พอช.-ภาคีเครือข่ายจัดเวทีสัมมนาระดมความเห็น ขับเคลื่อน ‘ร่างระเบียบสำนักนายกฯ’ เป้าหมายสร้างชุมชนเข้มแข็ง

เวทีสัมมนาที่สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนฯ  ประชุมผ่านระบบ Zoom ตามมาตรการป้องกันโควิด -19

พอช.และภาคีเครือข่าย  จัดสัมมนาระดมความคิดเห็นเพื่อขับเคลื่อน (ร่าง) ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการสร้างเสริมชุมชนเข้มแข็ง พ..มีเป้าหมายเพื่อสร้างชุมชนเข้มแข็ง  โดยที่ประชุมจะนำร่างไปปรับปรุงให้แล้วเสร็จภายในเดือนมีนาคมนี้  หลังจากนั้นในเดือนพฤษภาคมจะจัดเวทีเพื่อนำเสนอร่างระเบียบฯ  ก่อนจะนำไปขับเคลื่อนต่อไป

ตามที่รัฐบาลมีแผนการปฏิรูปประเทศด้านสังคม  เพื่อสร้างความสงบสุข  เป็นธรรม  ลดความเหลื่อมล้ำในด้านต่างๆ  จึงจำเป็นจะต้องมีการบรูณาการให้เกิดการปฏิรูปในระดับชุมชนฐานราก  โดยส่งเสริมและสนับสนุนให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการพัฒนา  อนุรักษ์  ฟื้นฟู  จัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  ลดความยากจนและขจัดความยากจน  โดยร่วมมือกับภาคส่วนต่างๆ จึงจำเป็นต้องมีกลไกในการขับเคลื่อนไปสู่เป้าหมาย 

ล่าสุดวันนี้ (25 กุมภาพันธ์)  ระหว่างเวลา 9.00-15.00 น.  คณะอนุกรรมการปฏิรูปกฎหมายเพื่อลดความเหลื่อมล้ำและการแก้ไขปัญหาสังคมตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี  ว่าด้วยการขับเคลื่อนการปฏิรูปกฎหมายในระยะเร่งด่วน พ.ศ. 2563 และสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) หรือ พอช.  จัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการ  เรื่องการขับเคลื่อน (ร่าง) ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการสร้างเสริมชุมชนเข้มแข็ง พ.. ....”  เพื่อระดมความคิดเห็นในการร่างระเบียบและแนวทางในการขับเคลื่อน 

โดยมีนักวิชาการ  คณะอนุกรรมการปฏิรูปกฎหมาย  ภาคประชาสังคม  ผู้แทนองค์กรชุมชน  ผู้นำท้องถิ่น  ผู้บริหาร พอช. ฯลฯ  เข้าร่วมประชุมที่ พอช.  และประชุมผ่านระบบ Zoom  ประมาณ 50 คน

ส่วนหนึ่งของผู้เข้าร่วมประชุมผ่านระบบ Zoom

นายปฏิภาณ จุมผา รองผู้อำนวยการ  รักษาการแทนผู้อำนวยการ พอช. กล่าวว่า   ร่างระเบียบที่กำลังดำเนิน การนี้เป็นหน้าประวัติศาสตร์สำคัญของประชาชนที่คิดค้นขึ้นมา ที่เริ่มจากความทุกข์ของคนข้างล่าง และเป็นระเบียบจากรากฐาน ที่จะเป็นอนาคตของประเทศไทย

ระเบียบฉบับนี้คืออนาคต  เป็นทั้งทิศทาง  ยุทธศาสตร์  มีเป้าหมายสำคัญ  มีนัยยะทางอำนาจของชุมชนท้องถิ่น หากนำมาสู่การปฏิบัติจะทำให้พี่น้องข้างล่างได้ใช้เป็นเครื่องมือในการปรึกษาหารือกัน  และกำหนดอนาคตและวิถีชีวิตของคนในชุมชน  เกิดระบบและโครงสร้างอำนาจ  เป็นภูมิคุ้มกันของชุมชนท้องถิ่นต่อไป รักษาการ ผอ.พอช. กล่าวเปิดประเด็นการสัมมนา

นายปฏิภาณ จุมผา  รักษาการ ผอ.พอช.

รศ.ดร.บรรเจิด สิงคะเนติ  ประธานอนุกรรมการปฏิรูปกฎหมายเพื่อลดความเหลื่อมล้ำและการแก้ไขปัญหาสังคม  ในฐานะประธานการจัดสัมมนา  กล่าวว่า  ระเบียบดังกล่าวฯ เป็นการริเริ่มจากคณะอนุกรรมการดำเนินการปฏิรูปเร่งด่วน  แต่เนื่องจากองคาพยพในการปฏิรูปรัฐธรรมนูญไม่ได้ขับเคลื่อน  จึงมีการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการชุดดังกล่าวขึ้น มา  เพื่อให้เรื่องเร่งด่วนและสำคัญนั้นดำเนินการได้

รศ.ดร.บรรเจิด  สิงคะเนติ  

นางสาวสมสุข  บุญญะบัญชา  อนุกรรมการปฏิรูปกฎหมายเพื่อลดความเหลื่อมล้ำและการแก้ไขปัญหาสังคม  เสนอความเห็นตอนหนึ่งมีใจความว่า  ประชาธิปไตยที่แท้จริง  คือ  การร่วมแลกเปลี่ยน  ร่วมคิด ร่วมทำ  เป็นการผสม ผสานวัฒนธรรม  ความเป็นจริง และการเอื้ออำนวย  ที่ไม่ไปขัดแย้งกับใคร  ผ่านกลไกกลางหรือเวทีกลาง  ระเบียบดังกล่าวเอื้ออำนวยให้วัฒนธรรม  โครงสร้างที่มีอยู่แล้วในท้องถิ่น  เป็นระบบที่ได้รับการยอมรับของหน่วยงาน  ของท้องถิ่น ที่จะร่วมกันขับเคลื่อนต่อ  และทำอย่างต่อเนื่อง  เพื่อเป็นพื้นที่กลางให้ทุกหน่วย  ทุกองคาพยพ  ร่วมคิด  ร่วมทำ  ร่วมวางแผน  ถือว่าเป็นสิ่งที่เราปฏิรูปอย่างมโหฬาร

นางสาวสมสุข  บุญญะบัญชา

ดังนั้นการทำระเบียบดังกล่าว  มีความสำคัญว่า  อันไหนที่เป็นวัฒนธรรมเชิงโครงสร้าง  ที่มีความใหญ่โต รวมถึงผู้คนที่เกี่ยวข้องอาจจะมีภารกิจมาก ไม่สามารถร่วมได้  หรือคิดถึงกลไกระดับตำบล ในระเบียบนี้อาจจะหมายถึง ประชาคมท้องถิ่นหรือ สมัชชาตำบล’  ชุมชนจะเข้มแข็งจะต้องมีการเชื่อมโยงกัน  ชุมชนเข้มแข็ง  เมื่อท้องถิ่นเข้มแข็ง ชุมชนไม่ได้อยู่อย่างโดดเดี่ยว  ต้องเชื่อมโยงอย่างเป็นระบบ  มีความร่วมมือกันอย่างเข้มแข็ง  นางสาวสมสุขกล่าว  และว่า  ระเบียบดังกล่าวคงจะเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติและสังคมได้ต่อไป

นายแก้ว   สังข์ชู    ผู้นำขบวนองค์กรชุมชนจากภาคใต้  กล่าวว่า  ถ้าระเบียบดังกล่าวเดินได้  ทุกชุมชนใช้เป็นเครื่องมือในการแก้ไขปัญหาและสร้างโครงสร้างของเขาได้จะเกิดประโยชน์สูงสุด  เป็นการสร้างระบบ  วิถีวัฒนธรรม  สังคม   สร้างระบบการตัดสินใจในทุกๆ  เรื่อง  ในคุณภาพชีวิตของเขา   เชื่อมั่นว่าระเบียบดังกล่าวเป็นเครื่องมือรองรับการตัดสินใจของกลุ่มคนที่มีความเดือดร้อน  มีผลกระทบ  หรือพัฒนาไปสู่อนาคตข้างหน้าได้อย่างเป็นระบบ  และต้องขึ้นอยู่กับบริบทของแต่ละพื้นที่ที่จะนำมาสู่การแก้ไขปัญหาได้อย่างยั่งยืน  เป็นการสร้างความเสมอภาคทางสังคม  ทุกคนร่วมตัดสินใจ  รับรู้  และร่วมสร้างไปด้วยกัน

นายแพทย์ชูชัย  ศุภวงศ์   อนุกรรมการปฏิรูปกฎหมาย  กล่าวว่า  การร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีดังกล่าว  เป็นการเปิดพื้นที่ระดับตำบล  ระดับฐานรากของประเทศ  ที่ให้ทุกภาคส่วนได้มาร่วมกำหนดทิศทางของเขา  ตามมาตรา 3 ของรัฐธรรมนูญที่ว่า “อำนาจเป็นของปวงชนชาวไทย”  ซึ่งหมายถึงทุกคนสามารถดำเนินการคิดและออกแบบได้  รวมถึงคนในพื้นที่มีองค์ประกอบทั้งของหน่วยงานและเจ้าของพื้นที่อย่างหลากหลาย  สามารถที่จะร่วมดำเนินการได้

ชุมชนท้องถิ่นที่มีความเข้มแข็งสามารถแก้ไขปัญหาของตัวเองได้  เช่น ชาวบ้านที่ตำบลศรีถ้อย อ.แม่ใจ จ.พะเยา  ร่วมกับเจ้าหน้าที่ป่าไม้สร้างฝายชะลอน้ำ  แก้ไขปัญหาขาดแคลนน้ำ  ป้องกันน้ำท่วม

นอกจากนี้ยังมีผู้อภิปรายเสนอความคิดเห็นอีกหลายคน  โดยมีข้อเสนอร่วมจากเวทีสัมมนา  เช่น   1.เสนอให้มีคณะทำงานมาช่วยออกแบบกระบวนการขับเคลื่อนร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีทั้งระบบ   2.การพัฒนา(ร่าง) ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการสร้างเสริมชุมชนเข้มแข็ง พ.ศ. .... โดยดูเนื้อหาจากร่างเดิมและนำมาปรับให้เหมาะสม  มีการจัดเวทีเพื่อพัฒนาร่างระเบียบ  โดยใช้กระบวนการสมัชชามารับฟัง  หาข้อยุติ  หาความเห็นร่วมกัน  รวมทั้งการจัดเวทีในพื้นที่   เสนอให้ พอช. มีหน้าที่เป็นกองเลขา  สนับสนุนการขับเคลื่อนร่างและการจัดเวทีต่างๆ

และ 3.การจัดทำข้อมูล และศึกษารูปธรรม พัฒนาโมเดล เพื่อสร้างวาระทางสังคมร่วมกัน  โดยการจัดทำข้อมูล/พื้นที่รูปธรรม   มีกระบวนการสื่อสารและกระบวนการเรียนรู้ของภาคประชาชน   เพื่อให้ชุมชนและสังคมร่วมเรียนรู้  นำพื้นที่รูปธรรมชุมชนที่มีความเข้มแข็งมานำเสนอ  เพื่อพัฒนาเป็นโมเดลและนำไปขยายผล ฯลฯ

การแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนเรื่องที่อยู่อาศัยโดยชุมชน  มีหน่วยงานภายนอก  เช่น พอช.ให้การสนับสนุน

รศ.ดร.บรรเจิด  สิงคะเนติ  ประธานอนุกรรมการปฏิรูปกฎหมายเพื่อลดความเหลื่อมล้ำฯ  กล่าวสรุปในตอนท้ายว่า  วันนี้เปรียบเสมือนได้มาสรุปกระบวนการของภาคประชาสังคมตั้งแต่ปี 2527  จนถึงวันนี้เป็นเวลาเกือบ 40 ปี เป็นการมาหาแพลตฟอร์มพื้นฐานให้ฐานรากเข้มแข็ง  การสร้างนวัตกรรมเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงไม่ใช่เรื่องง่าย  ต้องใช้สรรพกำลังจากพวกเราเพื่อออกแบบและขับเคลื่อนให้เกิดความเข้มแข็ง 

ทั้งนี้ที่ประชุมเห็นพ้องกันว่า จะนำความคิดเห็นจากเวทีสัมมนาในวันนี้ไปเป็นแนวทางในการปรับปรุงร่างระเบียบสำนักนายกฯ  ให้แล้วเสร็จภายในเดือนมีนาคมนี้  หลังจากนั้นในเดือนพฤษภาคมจะจัดเวทีเพื่อนำเสนอร่างระเบียบฯ  ก่อนจะนำไปขับเคลื่อนต่อไป

สำหรับ ‘(ร่าง) ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการสร้างเสริมชุมชนเข้มแข็ง พ.. .…   มีสาระสำคัญเบื้องต้น  เช่น  กำหนดให้มีคณะกรรมการเสริมสร้างความเข้มแข็งชุมชนแห่งชาติ (กชช.) มีนายกรัฐมนตรี  หรือรองนายกฯ ที่ได้รับมอบหมายเป็นประธาน  มีคณะกรรมการประกอบด้วยผู้แทนกระทรวงต่างๆ  และผู้แทนจากสมัชชาตำบลหรือเขต  โดยมีสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนเป็นสำนักงานเลขานุการ กชช. ทำหน้าที่สนับสนุนการทำงาน  และมี รมว.กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เป็นผู้รักษาการตามระเบียบนี้ ฯลฯ

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

สุราษฎร์ธานี จัดงานวันที่อยู่อาศัยโลกปี67 ย้ำชุมชนต้องเป็นแกนหลักในการแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยคนจน

UN – HABITAT หรือ ‘โครงการตั้งถิ่นฐานมนุษย์แห่งสหประชาชาติ’ กำหนดให้วันจันทร์แรกของเดือนตุลาคมทุกปีเป็น ‘วันที่อยู่อาศัยโลก’ หรือ ‘World Habitat Day’

รวมพลังคนจนแก้ปัญหาที่ดิน-ที่อยู่อาศัยทั่วประเทศ วันที่อยู่อาศัยโลก ปี 2567

ปัญหาการขาดแคลนที่อยู่อาศัยหรือมีที่อยู่อาศัยไม่เหมาะสมเป็นปัญหาที่สำคัญของผู้คนทั่วโลก UN-Habitat หรือ ‘โครงการตั้งถิ่นฐานมนุษย์แห่งสหประชาชาติ’

‘21 ปีบ้านมั่นคง’ พอช. แก้ปัญหาที่อยู่อาศัยคนจนทั่วประเทศ กว่า 3 แสนครัวเรือน

รัฐบาลได้มีนโยบายที่จะแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยของผู้มีรายได้น้อย และสร้างความมั่นคงในการอยู่อาศัยแก่คนจนในเมืองที่ ยังไม่มีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง โดยเฉพาะกลุ่มผู้อยู่อาศัยในชุมชนแออัด

เสียงจากคลองเปรมประชากร…บ้านหลังใหม่ชีวิตใหม่ “คืนสายน้ำให้คนคลอง คืนสายคลองให้คนเมือง”

คลองเปรมประชากร มีประวัติศาสตร์อันยาวนานและมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาชุมชนและเศรษฐกิจของกรุงเทพมหานคร ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา คลองนี้ได้ประสบปัญหามากมาย

บอร์ด พอช. มีมติ พักชำระหนี้องค์กรผู้ใช้สินเชื่อในพื้นที่ประสบอุทกภัยทั่วประเทศ

สถานการณ์การเกิดอุทกภัยจากอิทธิพลของพายุยางิ ในระหว่างวันที่ 7 - 8 กันยายน 2567 ส่งผลกระทบต่อประชาชนในจังหวัดเชียงราย จำนวน 7 อำเภอ

รมว.พม. แจ้งตั้งศูนย์พักพิงชั่วคราว 34 แห่ง ใน 13 จว. ช่วยกลุ่มเปราะบาง-ผู้ประสบภัยน้ำท่วมริมแม่น้ำโขง ด้าน พอช. พร้อมอนุมัติงบช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบภัยพิบัติภาคเหนือและอีสาน

จากสถานการณ์น้ำท่วมในหลายพื้นที่ภาคเหนือ ส่งผลกระทบในพื้นที่ 8 จังหวัด 47 อำเภอ 207 ตำบล 22,817 ครัวเรือน โดยเฉพาะในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา