน Academy สโมสรฟุตบอล นักกีฬาฟุตบอลอาชีพ อาจารย์ในสถาบันการศึกษา ฟิตเนสโค้ช นักวิเคราะห์เกมการแข่งขันฟุตบอล เป็นต้น”

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'FIFA Congress 2024' ความสำเร็จของไทย เจ้าภาพที่ยิ่งใหญ่สุดของ'ฟีฟ่า'

• ประวัติศาสตร์จารึก #ประเทศไทย ชาติแรกในอาเซียน ผ่านพ้นไปแล้วสำหรับ ประเทศไทย ในการเป็นเจ้าภาพจัดประชุม ฟีฟ่า คองเกรส ครั้งที่ 74 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ กรุงเทพมหานครฯ ในฐานะประเทศแรกในภูมิภาคอาเซียน และชาติที่ 5 ของทวีปเอเชีย ที่ได้รับเลือกจากสหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ หรือ ฟีฟ่า ในการได้รับเกียรติ ถูกรับเลือกให้เป็นเจ้าภาพ จัดอีเวนต์นอกสนามที่ยิ่งใหญ่สุดของ ฟีฟ่า

สสส. สานพลัง ม.มหิดล หนุนผลงานเด็กอาชีวะ ชนะเลิศ PM's Award ดันต่อยอดพัฒนานวัตกรรม เครื่องฆ่าเชื้อโรคหมวกกันน็อกด้วย UVC

น.ส.ภาสวรรณ สังฆสุบรรณ์ ผู้อำนวยการศูนย์กิจการสร้างสุข สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า สสส.

อึ้ง!! วัยเก๋า 80% ตกเป็นเหยื่อ ถูกหลอกโอนเงิน-เผยข้อมูลส่วนตัว

เมื่อวันที่ 8 ม.ค. 2567 ที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กล่าวว่า จากรายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย ปี 2566 พบผู้สูงอายุไทยมีจำนวนกว่า 13 ล้านคน คิดเป็น 20% ของจำนวนประชากรทั้งประเทศ