“ศุภมาส” ชู “BPMAP-Buriram Poverty Map” บิ๊กดาต้าชี้เป้าครัวเรือนยากจนแบบแม่นยำ โชว์ความสำเร็จช่วยเหลือคนจนแบบมุ่งเป้าทั้งด้านอาชีพ ที่อยู่อาศัย การศึกษา เกิดต้นแบบ “อำเภอแก้จนทั้งพื้นที่ใน อ.นางรอง”

เมื่อวันที่ 15 ก.พ. 2568 นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ลงพื้นที่ติดตามผลการขับเคลื่อนแผนงานนวัตกรรมการยกระดับแพลตฟอร์มขจัดความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำจังหวัดบุรีรัมย์ ภายใต้ “มหกรรมสานพลังแก้จน ด้วยคนบุรีรัมย์” พร้อมส่งมอบระบบข้อมูล BPMAP และเยี่ยมชมผลงาน/นิทรรศการขับเคลื่อนงานวิจัยพัฒนาโมเดลแก้จนและเศรษฐกิจฐานราก โดยมีนายศุภชัย ใจสมุทร ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวง อว. แพทย์หญิงเพชรดาว โต๊ะมีนา ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวง อว. ศ.ดร.ศุภชัย ปทุมนากุล ปลัดกระทรวง อว. นายจำเริญ แหวนเพ็ชร รองผู้ว่าราชการจังหวัดบุรีรัมย์ นายสนอง เทพอักษรณรงค์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดบุรีรัมย์ เขต 1 รศ.มาลิณี จุโฑปะมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์และประธาน ทปอ.มรภ. นายฉัตรชัย พรหมเลิศ อดีตปลัดกระทรวงมหาดไทยและประธานกรรมการบริหารหน่วย บพท. ดร.สุรชัย สถิตคุณารัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) ศ.ดร.สมปอง คล้ายหนองสรวง ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ดร.กิตติ สัจจาวัฒนา ผู้อำนวยการหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ผู้บริหารกระทรวง อว. ผู้บริหารมหาวิทยาลัย หัวหน้าส่วนราชการจังหวัดบุรีรัมย์ เจ้าหน้าที่ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน และนักวิจัย เข้าร่วม ณ ห้องประชุมช่ออินทนิล ชั้น 2 อาคารคอมเพล็ก มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

นางสาวศุภมาส กล่าวว่า กระทรวง อว. โดยมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ร่วมกับหน่วยงาน บพท. โดยการสนับสนุนของกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) ยกระดับคุณภาพชีวิตครัวเรือนยากจน สร้างโอกาสทางสังคมอย่างเป็นรูปธรรม ด้วยองค์ความรู้ งานวิจัย เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เหมาะสมของมหาวิทยาลัยร่วมกับกลไกภาคีต่าง ๆ ในพื้นที่ โดยมีผลงานที่เป็นรูปธรรมที่ประสบความสำเร็จมากมาย ได้แก่ เกิดกลไกความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาความยากจนทั้งในระดับจังหวัด ระดับอำเภอ และระดับท้องถิ่น มีระบบข้อมูลกลางของจังหวัดในการชี้เป้า (Targeting) ครัวเรือนยากจนที่แม่นยำเรียกว่า “Buriram Poverty Map (BPMAP)” ที่เกิดจากความร่วมมือของหน่วยงานในจังหวัดที่เกี่ยวข้องและนำไปใช้ในการสร้างเป้าหมายช่วยเหลือคนจนร่วมกัน ทำให้สามารถช่วยเหลือคนจนแบบมุ่งเป้าได้ การส่งต่อคนจนเพื่อรับความช่วยเหลือตามมิติความยากจนด้านอาชีพ ด้านที่อยู่อาศัย ด้านการศึกษา การเข้าสู่สวัสดิการ 19,070 คน ได้รับความช่วยเหลือแล้ว 776 คน อยู่ในแผนรอรับความช่วยเหลืออีก 13,469 คน เกิดโมเดลแปลงรวมแก้จนด้วยการนำพื้นที่สาธารณะในชุมชนมาสร้างโอกาสสำหรับคนจน 214 ครัวเรือนให้มีที่ดินปลูกผัก สร้างรายได้และมีแหล่งอาหารในครัวเรือน มีโมเดล “รถพุ่มพวงแก้จน” 120 คัน กระจายสินค้าจากการผลิตครัวเรือนยากจน คนในชุมชนสู่ผู้บริโภคจนสามารถสร้างอาชีพ มีการจัดตั้ง “ศูนย์จัดการสินค้าและอาหารปลอดภัยรองรับเมืองท่องเที่ยวเชิงกีฬา” เกิดเครือข่ายผู้ผลิต ผู้แปรรูป ผู้รวบรวมผลิตภัณฑ์เด่นในพื้นที่และผู้บริโภค ทำให้ครัวเรือนได้รับการแก้ปัญหาความยากจน 612 ครัวเรือน และเกิดต้นแบบ “อำเภอแก้จนทั้งพื้นที่ในอำเภอนางรอง”

รมว.อว. กล่าวต่อว่า นโยบายของกระทรวง อว. คือ วิจัย-นวัตกรรมดี ตอบโจทย์ ตรงความต้องการ มุ่งเน้นแก้ไขปัญหาสำคัญของประเทศโดยเฉพาะการแก้ปัญหาความยากจน ลดความเหลื่อมล้ำให้กับพี่น้องประชาชน โดยใช้องค์ความรู้วิจัยและนวัตกรรมเข้ามาแก้ไขปัญหาพื้นที่ ช่วยเหลือเรื่องปากท้องและเศรษฐกิจ ตลอดจนยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน ซึ่งกระทรวง อว. พร้อมสนับสนุนการทำงานของมหาวิทยาลัยในพื้นที่ให้มีการพัฒนาข้อมูลระดับจังหวัดดังเช่นระบบข้อมูลแก้จนแบบเบ็ดเสร็จแม่นยำจังหวัดบุรีรัมย์ (BPMAP) ให้มีความทันสมัยทันก่อเหตุการณ์ พร้อมสำหรับการนำไปใช้งานร่วมกันของหน่วยงานในพื้นที่ ใช้เป็นฐานข้อมูลแก้ปัญหาความยากจนอย่างมีคุณภาพไม่ทำให้มีคนจนตกหล่น รวมถึงสนับสนุนการนำนวัตกรรมไปใช้แก้ปัญหาความยากจนตามบริบทพื้นที่ ทำให้ครัวเรือนยากจนหลุดพ้นบ่วงความจนได้อย่างยั่งยืน

“นี่คือหนึ่งในการทำงานของ “อว. เพื่อประชาชน” ที่จะยังคงเดินหน้าทำงานเพื่อประชาชนและสานต่อนโยบายเดิมให้ต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพมากขึ้นต่อไป” นางสาวศุภมาส กล่าว

จากนั้น นางสาวศุภมาสและคณะได้เดินทางไปยังศาลาประชาคมบ้านนาเกียรตินิยม (ม.17 ต.สะแกโพรง อ.เมืองบุรีรัมย์ จ.บุรีรัมย์) เพื่อเยี่ยมชมพื้นที่ต้นแบบการบูรณาการแก้ไขปัญหาความยากจน พร้อมกล่าวให้กำลังใจและชื่นชมการทำงาน และมอบเทคโนโลยีนวัตกรรมเพื่อฟื้นฟูและส่งเสริมอาชีพให้กับชุมชน ได้แก่ นวัตกรรมเครื่องสับและตีป่น (4 เครื่อง) นวัตกรรมเครื่องอัดเม็ดอาหารสัตว์ (2 เครื่อง) นวัตกรรมดินปลูก (100 ถุง) และกระชังบก (40 กระชัง) ถุงบำรุงชีพให้กับครัวเรือนยากจนในพื้นที่ (50 ถุง) จากงานวิจัยของมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ และนวัตกรรมเครื่องอบดินและวัสดุปลูก (1 เครื่อง) สารชีวภัณฑ์เพื่อการป้องกันศัตรูพืช (120 ชุด) ถุงยังชีพเกษตรครัวเรือน (50 ถุง) จากงานวิจัยของสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.)

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

“ศุภมาส” เดินหน้าขับเคลื่อน Soft Power จัดแข่งขันวาดภาพ Thai Youth Street Art ระดับอุดมศึกษา ในหัวข้อ “Dreams of Thailand

กระทรวง อว. นำโดย “ศุภมาส” รมว.อว. และ “สุชาดา” เลขานุการ รมว.อว. เดินหน้าขับเคลื่อน Soft Power ตามนโยบายรัฐบาล จัดประกวดแข่งขันวาดภาพ

"ศุภมาส" เผย อว. เตรียมหารือ สตม. 23 เม.ย. นี้ กำหนดแนวทางเข้ม ตรวจนักศึกษาต่างชาติใช้วีซ่าเรียนลอบทำงานในไทย

เมื่อวันที่ 22 เม.ย. 2568 น.ส.ศุภมาส อิศรภักดี รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เปิดเผยถึงการดำเนินการตรวจสอบกรณีที่มีข่าวว่าคนจีนได้วีซ่านักเรียนมาทำงานในไซต์งานก่อสร้างต่างๆ ของไทย โดยมีมหาวิทยาลัยบางแห่งเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้อง ว่าขณะนี้ตนได้สั่งการให้กระทรวง อว. มีหนังสือถึงวิทยาลัยสงฆ์ลำพูน

สำนักงานปลัดกระทรวง อว.จับมือกองทุน CMDF ลงนามสัญญาทุนวิจัยสำหรับนักวิจัยรุ่นใหม่ด้านตลาดทุนต

เมื่อวันที่ 24 มี.ค. ที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(อว.) มีพิธีลงนามสัญญาทุนวิจัยสำหรับนักวิจัยรุ่นใหม่ด้านตลาดทุน ระหว่างสำนักงานปลัดกระทรวง อว. กองทุนส่งเสริมการพัฒนาตลาดทุน (กองทุน CMDF) และสถาบันอุดมศึกษา โดยมี ศ.ดร.ศุภชัย ปทุมนากุล ปลัดกระทรวง อว. และนายจักรชัย บุญยะวัตร

กระทรวง อว. จับมือ สมาคมปัญญาประดิษฐ์ประเทศไทย-ภาคเอกชน-ประชาสังคม เปิดตัวโครงการ “Super AI Engineer Season 5” เดินหน้าปั้นบุคลากร AI

เมื่อวันที่ 20 ก.พ. ดร.พันธุ์เพิ่มศักดิ์ อารุณี ผู้อำนวยการกองขับเคลื่อนและพัฒนาการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม รักษาการที่ปรึกษาด้านพัฒนาการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

“ศุภชัย” หารือ TCEP - 19 มหาวิทยาลัย สกัด Fake agency พร้อมยกระดับมาตรการด้านความปลอดภัย นักศึกษาจีนในไทย ปลื้ม จีนมอบ 10 ทุนมหาวิทยาลัยชัั้นนำให้นักศึกษาไทย

เมื่อวันที่ 14 ก.พ. 2568 นายศุภชัย ใจสมุทร ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นประธานเปิดการประชุมระดับสูงว่าด้วยความปลอดภัยและคุณภาพชีวิตของนักศึกษาจีนในประเทศไทย ภายใต้โครงการความร่วมมือไทย-จีน