'ธรรมราชา' ผู้ทรงค้ำจุนพุทธศาสนาให้ยั่งยืน

ประเทศไทยเป็นดินแดนควรแก่การประดิษฐานและสืบอายุพระพุทธศาสนามาตั้งแต่โบราณ ราษฎรไทยกว่าร้อยละ 90 เป็นพุทธศาสนิกชน ทั่้วประเทศมีวัดกว่า 20,000 วัด และพระสงฆ์กว่า 200,000 รูป แสดงถึงความเจริญรุ่งเรืองของพระพุทธศาสนาในชาติ ความพิเศษยิ่งกว่านั้นพระพุทธศาสนาในประเทศไทยอยู่ภายใต้พระบรมราชูปถัมภ์ของพระมหากษัตริย์ ซึ่งทรงดำรงสถานะพระประมุขของประเทศ


ด้วยพระมหากรุณาธิคุณของพระมหากษัตรยาธิราชทุกพระองค์ และพระมหากรุณาธิคุณแห่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ที่ทรงเจริญรอยตามสมเด็จบูรพมหากษัตริยาธิราชแห่งมหาจักรีราชวงศ์ที่ทรงตั้งมั่นพระราชหฤทัยเกื้อหนุน เกื้อกูล เผยแผ่ และธำรงไว้ ซึ่งการสืบทอดพระพุทธศาสนาของชาติให้ดำรงอย่างมั่นคงในผืนแผ่นดินไทย ผ่านพระราชกรณียกิจด้านการศาสนาที่พระองค์ทรงปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างเรื่อยมาอันเป็นที่ประจักษ์ชัดแก่สายตาชาวไทย
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินี ทรงปฎิบัติพระราชกรณียกิจต่างๆ ด้านศาสนา เป็นภาพที่ซาบซึ้งใจของราษฎรไทยเสมอมา

ดังเช่นวันที่ 22 เม.ย. ที่ผ่านมา ภายหลังที่ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลถวายสมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราชที่พระอุโบสถ วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร ทรงพระดำเนินขึ้น-ลง พระบรมบรรพต (เจดีย์ภูเขาทอง) วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร ทางบันไดจำนวน จำนวน 688 ขั้น เพื่อทรงห่มผ้าองค์พระเจดีย์บรมบรรพต และสักการะบูชาพระบรมสารีริกธาตุ

แม้เส้นทางที่ทรงพระดำเนินทางบันไดแต่ละขั้นจะเต็มไปด้วยความลาดชันด้วยความสูงจากฐานถึงยอด 63.6 เมตร หากแต่ด้วยพระราชหฤทัยอันเปี่ยมล้นด้วยความศรัทธาในพระบวรพระพุทธศาสนา ล้นเกล้าทั้งสองพระองค์ทรงพระดำเนินขึ้นสู่ด้านบนพระเจดีย์บรมบรรพต ด้วยพระพักตร์อันสดใส


ความสำคัญของวัดศระเกศราชวรมหาวิหาร มิเพียงเป็นวัดโบราณสร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยา พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ปฏิสังขรณ์ และทรงให้ขุดคลองรอบเมืองขึ้นเท่านั้น หากแต่พระบรมบรรพตแห่งนี้ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิตติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เสด็จพระราชดำเนินไปทรงบรรจุพระบรมสารีริกธาตุในพระเจดีย์บนยอดพระบรมบรรพต เมื่อวันที่ 22 ม.ค. 2497  และเสด็จพระราชดำเนินไปทรงสักการะพระบรมสารีริกธาตุ เมื่อวันที่ 18 พ.ย. 2509

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเคยเสด็จพระราชดำเนินไปทรงสักการะพระบรมสารีริกธาตุ ณ พระบรมบรรพต เมื่อวันที่ 3 ม.ค.2509 ก่อนเสด็จพระราชดำเนินไปทรงศึกษาต่อที่สหราชอาณาจักร 


นอกจากนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีทรงประกอบพระราชกรณียกิจต่างๆ อันเป็นประโยชน์โดยตรงแก่พสกนิกร เมื่อวันที่ 30 เม.ย.2565 ที่ผ่านมา ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงปฎิบัติพระราชกรณียกิจที่จังหวัดอุบลราชธานี ทรงประกอบพิธียกฉัตรขึ้นประดิษฐานเหนือพระประธานพระวิหาร  “พระเจ้าใหญ่อินทร์แปลง” ณ วัดมหาวนาราม อ.เมือง จ.อุบลราชธานี  
“พระเจ้าใหญ่อินทร์แปลง” เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดอุบลราชธานี เป็นเวลามาช้านาน ซึ่งประดิษฐานอยู่ในพระวิหารหลังของวัดมหาวนาราม และเพื่อให้พระพุทธรูปแห่งนี้เป็นศูนย์รวมจิตใจของพุทธศาสนิกชนโดยทั่วไปจึงดำเนินจัดสร้างฉัตรขาวขลิบทอง 5 ชั้น ถวายองค์พระเจ้าใหญ่อินทร์แปลง โดยได้รับพระราชทานพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินี ประกอบพิธียกฉัตรขึ้นประดิษฐานเหนือพระประธานพระวิหาร  “พระเจ้าใหญ่อินทร์แปลง”เพื่อให้พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์เป็นศูนย์รวมทางจิตใจของชาวจังหวัดอุบลราชธานี และถวายเป็นพุทธบูชาสืบไป
นับตั้งแต่พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินมาปฎิบัติพระราชกรณียกิจที่จังหวัดอุบลราชธานี เป็นครั้งที่สอง หลังจากที่เคยเสด็จพระราชดำเนินมาทรงถวายผ้าพระกฐินต้น ณ วัดหนองป่าพง อำเภอวารินชำราบ จ.อุบลราชธานี เมื่อวันที่ 27 ต.ค. 2563 

เพื่อค้ำจุน เกื้อกูล พระพุทธศาสนาให้คงมั่นอยู่ในผืนแผ่นดินไทย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงประกอบพระราชกรณียกิจด้านการศาสนาอีกนานัปการ เช่น เสด็จพระราชดำเนินบำเพ็ญพระราชกุศลในวันสำคัญทางศาสนา อาทิ วันมาฆบูชา วันวิสาขบูชา เสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐินตามวัดต่าง ๆ ทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด
ประวัติศาสตร์ไทยดำรงอยู่ได้ ด้วยมีสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์เป็นหลักยึดเหนี่ยว ในหลวงทุกพระองค์อุปถัมภ์ค้ำจุนพระพุทธศาสนาในทุกด้าน ธำรงความเป็นไทยจนทุกวันนี้

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

โปรดเกล้าฯ องคมนตรี เชิญถุงพระราชทานช่วยน้ำท่วมแพร่

31 ส.ค.2567 - พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ นายนุรักษ์ มาประณีต องคมนตรี ร่วมกับมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เชิญถุงพระราชทานและเครื่องอุปโภคบริโภค จำนวน 1,000 ถุง ไปมอบแก่ผู้ว่าราชการจังหวัด

ในหลวงทรงห่วงใยราษฎรประสบอุทกภัยที่พะเยา-น่าน

28 ส.ค. 2567 เวลา 11.12 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ นายนุรักษ์ มาประณีต องคมนตรีร่วมกับมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เชิญถุงพระราชทานและเครื่องอุปโภคบริโภค จำนวน 997 ถุง ไป

'ในหลวง' พระราชทานพระราชดำรัส งานมหกรรมกองทุนแม่ของแผ่นดิน 2567

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเป็นประธานในงานมหกรรมกองทุนแม่ของแผ่นดิน ประจำปี 2567 ภายใต้แนวคิด “2 ทศวรรษ กองทุนแม่ของแผ่นดิน

โปรดเกล้าฯ ประธานองคมนตรี ปล่อยโค นก ปลา วันเฉลิมพระชนมพรรษา 'พระพันปีหลวง'

โปรดเกล้าฯ ให้ พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ ประธานองคมนตรี เป็นผู้แทนพระองค์ ไปในการบำเพ็ญพระราชกุศลปล่อยโค นก และปลา

ในหลวงพระราชทานสิ่งของมอบแก่ผู้ป่วยศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู สวางคนิวาส

7 ส.ค. 2567 - เวลา 10.10 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ ท่านผู้หญิงอินทิรา พลธร เชิญสิ่งของ และเครื่องอุปโภคบริโภค อาทิ ข้าวสาร นมกล่อง

“ในหลวง” พระราชทานพระบรมราชานุญาต ให้ “มหาดไทย” จัดทำเหรียญพระราชทานเพื่อมอบให้ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ทั่วประเทศ

นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้ขอรับพระราชทานพระบรมราชานุญาตเชิญพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและตราสัญลักษณ์งานเฉลิมพระเกียรติฯ