EBC Financial Group วิเคราะห์ผลกระทบการขยายตัวของประเทศสมาชิก BRICS หลังกลุ่มประเทศในเอเชียและแอฟริกา เข้าร่วมเป็นสมาชิก รวมครอบคลุม 49% ของประชากรโลก และ 40% ของ GDP โลก ส่งสัญญาณการเปลี่ยนแปลงทางการตลาดทั่วโลก
ปัจจุบัน BRICS มีประเทศสมาชิก ประกอบด้วย บราซิล รัสเซีย อินเดีย จีน แอฟริกาใต้ เอธิโอเปีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ อียิปต์ อิหร่าน และยังมีประเทศสมาชิกใหม่ ได้แก่ เบลารุส, โบลิเวีย, คิวบา, คาซัคสถาน, มาเลเซีย, ไทย, ยูกันดา อุซเบกิสถาน และ อินโดนีเซีย เข้าร่วมกลุ่มสมาชิกอย่างเป็นทางการ เมื่อต้นปีที่ผ่านมา
กลุ่ม BRICS มีอิทธิพลอย่างมากในตลาดโลก ในด้านพลังงาน สมาชิก BRICS เช่น รัสเซียและบราซิลเป็นหนึ่งในผู้ส่งออกน้ำมันดิบรายใหญ่ที่สุดในโลก ขณะที่จีนและแอฟริกาใต้เป็นผู้นำในการผลิตทองคำและแพลทินัม ตามข้อมูลองค์กรพลังงานระหว่างประเทศ (IEA) และสำนักงานสำรวจธรณีวิทยาสหรัฐ (USGS) นักวิเคราะห์จาก Chatham House เน้นย้ำว่าอำนาจทางเศรษฐกิจนี้ทำให้กลุ่ม BRICS สามารถเปลี่ยนกระแสการค้าระหว่างประเทศ โดยเฉพาะในตลาดพลังงานและกลุ่มแร่ต่างๆ ได้
การขยายตัวของ BRICS เริ่มส่งผลกระทบในตลาดหลักทั่วโลก ตั้งแต่ความผันผวนของสกุลเงินไปจนถึงการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้าโภคภัณฑ์ ด้วยความร่วมมือที่เพิ่มขึ้นในข้อตกลงการค้าและการจัดการทรัพยากร นอกจากนี้คาดว่าตลาดน้ำมันดิบ ก๊าซธรรมชาติ และโลหะมีค่า เช่น ทองคำและเงิน กำลังเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ
ความผันผวนของสกุลเงินในกลุ่มประเทศสมาชิก USD/INR และ RMB/KZT กลายเป็นจุดสำคัญ ท่ามกลางการพัฒนาของข้อตกลงทางการค้าและนโยบายเศรษฐกิจ ในขณะเดียวกัน การจัดการทรัพยากรที่มีประสิทธิภาพของ BRICS กำลังส่งผลให้ตลาดสินค้าโภคภัณฑ์เปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ โดยเฉพาะสินค้าน้ำมันดิบ ก๊าซธรรมชาติ ทองคำและเงิน
ดัชนีตลาดเกิดใหม่ มีแนวโน้มที่จะดึงดูดกระแสเงินทุนจากต่างประเทศมากขึ้น เนื่องจากได้รับแรงขับเคลื่อนจากโครงการริเริ่มของ BRICS ในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและขยายความร่วมมือด้านการค้า สะท้อนถึงอิทธิพลที่เพิ่มขึ้นของกลุ่ม BRICS ต่อตลาดหุ้นโลก พร้อมทั้งเปิดโอกาสการเติบโตในระยะยาว
การเพิ่มประเทศสมาชิก BRICS ส่งผลต่อการเพิ่มโอกาสในตลาดการเงินทั่วโลก
ตลาดแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ : การเพิ่มประเทศสมาชิกส่งผลให้เกิดสกุลเงินที่น่าลงทุน เช่น USD/INR, USD/MYR และ RMB/KZT อาจมีความผันผวนเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ การปรับอัตราดอกเบี้ยในประเทศสมาชิก BRICS ยังมีความน่าสนใจ เช่น การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของอินโดนีเซียเพื่อควบคุมเงินเฟ้อ สะท้อนถึงการเปลี่ยนแปลงนโยบายการเงินของภูมิภาคที่ส่งผลต่อแนวโน้มเศรษฐกิจโลก
สินค้าโภคภัณฑ์ : ประเทศสมาชิก BRICS มีบทบาทสำคัญในตลาดน้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ และโลหะ ความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกในด้านข้อตกลงการค้าและการจัดการทรัพยากร คาดว่าจะส่งผลต่อน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติ โดยเฉพาะคาซัคสถานเริ่มมีบทบาทมากขึ้นในฐานะผู้ส่งออกพลังงานรายใหญ่ ในตลาดโลหะ จีนและแอฟริกาใต้ยังครองตำแหน่งผู้นำการผลิตทองคำและแพลตินัม อีกทั้งความต้องการที่เพิ่มขึ้นสำหรับพลังงานสีเขียว ยิ่งเพิ่มโอกาสการลงทุนในสินทรัพย์โลหะมีค่าและโลหะอุตสาหกรรมที่มีแนวโน้มเติบโตสูง
ดัชนีหุ้น : การเข้าร่วมของประเทศเศรษฐกิจใหม่อย่างอุซเบกิสถานและไทย เปิดโอกาสการลงทุนในตลาดหุ้นเหล่านี้ กองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติในกลุ่ม BRICS เช่น National Wealth Fund ของรัสเซีย และการลงทุนในโครงการ Belt and Road ของจีน คาดว่าจะเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและเสริมสร้างความร่วมมือในระดับภูมิภาค โครงการเหล่านี้มีศักยภาพสูงในการยกระดับความเชื่อมั่นของนักลงทุนในตลาดหุ้นท้องถิ่น
การที่ BRICS ได้สมาชิกใหม่ ได้แก่ อินโดนีเซียและมาเลเซีย ถือเป็นก้าวสำคัญในการเสริมสร้างบทบาทของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในเวทีการค้าและการเงินระดับโลก การพัฒนานี้สะท้อนถึงการบูรณาการของตลาดจากภูมิภาคต่างๆ เข้ากับเศรษฐกิจโลกที่กำลังเติบโต โอกาสการลงทุน นักลงทุนมองเห็นโอกาสในหลายภาคส่วน โดยเฉพาะการลงทุนในโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่ได้รับการสนับสนุนจากกองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติของประเทศสมาชิก
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
มาริษ กล่าวถ้อยแถลงบน UNGA ประกาศตัวขอเข้าร่วม OECD และ BRICS
รมว.กต.กล่าวถ้อยแถลง UNGA ครั้งที่ 79 ย้ำนโยบายรัฐบาลมี ปชช.เป็นศูนย์กลาง เน้นยั่งยืน - แนะ UN พร้อมรับมือความท้าทาย-แก้ความไม่สงบโลก - หวังไทยได้เข้าร่วม OECD และ BRICS