6 กุมภาพันธ์ "วันมวยไทย" ศิลปะการต่อสู้และการป้องกันตัวของชนชาติไทย มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมจากบรรพชน และเทิดพระเกียรติ สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8 "สมเด็จพระเจ้าเสือ" พระบิดาแห่งมวยไทย
มวยไทยมีพัฒนาการมาตั้งแต่สมัยสุวรรณภูมิ เริ่มชัดเจนขึ้นในสมัยทวารวดี รุ่งเรืองในสมัยสุโขทัย อยุธยา ธนบุรี และรัตนโกสินทร์ เป็นศิลปะการต่อสู้ที่มีกลวิธีในการใช้ส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ได้แก่ มือ เท้า เข่า ศอก ศีรษะ รวมเรียกว่า นวอาวุธ อย่างผสมกลมกลืน ทั้งในการต่อสู้ป้องกัน ตัวและเชิงกีฬา
มีส่วนสำคัญดำรงเอกราชของชาติไทย ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ในสมัยก่อน ชายฉกรรจ์ไทยแทบทุกคน ทั้งพระมหากษัตริย์ เจ้านายชั้นผู้ใหญ่ ขุนนางฝ่ายทหาร และ สามัญชน จะได้รับการฝึกฝนมวยไทยไว้เพื่อป้องกันตัวและชาติ บ้านเมือง เพราะการใช้อาวุธ เช่น กระบี่ กระบอง พลอง ดาบ ง้าว ทวน ประกอบกับมวยไทย จะทำให้การใช้อาวุธนั้นเกิด ประสิทธิภาพสูงสุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการต่อสู้ป้องกันตัว ระยะประชิด
ศิลปะมวยไทยใช้หลักพื้นฐานและทักษะ การต่อสู้ในระดับต่างๆ คือ ท่าร่าง เชิงมวย ไม้มวย และเพลงมวย อย่างผสมผสานกันจนมีประสิทธิภาพสูงสุด ทั้งการรุกและ การรับ ท่าร่าง คือการเคลื่อนตัวและการเคลื่อนที่ เชิงมวย คือ ท่าทางของการใช้นวอาวุธในการต่อสู้ แบ่งออกเป็น เชิงรุก ได้แก่ เชิงหมัด เชิงเตะ เชิงถีบ เชิงเข่า เชิงศอก และเชิงหัว เชิงรับ ได้แก่ ป้อง ปัด ปิด เปิด ประกบ จับ รั้ง เป็นต้น ซึ่งเชิงมวยนี้ถือว่าเป็น พื้นฐานสำคัญในศิลปะมวยไทย ไม้มวย หมายถึงการผสมผสาน การใช้หลักพื้นฐานของศิลปะการต่อสู้ เข้ากับท่าร่างและเชิงมวย ถ้าใช้เพื่อการรับ เรียกว่า “ไม้รับ” ถ้าใช้เพื่อการรุกเรียกว่า “ไม้รุก” ไม้มวย ยังแบ่งออกเป็นแม่ไม้ ลูกไม้ และไม้เกร็ด แม่ไม้ คือ การปฏิบัติการหลัก ที่เป็นแม่บทของการปฏิบัติการรุกและรับ ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับองค์ประกอบ 3 ประการ คือ กำลัง พื้นที่ ที่ใช้กำลัง และจังหวะเวลาในการใช้กำลัง ลูกไม้ คือ การปฏิบัติ การรองที่แตกย่อยมาจากแม่ไม้ ซึ่งแปรผันแยกย่อยไปตามการ พลิกแพลงของท่าร่างและเชิงมวยที่นำมาประยุกต์ใช้ และไม้เกร็ด คือ เคล็ดลับต่างๆ ที่นำมาปรุงทำให้แม่ไม้และลูกไม้ที่ปฏิบัติมี ความพิสดารมากยิ่งขึ้น
ไม้มวยมีการตั้งชื่อให้ไพเราะ เข้าใจและจดจำได้ง่ายโดยเทียบเคียงลักษณะท่าทางของการต่อสู้กับชื่อหรือลีลาของตัวละคร เหตุการณ์ หรือสัตว์ในวรรณคดี เช่น เอราวัณเสยงา หนุมานถวายแหวน มณโฑนั่งแท่น อิเหนา แทงกฤช ไม้มวยบางไม้ เรียกชื่อตามสิ่งที่คุ้นเคยในวิถีชีวิตคนไทย เช่น เถรกวาดลาน คลื่นกระทบฝั่ง หนูไต่ราว มอญยันหลัก ญวนทอดแห เป็นต้น เอ่ยชื่อท่ามวยแล้วจะทำให้นึกถึงท่าทางของการต่อสู้ได้อย่างชัดเจน ส่วน เพลงมวย หมายถึง การแปรเปลี่ยนพลิกแพลงไม้มวยต่างๆ ต่อเนื่องสลับกันไปอย่างพิศดารและงดงามระหว่างการต่อสู้
ในอดีตมวยไทยชกกันด้วยมือเปล่าหรือใช้ด้ายดิบพันมือ เรียกกันว่า “คาดเชือก” จึงสามารถใช้มือในการจับ หัก บิด ทุ่ม คู่ต่อสู้ได้ นักมวยจึงใช้ชั้นเชิงในการต่อสู้มากกว่าการใช้พละกำลัง จึงเกิดไม้มวยมากมาย แต่เมื่อมวยไทยได้พัฒนาเป็นกีฬามากขึ้น มีการออกฎกติกาต่างๆ เพื่อป้องกันอันตรายที่จะเกิดขึ้นแก่ นักมวย และตัดสินได้ง่าย ไม้มวยที่มีมาแต่อดีตบางไม้จึงไม่ สามารถนำมาใช้ในการแข่งขันได้ และบางไม้นักมวยก็ไม่สามารถ ใช้ได้ถนัดเนื่องจากมีเครื่องป้องกันร่างกายมาก ไม้มวยบางท่าจึง ถูกลืมเลือนไปในที่สุด
มวยไทยมีวิวัฒนาการมาหลายยุคหลายสมัยหลอมรวมศิลปวัฒนธรรมหลายด้านเข้าด้วยกันเช่น ความเชื่อในเรื่องจิตวิญญาณ คาถาอาคม ดนตรี วรรณกรรม คุณธรรม จริยธรรม เป็นธรรมเนียมนิยมที่นักมวยไทยยังคงยึดถือ ปฏิบัติกันอยู่ในปัจจุบัน ได้แก่ การขึ้นครู การครอบครู การไหว้ครู การแต่งมวย และดนตรีปี่มวย
มรดกภูมิปัญญานี้เป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ เป็นเครื่องมือ ที่ใช้ในการฝึกคนที่วิเศษอย่างหนึ่ง ช่วยพัฒนาร่างกาย อารมณ์ จิตใจ และสติปัญญา ให้เป็นผู้มีความสมบูรณ์ทั้งกาย ใจ อยู่ในสังคมอย่างมีความสุข มวยไทยยังเป็นสื่อทำให้ชาวต่างชาติเข้าใจและ ชื่นชมประเพณีวัฒนธรรมไทยมากขึ้น
ด้วยเหตุผลดังกล่าว กระทรวงวัฒนธรรม โดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรม จึงได้ประกาศขึ้นทะเบียนมวยไทยเป็น มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ สาขากีฬาภูมิปัญญาไทย เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 เพื่อสร้างความตระหนักให้คนไทยเห็นคุณค่า ห่วงแหนและยกย่ององค์ความรู้ภูมิปัญญาของบรรพบุรุษไทย เพื่อให้มรดกทางวัฒนธรรมอันทรงคุณค่านี้ ได้รับการอนุรักษ์ สืบสานและต่อยอด เป็นพลังในการกระตุ้นการท่องเที่ยว สร้างสรรค์เศรษฐกิจไทยให้มั่นคง
จากความสำคัญของมวยไทย กรมส่งเสริมวัฒนธรรม ร่วมมือกับภาคเอกชน ตลอดจนหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ผลักดันให้มีการสถาปนา "วันมวยไทย” โดยคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2554 เห็นชอบให้ กำหนดวันที่ 6 กุมภาพันธ์ ของทุกปี เป็นวันมวยไทย ซึ่งตรงกับวันเสด็จขึ้นครองราชย์สมบัติของสมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8 (สมเด็จพระเจ้าเสือ) พระบิดาแห่งมวยไทย พระมหากษัตริย์ไทยที่มีพระปรีชาสามารถด้านมวยไทยเป็นที่ประจักษ์
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
สวธ.สำรวจภูมิปัญญาท้องถิ่น‘บ้านทะเลน้อย’ พัทลุง ต่อยอดอัตลักษณ์ชุมชน
นางสาวลิปิการ์ กำลังชัย รองอธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม (รักษาราชการแทนอธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม) ลงพื้นที่ ณ อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง
สวธ.จับมือ มศว.พัฒนาสร้างสรรค์ผลงานต้นแบบ 5 ชุมชนจากมรดกวัฒนธรรม
5 มี.ค.2568 นางสาวลิปิการ์ กำลังชัย รองอธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม (รักษาราชการแทนอธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม) เป็นประธานในพิธีเปิดงานเสวนาวิชาการเพื่อพัฒนาความรู้ทางวัฒนธรรมสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์และซอฟต์พาวเวอร์ โดยมีนายชุมพล พรประภา นายกสภามหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ รศ.ดร.หทัยรัตน์ มาประณีต หัวหน้าโครงการฯ และรศ.ดร.ชลวิทย์ เจียรจิตต์
สวธ.คว้ารางวัลด้านส่งเสริมผลงานยอดเยี่ยมบนโซเชียลมีเดียตอกย้ำศักยภาพเผยแพร่วัฒนธรรม
นางมงคลทิพย์ รุ่งงามฤกษ์ ผู้อำนวยการสถาบันวัฒนธรรมศึกษา กรมส่งเสริมวัฒนธรรม เข้าร่วมงานประกาศรางวัล Thailand Social Awards ครั้งที่ 13 เพื่อรับรางวัล Finalist ของกลุ่มรางวัล Best Brand Performance on Social Media สาขา Promotion and Support Agency
สวธ.ประชุมจัดการมรดกภูมิปัญญาน่าน ‘แข่งเรือ-ผ้าทอไทลื้อ-บ่อเกลือภูเขา’ เน้นฐานชุมชน
กรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) กระทรวงวัฒนธรรม โดยสถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ “การบริหารจัดการมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมอย่างยั่งยืนโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน ประจำปีงบประมาณ 2568” เมื่อวันที่ 17-19 ก.พ.2568 ที่ผ่านมา เพื่อให้เด็ก
สวธ.หนุน Unfest’25 เสริมศักยภาพอุตสาหกรรมหนังไทยสู่สากล
กระทรวงวัฒนธรรม โดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) เดินหน้าสนับสนุนโครงการ Unfest’25 เสริมศักยภาพอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทย ให้พร้อมแข่งขันในเวทีสากล โครงการดังกล่าวจัดขึ้น เมื่อวันที่ 20 - 22 กุมภาพันธ์ 2568 ที่ผ่านมา ภายใต้แนวคิด
สวธ.พัฒนายกระดับอาหารถิ่นสู่มรดกวัฒนธรรมและอัตลักษณ์ไทย เสริมแกร่งชุมชน
วันที่ 26 ก.พ. 2568 นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการการชี้แจงแนวทางการขับเคลื่อนโครงการส่งเสริมและพัฒนายกระดับอาหารถิ่นสู่มรดกทางวัฒนธรรมและอัตลักษณ์ความเป็นไทย (Thailand Best Local Food) “รสชาติ...ที่หายไป The Lost Taste” ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2568