กรมส่งเสริมสหกรณ์ ลุยต่อ จัดโครงการการบริหารจัดการวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม รับมาตรการแก้ปัญหาการก่อฝุ่น PM 2.5 ภาคการเกษตร

ปัจจุบันปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน หรือ PM 2.5 ยังคงเป็นปัญหาใหญ่ที่หน่วยงานทุกภาคส่วนพยายามร่วมกันแก้ปัญหา ซึ่งปฏิเสธไม่ได้ว่าสาเหตุส่วนหนึ่งมาจากการเผาในพื้นที่เกษตรกรรมที่ทำให้เกิดฝุ่นควัน ส่งผลให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ออกประกาศ เรื่อง มาตรการแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน หรือ PM 2.5 ภาคการเกษตร โดยกำหนดให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องยกระดับการปฏิบัติการแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศและฝุ่นละออง PM 2.5 ที่เกิดจากการเผาในพื้นที่เกษตร พร้อมกำหนดคุณสมบัติเกษตรกรที่สามารถโครงการส่งเสริม สนับสนุน การช่วยเหลือจากหน่วยงานรัฐจะต้องไม่มีประวัติการเผาในพื้นที่เกษตรของตนเอง พร้อมทั้งกำชับให้หน่วยงานในสังกัดดำเนินมาตรการหรือโครงการที่เหมาะสมในการแก้ไขปัญหาฝุ่น PM 2.5 อย่างรอบครอบ และเร่งด่วน ตลอดจนยกระดับมาตรการในการแก้ไขปัญหาฝุ่น PM2.5 ให้มีความเข้มข้นมากยิ่งขึ้น

เพื่อตอบสนองต่อประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายวิศิษฐ์ ศรีสุวรรณ์ อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ กล่าวว่า “กรมส่งเสริมสหกรณ์ ได้จัดโครงการการบริหารจัดการวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม
ซึ่งเป็นโครงการย่อยภายใต้โครงการสร้างมูลค่าเพิ่มจากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร ตามแผนงานยุทธศาสตร์การเกษตรสร้างมูลค่า โดยกรมได้ดำเนินงานมาอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 โดยในปีที่ผ่านมาพบว่ามีสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรเป้าหมาย
ที่ผลิตสินค้าประเภท พืชไร่ พืชสวน และปศุสัตว์ ได้รับความรู้เกี่ยวกับการนำเทคโนโลยี นวัตกรรมจากการวิจัยพัฒนา การนำส่วนเกินหรือผลิตผลพลอยได้หรือวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรมาใช้ประโยชน์ในการลดต้นทุนและสร้างมูลค่าเพิ่มแล้ว จำนวน 119 แห่ง และสหกรณ์สามารถนำเทคโนโลยี หรือนวัตกรรมจากการวิจัยพัฒนาการนำส่วนเกินหรือวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรมาใช้ประโยชน์ จำนวน 114 แห่ง ซึ่งในปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 กรมส่งเสริมสหกรณ์จะยังคงสานต่อโครงการดังกล่าว เพื่อร่วมกันสร้างองค์ความรู้และการวางแผนการนำเทคโนโลยี นวัตกรรมจากการวิจัยพัฒนาการนำส่วนเกิน หรือผลิตผลพลอยได้หรือวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรมาใช้ประโยชน์ เพื่อช่วยลดต้นทุน และสร้างมูลค่าเพิ่ม อีกทั้งยังช่วยป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองให้แก่สถาบันเกษตรกรได้อย่างมีประสิทธิภาพ” อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ กล่าว

สำหรับกลุ่มเป้าหมายโครงการ ประกอบด้วย ผู้แทนสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร จำนวน 46 จังหวัด 130 แห่ง
ซึ่งล้วนเป็นผู้แทนสินค้าเกษตรประเภทต่าง ๆ ที่สามารถนำวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรมาใช้ประโยชน์ได้ เช่น แกลบ ฟางข้าว รำ ตอซัง จากข้าว / ซัง ต้น เปลือกข้าวโพด จากข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ / ก้านมะพร้าวแห้ง จากมะพร้าว หรือมูลสัตว์
จากสัตว์เลี้ยงต่าง ๆ โดยกลุ่มเป้าหมายจะได้รับการถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์จากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม การป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่นละออง PM 2.5 แผนพัฒนาผลิตภัณฑ์
จากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรฯ ตลอดจนการจัดทำแผนธุรกิจอย่างง่ายสำหรับวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรด้วย

นอกจากนี้ กรมส่งเสริมสหกรณ์ ยังได้สั่งการให้สำนักงานสหกรณ์จังหวัดที่มีเกษตรกรสมาชิกปลูกข้าว ข้าวโพด และอ้อย ซึ่งมีความเสี่ยงต่อการเกิดการเผาในพื้นที่เกษตร ให้เร่งดำเนินการสร้างความเข้าใจและประชาสัมพันธ์เรื่องประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์แก่สมาชิกสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร ในความรับผิดชอบให้ได้รับทราบอย่างทั่วถึง พร้อมจัดให้มีกิจกรรมรวมกลุ่มประกาศเจตจำนงไม่เผาในพื้นที่เกษตรทุกกรณี รวมทั้งประสานสหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร และเอกชนในพื้นที่ เพื่อทำข้อตกลงร่วมกันในการไม่รับซื้อผลผลิตที่ตรวจพบประวัติการเผาในพื้นที่เกษตร เพื่อเป็นการตอบสนองต่อประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ให้เห็นผลทันที

“กรมส่งเสริมสหกรณ์จะให้ความสำคัญแก่สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรที่ให้ความร่วมมือกับมาตรการต่าง ๆ ทั้งจากของกรมส่งเสริมสหกรณ์ และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นอันดับแรก ในการใช้เป็นเกณฑ์พิจารณาคุณสมบัติสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร เพื่อเข้าร่วมโครงการพัฒนาศักยภาพ การส่งเสริมอาชีพ หรือการเชื่อมโยงตลาดต่อไป”
อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ กล่าวทิ้งท้าย

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

กรมส่งเสริมสหกรณ์ เดินหน้าโครงการส่งเสริมเกษตรอัตลักษณ์พื้นถิ่นของสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร เน้นพัฒนากลุ่มเป้าหมายเดิม พร้อมขยายกลุ่มเป้าหมายใหม่ ครอบคลุมสินค้าเกษตร 5 ประเภท

การสร้างมูลค่าเพิ่มให้สินค้าเกษตรด้วยการส่งเสริม “เกษตรอัตลักษณ์พื้นถิ่น” ถือเป็นหนึ่งในนโยบายเร่งด่วนของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ภายใต้การนำของ ศาสตราจารย์ ดร.นฤมล ภิญโญสินวัฒน์

ทุบ 'นายกฯอิ๊งค์' ขาดภาวะผู้นำแก้ฝุ่น PM 2.5 รัฐมนตรีไม่เห็นค่า หน่วยงานไม่เห็นหัว

นายภัทรพงษ์ ลีลาภัทร์ สส.เชียงใหม่ พรรคประชาชน อภิปรายว่า ปี 2567 เป็นปีที่ประเทศของเราต้องเจอกับภัยพิบัติที่รุนแรง เกิดน้ำท่วมครั้งใหญ่ ภัยแล้ง และฝุ่นพิษ แต่ภัยพิบัติหนักที่สุดที่ประเทศไทยต้องเจอ คือการมีนายกรัฐมนตรี

เช็กค่าฝุ่น PM 2.5 กทม. คุณภาพอากาศภาพรวมอยู่ในเกณฑ์ดี

ศูนย์ข้อมูลคุณภาพอากาศ กรุงเทพมหานคร รายงานสถานการณ์ฝุ่น PM 2.5 เช้านี้คุณภาพอากาศ กทม. อยู่ในเกณฑ์ดี มีเหลืองปานกลางที่หนองจอก วังทองหลาง

“109 ปี การสหกรณ์ไทย” กรมส่งเสริมสหกรณ์ เดินหน้าสร้างสหกรณ์เข้มแข็ง เศรษฐกิจไทยมั่นคง

กรมส่งเสริมสหกรณ์ จัดกิจกรรมเนื่องในวันสหกรณ์แห่งชาติ ประจำปี 2568 ครบรอบ 109 ปี การสหกรณ์ไทย เพื่อน้อมรำลึกถึงพระกรุณาธิคุณของพระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ "พระบิดาแห่งการสหกรณ์ไทย"

นายกฯ นั่งหัวโต๊ะแก้ฝุ่น PM 2.5 มอบ มท.1 กำชับผู้ว่าฯทุกจังหวัด คุมเข้มการเผา

นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมติดตามสถานการณ์และการแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยมีนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย

ปลดล็อก!! กรมส่งเสริมสหกรณ์ หารือผู้แทนชุมนุมสหกรณ์ออมทรัพย์และสหกรณ์ออมทรัพย์ เร่งแก้ไขกฎกระทรวงการฝากเงินและการลงทุนฯ หลังเกิดผลกระทบกับสหกรณ์ที่มีเงินล้นระบบ

ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ออกฎกระทรวงการฝากเงินและการลงทุนของสหกรณ์ออมทรัพย์และสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน พ.ศ.2567 ซึ่งมีผลบังคับใช้ เมื่อวันที่ 27 พ.ย.2567 ทำให้เกิดความกังวลต่อสหกรณ์ประเภทออมทรัพย์ ถึงความเดือดร้อนที่เกิดจากผลกระทบของกฎกระทรวง