เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2568 ที่ทำเนียบรัฐบาล นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (รมว.พม.) เปิดเผยว่า กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ (พก.) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) รายงานให้ทราบถึง การให้ความร่วมมือของ พก. กับ สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ที่ได้ดำเนินโครงการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงสำหรับคนพิการ เป็นการสนับสนุนและสร้างโอกาสให้คนพิการที่มีความยากจนในประเทศไทย สามารถเข้าถึงบริการโทรคมนาคมพื้นฐานที่มีประสิทธิภาพและครอบคลุมการพัฒนาภาคการศึกษา สาธารณสุขและบริการภาครัฐ จึงร่วมทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) กับ กสทช. และ บริษัท บางกอก เทลลิ้ง จำกัด เพื่อส่งเสริมการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตสำหรับการเรียนรู้และพัฒนาตนเอง ตามศักยภาพ โดยคนพิการที่มีสิทธิเข้าร่วมโครงการฯ จำนวน 1.1 ล้านสิทธิ สามารถใช้งานอินเตอร์เน็ต ฟรี แบบไม่จำกัดปริมาณ ด้วยความเร็วอินเทอร์เน็ตไม่ต่ำกว่า 20 Mbps เป็นระยะเวลา 6 เดือน ตั้งแต่ 1 กุมภาพันธ์ - 31 กรกฎาคม 2568
สำหรับคนพิการที่มีสิทธิเข้าร่วมโครงการฯ ได้นั้น เป็นคนพิการที่มีความยากจน จำนวน 1.1 ล้านคน ซึ่งมีบัตรประจำตัวคนพิการ ในฐานข้อมูลของ พก. กระทรวง พม. ตาม พ.ร.บ.ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2556 และบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ โดยครอบคลุมคนพิการที่มีสิทธิ 7 ประเภท ได้แก่ 1) พิการทางการเห็น 2) พิการทางการได้ยินหรือสื่อความหมาย 3) พิการทางการเคลื่อนไหวหรือทางร่างกาย 4) พิการทางจิตใจหรือพฤติกรรม 5) พิการทางสติปัญญา 6) พิการทางการเรียนรู้ และ 7) พิการทางออทิสติก
โดยคนพิการสามารถลงทะเบียนเพื่อรับสิทธิได้คนละ 1 สิทธิ และไม่สามารถโอนสิทธิให้บุคคลอื่นได้ ยกเว้นกรณีคนพิการทางจิตใจหรือพฤติกรรม คนพิการทางสติปัญญา คนพิการทางการเรียนรู้ และคนพิการทางออทิสติก ให้ผู้ดูแลทำบัตรคนพิการสามารถลงทะเบียนเพื่อรับสิทธิได้ อีกทั้ง สามารถเลือกใช้เลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่เดิมหรือรับ ซิมการ์ดอินเตอร์เน็ตสำหรับเลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่ใหม่
สำหรับความร่วมมือครั้งนี้ทางกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ (พก.) สนับสนุนเรื่องการจัดทำบัญชีรายชื่อคนพิการที่มีสิทธิร่วมกับสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง พร้อมทั้งจัดทำฐานข้อมูลให้สำนักงาน กสทช. สำหรับการสนับสนุนซิมการ์ดอินเตอร์เน็ตให้กับคนพิการ และยังประชาสัมพันธ์การลงทะเบียนเพื่อขอรับซิมการ์ด ติดตาม ประเมิน และสรุปผลการดำเนินงานเพื่อพัฒนากระบวนการช่วยเหลือคนพิการและจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายในการเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงอินเตอร์เน็ตที่มีคุณภาพของคนพิการ
ในขณะที่ กสทช. สนับสนุนเรื่องค่าใช้จ่ายในส่วนของรายการส่งเสริมการขายของบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ เป็นเงิน 107 บาท ต่อเดือนต่อคน (รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) เป็นระยะเวลา 6 เดือน อีกทั้งสนับสนุนศูนย์บริการอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงสาธารณะหรือ USO Net เพื่อนกระตุ้นการเปิดใช้บริการซิมการ์ดอินเตอร์เน็ตของคนพิการ และ บริษัท บางกอก เทลลิ้ง จำกัด สนับสนุนเรื่องการให้บริการอินเตอร์เน็ตแบบเติมเงินและไม่จำกัดปริมาณ ด้วยความเร็วอินเทอร์เน็ตไม่ต่ำกว่า 20 Mbps โดยใช้ซิมการ์ดอินเตอร์เน็ตเครือข่ายของบริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) อีกทั้งจัดให้มีคอลเซ็นเตอร์ทางโทรศัพท์และแอพพลิเคชั่น LINE สำหรับช่วยเหลือ ให้ข้อมูล และคำแนะนำการใช้งานต่างๆ รวมถึงจัดทำวิดีโอแนะนำการใช้งานที่มีภาพ เสียง และภาษามือ
หากคนพิการมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการรับซิมการ์ดและการเปิดใช้บริการอินเตอร์เน็ต ขอให้ติดต่อสอบถามได้ที่ สำนักงาน กสทช. โทร. 1200 และ LINE ID: @netfree_infinite
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'วราวุธ' นำ พม. ประชุมเชิงปฏิบัติการ ศบปภ. ภาคอีสาน 20 จว. จัดทำแผนงาน ดูแลกลุ่มเปราะบางจากภัยพิบัติ เผย ส่งทีมสหวิชาชีพ เยี่ยมครอบครัว-เยียวยา ผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุ แผ่นดินไหว-ตึกถล่ม
นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (รมว.พม.) เป็นประธานการประชุมเชิงปฏิบัติการศูนย์บริหารการดูแลกลุ่มเปราะบางจากภัยพิบัติ (ศบปภ.) หรือ Disaster Care Center for the Vulnerable (DCCV) เพื่อบูรณาการบริหารการดูแลกลุ่มเปราะบางจากภัยพิบัติ พื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 20 จังหวัด
'วราวุธ' เผย หน่วยงานสังกัดทั่วประเทศ ได้รับความเสียหายน้อย กำชับ พม. ทุก จว. เปิดเป็นศูนย์พักพิง รองรับ กลุ่มเปราะบาง เข้าหลบภัย เตรียมที่นอน อาหาร น้ำ ให้พร้อม จ่อ ประชุมเชิงปฏิบัติการ วางแผนรับมือภัยพิบัติ 20 จว.ภาคอีสาน
นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (รมว.พม.) ในฐานะหัวหน้าพรรคชาติไทยพัฒนา เปิดเผยว่า จากสถานการณ์แผ่นดินไหวที่ประเทศไทยได้รับผลกระทบในวงกว้างนั้น ได้รับรายงานจากศูนย์เร่งรัดจัดการสวัสดิภาพประชาชน (ศรส.) กระทรวง พม. ซึ่งมีหมายเลข โทรสายด่วน 1300 ว่า มีประชาชนติดต่อเข้ามาเพียงไม่กี่รายเท่านั้น โดยเป็นการเข้ามาสอบถามสถานการณ์โดยทั่วไปและเบอร์โทรติดต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยตรงหากเกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวซ้ำขึ้นอีก
“วราวุธ” นำ พม. เยือนขอนแก่น ปลุก ศบปภ. ภาคอีสาน 20 จว. เตรียมพร้อมรับมือภัยพิบัติเชิงรุก ช่วยกลุ่มเปราะบาง
เมื่อวันที่ 27 มี.ค.68 ที่ทำเนียบรัฐบาล นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (รมว.พม.) เปิดเผยว่า กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ได้จัดตั้งศูนย์บริหารการดูแลกลุ่มเปราะบางจากภัยพิบัติ (ศบปภ.) หรือ Disaster Care
กกท.สำรวจความพร้อม สนามแข่งขันทุกชนิดกีฬา ในอาเซียนพาราเกมส์ที่โคราช
วันที่ 26 มีนาคม 2568 ที่ผ่านมา การกีฬาแห่งประเทศไทย (กกท.) นำทีมโดย นายปรีชา ลาลุน รองผู้ว่าการ กกท. ฝ่ายกีฬาเป็นเลิศและวิทยาศาสตร์การกีฬาพร้อมด้วย พลตรี โอสถ ภาวิไล ประธานสหพันธ์กีฬาคนพิการแห่งอาเซียน (เอพีเอสเอฟ), พ.อ.หญิง ดร.วันดี โตสุวรรณ เลขาธิการสหพันธ์กีฬาคนพิการแห่งอาเซียน, คณะกรรมการจัดการแข่งขันกีฬาแห่งประเทศไทย (THASOC), ผู้แทนจากการกีฬาแห่งประเทศไทย, ผู้แทนสมาคมกีฬาคนพิการแห่งประเทศไทย
วราวุธ กำชับ ศรส. - พม.ตาก ช่วยเหลือต่อเนื่อง พ่อ-ลูกสู้ชีวิต ปลูกกระท่อมกลางทุ่งนา เก็บอาหารตามธรรมชาติกิน
วันที่ 26 มีนาคม 2568 นางจตุพร โรจนพานิช รองปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ในฐานะประธานคณะทำงานขับเคลื่อนศูนย์เร่งรัดจัดการสวัสดิภาพประชาชน (ศรส.) เปิดเผยว่า ด้วย นายวราวุธ ศิลปอาชา
พม. จับมือ วธ. - ศูนย์คุณธรรม หนุน พัฒนาครอบครัวพลังบวก สร้างแรงกระเพื่อมสู่สังคมเข้มแข็ง
เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2568 นายอนุกูล ปีดแก้ว ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (ปลัด พม.) ร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ระหว่าง กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน) และ กระทรวงวัฒนธรรม ภายใต้โครงการพัฒนาครอบครัวพลังบวก (Positive Parenting)