กรมส่งเสริมสหกรณ์ จัดกิจกรรมเนื่องในวันสหกรณ์แห่งชาติ ประจำปี 2568 ครบรอบ 109 ปี การสหกรณ์ไทย เพื่อน้อมรำลึกถึงพระกรุณาธิคุณของพระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ "พระบิดาแห่งการสหกรณ์ไทย"
วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2568 นางสาวอนงค์นาถ จ่าแก้ว เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานในพิธีวางพานพุ่มดอกไม้สดและจุดธูปเทียนเครื่องทองน้อย ถวายสักการะพระราชวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ พระบิดาแห่งการสหกรณ์ไทย และอ่านสารนายกรัฐมนตรี นางสาวแพทองธาร ชินวัตร เนื่องในวันสหกรณ์แห่งชาติ ประจำปี 2568 โดยมี นายวิศิษฐ์ ศรีสุวรรณ์ อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ นายวิณะโรจน์ ทรัพย์ส่งสุข อธิบดีกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ คณะผู้บริหารกรมส่งเสริมสหกรณ์ กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ ขบวนการสหกรณ์ และเจ้าหน้าที่ เข้าร่วมพิธี ณ บริเวณลานพระอนุสาวรีย์พระบิดาแห่งการสหกรณ์ไทย กรมส่งเสริมสหกรณ์ เทเวศร์ กรุงเทพหานคร
โอกาสนี้ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้กล่าวสดุดีพระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ พระบิดาแห่งการสหกรณ์ไทย ว่า พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ ทรงส่งเสริมให้มีการทดลองจัดตั้งสหกรณ์ ขึ้นเป็นแห่งแรก คือ สหกรณ์วัดจันทร์ไม่จำกัดสินใช้ ที่จังหวัดพิษณุโลก เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2459 โดยทรงดำรงตำแหน่ง นายทะเบียนสหกรณ์เป็นพระองค์แรกของประเทศไทย ทรงส่งเสริมให้มีการกำหนดระเบียบ ข้อบังคับ และกฎเกณฑ์ต่าง ๆ เพื่อควบคุมการตรวจสอบบัญชี การรับส่งเงิน รวมทั้งพัฒนางานสหกรณ์ ทำให้มีการก่อตั้งสหกรณ์ประเภทต่าง ๆ อย่างแพร่หลาย ด้วยพระปรีชาสามารถที่ทรงมีคุณูปการต่อระบบสหกรณ์ในประเทศไทย ส่งผลให้เกษตรกรและสมาชิกสหกรณ์พ้นจากภาวะหนี้สิน มีทุนในการประกอบอาชีพ ก่อให้เกิดผลดีต่อการพัฒนาประเทศ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงพระเกียรติคุณอันยิ่งใหญ่ ที่ควรค่าต่อการน้อมรำลึกถึง จึงทรงได้รับการยกย่องจากขบวนการสหกรณ์ไทยว่า ทรงเป็นพระบิดาแห่งการสหกรณ์ไทย
โดยวันนี้เป็นโอกาสครบรอบ 109 ปี การสหกรณ์ไทย เพื่อเป็นการน้อมรำลึกในพระกรุณาธิคุณของพระองค์ท่าน พวกเราจึงมาชุมนุมกัน เพื่อแสดงออกถึงพลังความสามัคคี ความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันของขบวนการสหกรณ์ไทย จึงขอตั้งปณิธานว่า จะมุ่งมั่นพัฒนาระบบสหกรณ์ให้เข้มแข็งเป็นองค์กรสมรรถนะสูงด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม ส่งเสริมให้สมาชิกมีส่วนร่วมในการพัฒนาและขับเคลื่อนการดำเนินงานสหกรณ์อย่างมีคุณภาพ เที่ยงตรง โปร่งใส และมีธรรมาภิบาล รวมทั้งส่งเสริมและพัฒนาบุคลากรในระบบสหกรณ์ให้มีความรู้ ความสามารถในการสร้างสรรค์พัฒนาสหกรณ์ให้มีความเข้มแข็งและยั่งยืน เพื่อเป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาประเทศชาติโดยรวมสืบไป
อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า สหกรณ์ในประเทศไทยเติบโตขึ้นโดยลำดับ ปัจจุบันมีสหกรณ์ทั่วประเทศกว่า 6,100 แห่ง ปริมาณธุรกิจสหกรณ์เติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยปี 2567 ยอดรวมอยู่ที่ 2.7 ล้านล้านบาท ทั้งนี้ ในปี 2568 กรมฯ ยังคงมุ่งมั่นพัฒนาสหกรณ์ทั้งในภาคและนอกภาคการเกษตร เป็นสถาบันที่เป็นที่พึ่งให้กับเหล่าสมาชิก รวมทั้ง ขับเคลื่อนงานตามนโยบายรัฐบาล ส่งเสริมและพัฒนาสินค้าเกษตรอัตลักษณ์พื้นถิ่น (GI) ผลักดันสู่สินค้าเกษตรมูลค่าสูง ตามนโยบาย “ตลาดนำ นวัตกรรมเสริม เพิ่มรายได้ให้สมาชิกสหกรณ์” อย่างเป็นรูปธรรม รวมทั้งสนับสนุนตั้งแต่ องค์ความรู้ในเรื่องของการดูแลผลผลิต ตลอดจนกระบวนการผลิตสินค้าเกษตร รวมถึงเชื่อมโยงกับสหกรณ์นอกภาคการเกษตร นำสินค้าขั้นพื้นฐานและสินค้าแปรรูปมาจำหน่ายในร้านสหกรณ์
“กรมฯ มุ่งหวังให้ขบวนการสหกรณ์เติบโตไปด้วยกัน โดยมีภาครัฐ คือ กรมส่งเสริมสหกรณ์ กรมตรวจบัญชีสหกรณ์และหน่วยงานภาครัฐอื่น ๆ ให้การสนับสนุน ให้การเสริมสร้างการดำเนินงานของสหกรณ์เพื่อความเข้มแข็งของสหกรณ์ และยังคงมุ่งมั่นพัฒนาระบบสหกรณ์ตามแผนพัฒนาการสหกรณ์ ฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2566 - 2570) ภายใต้วิสัยทัศน์ สหกรณ์เข้มแข็งและเป็นองค์กรสมรรถนะสูงด้วยเทคโนโลยี นวัตกรรม ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนคนไทย และให้ความสำคัญกับการพัฒนาบุคลากรของสหกรณ์และบุคลากรของกรมส่งเสริมสหกรณ์ให้ใช้นวัตกรรม เพิ่มศักยภาพการทำงานให้ดีมากยิ่งขึ้น รวมทั้งเน้นเรื่องการช่วยเหลือซึ่งกันและกันเพื่อสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้แก่สมาชิก ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะนำไปสู่ความเข้มแข็งและยั่งยืนของระบบสหกรณ์ สมาชิกมีความกินดีอยู่ดี มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นต่อไป” นายวิศิษฐ์ กล่าว
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
กรมส่งเสริมสหกรณ์ เดินหน้าโครงการส่งเสริมเกษตรอัตลักษณ์พื้นถิ่นของสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร เน้นพัฒนากลุ่มเป้าหมายเดิม พร้อมขยายกลุ่มเป้าหมายใหม่ ครอบคลุมสินค้าเกษตร 5 ประเภท
การสร้างมูลค่าเพิ่มให้สินค้าเกษตรด้วยการส่งเสริม “เกษตรอัตลักษณ์พื้นถิ่น” ถือเป็นหนึ่งในนโยบายเร่งด่วนของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ภายใต้การนำของ ศาสตราจารย์ ดร.นฤมล ภิญโญสินวัฒน์
กรมส่งเสริมสหกรณ์ ลุยต่อ จัดโครงการการบริหารจัดการวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม รับมาตรการแก้ปัญหาการก่อฝุ่น PM 2.5 ภาคการเกษตร
ปัจจุบันปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน หรือ PM 2.5 ยังคงเป็นปัญหาใหญ่ที่หน่วยงานทุกภาคส่วนพยายามร่วมกันแก้ปัญหา ซึ่งปฏิเสธไม่ได้ว่าสาเหตุส่วนหนึ่งมาจากการเผาในพื้นที่เกษตรกรรมที่ทำให้เกิดฝุ่นควัน
ปลดล็อก!! กรมส่งเสริมสหกรณ์ หารือผู้แทนชุมนุมสหกรณ์ออมทรัพย์และสหกรณ์ออมทรัพย์ เร่งแก้ไขกฎกระทรวงการฝากเงินและการลงทุนฯ หลังเกิดผลกระทบกับสหกรณ์ที่มีเงินล้นระบบ
ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ออกฎกระทรวงการฝากเงินและการลงทุนของสหกรณ์ออมทรัพย์และสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน พ.ศ.2567 ซึ่งมีผลบังคับใช้ เมื่อวันที่ 27 พ.ย.2567 ทำให้เกิดความกังวลต่อสหกรณ์ประเภทออมทรัพย์ ถึงความเดือดร้อนที่เกิดจากผลกระทบของกฎกระทรวง
“ศูนย์การเรียนรู้และส่งเสริมอาชีพเลี้ยงไก่ไข่ในรูปแบบฟาร์มกลาง“ ต้นแบบการพลิกวิกฤตเป็นโอกาสของสหกรณ์ผู้เลี้ยงไก่ไข่เชียงใหม่-ลำพูน จำกัด
ในช่วงที่เศรษฐกิจปัจจุบันอยู่ในสภาพไม่แน่นอน การดำเนินธุรกิจขนาดเล็กย่อมหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่ต้องเผชิญปัญหาเรื่องราคาต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น รวมถึงการแข่งขันกับทุนรายใหญ่ที่มีความได้เปรียบจากต้นทุนทางการเงินที่มากกว่า
กรมส่งเสริมสหกรณ์ผนึกกำลังไจก้า จับมือพันธมิตรเครือข่าย ยกระดับสหกรณ์การเกษตรดอยสะเก็ดพัฒนา จำกัด สู่ศูนย์เรียนรู้กาแฟพิเศษ
วันนี้ (10 ก.พ. 68) นายวิศิษฐ์ ศรีสุวรรณ์ อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ เป็นประธานเปิดงาน "เปิดบ้านดอยสะเก็ด...ศูนย์เรียนรู้กาแฟพิเศษสหกรณ์" ภายใต้โครงการเพิ่มมูลค่าและพัฒนาตลาดสินค้ากาแฟอาราบิก้า ตามความร่วมมือ ไทย - ญี่ปุ่น เพื่อเป็นแหล่งถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการพัฒนากาแฟพิเศษให้แก่เกษตรกร สหกรณ์ผู้ปลูกกาแฟ และประชาชนทั่วไป
กรมส่งเสริมสหกรณ์ สั่งเข้ม “นิคมสหกรณ์” ห้ามมีการเผาในเขตพื้นที่นิคมฯ เด็ดขาด พบฝ่าฝืนตัดสิทธิ์มาตรการช่วยเหลือจากภาครัฐทันที
ฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน หรือ PM 2.5 เป็นปัญหามลพิษทางอากาศที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพประชาชนในประเทศไทยมาอย่างยาวนาน โดยเฉพาะระหว่างเดือนพฤศจิกายน - กุมภาพันธ์ ของทุกปี