นายสุรชัย อจลบุญ อธิบดีกรมป่าไม้ เปิดเผยว่า กรมป่าไม้ ในฐานะหน่วยงานที่กำกับดูแลพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาการอยู่อาศัยในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ โดยการนำนโยบายรัฐบาลในเรื่องของการจัดที่ดินทำกินให้ชุมชนมาดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 30 มิ.ย. 2541 ในการนำพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติที่ได้รับการสำรวจรังวัดแปลงที่ดิน ภายใต้แนวทางแก้ปัญหาที่ดินทำกินในรูปแบบ คทช. ของคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ ซึ่งมี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน และมี พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และนายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นรองประธาน โดยในการดำเนินการตามนโยบายของคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาตินั้น กรมป่าไม้ได้กำหนดพื้นที่เป้าหมายและกรอบมาตรการแก้ไขปัญหาการอยู่อาศัยและทำกินในพื้นที่ป่าไม้ทุกประเภท และได้ประสบผลสำเร็จ เช่นผลดำเนินการในพื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรี
โดยในวันนี้ (3 ก.พ. 65) นายสุรชัย อจลบุญ อธิบดีกรมป่าไม้ ร่วมกับ ดร. รวีวรรณ ภูริเดช ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ ผู้แทนจากกรมส่งเสริมสหกรณ์ นายนรินทร์ ประทวนชัย ผอ.สำนักจัดการที่ดินป่าไม้ นายนิทัศน์ เวชวินิจ ผอ. สจป. 10 (ราชบุรี) และนายอำเภอด่านช้าง ลงพื้นที่เพื่อตรวจติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงาน พร้อมมอบแนวทางการดำเนินงาน ตลอดจนรับฟังปัญหาอุปสรรค และแสดงความห่วงใยแก่เกษตรกร โดยมีเกษตรกรในพื้นที่กว่า 100 คน ที่มาร่วมรับฟังแนวทางการจัดที่ดินทำกินชุมชน การแก้ไขปัญหาการอยู่อาศัยในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ป่าห้วยขมิ้น-ป่าพุน้ำร้อน-ป่าหนองหญ้าไทร จังหวัดสุพรรณบุรี
“สำหรับพื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรี กรมป่าไม้ได้ดำเนินการภายใต้แนวทางการแก้ปัญหาที่ดินทำกินในรูปแบบ คทช. รวมเป้าหมายทั้งหมด 53,004 ไร่ ได้ดำเนินการอนุญาตแล้ว 1,576 ไร่ และอยู่ระหว่างอนุญาต 51,428 ไร่ ซึ่งความคืบหน้าจนถึงขณะนี้ ได้ผ่าน คกก. พิจารณาการใช้ประโยชน์แล้ว โดยมีต้นแบบความสำเร็จ เช่น ที่อำเภอด่านช้าง ประกอบด้วย คทช. ท้องที่ตำบลห้วยขมิ้น อำเภอด่านช้าง เป้าหมายรวมเนื้อที่ 8,872 ไร่ และได้อนุญาตแล้ว 673 ไร่ และอยู่ระหว่างอนุญาต 8,199 ไร่ ซึ่งผ่าน คกก. พิจารณาการใช้ประโยชน์แล้ว และ คทช. ท้องที่บ้านกกตาด ตำบลห้วยขมิ้น เป้าหมายรวมเนื้อที่ 1,002 ไร่ และได้อนุญาตแล้ว 267 ไร่ และอยู่ระหว่างอนุญาต 735 ไร่ ซึ่งผ่าน คกก. พิจารณาการใช้ประโยชน์แล้ว”
อธิบดีกรมป่าไม้ กล่าวต่อไปว่า ในพื้นที่ที่ได้รับหนังสืออนุญาตเข้าทำประโยชน์ได้ดำเนินการจัดคนลงในพื้นที่เรียบร้อยแล้ว กรมป่าไม้มีแนวทางส่งเสริมให้ประชาชนในพื้นที่ได้มีรายได้จากการปลูกไม้เศรษฐกิจ และส่งเสริมให้คนอยู่กับป่าในลักษณะของโครงการป่าชุมชน เกิดความร่วมมือระหว่างชุมชนและหน่วยงานภาครัฐในการดูแล รักษา ฟื้นฟูทรัพยากรป่าไม้ ส่งผลให้ราษฎรมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
ทางด้าน นายวิทยา อุดมพงษ์ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 9 บ้านกกตาด กล่าวว่า จากที่กรมป่าไม้ได้เข้ามาดำเนินการแก้ไขปัญหาที่ดินในรูปแบบ คทช. ได้ส่งเสริมให้เกิดประโยชน์ต่อชาวบ้านในพื้นที่อย่างมาก โดยเฉพาะการสร้างความมั่นคงให้กับชีวิต ซึ่งแตกต่างจากแต่ก่อนที่ชาวบ้านในพื้นที่ป่าไม้มีความกังวลว่าวันใดวันนึงจะโดนเจ้าหน้าที่ป่าไม้มารบกวนหรือเปล่า แต่พอได้พื้นที่ คทช. ชาวบ้านก็ดีใจ สามารถนำพื้นที่ที่ได้รับการจัดสรรมาใช้ทำการเกษตร ทำให้เกิดความสบายใจมากขึ้น และมีหลายหน่วยงานเข้ามาช่วยเหลือ
“ต้องขอขอบคุณรัฐบาลและกรมป่าไม้ รวมถึงหน่วยงานต่าง ๆ จากทุกภาคส่วน ที่มองเห็นหมู่บ้านของเราเป็นหมู่บ้านนำร่องให้เป็นหมู่บ้าน คทช. ชาวบ้านขอขอบคุณทุกท่านที่ให้ความกรุณากับหมู่บ้านของเรา ซึ่งขณะนี้ได้เกิดการพัฒนาในหลายด้าน เช่น การรวมกลุ่มในรูปแบบสหกรณ์ที่ดำเนินการมาเป็นเวลากว่า 2 ปีแล้ว และได้รับการพัฒนาด้านอาชีพจนเกิดรายได้ เช่น จากการเลี้ยงไก่ เพาะเห็ด และการปลูกพืชเศรษฐกิจต่าง ๆ” นายวิทยา กล่าว
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'ทนายอนันต์ชัย' ไล่บี้คนด่า-กล่าวหาพระ ว.วชิรเมธี ออกมาขอโทษ อย่าเงียบเป็นเป่าสาก
นายอนันต์ชัย ไชยเดช ทนายความ มูลนิธิทนายกองทัพธรรม โพสต์ข้อความทางเฟซบุ๊กว่า วันนี้ กรมป่าไม้ ชี้แจงแล้ว ท่าน ว.วชิรเมธี ไม่บุกรุกป่าไม้
เคลียร์ชัด! 'กรมป่าไม้' ตรวจสอบแล้ว 'ไร่เชิญตะวัน' พระ ว.วชิรเมธี ไม่บุกรุกป่า
นายบรรณรักษ์ เสริมทอง รองอธิบดีกรมป่าไม้ ในฐานะโฆษกกรมป่าไม้ กล่าวว่า จากกรณีที่สาธารณชนและสื่อมวลชนให้ความสนใจและติดตามข่าวการอนุญาตใช้ประโยชน์และอยู่อาศัยในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าดอยปุย
โค่นสวนยางพาราทิ้ง 407 ไร่ ในเขตป่าสงวนฯ ตรวจพบตั้งแต่ปี 58 แต่ไม่มีผู้ต้องหา
นายวิทยา ณวิพันธ์ ผอ.สำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 4 สาขาพิษณุโลก สั่งการให้ นายธวัชชัย ปุริเกษม ผอ.ส่วนป้องรักษาป่าและควบคุมไฟป่าและนายธีรพล กาญจนโกมล เจ้าพนักงานป่าไม้ชำนาญงาน ทำหน้าที่หัวหน้าชุดปฏิบัติการร่วมกับหัวหน้าหน่วยป้องกันรักษาป่า
กรมป่าไม้ อนุรักษ์ “พลองใหญ่” ต้นไม้ทรงปลูกในสมเด็จพระพันปีหลวง เพื่อสืบสาน รักษา ต่อยอดพรรณไม้ให้เพิ่มมากขึ้น
การอนุรักษ์พรรณไม้มีค่าให้คงอยู่ และสามารถขยายพันธุ์ได้มากขึ้น ถือเป็นหนึ่งในการดำเนินงานสำคัญที่จะทำให้พรรณไม้มีค่าได้เจริญเติบโตและงอกงามสมบูรณ์ ดังนั้นในปี 2567 กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยกรมป่าไม้ จึงได้ร่วมกับ
พรรคประชาชน แนะรัฐปรับเพิ่มเงินเยียวยาผู้ประสบภัย 'ดินถล่มภูเก็ต' เหตุค่าครองชีพสูงกว่าจังหวัดอื่น
นายเฉลิมพงศ์ แสงดี สส.ภูเก็ตเขต 2 พรรคประชาชน และนายฐิติกันต์ ฐิติพฤฒิกุล สส.ภูเก็ตเขต 3 พรรคประชาชน แถลงเหตุการณ์ดินถล่มที่ ต.กะรน อ.เมือง จ.ภูเก็ต เมื่อวันที่ 23 ส.ค.ที่ผ่านมา