กรมพระศรีสวางควัฒนฯ ทรงบรรยายพิเศษพระราชทาน น.ศ.แพทย์ มทส.สุรนารี

กรมพระศรีสวางควัฒนฯ ทรงบรรยายพิเศษผ่านสื่อออนไลน์เรื่อง”การเกิดโรคมะเร็ง  Oncogenesis” พระราชทานแก่ น.ศ.แพทย์-น.ศ.ทันตแพทย์ของ มทส.สุรนารี นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้

3 ก.พ. 2565 – ศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี องค์ประธานสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ เสด็จออก ณ ท้องพระโรง ตำหนักทิพย์พิมาน ทรงบรรยายพิเศษ ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (ออนไลน์) เรื่อง “การเกิดโรคมะเร็ง Oncogenesis” พระราชทานแก่ นักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 2 และนักศึกษาทันตแพทย์ชั้นปีที่ 1-2 ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ประจำปีการศึกษา 2564 จำนวน 103 คน สำหรับการบรรยายพระราชทานครั้งนี้ ทรงบรรยายในหัวข้อที่ 4 เรื่อง อองโคยีน หรือยีนก่อมะเร็ง กับการควบคุมการเจริญของเซลล์ (Oncogenes and Growth Control) และหัวข้อที่ 5 เรื่องยีนระงับการเกิดมะเร็ง (Tumor Suppressor Genes) ตามลำดับ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งใน 7 หัวข้อหลักของรายวิชาดังกล่าวนี้

สำหรับหัวข้อที่ 4 “อองโคยีน หรือยีนก่อมะเร็ง กับการควบคุมการเจริญของเซลล์” ได้ทรงบรรยายถึงการค้นพบ อองโคยีน จากการศึกษายีนในไวรัสที่เกี่ยวข้องกับการเกิดโรคมะเร็ง ซึ่งนำไปสู่ความเข้าใจพื้นฐานการเกิดมะเร็งในระดับโมเลกุลในคน พร้อมกันนี้ ทรงยกตัวอย่าง การเกิดอองโคยีนจากไวรัส (Retroviral oncogenes) โดยที่ยีนของไวรัสแทรกเข้าไปในยีนของเซลล์ และเข้าควบคุมการทำงานของยีนนั้น การกลายพันธุ์ของยีน การย้ายตำแหน่งของโครโมโซม รวมทั้งการเพิ่มจำนวนของยีนที่พบในมะเร็งต่างชนิดกัน ที่เป็นกลไกทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงยีนปกติให้เป็นยีนก่อมะเร็ง หรืออองโคยีน

​จากนั้น ทรงขยายความสำคัญของกระบวนการเหล่านี้ ในระดับโมเลกุล โดยเน้นการควบคุมการเจริญของเซลล์ ซึ่งในเซลล์ปกติจะถูกควบคุมด้วยปัจจัยที่กระตุ้นการเจริญของเซลล์ชนิดต่างๆ ปัจจัยเหล่านี้ เป็นกลุ่มของโปรตีนที่ทำหน้าที่หลายระดับและขั้นตอนในการควบคุมให้เซลล์มีการแบ่งตัวในอัตราที่เหมาะสม ไม่มากเกินไป แล้วทรงอธิบายให้เข้าใจถึงกระบวนการต้านการเกิดมะเร็งภายในเซลล์ หรือมีการหยุดแบ่งตัว และเซลล์นั้นเข้าสู่โปรแกรมการทำลายตัวเอง เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงที่ทำให้เกิดอองโคยีน จะทำให้มีการสร้างโปรตีนที่มีปริมาณเพิ่มขึ้นมากกว่าปกติ หรือ โครงสร้างและหน้าที่แตกต่างจากโปรตีนของยีนปกติที่มีอยู่เดิม หรือเกิดความผิดปกติของการแสดงออกของยีน จนกระทั่งทำให้เกิดเซลล์มะเร็งในที่สุด 

นอกจากนี้ ทรงบรรยายต่อเนื่องในหัวข้อถัดไป คือ หัวข้อที่ 5 “ยีนระงับการเกิดมะเร็ง” ซึ่งเป็นยีนที่สามารถระงับหรือยังยั้งการแสดงออกของการเกิดโรคมะเร็ง โดยทรงบรรยายถึงยีนที่มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งต่อกระบวนการการเกิดมะเร็งในภาวะปกติ  และทำหน้าที่ตรงข้ามกับ ยีนก่อมะเร็ง (Oncogenes) คือ Tumor Suppressor Genes ยีนระงับการเกิดมะเร็ง ซึ่งยีนกลุ่มนี้ทำหน้าที่ควบคุมการเจริญของเซลล์ในหลายลักษณะ โดยจะสร้างโปรตีนที่มีหน้าที่ในการยับยั้งการเจริญของเซลล์ไม่ให้มีปริมาณมากเกินไป และยังมีบทบาทในการควบคุมการตายของเซลล์เมื่อเซลล์สิ้นอายุขัย หรือเมื่อมีความผิดปกติของ ดีเอ็นเอ หรือโครโมโซม  ซึ่งไม่สามารถซ่อมแซมได้แล้ว ดังนั้น เมื่อยีนเหล่านี้เกิดความผิดปกติ เช่น การกลายพันธุ์หรือสูญหายไปจากเซลล์ ทำให้ไม่สามารถทำหน้าที่ในยับยั้งหรือควบคุมการเจริญของเซลล์ เซลล์จึงจะมีการเพิ่มจำนวน (Cell Poliferation) อย่างไม่หยุดยั้ง และจะทำให้เกิดมะเร็งขึ้นในที่สุด ยีนต้านมะเร็งนั้นมีหลายชนิดและทำหน้าที่ในการยับยั้งการเจริญเติบโตของมะเร็งต่างกัน

ทั้งนี้ ทรงยกตัวอย่างยีนระงับการเกิดมะเร็ง (Tumor Suppressor Genes) ที่มีความสำคัญ และมีการศึกษากันอย่างกว้างขวาง ได้แก่ ยีน p53  ซึ่งพบว่า มีการกลายพันธุ์ของยีนนี้บ่อยที่สุดในมะเร็งที่พบในคน ตัวอย่างที่พบการกลายพันธุ์ในปริมาณดังต่อไปนี้ อาทิ 70% ในมะเร็งลำไส้ ชนิด colon cancer  , 30-50% ในมะเร็งเต้านม (breast cancer)  และ 50% ในมะเร็งปอด (lung cancer)โดยที่ยีน p53 จะสร้างโปรตีนที่ทำหน้าที่จำเพาะในการป้องกันการเกิดเซลล์ที่ผิดปกติ คือมีบทบาทเสมือนเป็น “Genomic policeman” ตำรวจที่คอยตรวจความผิดปกติทางพันธุกรรมที่เกิดขึ้น ผ่านกระบวนการที่ซับซ้อน และเป็นกลไกการป้องกันไม่ให้เกิดการแบ่งตัวหากมีความผิดปกติขึ้นในสารพันธุกรรมในเซลล์นั้น

​จากนั้นทรงบรรยายถึงกลไกการควบคุมการทำงานของยีนนี้ในรายละเอียด และทรงยกตัวอย่างการศึกษาการเกิดการกลายพันธุ์ของยีน p53 ในผู้ป่วยโรคมะเร็งหลอดอาหาร และ มะเร็งลำไส้ ด้วย ช่วงท้าย ได้ทรงสรุปเปรียบเทียบคุณลักษณะของ ยีนก่อมะเร็ง (Oncogenes) และยีนระงับการเกิดมะเร็ง (Tumor Suppressor Genes) เพื่อให้นักศึกษาได้เข้าใจชัดเจนมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะเป็นพื้นฐานสำคัญที่จะนำไปสู่การพัฒนาวิธีการวินิจฉัยโรคมะเร็งในระดับโมเลกุล อันจะนำไปสู่การพัฒนายาและการรักษาที่มีประสิทธิภาพที่ดียิ่งขึ้น 

พระกรุณาธิคุณในฐานะ “ทูลกระหม่อมอาจารย์” ที่ทรงถ่ายทอดองค์ความรู้พื้นฐานเหล่านี้ ทั้งในเรื่องยีนก่อมะเร็ง(Oncogenes) และยีนระงับการเกิดมะเร็ง(Tumor Suppressor Genes) ล้วนเป็นพื้นฐานสำคัญของการพัฒนาวินิจฉัยโรคมะเร็ง ซึ่งจะนำไปสู่การรักษาที่ตรงกับลักษณะของโรค การใช้ยาที่ตรงเป้าหมาย ตลอดจนการพัฒนายาในอนาคตอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น นับเป็นพระกรุณาธิคุณแก่คณาจารย์ และนักศึกษาสังกัดสำนักวิชาแพทยศาสตร์ และทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี อย่างหาที่สุดมิได้ 

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'ดอกไม้และผีเสื้อ'แห่งองค์สิริศิลปิน ส่งต่อความสุข

ตลอดเดือนธันวาคมนี้ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ชวนประชาชนร่วมชื่นชมพระอัจฉริยภาพและเรียนรู้พระกรณียกิจกับนิทรรศการ “สิริศิลป์ศรีจักรีจุฬาภรณ์” ดั่งดอกไม้บาน รังสรรค์ความงดงามจากผลงานภาพวาดฝีพระหัตถ์ “ดอกไม้และผีเสื้อ” ของศาสตราจารย์ ดร. สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ

'เสืออวกาศ'ผลงานชุดใหม่'องค์สิริศิลปิน'

สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ทรงได้สร้างสรรค์ผลงานภาพวาดฝีพระหัตถ์ “เสือ”ชุดใหม่ในปี 2567 นี้  จำนวน 51 ภาพ  พร้อมทั้งพระราชทานชื่อนิทรรศการครั้งนี้ว่า “เสืออวกาศ”

ชมภาพวาดฝีพระหัตถ์องค์สิริศิลปิน สานพลังใจเพื่อผู้ป่วย

เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันประสูติ ศาสตราจารย์ ดร. สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี องค์ประธานและนายกสภาราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ 4 กรกฎาคม 2567 ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์

เชิญชวนปชช.ลงนามถวายพระพรกรมพระศรีสวางควัฒนฯ

1 ก.ค.2567 - สำนักพระราชวัง ขอเชิญชวนประชาชนร่วมลงนามถวายพระพร สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันประสูติ วันที่ 4 กรกฎาคม 2567

ศรัทธาพุทธศาสนาในเจ้าฟ้านักวิทยาศาสตร์

เนื่องในโอกาสคล้ายวันประสูติสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒนวรขัตติยราชนารี ทรงเจริญพระชนมายุ 67 พรรษา วันที่ 4 กรกฎาคม 2567 นับเป็นโอกาสอันดียิ่งที่พสกนิกรชาวไทยจะได้แสดงออกถึงความจงรักภักดีด้วยการบำเพ็ญคุณงามความดีถวายพระกุศล

เจริญพระพุทธมนต์เฉลิมพระเกียรติกรมพระศรีสวางควัฒนฯ ที่วัดป่าบ้านตาด

28 มิ.ย.2567 ที่ศาลาใหญ่ วัดเกสรศีลคุณ (วัดป่าบ้านตาด) ต.บ้านตาด อ.เมือง จ.อุดรธานี พระราชวชิรธรรมาจารย์ วิ. (สุธรรม สุธมฺโม) เจ้าอาวาสวัดเกสรศีลคุณ เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ นางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) เป็นประธานฝ่ายฆราวาส ในพิธีเจริญพระพุทธมนต์เฉลิมพระเกียรติสมเด็