กรมพระศรีสวางควัฒนฯ ทรงมีพระดำรัสบูรณะพระราชวังสนามจันทร์อย่างถูกวิธี

กรมพระศรีสวางควัฒนฯ ทรงติดตามความคืบหน้าโครงการบูรณะพระราชวังสนามจันทร์ จ.นครปฐม

7 มิ.ย.2565 – เวลา 10.09 น. ศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี เสด็จไปยังห้องประชุม 1 ชั้น 8 อาคารเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา บรมราชินีนาถ คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน พระราชทานพระวโรกาสให้ คุณหญิงจรัสศรี ทีปิรัช รองประธานสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ ฝ่ายบริหาร และผู้อำนวยการสำนักองค์ประธาน นำนายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย และคณะ เฝ้า เพื่อกราบทูลรายงานความคืบหน้าการดำเนินโครงการบูรณะพระราชวังสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม ที่มีอายุกว่า 115 ปี บนพื้นที่ 148 ไร่ เพื่อบูรณะโบราณสถานอันเป็นสมบัติสำคัญของชาติที่ทรงคุณค่าทางประวัติศาสตร์ และสถาปัตยกรรม รวมถึงบทบาทการรักษาความมั่นคงของชาติในอดีต โดยบูรณาการความร่วมมือจากหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง อาทิ กระทรวงมหาดไทย กรมโยธาธิการและผังเมือง กรมศิลปากร มหาวิทยาลัยศิลปากร และสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ ที่ได้ร่วมกันดำเนินงานบูรณะอาคารต่างๆ และบริเวณ งานสถาปัตยกรรม ศิลปกรรม งานโครงสร้าง งานระบบต่างๆ  รวมทั้งงานภูมิสถาปัตย์ รวมทั้งสิ้น 58 อาคาร โดยกำหนดระยะเวลาในการบูรณะกลุ่มอาคารต่างๆ แบ่งเป็น 2 ระยะ ได้แก่ ระยะแรก ตั้งแต่เดือนมกราคม 2565 – สิงหาคม 2567 มีกลุ่มอาคารที่ต้องบูรณะรวม 18 อาคาร 

ขณะนี้ ได้เริ่มบูรณะงานโครงสร้างและงานสถาปัตยกรรมของพระที่นั่งวัชรีรมยา ซึ่งเคยเป็นที่ประทับทรงพระอักษร ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระที่นั่งสามัคคีมุขมาตย์ ซึ่งเคยเป็นท้องพระโรงสำหรับประกอบพระราชพิธี เป็นที่ประชุมเสือป่า รวมทั้งซ้อมและเล่นโขน ละคร  ส่วนระยะที่สอง มีกลุ่มอาคารที่ต้องบูรณะอีก 40อาคาร จะเริ่มดำเนินการเดือนมิถุนายน 2567 – มิถุนายน 2570

โอกาสนี้ มีพระดำรัสพระราชทานแก่ปลัดกระทรวงมหาดไทย และคณะ มีความตอนหนึ่งว่า “เนื่องจากพระราชวังสนามจันทร์ สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 6 ด้วยพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ เป็นโบราณสถานที่ทรงคุณค่าทางประวัติศาสตร์ และสถาปัตยกรรมอย่างยิ่ง อีกทั้งยังมีส่วนสำคัญด้านความมั่นคงอีกด้วย ข้าพเจ้าตระหนักถึงความสำคัญนี้ เมื่อครั้งได้เดินทางไปมหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2563 พบว่า มีอาคารบางส่วนทรุดโทรมอย่างน่าเป็นห่วง จึงเห็นสมควรให้มีการบูรณะ การที่กระทรวงมหาดไทยเล็งเห็นความสำคัญ ขอให้ข้าพเจ้าเป็นประธานการบูรณะพระราชวังสนามจันทร์ในครั้งนี้ ข้าพเจ้ามีความยินดีอย่างยิ่ง เมื่อท่านปลัดกระทรวงมหาดไทยรับเป็นแม่งาน ทำให้เกิดความหวังว่า จะได้มีการบูรณะอย่างถูกวิธี ทำให้พระราชวังสนามจันทร์เป็นโบราณสถานที่ทรงคุณค่าอยู่คู่บ้านคู่เมืองตลอดไป …”

สำหรับพระราชวังสนามจันทร์ จัดสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2450 เพื่อเป็นที่ประทับในการแปรพระราชฐานมายังเมืองนครปฐมในโอกาสที่เสด็จมาสักการะองค์พระปฐมเจดีย์ และประทับพักผ่อนพระอิริยาบถของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะทรงดำรงพระราชอิสริยยศเป็น สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร ได้พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ ให้ดำเนินการจัดซื้อที่ดินเพื่อก่อสร้างพระราชวังในจังหวัดนครปฐม โดยหมู่พระที่นั่ง และหมู่พระตำหนักต่างๆถูกออกแบบในสไตล์สถาปัตยกรรมไทยผสมผสานกับชาติตะวันตกอย่างวิจิตรงดงาม นอกจากนี้ พระราชวังสนามจันทร์ ยังเป็นสถานที่ทรงประกอบพระราชกรณียกิจของบ้านเมือง และรับรองพระราชอาคันตุกะ รวมถึงเป็นฐานที่ตั้งกองบัญชาการ และการฝึกซ้อมรบของเสือป่าเพื่อเตรียมพร้อม สำหรับป้องกันประเทศในยามคับขันอีกด้วย

พระราชวังสนามจันทร์แห่งนี้ นับเป็นสมบัติของชาติบ้านเมือง หรือสมบัติของแผ่นดินที่ตกทอดมาถึง 5 แผ่นดิน หรือ 5 รัชกาล ซึ่งสิ่งก่อสร้างต่างๆ ในพระราชวังแห่งนี้ก็ย่อมเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลาแต่สิ่งที่ยังมิได้เปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลาก็คือ ความซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวและเรื่องราวของพระองค์ อันเป็นพระราชกรณียกิจด้านต่างๆ ณ พระราชวังสนามจันทร์ที่เป็นประโยชน์และทรงคุณค่าอย่างใหญ่หลวงต่อประเทศชาติบ้านเมือง จึงควรค่าแก่การอนุรักษ์ให้เป็นพิพิธภัณฑ์ และโบราณสถานสำคัญที่จะเป็นแหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ของชาติไทยตลอดไป ตามพระประสงค์ ของศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี  นับเป็นพระกรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ชมภาพวาดฝีพระหัตถ์องค์สิริศิลปิน สานพลังใจเพื่อผู้ป่วย

เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันประสูติ ศาสตราจารย์ ดร. สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี องค์ประธานและนายกสภาราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ 4 กรกฎาคม 2567 ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์

เชิญชวนปชช.ลงนามถวายพระพรกรมพระศรีสวางควัฒนฯ

1 ก.ค.2567 - สำนักพระราชวัง ขอเชิญชวนประชาชนร่วมลงนามถวายพระพร สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันประสูติ วันที่ 4 กรกฎาคม 2567

ศรัทธาพุทธศาสนาในเจ้าฟ้านักวิทยาศาสตร์

เนื่องในโอกาสคล้ายวันประสูติสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒนวรขัตติยราชนารี ทรงเจริญพระชนมายุ 67 พรรษา วันที่ 4 กรกฎาคม 2567 นับเป็นโอกาสอันดียิ่งที่พสกนิกรชาวไทยจะได้แสดงออกถึงความจงรักภักดีด้วยการบำเพ็ญคุณงามความดีถวายพระกุศล

เจริญพระพุทธมนต์เฉลิมพระเกียรติกรมพระศรีสวางควัฒนฯ ที่วัดป่าบ้านตาด

28 มิ.ย.2567 ที่ศาลาใหญ่ วัดเกสรศีลคุณ (วัดป่าบ้านตาด) ต.บ้านตาด อ.เมือง จ.อุดรธานี พระราชวชิรธรรมาจารย์ วิ. (สุธรรม สุธมฺโม) เจ้าอาวาสวัดเกสรศีลคุณ เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ นางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) เป็นประธานฝ่ายฆราวาส ในพิธีเจริญพระพุทธมนต์เฉลิมพระเกียรติสมเด็

'ด้วยรักษ์และเมตตา' จิตรกรรมกล่อมเกลาจิตใจ

เพื่อสืบสานพระปณิธานในสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี "องค์สิริศิลปิน" ในการส่งเสริมสนับสนุนความสามารถด้านการสร้างสรรค์ของเด็กและเยาวชนคนรุ่นใหม่ที่มีใจรักในงานศิลปะได้มีโอกาสแสดงทักษะด้านการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะ

กรมพระศรีสวางควัฒนฯ ทรงลงพระนาม MOU ระหว่างราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์กับ 4 สถาบัน

15 ธ.ค.2566 - เวลา 13.30 น. ศาสตราจารย์ ดร. สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี เสด็จไปในพิธีลงพระนามและลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่าง ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์กับ