จังหวัดยะลา เป็น 1 ใน 5 พื้นที่ โครงการวิจัย
จังหวัดยะลา เป็น 1 ใน 5 พื้นที่ โครงการวิจัย บูรณาการภาคีร่วมพัฒนา เพื่อส่งเสริมชุมชนให้มีความเข้มแข็งและยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนทุกช่วงวัย ได้ใช้รูปแบบของการพัฒนาชุมชนที่เข้มแข็ง ด้วยพลัง "ให้ใจ ใส่ใจ ใจรัก" ซึ่งเป็นหัวใจหลักของการขับเคลื่อนงานพัฒนา มุ่งเน้นความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคประชาสังคม และประชาชน
โครงการวิจัยนี้มีเป้าหมายสำคัญในการ สร้างองค์ความรู้ที่สามารถนำไปใช้พัฒนาชุมชนได้จริง ไม่ว่าจะเป็นด้าน เศรษฐกิจ สังคม สวัสดิการ และสิ่งแวดล้อม โดยเน้นแนวทาง "บูรณาการภาคี" เพื่อเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคประชาสังคม และภาคเอกชน ให้สามารถทำงานร่วมกันอย่างเป็นระบบ
ล่าสุดเมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2568 ที่ผ่านมา สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) หรือ พอช. จัดเวทีคืนข้อมูลโครงการวิจัย บูรณาการภาคีร่วมพัฒนา เพื่อส่งเสริมชุมชนให้มีความเข้มแข็งและยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนทุกช่วงวัย งานวิจัยดังกล่าวมุ่งเน้นการสร้างองค์ความรู้และพัฒนากลไกให้ชุมชนสามารถนำข้อมูลไปใช้เป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาพื้นที่ของตนเองอย่างยั่งยืน ผู้เข้าร่วมเวทีครั้งนี้ ประกอบไปด้วย ผู้นำชุมชน หน่วยงานภาคีภาครัฐ และภาคเอกชน จากจังหวัด ตราด และสตูล กว่า 50 คน ณ ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) ถนนสุขยางค์ ตำบลสะเตง อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา
เวทีคืนข้อมูลโครงการวิจัยฯ
เวทีคืนข้อมูลโครงการวิจัยฯ ดำเนินการโดย สำนักพัฒนาองค์ความรู้และสื่อสารองค์กร ได้รับการสนับสนุนจาก กองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) ปีงบประมาณ 2567 โดยใช้พื้นที่ศึกษานำร่อง 5 จังหวัด ได้แก่ สุพรรณบุรี สระบุรี ตราด สตูล และยะลา ภายใต้แนวคิดการใช้ข้อมูลและงานวิจัยเป็นเครื่องมือในการพัฒนาชุมชน เพื่อสร้างแผนยุทธศาสตร์ที่ตอบโจทย์ปัญหาสังคม เพื่อเป็นการเปิดพื้นที่แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ และนำเสนอแนวทางพัฒนาที่สามารถนำไปปรับใช้ได้จริงตามบริบทของพื้นที่
จากประสบการณ์สู่การพัฒนาที่เป็นรูปธรรม
ในเวทีได้นำเสนอข้อมูลจากงานวิจัย พร้อมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เพื่อนำไปสู่การออกแบบแผนพัฒนาชุมชนที่สอดคล้องกับปัญหาและความต้องการของประชาชนในแต่ละพื้นที่ การนำเสนอกรณีศึกษาจากจังหวัดตราดและสตูล ที่ได้ดำเนินการพัฒนาโครงการต่าง ๆ โดยใช้ข้อมูลจากงานวิจัยเป็นฐานในการขับเคลื่อนผู้เข้าร่วมได้ร่วมกันอภิปราย มีดังนี้
รูปธรรมจังหวัดตราด
จังหวัดตราด มุ่งเน้นการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เช่น การอนุรักษ์พื้นที่ชายฝั่ง การจัดการขยะในชุมชน และการส่งเสริมอาชีพที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
รูปธรรมจังหวัดตราด
จังหวัดสตูล ให้ความสำคัญกับการพัฒนาสวัสดิการชุมชน เช่น การสร้างระบบการดูแลผู้สูงอายุ การพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร และการเสริมสร้างอาชีพในกลุ่มเปราะบาง
ชุมชนเป็นแกนหลัก บูรณาการภาคีความร่วมเพื่อการเปลี่ยนแปลง
ธีรวิทย์ เฑียรฆโรจน์ รองโฆษกศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) กล่าวถึงความสำคัญของการทำงานในระดับพื้นที่ โดยกล่าวว่า ประชาชนคือผู้ที่จะตอบโจทย์การพัฒนาและการแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืน วันนี้ ศอ.บต. ไม่ได้เพียงแค่พยายาม แต่เราได้ดำเนินการจริง ทั้งในระดับนโยบายและระดับปฏิบัติ โดยเน้นการขับเคลื่อนผ่านชุมชนเป็นหลัก เพราะชุมชนคือรากฐานของความยั่งยืน นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยราชภัฏและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อบต.) ก็มีบทบาทสำคัญในการนำงานวิจัยมาสนับสนุนการพัฒนา โดยการเปิดโอกาสให้ภาคประชาสังคมเสนอแนวทางที่มีข้อมูลรองรับ เพื่อให้การพัฒนามีความแม่นยำและสอดคล้องกับบริบทของพื้นที่
ศูนย์เรียนรู้เกษตรพอเพียงตำบลบือมัง
รูปธรรมความสำเร็จของการขับเคลื่อนชุมชนในยะลา "ให้ใจ ใส่ใจ ใจรัก"
- ตำบลบือมังชุมชนจัดการตนเอง
กอเซง ดอรอเมง ประธานสภาองค์กรชุมชนตำบลบือมัง กล่าวว่า การทำงานของเรายึดหลักสามพลัง คือ ให้ใจ ใส่ใจ และใจรักภายใต้แนวคิดนี้ ชุมชนได้ร่วมมือกับหน่วยงานในพื้นที่ อาทิ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) และสถาบันการศึกษา เพื่อขับเคลื่อนโครงการพัฒนาต่าง ๆ เช่น โครงการพัฒนาที่อยู่อาศัย ที่ช่วยให้ 100 ครัวเรือน มีที่อยู่อาศัยมั่นคง โครงการ "โคก หนอง นา" ศูนย์เรียนรู้เกษตรพอเพียง ที่ส่งเสริมการพึ่งพาตนเองโครงการแบ่งปันผลผลิต เช่น ผัก ไข่เป็ด และทรัพยากรชุมชน แนวทางนี้ช่วยให้ชุมชนเกิดความเข้มแข็งและเป็นต้นแบบให้พื้นที่อื่น ๆ
กอเซง ดอรอเมง
- ตำบลบาโงยซิแน: พลังสตรีแก้ปัญหาความรุนแรงในครอบครัว
นิเดาะห์ อิแตแล ประธานกองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลบาโงยซิแน ได้กล่าวถึงความสำคัญของการแก้ไขปัญหาในชุมชน ไม่ว่าจะเป็น ความรุนแรงในครอบครัว โดยใช้กองทุนสวัสดิการชุมชนเป็นเครื่องมือหลัก จากข้อมูลพบว่า ในพื้นที่มีปัญหาการทำร้ายร่างกายและจิตใจผู้หญิงเพิ่มขึ้น โดยสาเหตุหลักมาจากปัญหายาเสพติดและการหย่าร้างที่ไม่เป็นธรรม ส่งผลให้ผู้หญิงถูกละเลยและเสียเปรียบในการเข้าถึงความยุติธรรม เพื่อแก้ปัญหา กองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลบาโงยซิแน ได้ดำเนินโครงการ เช่นการให้คำปรึกษาผ่านเครือข่ายออนไลน์ การประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง การให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ผู้ได้รับผลกระทบ ผลที่เกิดขึ้นคือ สามารถช่วยเหลือสมาชิกที่ประสบปัญหาได้กว่า 115 ราย และเป็นต้นแบบของการใช้กองทุนสวัสดิการเพื่อแก้ไขปัญหาสังคม
นิเดาะห์ อิแตแล
- ศูนย์เรียนรู้บ้านชานนท์: ปากท้องต้องมาก่อน
ชานนท์ เจหะมะ ประธานองค์กรภาคประชาชนเพื่อสันติและเศรษฐกิจพอเพียง จ.ยะลา เน้นว่า เรื่องเศรษฐกิจและปากท้องของประชาชนต้องมาก่อน ศูนย์เรียนรู้แห่งนี้จึงถูกจัดตั้งขึ้นเพื่อเสริมสร้างอาชีพให้กับคนในชุมชน ครอบคลุมทั้งด้าน ปศุสัตว์ ประมง และสิ่งแวดล้อม โดยขยายโครงการไปยัง ทั้ง 8 อำเภอในยะลา โครงการสำคัญ ได้แก่ ศูนย์ฝึกอาชีพเกษตรกรรม การพัฒนาแหล่งเพาะปลูกตามฤดูกาล โครงการสร้างความมั่นคงทางอาหาร แนวทางนี้ช่วยให้ชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองได้ และมีความมั่นคงทางเศรษฐกิจ
“เราทำงานโดยเน้นการพัฒนาไปพร้อมกัน และประสบความสำเร็จร่วมกัน สภาองค์กรชุมชนควรเป็นเครื่องมือสำคัญของคนในชุมชน เป็นพื้นที่เปิดกว้างสำหรับผู้ที่มีแรงบันดาลใจในการทำงานพัฒนา ใครที่ต้องการมีส่วนร่วมสามารถเข้ามาร่วมทำงานกับสภาฯได้ทุกเมื่อ เพราะนี่คือพื้นที่ของทุกคนที่ต้องการสร้างการเปลี่ยนแปลงในชุมชน” ชานนท์ กล่าวโดยสรุป
ชานนท์ เจหะมะ
จากความร่วมมือสู่การบูรณาการร่วมกัน
เมื่อทุกภาคส่วนทำงานร่วมกันอย่างเป็นระบบ องค์กรชุมชนสามารถเป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาพื้นที่ โดยมีแนวคิด "หนึ่งแผน หนึ่งตำบล" ที่กำหนดแนวทางการพัฒนาชุมชนให้ครอบคลุมทุกมิติ เช่น การพัฒนาที่อยู่อาศัยการจัดสวัสดิการชุมชน การส่งเสริมเยาวชนและผู้สูงวัย การพัฒนาสิ่งแวดล้อมและเศรษฐกิจชุมชน การขับเคลื่อนงานจะมีประสิทธิภาพมากขึ้นหากมีผู้นำที่เข้มแข็ง การบริหารจัดการที่ดี และการมีส่วนร่วมของชุมชน
ยะลาเป็นตัวอย่างของการพัฒนาชุมชนที่ “ให้ใจ ใส่ใจ ใจรัก” โดยใช้การบูรณาการทุกภาคส่วนเป็นเครื่องมือในการแก้ไขปัญหา ส่งผลให้เกิดความเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นรูปธรรม ไม่ว่าจะเป็น ตำบลบือมัง ที่ขับเคลื่อนการจัดการตนเอง ตำบลบาโงยซิแน ที่ใช้พลังสตรีแก้ปัญหาสังคม หรือศูนย์เรียนรู้บ้านชานนท์ ที่สร้างโอกาสด้านเศรษฐกิจ ทั้งหมดล้วนสะท้อนถึงพลังของชุมชนที่สามารถกำหนดอนาคตของตนเองได้ นี่คือ "พลังประชาสังคมของยะลา" ที่พร้อมเดินหน้าสู่ความเข้มแข็งอย่างยั่งยืง
พลังประชาสังคมของยะลาขับเคลื่อนชุมชนเข้มแข็ง
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'สามวัยไปด้วยกัน' กองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลสาลี อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี กองทุนสวัสดิการชุมชนดีเด่นรับรางวัล ‘ป๋วย อึ๊งภากรณ์’ ปี 2567 (2)
กองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลสาลี อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี เป็น 1 ใน 8 กองทุนสวัสดิการชุมชนจากทั่วประเทศที่ได้รับรางวัล “ผู้สรรค์สร้างความมั่นคงของมนุษย์ระดับชาติ” ประจำปี 2567 ตามแนวคิดการจัดสวัสดิการสังคม “จากครรภ์มารดาถึงเชิงตะกอน” ของ ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ อดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทที่4‘ด้านการพัฒนาการศึกษา การเรียนรู้ทักษะการดำรงชีวิต’
พลิกชีวิตชุมชนเชียงใหม่! พอช.-มช. ผนึกกำลังขับเคลื่อน ศูนย์เด็กเล็ก-คลองแม่ข่า สู่อนาคตที่เข้มแข็ง
เชียงใหม่ สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) หรือ พอช. และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (มช.) จัดประชุมหารือแนวทางสร้างความร่วมมือกันในขับเคลื่อน การพัฒนาชุมชนท้องถิ่นให้เข้มแข็ง โดยมุ่งเน้นการพัฒนาศูนย์เด็กเล็กและพื้นที่ริมคลองแม่ข่า เพื่อสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับประชาชนในจังหวัดเชียงใหม่
โจรใต้ลอบขนบึ้ม! จ้องป่วน 10 วันสุดท้ายรอมฎอน ใบปลิวเกลื่อนมัสยิด
หน่วยมั่นคงได้กลิ่นโจรใต้ขนระเบิด จ้องก่อเหตุห้วง 10 วันสุดท้ายรอมฏอน แจ้งทุกหน่วยในสังกัดจับตาใกล้ขิด พบใบปลิวปริศนาที่มัสยิดหลายพื้นที่ 3 ชายแดนใต้
"MOU หน่วยงาน ผนึกกำลังขับเคลื่อน ‘ภูเก็ตเกาะสวรรค์’ สู่จังหวัดจัดการตนเอง"
สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน(องค์การมหาชน)หรือ พอช. ร่วมกับ 18 หน่วยงานร่วมจัดเวทีบันทึกความร่วมมือ “ภูเก็ตเกาะสวรรค์จัดการตนเอง”
จังหวัดภาคเหนือก้าวสู่การจัดการตนเอง: ขับเคลื่อนจังหวัดบูรณาการชุมชนเข้มแข็ง
วันที่ 17-18 มีนาคม 2568 สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน(องค์การมหาชน) หรือ พอช. ร่วมกับ ขบวนองค์กรชุมชนภาคเหนือ จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ "Kick off แนวทางการขับเคลื่อนงานจังหวัดบูรณาการสู่จังหวัดจัดการ
“รักจังสตูล” รวมพลังคนสตูล บูรณาการความรู้ สร้างเครือข่ายหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนาชุมชนและสังคมให้ยั่งยืน
สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน(องค์การมหาชน) หรือ พอช. จัดเวทีคืนข้อมูลโครงการวิจัยบูรณาการภาคีร่วมพัฒนาเพื่อส่งเสริมชุมชนเข้มแข็งสู่การยกระดับคุณภาพชีวิตทุกช่วงวัย