โรคซึมเศร้า โรคจิตเวช โรคฮิตจากวิกฤติโควิด-19 ประกันสังคมพร้อมคุ้มครอง ดูแล หากมีอาการสุ่มเสี่ยงเช็คสิทธิรักษาฟรี ได้เลย!!

นอกจากสิทธิพื้นฐานที่ผู้ประกันตนควรได้รับ ทั้งการเจ็บป่วย คลอดบุตร ทุพพลภาพ เสียชีวิต ชราภาพ ว่างงาน ที่เป็นลูกจ้างหรือพนักงานที่มีอายุตั้งแต่ 15 ปี และไม่เกิน 60 ปี ที่ทำงานควรจะได้รับแล้ว

หากผู้ประกันตนสำรวจตัวเองและคนใกล้ชิด "โรคซึมเศร้า" พิษวิกฤติโควิด "ประกันสังคม" แนะใช้สิทธิดูแลรักษาฟรี จากรายงานของกรมสุขภาพจิตในปี 2564 ที่ผ่านมาพบว่าโควิด - 19 กลายเป็นเงื่อนไขสำคัญที่ทำให้คนไทยมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคซึมเศร้ามากขึ้นว่าแต่โรคซึมเศร้าคืออะไรกันล่ะ?

โรคซึมเศร้าคือความผิดปกติของการหลั่งสารเคมีในสมองจนส่งผลให้เกิดความผิดปกติทางอารมณ์ นั่นเลยเป็นสาเหตุว่าทำไมผู้ป่วยที่เป็นโรคซึมเศร้าจึงมักจะอาการเศร้าหมอง หดหู่ มองโลกในแง่ลบ และมักจะรู้สึกเบื่อหน่ายอยู่เสมอ โดยที่ปัจจุบันมีคนไทยที่ป่วยเป็นโรคซึมเศร้ามากถึง 1.5 ล้านคนทีเดียว ไม่แปลกถ้าคุณจะพบว่า มีคนใกล้ตัวป่วยเป็นโรคซึมเศร้า แต่อย่าเพิ่งเป็นกังวลไปจนเกินไป เพราะโรคซึมเศร้าเป็นโรคที่สามารถรักษาให้หาย โดยที่ผู้ป่วยเองก็มีโอกาสจะกลับมาใช้ชีวิตอย่างมีความสุขได้อีกครั้งหนึ่ง

อาการแบบไหนควรตรวจ "โรคซึมเศร้า"

1.ท้อแท้สินหวัง หงุดหงิดง่าย

2.ขาดความกระตือรือร้น

3.เบื่ออาหาร/อยากอาหารมากขึ้น

4.นอนมาก /น้อยกว่าปกติ

5.เหนื่อย อ่อนเพลีย ไม่มีเรี่ยวแรง

6.รู้สึกไร้ค่าโทษตัวเอง

7.สมาธิและการตัดสินใจลดน้อยลง

สำนักงานประกันสังคม ให้ความคุ้มครองในการรักษาโรคซึมเศร้า ไปจนถึงโรคจิตเวชทุกประเภทหากพบว่ามีอาการสุ่มเสี่ยงจะเป็นโรคซึมเศร้า เราแนะนำให้ไปปรึกษาแพทย์ทันที โดยที่คุณสามารถรับสิทธิการดูแลรักษาได้ฟรีที่ โรงพยาบาลตามสิทธิ

ทั้งนี้ หากสถานพยาบาลตามสิทธิไม่สามารถรักษาได้ก็จะส่งตัวไปรักษาที่สถานพยาบาลที่มีศักยภาพในการให้บริการทางการแพทย์แก่ผู้ประกันตนตรวจสอบโรงพยาบาลตามสิทธิของคุณได้

โดยลงทะเบียนผ่านไลน์ 👉 https://bit.ly/linessothai หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม เกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ทุกกรณีได้ที่ สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน หรือเพียงแค่คลิกสิทธิประโยชน์ก็อยู่ในมือคุณ

o LINE OFFICIAL ACCOUT: @ssothai

o สายด่วน 1506 บริการตลอด 24 ชั่วโมง

o เว็บไซต์: www.sso.go.th

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'พิพัฒน์' รมว.แรงงาน ห่วงทายาทพนักงานกวาดถนนเทศบาลนครอ้อมน้อย ประสบเหตุถูกรถกระบะชนเสียชีวิต 2 ราย มอบประกันสังคม จ่ายเงินทดแทนกรณีตายในงาน

นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน และนายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน มีความห่วงใยและแสดงความเสียใจกับครอบครัวผู้เสียชีวิต พร้อมมอบหมายให้ นางมารศรี ใจรังษี ผู้ตรวจราชการกระทรวงแรงงาน รักษาราชการแทนเลขาธิการสำนักงานประกันสังคม เร่งดำเนินการจ่ายประโยชน์ทดแทนกรณีประสบอันตรายเนื่องจากการทำงานให้แก่ทายาทผู้มีสิทธิ

เริ่มแล้ว 1 พ.ย. 2567 นี้ ! ! ! โครงการสินเชื่อที่อยู่อาศัยเพื่อผู้ประกันตน ขอรับหนังสือรับรองการเป็นผู้ประกันตน ผ่าน Application SSO Plus

นางมารศรี ใจรังษี ผู้ตรวจราชการกระทรวงแรงงาน รักษาราชการแทนเลขาธิการสำนักงานประกันสังคม เปิดเผยว่า ตามที่รัฐบาลและกระทรวงแรงงาน มีนโยบายให้ความสำคัญกับการเสริมสร้างหลักประกันความมั่นคงให้แก่ผู้ใช้แรงงาน

สปส. ย้ำขอความร่วมมือ นายจ้าง “แจ้งเข้า-แจ้งออก” ให้ลูกจ้างตามเวลาที่กฎหมายกำหนด ผ่านระบบ e-Service ของสำนักงานประกันสังคม

นางมารศรี ใจรังษี ผู้ตรวจราชการกระทรวงแรงงาน รักษาราชการแทนเลขาธิการสำนักงานประกันสังคม กล่าวว่า ตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 ได้กำหนดให้นายจ้างซึ่งมีลูกจ้างทำงานในสถานประกอบการตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป

ให้ไว!! ‘พิพัฒน์’ ชวนแรงงานอยากมีบ้าน ขอสินเชื่อที่อยู่อาศัยเพื่อผู้ประกันตน วงเงินไม่เกินคนละ 2 ล้านบาท ดอกเบี้ยต่ำ เข้า App SSO Plus ขอสินเชื่อ เริ่ม 1 พ.ย.นี้

วันที่ 29 ตุลาคม 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยถึงข่าวดีสำหรับพี่น้องแรงงานที่เป็นผู้ประกันตนในระบบประกันสังคมทั้งมาตรา 33 มาตรา 39 และมาตรา 40 ที่ต้องการมีบ้านเป็นของตนเอง หรือเพื่อปลูกสร้างที่อยู่อาศัย

“บุญสงค์”ปลัดแรงงาน เข้ารับตำแหน่งวันแรก แถลงมุ่งผลักดันนโยบาย ปี 68 สร้างความเชื่อมั่น ยอมรับ ไว้วางใจ สนับสนุนความเป็นธรรมแก่คนทำงานทุกภาคส่วน

วันที่ 1 ตุลาคม 2567 เวลา 14.00 น. นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวแถลงนโยบายกระทรวงแรงงานและแนวทางการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ต่อสื่อมวลชน ณ ห้องแถลงข่าว ชั้น 5 อาคารกระทรวงแรงงาน ว่า กระทรวงแรงงาน

เช็กสิทธิกรณีว่างงาน กรณีไหนบ้างได้รับเงินทดแทน หากผู้ประกันตนถูกเลิกจ้าง ลาออกหรือสิ้นสุดสัญญา

ผู้ประกันตนตามมาตรา 33 เป็นลูกจ้างที่ได้รับสิทธิประโยชน์ความคุ้มครอง 7 กรณี โดยเฉพาะในกรณีผู้ประกันตนที่ถูกเลิกจ้าง ลาออกหรือสิ้นสุดสัญญา สำนักงานประกันสังคมจะยังคงคุ้มครองผู้ประกันตนให้ได้รับสิทธิประโยชน์ต่อเนื่องเป็นเงินทดแทนการขาดรายได้กรณีว่างงาน