บ้านเปลี่ยนป่า: “น้ำไผ่”ต้นแบบบ้านมั่นคงชนบท สร้างชุมชนแห่งความสุข ด้วยพลังความร่วมมือของชุมชน

"บ้านเปลี่ยนป่า น้ำไผ่เมืองแห่งความสุข"

วันที่ 13-15 มกราคม 2568 สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.) ร่วมกับชุมชนตำบลน้ำไผ่ อำเภอน้ำปาด จังหวัดอุตรดิตถ์ จัดเวที "ถอดบทเรียนบ้านมั่นคงชนบทตำบลน้ำไผ่ บ้านเปลี่ยนป่า น้ำไผ่เมืองแห่งความสุข" เพื่อสรุปผลการดำเนินงาน พร้อมกำหนดแผนพัฒนาในอนาคตของโครงการบ้านมั่นคงชนบทที่สร้างคุณภาพชีวิตให้กับตำบลน้ำไผ่

ชุมชนตำบลน้ำไผ่ได้นำเสนอเรื่องราวของโครงการบ้านมั่นคงชนบทที่ช่วยสร้างคุณภาพชีวิตให้กับ 378 ครัวเรือน พร้อมเปิดเผยโมเดลแห่งความสำเร็จที่ชี้ให้เห็นว่า “การพัฒนาที่ยั่งยืน เริ่มต้นจากความร่วมมือของคนในชุมชน”

พิธีมอบ “บ้านมั่นคงชนบทตำบลน้ำไผ่ 378 ครัวเรือน”

บ้านเปลี่ยนป่า  น้ำไผ่เมืองแห่งความสุข”   บ้านมั่นคงชนบทตำบลน้ำไผ่

ล่าสุดวันที่ 15 มกราคม 2568 สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.) ร่วมกับขบวนองค์กรชุมชน จังหวัดอุตรดิตถ์ จัดพิธีมอบ “บ้านมั่นคงชนบทตำบลน้ำไผ่ 378 ครัวเรือน” พร้อมมอบลานอเนกประสงค์ศูนย์กลางกิจกรรมในชุมชน โดยมี นางสาวเฉลิมศรี ระดากูล รองผู้อำนวยการ พอช. นายกวิน แว่นแก้ว ปลัดอาวุโสอำเภอน้ำปาด นายเกิดพงษ์ โยหงส์ หัวหน้าอุทยานแห่งชาติต้นสักใหญ่  เป็นประธานร่วมในพิธี พร้อมด้วยภาคีหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และพี่น้องชาวชุมชนตำบลน้ำไผ่ เข้าร่วมกว่า 400 คน ณ ลานอเนกประสงค์ศูนย์กลางกิจกรรมในชุมชนหมู่1 ต.น้ำไผ่ อ.น้ำปาด จ.อุตรดิตถ์

นางสาวเฉลิมศรี ระดากูล รองผู้อำนวยการ พอช.  กล่าวว่า พอช.สนับสนุนให้พี่น้องตำบลน้ำไผ่ ให้มีความมั่นคงในเรื่องที่อยู่อาศัย ชุมชนได้สํารวจข้อมูลเรื่องที่ดิน ใช้ที่ดินที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด จะรักษาป่า พื่อสร้างความมั่นคงในชีวิต  จากบทเรียนนี้ทําให้เห็นว่า โครงการบ้านมั่นคงชนบท ตําบลน้ําไผ่ ได้สร้างคน ที่เห็นก็คือ เกิดแกนนําเครือข่ายสภาองค์กรชุมชน แกนนําในระดับหมู่บ้าน  คนน้ำไผ่สามารถกําหนดอนาคตด้วยพี่น้องในตําบลเอง

นางสาวเฉลิมศรี กล่าวต่อ ที่เห็นการเปลี่ยนแปลงทราบว่าที่นี่เมื่อก่อนปลูกข้าวโพดร้อยเปอร์เซ็นต์ ปัจจุบันเป็นการรักษาป่า ปลูกป่า ทำเกษตรอินทรีย์ ทําให้เกิดป่าผสมผสาน สามารถที่จะสร้างอาชีพสร้างรายได้  สามารถที่จะกําหนดราคาผลผลิตโดยชุมชนเองได้จากที่เราต่างคนต่างขายอันนี้คือพลังของพี่น้องที่รวมกลุ่มกัน สิ่งที่เปลี่ยนไปคือพี่น้องมีบทบาทมีอํานาจในการต่อรอง ไม่ใช่ต่างคนต่างขาย อันนี้คือพลังของการรวมกลุ่มกัน เพราะฉะนั้นไม่แปลกใจเลยทําไมหนี้สินถึงลดมีทุนเพิ่ม พร้อมทั้งมีการจัดการขยะทั้ง 8 หมู่บ้าน

ระบบส่งน้ำขึ้นเขา การจัดการน้ำในชุมชน

สุดท้ายเรื่องการจัดการน้ำ น้ำที่จะใช้แต่ก่อนต้องไปใช้วิธีเข็นไปอาบ ใช้อุปโภคบริโภค แต่ปรากฏว่าตอนนี้สามารถจัดการน้ำได้ โดยการเอาน้ำ  สามารถที่จะมีระบบดูแลกันเองได้  นี่คือพลังในการแก้ไขปัญหาที่ทุกคนมีส่วนร่วม อันนี้คือความสําเร็จของพี่น้องตำบลน้ำไผ่  ที่สําคัญความสําเร็จจะเกิดขึ้นไม่ได้ถ้าเราไม่ได้ความร่วมมือจากหน่วยงานภาคีที่เกี่ยวข้อง โดยใช้ชุมชนเป็นหลักในการพัฒนา นางสาวเฉลิมศรี กล่าวในตอนท้าย

ถอดบทเรียน สู่แผนพัฒนาอนาคต

เริ่มต้นด้วยการถอดบทเรียน "น้ำไผ่ใจสู้ ดูแลกัน" โดยมีการย้อนรอยเรื่องราวความสำเร็จของชุมชนผ่านการเล่าเรื่องและแลกเปลี่ยนความรู้จากชาวบ้าน นอกจากนี้ยังมีการวางแผนพัฒนา 5 ปี (2568-2573) ซึ่งเน้นความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในชุมชน

จัดเวที "ถอดบทเรียนบ้านมั่นคงชนบทตำบลน้ำไผ่

จาก “ป่ารกร้าง” สู่ “บ้านมั่นคง”: จุดเริ่มต้นของความเปลี่ยนแปลง

กว่า 10 ปีที่แล้ว พื้นที่ตำบลน้ำไผ่เคยเป็นป่ารกร้างที่มีชุมชนกระจัดกระจายและขาดโอกาสในการพัฒนา แต่ด้วยความมุ่งมั่นของชาวบ้านและการสนับสนุนจาก พอช. ทำให้โครงการบ้านมั่นคงชนบทเกิดขึ้น โดยมีเป้าหมายเพื่อจัดการที่ดินทำกินและที่อยู่อาศัยให้มั่นคง “การเปลี่ยนแปลงเริ่มจากการรวมตัวของคนในพื้นที่ เราร่วมกันวางแผน ตั้งเป้าหมาย และทำงานอย่างหนักเพื่อพัฒนาชุมชนของเราให้ดีขึ้น”

เกษตรอินทรีย์วิถีตำบลน้ำไผ่

ทัวร์ “บ้านเปลี่ยนป่า” สัมผัสโมเดลแห่งความสุข

"โคกหนองนาฟาร์ม สุดเขต" สถานที่ที่แสดงถึงแนวคิดการพัฒนาที่ดินอย่างยั่งยืน ชาวบ้านได้ร่วมแลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับการจัดการที่อยู่อาศัยและที่ดิน พร้อมทัวร์สำรวจจุดสำคัญในชุมชน ได้แก่ ถนนร่องล้อ (ม.6): การพัฒนาถนนที่สะท้อนภูมิปัญญาท้องถิ่น กลุ่มอาชีพตรงใจ (ม.3): แนวทางพัฒนาอาชีพที่ตอบโจทย์ตลาดและศักยภาพของชุมชน ระบบส่งน้ำขึ้นเขา (ม.1): ตัวอย่างความสำเร็จของการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ช่วงเย็นยังมีงานสานสัมพันธ์พี่น้องเครือข่ายที่เต็มไปด้วยความอบอุ่น ผ่านกิจกรรมแลกของขวัญและการแสดงจากชุมชน

ทัวร์ “บ้านเปลี่ยนป่า”

บทเรียนจากน้ำไผ่: ความสำเร็จที่เกิดจากการมีส่วนร่วม "น้ำไผ่ใจสู้ ดูแลกัน" ที่สะท้อนให้เห็นถึงพลังความร่วมมือใน 5 ด้านหลัก ได้แก่:

  1. การพัฒนาที่อยู่อาศัย: บ้านมั่นคง 378 หลัง ถูกสร้างขึ้นจากความร่วมมือของชาวบ้าน
  2. การจัดการทรัพยากรน้ำ: ระบบส่งน้ำขึ้นเขา (ม.1) ช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำในพื้นที่สูง
  3. การพัฒนาทางเศรษฐกิจ: กลุ่มอาชีพตรงใจ (ม.3) ผลิตสินค้าชุมชนที่มีคุณภาพและตลาดรองรับ
  4. การพัฒนาสาธารณูปโภค: ถนนร่องล้อ (ม.6) เป็นตัวอย่างของโครงสร้างพื้นฐานที่ชาวบ้านพัฒนาร่วมกัน
  5. การสร้างพื้นที่สีเขียว: โคกหนองนาฟาร์ม สุดเขต แสดงถึงการฟื้นฟูป่าให้กลับมาอุดมสมบูรณ์

กลุ่มอาชีพตรงใจ

บทสรุป: น้ำไผ่ คือต้นแบบของการพัฒนาที่แท้จริง

โครงการบ้านมั่นคงชนบทตำบลน้ำไผ่ไม่เพียงเปลี่ยนชีวิตของผู้คนในชุมชน แต่ยังสร้างแรงบันดาลใจให้กับพื้นที่อื่นๆ ที่กำลังเผชิญความท้าทายในลักษณะเดียวกัน  “น้ำไผ่ไม่ใช่แค่ชุมชนแห่งความสุข แต่คือตัวอย่างของการพัฒนาที่ยั่งยืนที่ทุกพื้นที่สามารถเรียนรู้และต่อยอดได้”

ถนนร่องล้อ

นี่คือการพิสูจน์ว่าความร่วมมือจากทุกภาคส่วน โดยใช้พื้นที่เป้นตัวตั้งคือหัวใจสำคัญของการพัฒนาที่แท้จริง และน้ำไผ่เป็น1ในพื้นที่ต้นแบบที่ชัดเจน สำหรับการสร้างชุมชนเข้มแข็งอย่างยั่งยืน!

ความร่วมมือจากทุกภาคส่วน โดยใช้พื้นที่เป้นตัวตั้งคือหัวใจสำคัญของการพัฒนา

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ซีพี ออลล์ หารือ พอช. ขับเคลื่อน 4 project ใหญ่ เสริมศักยภาพความเข้มแข็งของชุมชนไทย

สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) หรือ พอช. หารือ บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) ในการประชุมหารือความร่วมมือครั้งสำคัญ โดยมี ดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล ประธานกรรมการสถาบัน เป็นประธานการประชุม พร้อมด้วย นายกฤษดา สมประสงค์ ผู้อำนวยการ พอช. และ คุณชลิกา แสงอุดมเลิศ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ และคณะอนุกรรมการพัฒนาความยั่งยืน ซีพี ออลล์ ณ ห้องประชุมชั้น3 Joy of Life (สีลม ซอย 3)

พอช.: พลังแห่งการเปลี่ยนแปลง สู่ชุมชนเข้มแข็งและการพัฒนาที่ยั่งยืน

ในโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การสร้างชุมชนที่เข้มแข็งและพึ่งพาตนเองได้ถือเป็นกุญแจสำคัญที่นำไปสู่ความมั่นคงและยั่งยืนของสังคมไทย สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน

รวมพลังคนจนเมืองทั่วประเทศ เปลี่ยนสลัม สู่บ้านมั่นคง บ้านแห่งศักดิ์ศรีที่ทุกคนร่วมสร้าง!

เมื่อความฝันของคนจนไม่บ้านกลายเป็นพลังที่ยิ่งใหญ่ วันนี้พร้อมที่จะก้าวข้ามขีดจำกัด เปลี่ยนแปลงสลัมให้เป็น "บ้านมั่นคง" ที่เต็มไปด้วยศักดิ์ศรีและคุณค่าของความเป็นมนุษย์

ประกาศผล 8 กองทุน เข้ารับรางวัลองค์กรสวัสดิการชุมชนดีเด่น ศาสตราจารย์ ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ประจำปี พ.ศ. 2567

สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน(องค์การมหารชน) หรือ พอช. ร่วมกับ คณะทำงานพิจารณารางวัลองค์กรสวัสดิการชุมชนประจำปี 2567 จัดเวทีพิจารณา รางวัลองค์กรสวัสดิการชุมชน

ชุมชนทั่วประเทศ ระดมข้อเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาให้รัฐ ในการประชุม ‘ระดับชาติสภาองค์กรชุมชนตำบล’ ครั้งที่ 16 ปี 2567 เชื่อมั่น “พลังชุมชน พลังประชาชน สามารถเปลี่ยนแปลงประเทศได้”

การประชุมในระดับชาติของสภาองค์กรชุมชนตำบลครั้งที่ 16’ ปี 2567 ผู้แทนสภาองค์กรชุมชน ทั่วประเทศ ระดมข้อเสนอเชิงนโยบายให้รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ

“16 ปี สภาองค์กรชุมชนตำบล” “พัฒนาประชาธิปไตยฐานราก สร้างพลังชุมชนท้องถิ่นจัดการตนเอง”

‘สภาองค์กรชุมชนตำบล’ จัดตั้งขึ้นมาตาม ‘พ.ร.บ.สภาองค์กรชุมชน พ.ศ.2551’ ปัจจุบันเป็นระยะเวลา 16 ปี มีการจัดตั้งสภาองค์กรชุมชนในระดับตำบล เทศบาล และเขต