สิ้นสุดแล้วโครงการ “FACTkathon” นักศึกษาร่วมระดมสมองส่งผลงานนวัตกรรมเข้าประกวด เพื่อแก้ปัญหาข่าวลวง ข่าวปลอม พร้อมผลักดัน 7 ข้อเสนอให้เกิดเป็นนโยบายแก้ปัญหาเฟคนิวส์เกลื่อนโลกออนไลน์
ผ่านพ้นไปแล้วสำหรับกิจกรรมการแข่งขันระดมสมอง “หักล้างมูลเท็จ แสวงหาความจริงร่วม” “FACTkathon : Fact-Collab to Debunk Dis-infodemic” ที่ได้รับการสนับสนุนจาก กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ร่วมกับสถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย (TIJ) และเป็นความร่วมมือกับสภาการสื่อมวลชนแห่งชาติ มูลนิธิสภาการหนังสือพิมพ์ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) มูลนิธิฟรีดริช เนามัน ประเทศไทย (Fnf Thailand) สถาบันเชนจ์ฟิวชั่น ChangeFusion Centre for Humanitarian Dialogue (HD) และ ภาคีโคแฟค (ประเทศไทย)
งานนี้นอกจากจะเป็นการประชันไอเดียของคนรุ่นใหม่ระดับมหาวิทยาลัย ในการสร้างสรรค์นวัตกรรมแก้ปัญหาข่าวลวงที่มากมายในโลกออนไลน์แล้ว ยังมีการระดมข้อเสนอแนะเชิงนโยบายถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมถึงแนวทางการหา “ความจริงร่วม” ที่ทุกฝ่ายยอมรับได้ นำไปสู่การอยู่ร่วมกันในสังคมของผู้ที่มีความเห็นต่างได้อย่างปกติสุข
จากการแข่งขันครั้งนี้ทีมที่ได้รับรางวัลที่ 1 ได้แก่ ทีมบอท เป็นการผสมผสานทีมจากนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมหาวิทยาลัยกรุงเทพ มีไอเดียสุดเจ๋ง “Check-on” หรือ “เช็คก่อน” โดยพัฒนาเครื่องมือ Extension เมื่อผู้ใช้อินเตอร์เน็ตอ่านข่าวในเว็บหรือเห็นภาพต่างๆ แล้วสงสัยว่าจริงหรือไม่ ให้คลุมดำที่ข้อความ คลิกขวา จะมีปุ่ม Check หน้าต่างของ Check-On ขึ้นมาแล้วประมวลผลความน่าเชื่อถือจากฐานข้อมูลที่มีอยู่ อาทิ Cofact ชัวร์ก่อนแชร์ ศูนย์ต่อต้านข่าวลวง เป็นต้น
งานนี้นอกจากจะเป็นการประชันไอเดียของคนรุ่นใหม่ระดับมหาวิทยาลัย ในการสร้างสรรค์นวัตกรรมแก้ปัญหาข่าวลวงที่มากมายในโลกออนไลน์แล้ว ยังมีการระดมข้อเสนอแนะเชิงนโยบายถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมถึงแนวทางการหา “ความจริงร่วม” ที่ทุกฝ่ายยอมรับได้ นำไปสู่การอยู่ร่วมกันในสังคมของผู้ที่มีความเห็นต่างได้อย่างปกติสุข
จากการแข่งขันครั้งนี้ทีมที่ได้รับรางวัลที่ 1 ได้แก่ ทีมบอท เป็นการผสมผสานทีมจากนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมหาวิทยาลัยกรุงเทพ มีไอเดียสุดเจ๋ง “Check-on” หรือ “เช็คก่อน” โดยพัฒนาเครื่องมือ Extension เมื่อผู้ใช้อินเตอร์เน็ตอ่านข่าวในเว็บหรือเห็นภาพต่างๆ แล้วสงสัยว่าจริงหรือไม่ ให้คลุมดำที่ข้อความ คลิกขวา จะมีปุ่ม Check หน้าต่างของ Check-On ขึ้นมาแล้วประมวลผลความน่าเชื่อถือจากฐานข้อมูลที่มีอยู่ อาทิ Cofact ชัวร์ก่อนแชร์ ศูนย์ต่อต้านข่าวลวง เป็นต้น
สำหรับทีมที่ได้รับรางวัลที่ 3 คือ ทีม New Gen Next FACTkathon เป็นการรวมตัวของนักศึกษาคณะต่างๆ จากมหาวิทยาลัยพายัพ ออกแบบการนำข้อมูลข่าวสาร มาถ่ายทอดในรูปแบบของการ์ตูน ที่ได้รับความนิยมในปัจจุบันด้วยการสร้างการ์ตูนลงแพลตฟอร์มหนังสือการ์ตูนออนไลน์ (Webtoon) เพื่อเสริมสร้างทักษะการอ่านและได้สอดแทรกความรู้เกี่ยวกับการตรวจสอบข่าวลวงไปด้วย พร้อมมีลูกเล่นด้วยการให้ผู้อ่านมีส่วนร่วมไขปริศนา โหวตว่าจริงหรือไม่จริง โดยให้สิ่งตอบแทนเป็นเหรียญ สำหรับใช้เปิดอ่านตอนต่อไป
นอกจากกิจกรรมการประกวดเสนอแนวคิดนวัตกรรมแล้ว ยังได้จัดการประชุมเพื่อร่วมกันวิเคราะห์ปัญหาและข้อเสนอแนะที่จะแก้ปัญหาข่าวลวงอย่างยั่งยืน ซึ่งเห็นตรงกันว่าต้องผลักดันให้เกิดนโยบายที่แก้ปัญหาข่าวลวงที่เกลื่อนโลกออนไลน์ร่วมกันด้วย ดังนี้
1) ทวงถามความรับผิดชอบกับผู้ผลิตและส่งต่อข่าวลวง : มีข้อเสนอแนะให้มีวิธีการป้องกันและแก้ไขข้อความผู้ผลิตและผู้ส่งต่อข่าวลวง ที่จะช่วยลดการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้อื่นลงได้
2) ให้ความสำคัญกับทักษะ “รู้เท่าทันสื่อ” : การรู้เท่าทันสื่อ (Media Literacy) ไม่ใช่วิชาที่เกิดขึ้นใหม่ในยุคดิจิทัล แต่ถูกพูดถึงเรื่องนี้นับตั้งแต่มีการเกิดขึ้นของสื่อมวลชนยุคอนาล็อก (วิทยุ โทรทัศน์ และสื่อสิ่งพิมพ์) เช่น กลยุทธ์หรือเทคนิคที่ใช้ผลิตเนื้อหาผ่านสื่อแต่ละประเภทใช้ส่งสารถึงปัจเจกชนหรือกลุ่มคนซึ่งเป็นผู้รับสาร บทบาทของสื่อต่อการสร้างกระแสค่านิยม หรือวัฒนธรรมต่างๆ ในสังคม เมื่อโลกเข้าสู่ยุคดิจิทัล การผลิตและส่งต่อข้อมูลข่าวสารเพิ่มมากขึ้นทั้งกว้างขวางและรวดเร็ว การรู้เท่าทันสื่อจึงยิ่งมีความสำคัญเพื่อไม่ให้ตกเป็นเหยื่อข่าวลวงหรือข้อมูลบิดเบือน
ความเข้าใจในแพลตฟอร์มออนไลน์ อาทิ Facebook , Twitter , Instagram , Line ฯลฯ ถูกออกแบบมาให้ทำงานอย่างไร และผู้ผลิตเนื้อหา (Content) ใช้วิธีการอย่างไรในการสื่อสารผ่านแพลตฟอร์มเหล่านี้เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายผู้รับสาร ซึ่งจะซับซ้อนกว่าสื่อดั้งเดิม เช่น แพลตฟอร์มบางชนิดสามารถใช้วิธีการบางอย่างเพื่อให้สาร (ข้อความ ภาพ คลิปวีดีโอ คลิปเสียง) ถูกมองเห็นอย่างกว้างขวางและในความถี่ต่อเนื่อง หรือมีสถิติการส่งต่อจำนวนมาก ผู้ที่ไม่รู้เท่าทันวิธีการเหล่านี้อาจเชื่อไปก่อนแล้วว่าเป็นเรื่องจริงโดยไม่ได้ตรวจสอบ
3) ลดความเหลื่อมล้ำด้านการเข้าถึงเทคโนโลยีดิจิทัล : แม้เด็กและเยาวชนรุ่นใหม่จะถูกมองว่าเติบโตมาพร้อมกับเทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Native) จึงใช้งานได้คล่องกว่าคนวัยอื่นๆ ที่อาจจะเพิ่งรู้จักเทคโนโลยีดิจิทัลในวัยกลางคนหรือวัยเกษียณ แต่ในความเป็นจริงก็ยังพบช่องว่าง กล่าวคือ เด็กและเยาวชนในครัวเรือนที่ไม่มีทุนทรัพย์จัดหาเครื่องมือเชื่อมต่อ (Device) อาทิ เครื่องคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือสมาร์ทโฟน และเข้าไม่ถึงโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) ด้านดิจิทัล อาทิ อินเตอร์เน็ตความเร็วสูงที่สัญญาณมีความเสถียร ย่อมมีข้อจำกัดในการเรียนรู้และฝึกฝนทักษะการรู้เท่าทันสื่อดิจิทัลเมื่อเทียบกับเด็กและเยาวชนในครัวเรือนที่มีความพร้อม
4) สนับสนุนบทบาทขององค์กรที่ทำงานต่อต้านข่าวลวงที่มีอยู่แล้ว ให้สามารถนำข้อมูลไปถึงผู้คนได้ง่าย : ปัจจุบันมีความพยายามจากหลายฝ่ายในการต่อสู้กับปัญหาข่าวลวง ทั้งภาครัฐที่มีศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ภายใต้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (DES) ภาคสื่อมวลชนที่มีศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ของ อสมท. และภาควิชาการ-ประชาชน ที่รวมตัวกันในนามโคแฟค ซึ่งนอกจากจะสนับสนุนให้องค์กรเหล่านี้ทำงานตรวจสอบข้อเท็จจริงได้อย่างถูกต้องและรวดเร็วแล้ว ควรพัฒนาเครื่องมือดิจิทัลที่เมื่อผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตไปพบข้อมูลบางอย่างแล้วสงสัย สามารถส่งไปประมวลผลกับระบบขององค์กรข้างต้นได้ทันทีว่าเคยมีการตรวจสอบข้อเท็จจริงแล้วหรือไม่ เนื่องจากพบว่าข่าวลวงหลายข่าวมักมีลักษณะ “แชร์วนซ้ำ” บางเรื่องพิสูจน์กันไปแล้วหลายปีว่าไม่จริงแต่ก็ยังมีการส่งต่อวนกลับมาอีก
5) ขยายแนวร่วมตรวจสอบข่าวลวงสู่ระดับท้องถิ่น : ในความเป็นจริงที่การสื่อสารรวดเร็ว ข้อมูลถูกผลิตและส่งต่ออย่างมหาศาล ข่าวลวงหรือข้อมูลบิดเบือนจึงมีความหลากหลายซึ่งบางเรื่องอาจจะไม่ได้เป็นกระแสมากพอที่องค์กรจากส่วนกลางจะมองเห็นและเข้าไปตรวจสอบ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องสร้างแนวร่วมในระดับชุมชน ซึ่งอาจเป็นสื่อมวลชนท้องถิ่น หรือแกนนำชุมชน (กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน อสม. ฯลฯ) โดยให้ผู้ที่สนใจประเด็นข่วงลวงมาฝึกฝนทักษะการตรวจสอบ รวมถึงพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและข้อเสนอแนะว่าจะส่งเสริมเรื่องนี้ในระดับท้องถิ่นของตนเองอย่างไร เพราะแต่ละพื้นที่นั้นมีบริบททางสังคมไม่เหมือนกัน
6) สร้างวัฒนธรรม “ตั้งคำถาม” และ “ยอมรับความเปลี่ยนแปลง” : ได้รับข้อมูลอะไรมาอย่าเพิ่งเชื่อในทันที แต่ต้องสงสัยไว้ก่อน ซึ่งจะนำไปสู่การสืบค้นข้อเท็จจริง อีกทั้งเข้าใจว่าข้อมูลต่างๆ เปลี่ยนแปลงได้หากมีข้อเท็จจริงใหม่เกิดขึ้น การเปลี่ยนความคิดตามข้อเท็จจริงจึงไม่ใช่เรื่องผิดหรือน่าละอาย แต่ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายเพราะที่ผ่านมาสังคมไทยเป็นสังคมที่คุ้นชินกับการเชื่อตามๆ กันมา ไม่ว่าเชื่อในวัยวุฒิที่อาวุโสกว่า หรือคุณวุฒิมีการศึกษาสูงกว่า ตำแหน่งหน้าที่การงานสูงกว่า ดังนั้นต้องเริ่มจากระบบการศึกษาที่นักเรียนต้องสามารถตั้งคำถามกับตำราหรือสิ่งที่ครูบาอาจารย์สอนได้ แต่ประเด็นนี้ก็มีความท้าทายที่ต้องไปเปลี่ยนวิธีการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียน รวมถึงการฝึกอบรมครูในมหาวิทยาลัยที่เปิดหลักสูตรครุศาสตร์-ศึกษาศาสตร์
7) เปิดพื้นที่ให้ “ผู้เห็นต่าง” ได้พูดคุยกันอย่างเต็มที่เพื่อสร้างความเข้าใจและหาจุดร่วมของแต่ละฝ่าย : เนื่องจากเรื่องราวหนึ่งนั้นมีหลายมุม และแต่ละคนมักเลือกรับข้อมูลเพียงมุมใดมุมหนึ่งที่ตรงกับอารมณ์ความรู้สึกของตนเอง หรือความเชื่อที่ไม่เปิดรับชุดข้อมูลที่แตกต่าง นานวันเข้าจึงทำให้เกิดความแตกแยกและขัดแย้ง ดังนั้นจะทำอย่างไรที่จะมีพื้นที่ให้ผู้เห็นต่างได้มาพูดคุยกันโดยไม่มีแรงกดดันจากสถานะที่แตกต่าง ไม่ว่าจะเป็นวัย อำนาจ เพศ
แม้ว่าแต่ละฝ่ายจะไม่ได้เห็นด้วยเหมือนกันทุกเรื่อง แต่ “การเปิดใจรับฟังกันและกัน” ย่อมเปิดโอกาสนำไปสู่การแสวงหาและค้นพบแง่มุมที่แต่ละฝ่ายสามารถยอมรับร่วมกันได้ อย่างไรก็ตาม ข้อแสนอนี้ก็ไม่ใช่เรื่องง่าย ด้วยเหตุผลเดียวกับเรื่องการสร้างวัฒนธรรมตั้งคำถาม เพราะที่ผ่านมาสังคมไทยคุ้นชินกับการยึดมั่นในวัยวุฒิ หรือคุณวุฒิ ที่มีลำดับชั้นต่ำ-สูง อีกทั้งยังขาดการฝึกฝนทักษะการสื่อสารกับผู้ที่มีความแตกต่างกัน ทั้งในแง่ความคิดเห็นและแง่สถานะต่างๆ ทางกายภาพและทางสังคม ดังนั้นจึงเป็นสิ่งท้าทายที่ต้องฝึกทักษะเหล่านี้ให้มากยิ่งขึ้นในทุกช่วงวัย
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
เตือนข่าวปลอม! ธนาคารกรุงไทย เปิดลงทะเบียนเงินดิจิทัลวอลเล็ต 1 หมื่นรอบใหม่
นายเวทางค์ พ่วงทรัพย์ รองปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) รักษาราชการแทนเลขาธิการคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจ
“กองทุนพัฒนาสื่อฯ” สัญจร จัดเวทีส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน 5 ภูมิภาค ปี 2567 ครั้งที่ 2 ภาคเหนือ ผู้แทนทุกเครือข่ายร่วมเสวนาเพียบ
กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ เดินหน้าจัด กิจกรรมเวทีส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน 5 ภูมิภาค ประจำปี 2567 ครั้งที่ 2 สัญจรภาคเหนือ จ.พิษณุโลก วันพฤหัสบดีที่ 31 ตุลาคม 2567
กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ เปิดตัวโครงการพุทธธรรมนำสื่อสร้างสันติสุข ปี 3 “สื่อ เตือน สติ” หวังสร้างสื่อดีเตือนสติให้ประชาชน
กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ จัดงานแถลงข่าวเปิดตัวโครงการพุทธธรรมนำสื่อสร้างสันติสุข ปี 3 “สื่อ เตือน สติ” โดยการจัดงานมหกรรมพุทธธรรมนำสื่อสร้างสันติสุข
เชิญชวนน้องๆ กลุ่มมัธยมศึกษา (เทียบเท่า) ร่วมประกวดสื่อสร้างสรรค์ "Digi Camp ค่ายเยาวชนไทยรู้เท่าทันสื่อ" ปี 2
ถ้าคุณเป็นเยาวชนที่สนใจ...การใช้สื่อโซเชียลมีเดียบนโลกอินเทอร์เน็ตในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร การโพสต์ และการแชร์ข้อมูลต่าง ๆ ทั้งในฐานะผู้รับสาร ผู้ส่งต่อ
“กองทุนพัฒนาสื่อฯ จัดเวทีส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน 5 ภูมิภาค ปี 2567 หวังสร้างการเปลี่ยนแปลงสังคมด้วยสื่อสร้างสรรค์ เริ่มต้นบุกอีสาน จ.ร้อยเอ็ด”
กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ เดินหน้าจัด กิจกรรมเวทีส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนทั่ว 5 ภูมิภาค ประจำปี 2567 มุ่งเน้นให้คนในสังคมรวมพลัง
กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ขอเชิญชวนนักเรียน นิสิต นักศึกษาส่งผลงานเข้าประกวด คลิปสั้นการให้ข้อคิด ธรรมะในชีวิตประจำวัน ในโครงการ "หนูได้ธรรม" ความยาวไม่เกิน 1.30 นาที
กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ขอเชิญชวนนักเรียน นิสิต นักศึกษาส่งผลงานเข้าประกวดคลิปสั้นการให้ข้อคิด ธรรมะในชีวิตประจำวัน ในโครงการ "หนูได้ธรรม" ความยาวไม่เกิน 1.30 นาที ชิงเงินรางวัลรวมมูลค่ากว่า 90,000 บาท