กรมการพัฒนาชุมชน ชวน ตะลุยกินอาหารถิ่นหากินยาก “OTOP อร่อยดี วิถีใหม่ สู้ภัยโควิด-19” ขนทัพความอร่อยมาให้เลือกชิม เลือกฟินกัน มากกว่า 250ร้าน ในรูปแบบวิถีใหม่ New Normal

กรมการพัฒนาชุมชน ชวน ตะลุยกินอาหารถิ่นหากินยาก “OTOP อร่อยดี วิถีใหม่ สู้ภัยโควิด-19” ขนทัพความอร่อยมาให้เลือกชิม เลือกฟินกัน มากกว่า 250ร้าน ในรูปแบบวิถีใหม่  New Normal สามารถเลือกซื้อสินค้าได้ทั้งออนไซต์  5 ครั้ง และผ่าน 6 แพลตฟอร์มออนไลน์เดลิเวอรี่ ตั้งแต่เดือนมกราคมจนถึงกุมภาพันธ์

นายสมคิด จันทมฤก อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน ได้เปิดเผยว่า ตามที่รัฐบาลมีนโยบายในการลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม โดยการส่งเสริมให้ประชาชนมีอาชีพมีงานทำและสร้างรายได้ โดยการสนับสนุนโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ สนับสนุนให้ชุมชนได้มีโอกาสเข้าถึงองค์ความรู้สมัยใหม่แหล่งเงินทุน รวมทั้งพัฒนาขีดความสามารถในการบริหารจัดการ และการตลาดเพื่อเชื่อมโยงสินค้า จากชุมชนสู่ตลาดทั้งในประเทศ และต่างประเทศ โดยมุ่งหวังให้ผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP มีรายได้เพิ่มขึ้นจากการจำหน่ายสินค้า ประกอบกับกระทรวงมหาดไทยมีนโยบายในการที่จะพัฒนาผลิตภัณฑ์ OTOP ให้มีคุณภาพ และมีตลาดจำหน่าย จึงมีความจำเป็นที่จะต้องพัฒนาตัวผลิตภัณฑ์ และจัดหาช่องทางการตลาดเพื่อสร้างโอกาสทางการผลิตและการตลาดให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงด้านเศรษฐกิจในปัจจุบัน กรมการพัฒนาชุมชน จึงได้ดำเนินโครงการ OTOP  อร่อยดี วิถีใหม่ สู้ภัยโควิด - 19 ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อบรรเทาผลกระทบของผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP จากวิกฤติการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยการยกระดับผลิตภัณฑ์อาหารเด่นของแต่ละภูมิภาค นำมาพัฒนาเป็นอาหารพร้อมบริโภค หรือพร้อมปรุงที่มีมาตรฐานความปลอดภัย โดยการนำนวัตกรรม หรือเทคโนโลยีมาใช้เพื่อการยืดอายุและเพิ่มช่องทางในการระบายสินค้า OTOP และผลิตภัณฑ์ของชุมชน พร้อมกับเพิ่มช่องทางการตลาดให้กับ OTOP และสร้างรายได้ให้กับชุมชนและเป็นการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์การดำเนินงานโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์  โดยกรมการพัฒนาชุมชนได้คัดเลือกผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP ประเภทอาหาร เครื่องดื่ม   และอาหาร OTOP ชวนชิม จำนวน 50 ราย ที่มีศักยภาพเพื่อนำมาพัฒนาและยกระดับให้มีคุณภาพมาตรฐานและมีรูปแบบที่เหมาะสมกับการปรับเปลี่ยนวิถีการรับประทานอาหารของผู้บริโภคแบบ Meal Kit  หรือชุดอาหารพร้อมปรุง หรือ Ready to Cook หรือ Ready to Eat เพื่อให้สอดรับกับสถานการณ์ในสังคม New Normal

ทั้งนี้กรมฯ ได้กำหนดแนวทางและกระบวนการในการพัฒนา ดังนี้  1.ศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับสถานการณ์ความต้องการผลิตภัณฑ์ โดยยึดหลักการตลาดนำการผลิต โดยนำเทคนิคและนวัตกรรมการแปรรูปที่สามารถต่อยอดได้ในเชิงพาณิชย์และเหมาะกับค่านิยมการบริโภคอาหารในปัจจุบัน 2.ออกแบบการพัฒนาเพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์ สามารถต่อยอดได้ในเชิงพาณิชย์เหมาะสมกับสถานการณ์โรคระบาดไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19) และการใช้ชีวิตของกลุ่มลูกค้าในยุค New Normal  3. จัดการอบรมผ่านระบบ Online เพื่อให้ความรู้กับกลุ่มเป้าหมาย โดยผู้เชี่ยวชาญ และผู้ทรงคุณวุฒิด้านอาหารและเครื่องดื่ม 4. จัดกิจกรรม Focus Group เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจระหว่างกลุ่มเป้าหมาย และเอกชนผู้ซื้อ โดยดำเนินการร่วมกับภาคเอกชน เช่น บริษทซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) โครงการสุขสยามจากไอคอนสยาม คุณนฤพนธ์ ราชพิทักษ์ นักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จในประเทศลาว เป็นต้น ในประเด็นเกี่ยวกับการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์ให้ตอบโจทย์ความต้องการของผู้ซื้อ

5.จัดให้มีการให้คำปรึกษาโดยผู้เชี่ยวชาญด้านอาหารและเครื่องดื่ม และการออกแบบบรรจุภัณฑ์แก่กลุ่มเป้าหมาย  6.ดำเนินการผลิตผลิตภัณฑ์ต้นแบบ โดยการใช้นวัตกรรมผนวกเข้ากับภูมิปัญญาของผลิตภัณฑ์ ให้เกิดเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ สูตรใหม่ มีการใช้วัตถุดิบที่ปลอดภัย (Food Safety) ตอบสนองเทรนด์รักสุขภาพ มีรูปแบบการผลิตที่แปลกใหม่ เช่น การผลิตแบบ Ready to Cook ผลิตภัณฑ์มีขนาดเล็ก ขนส่งและพกพาสะดวก ง่ายต่อการรับประทาน เหมาะสมกับสถานการณ์โรคระบาดไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19) และการใช้ชีวิตของกลุ่มลูกค้าในยุค New Normal 7.ดำเนินการผลิตภัณฑ์บรรจุภัณฑ์ โดยเน้นการใช้เทคโนโลยีดำเนินการผลิตให้บรรจุภัณฑ์เกิดนวัตกรรม เช่น รูปลักษณ์บรรจุภัณฑ์เป็นแบบมินิมอลดีไซด์ มีการจัดทำหีบห่อให้สวยงาม ทันสมัย สะอาด ปลอดภัยเพื่อสุขอนามัยในการรับประทาน รวมถึงการเลือกใช้บรรจุภัณฑ์ที่มาสามารถช่วยยืดอายุอาหารให้ยาวนานขึ้น (Longevity Packaging) ใช้เทคโนโลยีสุญญากาศ มายืดอายุการใช้งาน ใช้วัสดุ ในการผลิตบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม แข็งแรง ทนทาน และมีขนาดเบา ง่ายต่อการขนส่งทางพัสดุได้ ทั้งนี้ยังมีการสร้าง QR code แสดงวันผลิต วันหมดอายุ ข้อมูลผู้ผลิต ในส่วนของบรรจุภัณฑ์ OTOP ชวนชิม และจัดทำ QR Code คลิปการสาธิตขั้นตอนการปรุงอาหารแบบ Ready to cook เพิ่มเติมบนบรรจุภัณฑ์ ซึ่งหลังจากที่ผ่านกระบวนการพัฒนาแล้ว ทางกรมการพัฒนาชุมชนจึงดำเนินการส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการทดสอบตลาดใน 2 รูปแบบ คือในรูปแบบออนไลน์ และออนไซต์ ซึ่งในรูปแบบบออนไลน์ ดำเนินการใน  6 แพล็ตฟอร์ม ประกอบด้วย Robinhood Shopee Lazada  Line man OTOP TO DAY

นายสมคิด กล่าวต่อว่า ขอเชิญชวนพี่น้องประชาชนทุกท่าน ร่วมสนับสนุนผลิตภัณฑ์จากผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP ทั้ง 50 รายที่ผ่านกระบวนการพัฒนา และผลิตภัณฑ์จากผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP ประเภทอาหาร เครื่องดื่ม และอาหาร OTOP ชวนชิมอีกกว่า 250 ร้านค้า ที่จะขนทัพความอร่อยมาให้เลือกชิม เลือกฟินกัน มากถึง 5 ครั้งจนถึงสิ้นเดือน กุมภาพันธ์ 2565 โดยครั้งนี้จัดขึ้น วันที่ 16 - 22 กุมภาพันธ์ 2565  ณ ศูนย์การค้าเซนทรัลเฟสติวัลอีสวิลล์  อย่างไรก็ตามหากไม่สะดวกเดินทาง เราก็เตรียมพร้อมที่จะส่งความอร่อยไปจนถึงหน้าบ้านคุณ เพียงแค่คุณสั่งซื้อสินค้าจากแพลตฟอร์ม Shopee/ Lazada/ Robinhood /Lineman / OTOP TO DAY และสำหรับการสั่งซื้อสินค้าทาง Line ตั้งแต่ 300 บาทขึ้นไปเราพร้อมจัดส่งให้ฟรีถึงหน้าบ้าน  สุดท้ายนี้อยากให้ทุกท่านร่วมส่ง และเป็นกำลังใจให้ ผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP ในการก้าวผ่านวิกฤติโควิด-19 ไปพร้อมกัน โดยการร่วมอุดหนุนสินค้าในการจัดงานครั้งนี้ เพื่อช่วยให้เศรษฐกิจของประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งคั่ง  และยั่งยืนสืบไป.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ประกวด'ผ้าลายสิริวชิราภรณ์'เฟ้นผลงานทรงคุณค่า

ผู้ประกอบการผ้าทอพื้นถิ่นของไทยและช่างทอผ้าสามารถสร้างสรรค์ผลงานโดดเด่นเต็มไปด้วยความคิดสร้างสรรค์ฟันฝ่าเกณฑ์การตัดสินเข้าสู่รอบรองชนะเลิศในการประกวดผ้าลายพระราชทาน “ผ้าลายสิริวชิราภรณ์” และงานหัตถกรรม รอบรองชนะเลิศ (Semi Final)

62 ปี กรมการพัฒนาชุมชนจัดยิ่งใหญ่ งาน “วันพัฒนาชุมชน” (CD Day 2024) “เศรษฐกิจฐานรากมั่นคง ชุมชนเข้มแข็งอย่างยั่งยืน”

กรมการพัฒนาชุมชนจัดยิ่งใหญ่ งาน “วันพัฒนาชุมชน” (CD Day 2024) ภายใต้ธีมงาน “เศรษฐกิจฐานรากมั่นคง ชุมชนเข้มแข็งอย่างยั่งยืน” ( Strengthened grassroots economy , resilient and sustainable communities)

ปิดฉาก OTOP Midyear 2024 ยอดจำหน่ายทะลุเป้า กว่า 700 ล้านบาท

วันนี้ (17 มิถุนายน 67 ) นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เปิดเผยว่า ตามที่รัฐบาลมอบหมายให้กระทรวงมหาดไทย โดยกรมการพัฒนาชุมชน จัดงาน OTOP