“ดร.ยุ้ย” คณะทำงาน “ดร.ชัชชาติ” ร่วมวางแนวทาง กทม. สร้างอาชีพให้คนสังคมอายุยืนเข้าสู่ระบบงาน ดึงทักษะ ชั้นเชิง ความชำนาญ ร่วมพัฒนาเศรษฐกิจกรุงเทพ เปิดช่องทางการมีส่วนร่วมพัฒนาเมืองน่าอยู่ด้วย 5 ส. ด้านสุขภาพ สะดวก สังคม สร้างงาน และสวัสดิภาพ เชื่อมโยงแก้ไขปัญหาคนไร้บ้าน เปลี่ยนวิธีคิด ยกผู้สูงอายุบุคคลมีคุณค่า ไม่เป็นภาระใคร ล่าสุด จัดตั้ง “สภากาแฟ เพื่อนชัชชาติ” เปิดพื้นที่ชวนประชาชน ‘คุย’ ปัญหาเมือง ‘คิด’ หาทางออก และลงมือ 'ทำ’ แก้ปัญหาที่ลงมือได้ทันที ครอบคลุม 50 เขตทั่วกรุงเทพฯ
ดร.เกษรา ธัญลักษณ์ภาคย์ (ดร.ยุ้ย) คณะทำงาน ดร.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ว่าที่ผู้สมัครเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในนามอิสระ เปิดเผยว่า จากการลงพื้นที่เพื่อพบปะพี่น้องชาว กทม.พบว่าผู้สูงอายุ (ผู้ที่มีอายุเกิน 60 ปี) เป็นผู้ที่มีความรู้ ความสามารถและมีประสบการณ์ในชีวิตด้านต่าง ๆมายาวนาน จึงสามารถที่จะนำมาเป็นส่วนสำคัญในการร่วมกันพัฒนาเศรษฐกิจ แต่ยังไม่ได้รับโอกาส ดังนั้น อยากสะท้อนให้ทุกคนปรับมุมมองและวิธีคิด ว่าจากที่ไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงวัย ควรมองเป็นสังคมคนอายุยืน มากกว่า ซึ่งจะนำมาสู่การขับเคลื่อนนโยบายในการบริหาร กทม.ที่จะเข้ามาเป็นตัวกลางขับเคลื่อนต่อยอดพัฒนาอาชีพงานที่เหมาะสมกับกลุ่มคนอายุยืนให้เหมาะสม
นอกจากนี้ยังมองการเชื่อมโยงไปถึงปัญหาของคนไร้บ้านที่ต้องการจะแก้ เพราะคนไร้บ้านส่วนหนึ่งก็คือ กลุ่มคนอายุยืน ที่ถูกความเหลื่อมล้ำซ้ำเติม ซึ่งไม่เพียงแค่ร่างกายที่ถดถอยจากปัญหาของสุขภาพและการที่จะมีพื้นที่ให้โอกาสทำงานเพื่อต่อยอดให้ชีวิตก็นับว่ายาก จึงกลายเป็นสาเหตุ “คนไร้บ้าน”ดังนั้น การแก้ปัญหาจะต้องทำคู่ขนานกันไปจึงจะแก้ได้ทั้งระบบ โดย กทม.ก็จะเป็นตัวช่วยผลักดันให้กลุ่มอายุยืนเหล่านี้ได้มีอาชีพ ที่สามารถสร้างความสุข และดูแลตัวเองได้โดยไม่ต้องเป็นภาระของสังคมอีกทั้งยังเป็นกำลังเสริมในการสร้างเศรษฐกิจในอนาคตภายใต้การขับเคลื่อนนโยบายกรุงเทพเมืองน่าอยู่
ทั้งนี้ ดร.ชัชชาติ มีแนวคิดที่ต้องการให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมการออกแบบนโยบายเมืองในแต่ละเขต จำนวน 50 เขต ซึ่งมีกลุ่มคนอายุยืน ที่เป็นส่วนหนึ่งของสังคมเมือง ที่จะสามารถใช้ทักษะความรู้ในด้านต่าง ๆ มาร่วมแสดงความคิดเห็น เพื่อกำหนดนโยบายให้ครอบคลุมทุกภาคส่วน โดยมี กทม. เป็นตัวกลางช่วยให้กลุ่มคนเหล่านี้มีพื้นที่ในการเปิดโอกาสแสดงความคิดเห็น บนพื้นฐาน 5 ส. สำหรับกลุ่มคนอายุยืนที่ได้วางแนวทางไว้ คือ 1.สุขภาพ การมีศูนย์สุขภาพใกล้บ้าน 2.สะดวก ปรับทางเท้า-ระบบขนส่งให้เหมาะสม 3.สังคม เพิ่มชมรมผู้สูงอายุ 4.สร้างงาน ให้โอกาสทำงานที่ถนัด 5.สวัสดิภาพ เพิ่มเติมส่วนที่ยังขาด
“สิ่งสำคัญของกลุ่มคนอายุยืนเหล่านี้คือ ไม่อยากให้ทุกคนคิดว่าเป็นภาระ เพราะพวกเขายังสามารถทำงานได้อยู่ เพียงแต่ปัจจุบันไม่ได้รับโอกาส ซึ่งจากการลงพื้นที่ กทม. พบว่าผู้สูงอายุล้วนเป็นผู้ที่มีความรู้ ความสามารถในแต่ละด้าน เพียงแค่พละกำลังอาจจะถดถอยไม่แหมือนครั้งในอดีต แต่ยังมีความชำนาญและชั้นเชิงที่สามารถนำมาต่อยอดในการสร้างเศรษฐกิจในอนาคตได้ ดังนั้น กทม. จึงต้องเป็นตัวกลางในการขับเคลื่อนเพื่อช่วยพัฒนาอาชีพที่เหมาะสมกับกลุ่มคนอายุยืนแต่ละคน ซึ่งไทยกำลังเดินหน้าเข้าสู่ สังคมคนอายุยืน ที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ที่จะทำให้พวกเขารู้สึกได้ว่าไม่ไร้ประโยชน์ และเพิ่มความสุขมีจุดมุ่งหมาย และส่งผลให้อายุยืนได้อีกด้วย” ดร.ยุ้ยกล่าว
นอกจากนี้ล่าสุดได้ มีการจัดตั้ง “สภากาแฟ เพื่อนชัชชาติ” เพื่อเปิดพื้นที่ชวนประชาชน ‘คุย’ ปัญหาเมือง ‘คิด’ หาทางออก และลงมือ 'ทำ’ แก้ปัญหาได้ทันที เป็นศูนย์รวมของผู้ประกอบการและลูกจ้าง ที่ทำหน้าที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจเมือง ดังนั้น เมื่อภาคประชาชนได้รับการสนับสนุน จะส่งผลให้ชุมชนแข็งแรงและเมืองก็แข็งแรงตามไปด้วยโดยตั้งเป้าขยายเครือข่ายไม่ต่ำกว่า 1,000 แห่ง ครอบคลุมพื้นที่ 50 เขต กทม.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
เช็กเลย! ค่าฝุ่น PM2.5 รายพื้นที่ทั่วไทย
ศูนย์สื่อสารการแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ รายงานการติดตามตรวจสอบคุณภาพอากาศ ประจำวันที่ 16 ธันวาคม 2567 ณ 07:00 น. สรุปดังนี้
คน กทม. เกินครึ่งไม่เห็นด้วยมาตรการเก็บค่าธรรมเนียมรถติด
นย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลการสำรวจ ของประชาชน เรื่อง “สองมาตรการใหม่ คน กทม. จะเอาไง” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 27-29 พฤศจิกายน 2567 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร กระจายระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ รวมจำนวนทั้งสิ้น 1,310 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับความคิดเห็นของคนกรุงเทพมหานคร หากมีการใช้มาตรการจัดเก็บค่าธรรมเนียมการเก็บขยะและค่าธรรมเนียมรถติด
เช็กเลย! ค่าฝุ่น PM2.5 ทั่วประเทศ 'เหนือ-กทม.' ยังอ่วม
ศูนย์สื่อสารการแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ รายงานการติดตามตรวจสอบคุณภาพอากาศประจำวันที่ 6 ธันวาคม 2567 ณ 07:00 น. สรุปดังนี้
67 พื้นที่ กทม. พบค่าฝุ่นสูงกระทบสุขภาพ
ศูนย์ข้อมูลคุณภาพอากาศกรุงเทพมหานคร รายงานสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM 2.5) ของสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศของกรุงเทพมหานคร