รมต.คลัง เป็นประธานเปิดหลักสูตร วปส. รุ่นที่ 10 คปภ. มอบนโยบายประกันภัยเชิงรุกตอบโจทย์ความเสี่ยงใหม่นำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้

ดร. สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (เลขาธิการ คปภ.) เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2565 ได้รับเกียรติจาก นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง  เป็นประธานในพิธีเปิดการศึกษาอบรมหลักสูตรวิทยาการประกันภัยระดับสูง (วปส.) รุ่นที่ 10 ประจำปี พ.ศ. 2565 ณ ห้อง เลอ คองคอร์ด บอลรูม ชั้น 2 โรงแรมสวิสโฮเต็ล รัชดา กรุงเทพมหานคร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาผู้บริหารระดับสูงจากหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และธุรกิจประกันภัย ให้มีองค์ความรู้ด้านการประกันภัย ทั้งการประกันชีวิต การประกันวินาศภัย การบริหารจัดการความเสี่ยงภัยในด้านต่าง ๆ และมีการแลกเปลี่ยนความรู้ ข้อคิดเห็น ตลอดจนการเป็นผู้นำที่มีคุณธรรม จริยธรรม และการบริหารจัดการเชิงสร้างสรรค์ นำองค์กรไปสู่ความสำเร็จโดยสอดคล้องกับสภาวการณ์การเปลี่ยนแปลงทางการเมือง เศรษฐกิจและสังคมของโลก

ในโอกาสนี้ นายอาคม พิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้กล่าวปาฐกถาพิเศษในหัวข้อ “นโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมที่ยั่งยืนของประเทศกับบทบาทของประกันภัยในยุค New Normal”  โดยมีใจความตอนหนึ่งว่า สำนักงาน คปภ. มีบทบาทที่สำคัญในการพัฒนาและวางรากฐานของธุรกิจประกันภัยในประเทศไทยให้มีความมั่นคงและน่าเชื่อถือในระดับสากล รวมทั้งส่งเสริมและพัฒนาผลิตภัณฑ์ประกันภัยใหม่ ๆ เพื่อเป็นเครื่องมือในการบริหารความเสี่ยงของประชาชนอย่างทั่วถึง และทำให้ระบบการประกันภัยของประเทศไทยมีมาตรฐานเทียบเท่ากับระดับสากล แต่สิ่งที่ยังต้องดำเนินการต่อไปก็คือจะทำอย่างไรให้ธุรกิจประกันภัยมีความมั่นคงและเติบโตอย่างยั่งยืนจากกระแสการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจโลก ควบคู่ไปกับการคุ้มครองสิทธิประโยชน์ของประชาชนด้านประกันภัย โดยเฉพาะการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจ สภาพความเป็นอยู่ของสังคม และประชาชนทุกภาคส่วนทั่วโลกและของไทย ดังนั้น จึงจำเป็นต้องมีการเตรียมความพร้อมในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศให้มีประสิทธิภาพในทุกมิติ เพื่อเป็นแนวทางในการวางแผนกำกับดูแลด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของธุรกิจประกันภัยในการเปลี่ยนผ่านไปสู่การเป็น Digital Insurance Regulator เพื่อสร้างมาตรฐานการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างหน่วยงานทั้งในประเทศและต่างประเทศ รวมถึงการเตรียมความพร้อมของอุตสาหกรรมประกันภัยเพื่อรองรับการดำเนินงานตามกรอบความร่วมมือประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ตลอดจนแผนพัฒนาดิจิทัลของรัฐบาลที่ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งในภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน

นอกจากนี้มีความเชื่อมั่นว่าในระยะต่อไป หลังจากที่เราผ่านพ้นวิกฤตโควิดแล้ว ยังเชื่อว่าธุรกิจประกันภัยจะเป็นเครื่องมือในการระดมเงินออมไปสู่การลงทุนที่สำคัญ พร้อมมอบนโยบาย 3 เรื่อง ดังนี้ 1. เทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของประชาชน ไม่ใช่แค่ประเทศไทย แต่เป็นทั่วโลก โดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัลและพัฒนาโมบายแอปให้ทุกคนเข้าถึงได้อย่างสะดวกยิ่งขึ้น รวมถึงการให้บริการภาครัฐ การทำธุรกรรมระหว่างเอกชนกับภาครัฐ โดยเฉพาะระบบการชำระภาษี ก็มีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว เชื่อว่าดิจิทัลจะเป็นเรื่องหนึ่งที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในช่วงหลังโควิด และการทำธุรกิจ การทำธุรกรรมก็ผ่านระบบออนไลน์มากขึ้น 2. การเปลี่ยนแปลงสภาวะภูมิอากาศ ทั่วโลกเริ่มมีความรุนแรงมากขึ้น ทั้งที่เกิดจากมนุษย์ และจากภัยธรรมชาติ เรื่องนี้ก็เกี่ยวข้องกับภาคธุรกิจประกันภัยที่ดำเนินการมาคือ การประกันภัยพืชผลทางการเกษตร ซึ่งรัฐบาลได้ดำเนินการโครงการพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศ ได้แก่ การประกันภัยข้าวนาปี และการประกันภัยข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ซึ่งเป็นหลักประกันให้เกษตรกรผ่านระบบประกันภัยเข้ามาบริหารจัดการความเสี่ยง และได้ดำเนินการในช่วงหลายปีที่ผ่านมา พบว่าประสบความสำเร็จด้วยดีมาโดยตลอด ซึ่งแน่นอนว่าความเสี่ยงจากภัยธรรมชาติที่คาดการณ์ไม่ได้ อาจจะทำให้ผลการดำเนินงานไม่เป็นไปตามคาด แต่ช่วยลดภาระภาครัฐในการช่วยเหลือเกษตรกร สำหรับผลิตภัณฑ์ประกันภัยจะต้องมีการพัฒนาต่อเนื่องไป และ 3. สภาพสังคมเปลี่ยนแปลงไปสู่สังคมสูงอายุ เรื่องนี้เป็นปัจจัยหนึ่งที่ภาคธุรกิจประกันภัยจะต้องคำนึง และการให้ประกันภัยเข้ามาดูแลประชาชนพร้อมยืนยันอีกว่าระบบประกันภัยยังมีความมั่นคง และหลักสูตรควรจัดให้มีการนำ Case Study มาถกเพื่อระดมความคิดเห็น พร้อมข้อเสนอแนะเพื่อหาแนวทางการแก้ไข โดยหวังเป็นอย่างยิ่งว่าทุกภาคส่วนไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคธุรกิจประกันภัย และหน่วยงานกำกับดูแล จะร่วมมือกันผลักดันให้ระบบประกันภัยไทยมีการเจริญเติบโตอย่างยั่งยืนและได้รับความเชื่อถือไว้วางใจจากประชาชนในการนำระบบประกันภัยเข้าไปเป็นเครื่องมือบริหารความเสี่ยงภัยในทุกมิติอย่างครบวงจร

ในการนี้ เลขาธิการ คปภ. ได้กล่าวรายงานเกี่ยวกับหลักสูตร วปส. รุ่นที่ 10 ว่าการคัดเลือกผู้เข้ารับการศึกษาอบรมหลักสูตรวิทยาการประกันภัยระดับสูง (วปส.) รุ่นที่ 10 ประจำปี พ.ศ. 2565 คณะกรรมการสถาบันวิทยาการประกันภัยระดับสูง ได้มีกระบวนการคัดเลือกอย่างเข้มข้นจนได้ผู้บริหารระดับสูงจากหน่วยงานทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคธุรกิจประกันภัย เข้าร่วมรับการอบรมจำนวนทั้งสิ้น 80 คน ประกอบด้วย ภาคเอกชน จำนวน 48 คน ภาครัฐ จำนวน 12 คน ภาคการเงิน จำนวน 5 คน และภาคธุรกิจประกันภัย จำนวน 15 คน เริ่มการศึกษาอบรมฯ ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนสิงหาคม 2565 สำหรับกิจกรรมการศึกษาอบรมในหลักสูตร วปส. รุ่นที่ 10 แบ่งออกเป็น 8 หมวด ประกอบด้วย หมวดที่ 1 ประกันภัยกับการพัฒนาเศรษฐกิจเชิงรุกในระดับประเทศและในเวทีระหว่างประเทศ หมวดที่ 2 บทบาทธุรกิจประกันวินาศภัยไทยในการขับเคลื่อนภารกิจเพื่อชาติ หมวดที่ 3 การขับเคลื่อนเทคโนโลยีประกันภัย (InsurTech) หมวดที่ 4 บทบาทของธุรกิจประกันชีวิตกับกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลก เศรษฐกิจ และสังคมไทย หมวดที่ 5 ปรัชญาในการบริหารสำหรับผู้นำในยุคดิจิทัล หมวดที่ 6 การสร้างบรรษัทภิบาลกับการดำเนินธุรกิจสู่เป้าหมายแห่งความยั่งยืน หมวดที่ 7 ประเด็นร่วมสมัย และหมวดที่ 8 กิจกรรมพิเศษ โดยแต่ละหมวดหัวข้อที่กล่าวมาข้างต้นได้มีการปรับปรุงให้มีความเข้มข้น ทันสมัย และสอดรับกับสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วที่มีผลต่ออุตสาหกรรมประกันภัย ตั้งแต่ด้านการบริหารความเสี่ยง การประกันวินาศภัย การประกันชีวิต การประกันสุขภาพกับการขับเคลื่อนสังคมและเศรษฐกิจของประเทศ นวัตกรรมประกันภัยในด้านต่าง ๆ การปรับตัวของสถาบันการเงินในยุคดิจิทัล จากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิทั้งในและต่างประเทศ โดยเป็นหลักสูตรเดียวที่มีการถ่ายทอดความรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์แบบเจาะลึกด้านประกันภัยในทุกมิติ

“สำนักงาน คปภ. จะน้อมนำนโยบายของท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังมาปฏิบัติในการขับเคลื่อน    การกำกับดูแลด้านประกันภัย รวมทั้งจะนำข้อแนะนำเรื่องการจัดให้มี Case Study มาให้นักศึกษา วปส. รุ่นที่ 10 ถกแถลงเพื่อระดมความคิดเห็น ถอดบทเรียนเพื่อมาปรับปรุงระบบประกันภัยที่ก้าวต่อไป หลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของ Covid-19 โดยเน้นเฉพาะการถอดบทเรียนเกี่ยวกับกรณีของประกันภัยโควิดแบบ เจอ-จ่าย-จบ และกรณีอื่น ๆ ที่น่าสนใจ” เลขาธิการ คปภ. กล่าวในตอนท้าย

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คปภ. ประกาศผลสุดยอดนวัตกรรมเทคโนโลยีด้านการประกันภัย “OIC InsurTech Award 2024”

นายชูฉัตร ประมูลผล เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (เลขาธิการ คปภ.) เป็นประธานคณะกรรมการตัดสินและมอบรางวัลสุดยอดนวัตกรรมเทคโนโลยีด้านการประกันภัย

คปภ. เดินหน้าเคียงข้างเพื่อประชาชนเปิดโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการออกคำสั่งทางปกครอง ภายใต้บทบาท คปภ.

นางสาววิไลพร เจียรกิตติวงศ์ ผู้อำนวยการฝ่ายอาวุโส ฝ่ายวางแผนและพัฒนากฎหมาย สำนักงาน คปภ. เป็นประธานเปิดโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการออกคำสั่งทางปกครอง ภายใต้บทบาท คปภ. โดยมี นายประสงค์ หล้าอ่อน นายดำรงศักดิ์ ยอดทองดี

'เศรษฐา' เผยยักษ์ใหญ่ประกันภัยอยากขยายธุรกิจเพิ่มในไทย

นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี โพสต์เฟซบุ๊กระบุว่า ได้คุยกับคุณ Jaime Anchustegui, CEO บริษัท Generali International บริษัทประกันภัยชั้นนำครบวงจรระดับโลก เสนอให้พิจารณาเพิ่มการลงทุนขยายธุรกิจในไทย

คปภ. เห็นชอบสั่ง ‘บมจ. สินมั่นคงประกันภัย’  หยุดรับประกันวินาศภัยเป็นการชั่วคราว

คณะกรรมการ คปภ. เห็นชอบให้นายทะเบียนสั่ง “บมจ. สินมั่นคงประกันภัย” หยุดรับประกันวินาศภัยเป็นการชั่วคราวคุมเข้มให้บริษัทหยุดรับประกันภัย ภายหลังศาลมีคำสั่งยกเลิกคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2566 เลขาธิการ คปภ. สั่งมาตรการคุ้มครองผู้บริโภคมิให้เดือดร้อน

ประกันภัยไทยวิวัฒน์ กางแผนปีมังกร ปักธงเบี้ยรับรวมโตทะลุ 8 พันล้านบาท ชูยุทธศาสตร์ “องค์กรประกันภัยแห่งนวัตกรรม” สู่ความยั่งยืน

ประกันภัยไทยวิวัฒน์ กางแผนธุรกิจปีมังกร 2567 ปักธงเบี้ยรับรวมโตทะลุ 8,000 ล้านบาท ภายใต้ยุทธศาสตร์ “องค์กรประกันภัยแห่งนวัตกรรม”