พอช.ช่วยเหลือครอบครัวผู้ติดเชื้อโควิดชุมชนริมคลองลาดพร้าว 51 ราย

รักษาการผู้อำนวยการ พอช. (ที่ 3 จากซ้าย) มอบถุงกำลังใจให้แก่ชาวชุมชนริมคลองพัฒนา  เขตสายไหม

คลองลาดพร้าว / สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนฯ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ลงพื้นที่ชุมชนริมคลองลาดพร้าว  มอบสิ่งของช่วยเหลือเบื้องต้นให้แก่ครอบครัวผู้ติดเชื้อโควิด 51 ราย  เผยเชื้อแพร่กระจายมาจากเด็กนักเรียนที่ติดโควิดมาจากโรงเรียนก่อนจะแพร่ไปในชุมชนอย่างรวดเร็ว  ขณะที่ศูนย์บริการสาธารณสุข 21 เขตสายไหมรุดตรวจ ATK ในชุมชน  คัดแยกผู้ป่วย  และดูแลรักษาในชุมชน

กรณีชาวบ้านสหกรณ์เคหสถานริมคลองพัฒนาจำกัด  ซอยสายไหม 46 กรุงเทพฯ  ซึ่งเป็นชุมชนที่ตั้งอยู่ริมคลองลาดพร้าว  มีทั้งหมด 112  หลังคาเรือน  สมาชิกในชุมชนประมาณ 350  คน  ในจำนวนนี้ตรวจพบว่าติดเชื้อโควิด-19 จำนวน 43 คน  ทำให้หน่วยงานต่างๆ  ที่เกี่ยวข้องเร่งเข้าไปให้ความช่วยเหลือแก่ชาวชุมชน

นายปฏิภาณ (กลาง)  สอบถามข้อมูลจากผู้นำชุมชน

โดยวันนี้ (3 มีนาคม) นายปฏิภาณ จุมผา  รองผู้อำนวยการ  รักษาการผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) และเจ้าหน้าที่ พอช. ลงพื้นที่เพื่อเยี่ยมเยียนให้กำลังใจ  และสอบถามปัญหาชาวชุมชนที่ได้รับผลกระทบเพื่อนำไปเป็นแนวทางช่วยเหลือในระยะต่อไป   โดยในเบื้องต้นนายปฏิภาณได้มอบถุงกำลังใจสู้ภัยโควิด-19  จำนวน 50 ถุง ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากบริษัทน้ำตาลมิตรผล จำกัด   และจะประสานงานกับร่วมทีมสายไหมต้องรอดซึ่งเป็นกลุ่มจิตอาสาในพื้นที่  รวมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เพื่อให้ความช่วยเหลือพี่น้องชาวชุมชนต่อไป

นางปิยมาศ เรืองกิจ  ประธานชุมชน

นางปิยมาศ เรืองกิจ  ประธานชุมชนบอกว่า สาเหตุที่เชื้อโควิดแพร่กระจายในชุมชน  มาจากเด็กนักเรียนติดเชื้อโควิดมาจากโรงเรียนโดยไม่รู้ตัว  เพราะเชื้อยังไม่แสดงอาการ  หลังจากนั้นได้ใช้ชีวิตปกติในชุมชน   และเล่นกับเพื่อนๆ ในชุมชน จึงทำให้เชื้อแพร่กระจายไปในชุมชนอย่างรวดเร็ว

“วันนี้เราได้ประสานงานไปยังศูนย์บริการสาธารณสุข 21 เขตสายไหม  เพื่อให้เข้ามาตรวจ ATK  ในชุมชน  ทำให้พบผู้ติดเชื้อเพิ่มอีก  8 คน จากเดิม 43  คน  รวมเป็น 51 คน  เป็นเด็ก 16 คน และผู้ใหญ่ 35 คน  ส่วนใหญ่ไม่แสดงอาการ  เชื้อจึงแพร่กระจายไปรวดเร็ว  ส่วนคนที่ติดเชื้อเมื่อเจ้าหน้าที่ตรวจพบแล้วก็จะคัดแยกผู้ป่วย  และให้การดูแลอยู่ในชุมชน  เพื่อไม่ให้เชื้อแพร่กระจายออกไปอีก”  ประธานชุมชนบอก 

เจ้าหน้าที่จากศูนย์บริการสาธารณสุข 21 เขตสายไหม  เข้ามาตรวจ ATK ชาวชุมชน

ประธานชุมชนบอกด้วยว่า  ขณะนี้ทางชุมชนต้องการความช่วยเหลือเร่งด่วน  คือต้องการชุดตรวจ ATK เพราะหลังจากนี้ชุมชนจะต้องตรวจคัดกรองสมาชิกในชุมชนอีกครั้ง   รวมทั้งยารักษาสำหรับผู้ติดเชื้อ  และคำแนะนำในการรักษาตัวที่บ้านแบบ Home Isolation เพื่อป้องกันและควบคุมเชื้อโควิดในชุมชนไม่ให้แพร่กระจาย  และขอขอบคุณกระทรวง พม. พอช. และหน่วยงานต่างๆ ที่เข้ามาช่วยเหลือชาวชุมชน

ทีมสายไหมต้องรอดจิตอาสาในพื้นที่ร่วมช่วยเหลือชาวชุมชน

ทั้งนี้ชุมชนสหกรณ์เคหสถานริมคลองพัฒนา  จำกัด  ซอยสายไหม 46  เป็นชุมชนที่ตั้งอยู่ริมคลองลาดพร้าว  เขตสายไหม  เข้าร่วมโครงการบ้านมั่นคงกับสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนฯ  โดยรื้อย้ายบ้านเรือนที่รุกล้ำคลองเพื่อให้กรุงเทพมหานครดำเนินการก่อสร้างเขื่อนคอนกรีตระบายน้ำ  ป้องกันน้ำท่วม  และก่อสร้างบ้านใหม่ในที่ดินแปลงใหม่ (เนื่องจากพื้นที่ริมคลองเดิมมีความคับแคบ)  จำนวน 112 หลังคาเรือน  โดยสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนฯ สนับสนุนงบประมาณบางส่วน  และสนับสนุนสินเชื่อระยะยาว 

สภาพชุมชนใหม่ริมคลองลาดพร้าว (หลัง ม.ราชภัฏจันทรเกษม)  เขตจตุจักร

ส่วนความคืบหน้าการพัฒนาที่อยู่อาศัยชุมชนริมคลองลาดพร้าว  ซึ่งดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2559  เพื่อให้ชาวชุมชนมีที่อยู่อาศัยใหม่ที่มั่นคง  มีสภาพแวดล้อมที่ดีและอยู่อาศัยอย่างถูกกฎหมาย   รวม 50 ชุมชน  จำนวน 7,069 ครัวเรือน ขณะนี้ก่อสร้างบ้านแล้วเสร็จจำนวน  3,536 ครัวเรือน  ใน 35 ชุมชน 

ส่วนการพัฒนาที่อยู่อาศัยชุมชนริมคลองเปรมประชากร  ซึ่งรัฐบาลดำเนินการเช่นเดียวกับคลองลาดพร้าว  เพื่อก่อสร้างเขื่อนคอนกรีตป้องกันน้ำท่วม  และเพื่อให้ประชาชนมีที่อยู่อาศัยที่มั่นคง  ขณะนี้ดำเนินการไปแล้ว  7 ชุมชน  จำนวน 779 ครัวเรือน   จากกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด  38 ชุมชน  รวม 6,386 ครัวเรือน

ชุมชนประชาร่วมใจ 2 เขตจตุจักร

 

เรื่อง สำนักพัฒนานวัตกรรมชุมชนจัดการความรู้และสื่อสาร

ภาพ  สำนักพัฒนาที่อยู่อาศัยชุมชนริมคลอง  สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน)

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ผู้นำแปซิฟิกเยือนชุมชนประชาร่วมใจ เรียนรู้โมเดลบ้านมั่นคงไทย สู่เวทีนานาชาติ

ผู้แทนระดับรัฐมนตรีจาก 7 ประเทศหมู่เกาะแปซิฟิก ร่วมลงพื้นที่แลกเปลี่ยนประสบการณ์กับชุมชนริมคลองในกรุงเทพฯ พร้อมถอดบทเรียนจากโครงการบ้านมั่นคงของไทย เป็นต้นแบบการพัฒนาที่อยู่อาศัยเพื่อผู้มีรายได้น้อยในระดับภูมิภาคแปซิฟิก

UN-Habitat เยือนพื้นที่บ้านมั่นคงรามคำแหง 39 ต้นแบบพัฒนา “ทั้งย่าน” สู่สิทธิการอยู่อาศัยที่ยั่งยืน

กรุงเทพฯ-23 พฤษภาคม 2568 นางอนาคลาวเดีย โรสบาค (Ms. Anacláudia Rossbach) รองเลขาธิการสหประชาชาติ และผู้อำนวยการบริหารโครงการตั้งถิ่นฐานมนุษย์แห่งสหประชาชาติ

จากชุมชนถึงจังหวัด! พอช.เสริมพลังผู้นำภาคเหนือ สู่ 'จังหวัดจัดการตนเอง'" เปิดเวทีพัฒนาศักยภาพผู้นำชุมชน 9 จังหวัด เน้นกระจายอำนาจ สร้างฐานพลังพลเมือง หนุนท้องถิ่นเข้มแข็ง

วันที่ 23 เมษายน 2568 สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) หรือ พอช. เปิดเวทีสัมมนาเชิงปฏิบัติการ “พัฒนาผู้นำการเปลี่ยนแปลงสู่จังหวัดจัดการตนเอง” ครั้งที่ 1

"UN-Habitat" ชื่นชมไทย ขับเคลื่อนที่อยู่อาศัยเพื่อทุกคน – ดันเป็นเจ้าภาพ Habitat IV ปี 2026

รมว.พม. ต้อนรับรองเลขาฯ UN-Habitat ร่วมถกความร่วมมือระดับภูมิภาค พร้อมเปิดทางสู่การประชุมนานาชาติด้านเมืองและที่อยู่อาศัยในอนาคต

"วราวุธ" ผนึก พม.-ทส. เดินหน้า “กระเสียวโมเดล” แก้ปัญหาน้ำขาดแคลน หนุนเกษตรแปลงใหญ่ พัฒนานิคมสร้างตนเอง

วันที่ 21 เมษายน 2568 นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (รมว.พม.) เปิดโครงการกระเสียวโมเดล :

“เร่งฟื้นฟูชุมชนโรงธูป! ราชบุรี พอช. ผนึกภาคีท้องถิ่นช่วยผู้ประสบภัยไฟไหม้ วางแผนฟื้นฟูที่อยู่อาศัยทั้งระยะสั้น-ระยะยาว”

สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน(องค์การมหาชน) หรือ พอช. ผนึกกำลังภาคีท้องถิ่น-ชุมชน ร่วมวางแนวทางแก้ปัญหาที่อยู่อาศัย หลังเกิดเหตุเพลิงไหม้บ้านเรือน 17